Jump to content

nonto

CCTH Member
  • Posts

    29
  • Joined

  • Last visited

About nonto

nonto's Achievements

Newbie

Newbie (1/14)

26

Reputation

  1. มารยาทในการขับในท้องถนนในบ้านเราสิ่งที่ไม่สมควรกระทำคือการแซงซ้าย แต่ก็มีบางก็จำเป็นที่จะแซงซ้ายเหมือนกัน เนื่องจากมีรถขับช้าขับแช่อยู่ในเลนขวา การแซงซ้ายนั้นระบุไว้ชัดเจนว่าผิดกฎหมาย ตามพรบ.จราจร ทางบก ปี 2522 หมวด 2 มาตรา 45 มาได้ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ ขับรถแซงรถคันอื่นจากด้านซ้าย ดังนั้นถือว่าการแซงซ้ายผิดกฏหมายอย่างแน่นอน พวกขับรถช้า แช่ขวาอย่าดีใจไปคุณก็ผิดกฎหมาย เช่นกัน ผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีพฤติกรรมขับขี่รถความเร็วต่ำในช่องขวาสุด โดยไม่สนใจผู้ขับรถคันอื่นที่ขับตามมาด้วยความเร็ว เป็นเหตุการณ์ที่พบบ่อยตามถนนทางหลวงต่างๆ เช่นพอถนนเลนซ้ายวิ่งไม่ดีเนื้อถนนไม่ดี เลยมาวิ่งแช่อยู่เลนขวา พรบ.จราจรทางบก มาตราที่35 ได้ระบุไว้ว่า รถที่มีความเร็วช้าความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบเดินรถทางซ้ายเท่าที่จะกระทำได้ โดยมิได้กล่าวถึงอัตราความเร็ว มีความหมายว่าถึงใช้ความเร็วตามที่กฏหมายกำหนดไว้แล้ว แต่ต้องหลบเข้าเลนซ้ายไปเพื่อให้รถที่ตามมาที่ความเร็วมากกว่านั้นสามารถแซงทางเลนขวาไปได้ แต่ถ้ามีพวกขับช้ากว่าแช่ขวาอยู่ที่นี้จะทำยังไงละ กฏหมายจึงได้ยกเว้นไว้ในพรบจราจรทางบก มาตรา 45 (2) ไว้ว่า ผู้ขับขี่สามารถแซงรถขึ้นไปซ้ายได้เมื่อเห็นว่าทางเลนซ้ายช่องซ้ายนั้นปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รถต่อแถวยาวและรถติดตามมา ทิ้งท้ายกันซักหน่อยครับ เรื่องการขับรถนอกจากปฏิบัติตามกฎหมายกันแล้ว อาจเพิ่มเติมเรื่องการมีน้ำใจความเห็นใจต่อเพื่อนร่วมทางด้วย เช่น ถนนบางเส้นนี้สภาพช่องถนนในช่องเลนซ้ายนี้ย่ำแย่มากเมื่อขับไปอาจทำให้ตัวรถเสียให้ได้ จึงอาจทำให้ต้องมาขับรถในเลนขวาบ้าง คันที่ขับช้าก็ควรหมั่นดูกระจกหลังว่ามีรถขับตามมาไหมความเร็วมากกว่าเราไหม ถ้าช่องซ้ายพอหลบได้ก็ควรหลบให้เขาไปก่อน แล้วจึงค่อยกลับมาเข้าเลนใหม่ โดยใช้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้ายเพื่อให้เขารู้ว่าเรากำลังจะหลบให้ คนที่จะแซงไปก็เช่นควรดูเหตุการณ์ข้างหน้าว่า รถเขาจะหลบให้เราแซงได้หรือไม่ อย่าใจร้อนเกินไปบีบแตรกระโชกหรือจี้ตูดมากเกินไป จนอาจจะเกิดปัญหาทะเลาะเฉี่ยวชนกันตามมาได้ อยากจะฝากเอาไว้แค่นี้ละครับ บทความจาก ไขข้อสงสัยเรื่องการแซงซ้าย ผิดกฎหมายหรือเปล่า www.toyotanon.com/
  2. ถึงแม้ประเทศไทยเราไม่มีกฎบังคับให้ติดกล้องในรถยนต์แบบประเทศบางประเทศ แต่เพื่อนๆรู้ไหมครับว่ากล้องติดรถยนต์นั้นสามารถช่วยอะไรได้บ้าง จะยกกรณีตัวอย่าง ซักเหตุการณ์เพื่อให้เพื่อนเห็นความสำคัญของการติดกล้องกันครับ นายเอ ขับรถปกติด้วยความเร็ว 80 กม/ชม. แต่รถไม่ได้ติดกล้อง กำลังจะขับรถกลับบ้าน แต่ทันใดนั้นนายบี เกิดปาดหน้ารถนายเอขึ้นมาแบบกะทันหัน นายเอเบรกแล้วแต่ไม่สามารถควบคุมรถให้หยุดได้ ชนตูดรถนายบีอย่างจัง เมื่อเกิดเหตุทั้งคู่ก็เข้ามาเจรจากัน ว่าจะชดใช้ค่าเสียหายกันยังไง ซึ่งนายเอเขารู้และมั่นใจมาก ว่าตัวเขาเป็นฝ่ายถูก จึงจะให้ให้นายบีจ่ายค่าเสียหายให้กับเขา แต่นายบีไม่ยอมรับผิด แถมนายบีรู้เข้าว่านายเอไม่มีกล้องติดรถยนต์ และไม่มีคนเห็นเหตุการณ์ก็ได้สวนกับไปว่า "คุณต่างหากที่ขับรถชนท้ายผม จ่ายค่าเสียให้มาให้ผมซะดีๆ ไม่งั้นเรื่องถึงศาลถึงโรงพักแน่ๆ" คุณคิดว่าถ้านายเอมีกล้องติดรถยนต์ นายบีจะกล้าดีแบบนี้ไหม นี้แค่กรณีตัวอย่างนะครับ ยังมีเหตุการณ์อีกหลายเหตุการณ์ที่กล้องสามารถช่วยแก้ต่างและเป็นพยานยืนให้คุณได้ และอีกกรณีหนึ่งเช่น คุณจอดรถไว้ในลานจอดรถในห้างหรือในอาคารแต่ดันมีใครไม่รู้ ขับรถถอยมาชนรถคุณ ถ้าเขาชนแล้วอยู่และรับผิดชอบก็ดีอยู่หรอก แต่ถ้าหนีไปละ กล้องติดรถยนต์นี้ละครับจะช่วยคุณได้ ถึงแม้ตามตัวคนผิดไม่ได้แต่ก็เอาไปยืนยันกับประกันรถได้ พอจะเห็นความสำคัญของกล้องขึ้นมาแล้วสินะครับ ทีนี้เรามาดูวิธีเลือกซื้อกล้องติดรถยนต์ให้คุ้มค่ากันดีกว่า 1. สเปคของกล้อง กล้องติดรถยนต์บางรุ่นบางยี่ห้อทำได้หลายอย่างมาก เช่น บันทึกวิดีโอ ถ่ายภาพ มีGPS เป็นกล้องวงจรปิด ฯลฯ จึงต้องตรวจสอบให้ดีก่อนจะซื้อ เพื่อที่จะซื้อมาแล้วได้ใช้ประโยชน์ของมันแบบคุ้มค้า 2. ความคมความชัดของภาพวิดีโอ ยิ่งชัดมากหลักฐานก็ยิ่งชัดเจน ซึ่งในระดับกล้อง Full HD ก็จะอยู่ในหลักพันบาทขึ้นไป ถ้าเน้นถูกภาพก็อาจเบลอดูยากว่าใครเป็นใคร อันนี้ก็เลือกกันดีๆว่าจะเอาแบบไหน แต่ถ้าเป็นผมเองติดแล้วเอาให้ชัดๆไปเลยดีกว่าคนผิดจะได้ดิ้นไม่หลุด 3. ภาพเมื่อถ่ายในเวลากลางคืน กล้องบางตัว ตอนกลางวันก็ดีอยู่หรอก แต่พอกลางคืนถ่ายมายังกะอยู่ในถ้ำมืดๆ อันนี้ก็ไม่ไหว เพราะงั้นตอนซื้อก็ตรวจสอบให้ดีๆ เหมือนกันสำหรับคนที่ต้องเอารถไปจอดในที่มืดๆเปลี่ยวๆ ทางที่ควรหากล้องที่มีอินฟาเรดก็จะดีไม่น้อยจะได้มองเห็นในที่มืดได้ 4. แนะนำกล้องแบบมุมภาพต้องกว้าง ควรหาซื้อกล้องที่มีมุมกว้างตั้งแต่120องศาขึ้นไป เพราะว่าจะเห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นข้างรถๆได้ด้วย บางคนไปซื้อแบบมุมแคบมาติดก็เห็นแค่เหตุที่อยู่ตรงหน้ารถ เท่านั้นทำให้เป็นมุมอับสายตาได้ครับไม่สามารถเก็บข้อมูลอะไรได้กับเหตุการณ์ที่เกิดด้านข้างได้เลย 5. หาข้อมูลกล้องจากผู้ใช้งานจริง จากในอินเตอร์เน็ตในทีวี ยิ่งในยุคนี้เป็นยุคอินเตอร์เน็ต ก็สามารถหาคลิปรีวิวต่างในช่องทางต่างมากมาย เช่นใน ยูทูป เพจแฟนคลับรักรถต่างๆ เพื่อเป็นตัวช่วยให้เราเลือกซื้อและตัดสินใจได้มากขึ้นครับ บางครั้งเขามีเปรียบเทียบให้ดูด้วยว่าอันไหนดีกว่ากันก็ลองไปหากันดูครับ จริงอยู่ครับว่ากล้องมันอาจจะไม่ได้ช่วยให้รถแรงขึ้นหรือให้คุณขับรถเก่งขึ้นมา แต่เมื่อเกิดปัญหาเกิดอุบัติเหตุที่ต้องใช้ภาพหลักฐานยืนยัน มันช่วยคุณได้อย่างแน่นอน และคุ้มกว่าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายไปแบบทั้งที่เราไม่ผิด ข้อมูลจาก กล้องติดรถยนต์ พยานคดีชั้นยอด http://www.toyotanon.com
  3. เสียงเกียร์นั้นสามารถแยกได้เป็น 3 สาเหตุหลักๆได้ดังนี้ครับ เสียงแรก เกิดจากนอกห้องเกียร์ เป็นเสียงแตก เสียงคราง ภาษาช่างเขาจะเรียกชิ้นส่วนนี้ว่า ลูกปืนปลายเกียร์สี่ หรือลูกปืนฟลายวีลคือตัวเดียวกัน ตามแล้วแต่จะเรียก มันเป็นลูกปืนที่ฝังติดอยู่กับฟลายวีลโดยที่มี เพลาของปลายเกียร์สี่สอดกันในนั้นอยู่ โดยตลอดเวลาลูกปืนจะหมุนตลอดเวลาขนาดที่เครื่องยนต์รถหมุนอยู่ เมื่อมีการหมุนมีการเสียดสีกันของตัวลูกปืนและตัวเสื้อลูกปืน จึงเกิดความร้อนขึ้นและเกิดอาการสึกหรอของลูกปืนและเสื้อลูกปืนจนเกิดเสียงดังและนานเข้ามาถึงภายในห้องโดยสารได้ วิธีการแก้ไขมีทางเดียวครับ คือการเปลี่ยนลูกปืนอาการจึงจะหายขาด ถ้าอยากไม่ให้มีอาการแบบนี้เกิดขึ้นอีกแนะนำว่า ทุกครั้งที่มีการยกเกียร์ออกมาเปลี่ยนตัวชุดผ้าคลัตช์ ให้เปลี่ยนตัวลูกปืนไปพร้อมด้วยเลยครับ ถ้าเรารอเวลาให้ลูกปืนเสียลูกปืนแตกก่อนแล้วค่อยเปลี่ยน หลายคนเข้าใจว่ามันอาจจะประหยัดกว่า แล้วค่อยเปลี่ยนแค่ตัวลูกปืนเอา พลาดแล้วครับทำให้เราต้องเสียเวลาเสียค่าแรงถึง 2 รอบ ซึ่งค่าใช้จ่ายจะมากกว่าการเปลี่ยนไปพร้อมกับผ้าคลัตช์ และแทนที่จะเสียเวลาค่าถอดเปลี่ยนแค่รอบเดียวครับ เสียงที่สอง เสียงหอนจากชิ้นส่วนของเกียร์ตัวใดตัวหนึ่ง อันนี้จะขอบอกก่อนนะครับว่า แก้ไขนั้นยากและจะต้องเสียเงินขั้นเยอะอยู่พอสมควรครับ ตัวอย่างของอาการนี้ เช่น เสียงเกียร์ สี่หอน ในขณะที่เรากำลังเร่งเครื่องเพื่อจะเปลี่ยนเป็นเกียร์ห้า ซึ่งปัญหาเกิดได้จาก 2อย่างนี้ 1. จากอาการสึกหรอลูกปืน เขาเรียกอาการแบบนี้กันว่าเป็นตามดในลูกปืนของชุดเกียร์ทั้งราว 2. จากอาการสึกของเฟืองเกียร์จนเกิดตามดของตัวชุดเกียร์ที่เกิดอาการหอน ทางแก้ไขอย่างที่บอกไปแล้วว่าได้เสียเงินเยอะแน่ๆ คือต้องยกเกียร์ ผ่าเกียร์ เอาออกมาดูอาการสึกหรอ ของตัวลูกปืนและตัวเฟืองถ้าอยากให้หายขาดเลยจริงๆ ต้องเปลี่ยนตัวลูกปืนและตัวเฟืองในห้องเกียร์ทั้งหมด หนทางที่จะประหยัดเงินในกระเป๋าก็มีเหมือนกันนะครับ คือ คงต้องหาพึ่งเกียร์มือ 2 ละครับ วิธีป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น คือเราต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ครับ และปรับเปลี่ยนการใช้เกียร์ โดยที่ไม่ควรขับรถลากเกียร์ใดๆเป็นเวลานานๆ และตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ ท่อหายใจของเสื้อเกียร์อยู่ตลอดนะครับ เสียงที่สาม เสียงเกียร์ครางลักษณะของอาการเมื่อเราทำการติดเครื่องรถและเข้าเกียร์ว่าง จะได้ยินเสียงดัง เป็นเสียงของเฟืองเกียร์สองเฟืองกระทบกับกัน และเสียงหายไปเมื่อตอนเราเหยียบคลัตช์แค่เบาๆ ก่อนจะพูดต่อในเรื่องของปัญหาของเสียง มาทำความเข้าใจก่อนว่า เมื่อติดเครื่องยนต์แล้ว เมื่อตำแหน่งของตัวเกียร์อยู่ที่เกียร์ว่าง ชุดคลัตช์ ที่เกาะอยู่กับฟลายวีลจะหมุนตามการหมุนของฟลายวีลอยู่ตลอดเวลา และพร้อมๆ มีระบบเฟืองส่งกำลังไปหมุนเฟืองเกี่ยร์4 และชุดเพลารองอีกต่อหนึ่ง และจะเป็นการส่งกำลังให้เฟืองตัวอื่นๆทั้งหมดหมุนตามแม้จะจอดรถไว้อยู่ก็ตาม ในขณะที่ ตัวเฟือง 2 เฟืองขบกันอยู่ จะเกิดมีช่องว่าง เรียกกันว่า แบกแลช Backlash ซึ่งมีเพื่อเป็นช่องทางที่น้ำมันเกียร์จะเข้ามาระบายความร้อน และหล่อลื่นเฟืองเกียร์นั้นๆ ส่วนเสียงครางจะดังมากน้อยแค่ไหน อยู่ที่ความห่างช่องว่างระหว่างเฟืองทั้งสองตัวห่างมากดังมาก ห่างน้อยดังเบา แต่ถ้าชิดเกินไปเฟืองจะไหม้ การแก้ไข นอกจากจากแก้ไขระยะห่างของช่องเฟืองเกียร์แล้ว ก็ต้องดูความชิดของตัวเฟืองแต่ละตัวที่อยู่แถวเดียวกันด้วย ควรที่ระยะห่างของตัวเฟือง ที่ขบกันจะมีระยะพอดีหรือเหมาะสมตามที่ผู้ผลิตได้กำหนดเอาไว้ แต่ความชิดกันของเฟืองต่อเฟืองถ้าพลาดขึ้นมาจากที่กำหนดไว้ จะทำให้เฟืองมันเบียดกัน จึงทำการขบกันมีระยะห่างที่ผิดไปจึงทำให้เสียงดัง และสาเหตุที่เมื่อเราแตะคลัตช์แล้วเงียบไป จะอธิบายสั้นๆให้พอเข้าใจ เพราะเมื่อเราเหยียบคลัตซ์ ทำงานของชุดเฟืองเกียร์จะหยุด จึงทำให้ไม่เสียงเกิดขึ้น อาการในข้อนี้สามารถเกิดได้ทั้งกับรถใหม่และรถเก่า ถ้ารถผ่านการใช้งานมาหลายปีเฟืองเกียร์อาจสึกหรอไปบ้าง ก็ต้องแก้ปรับระยะห่างของตัวเฟืองเกียร์หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนตัวเฟืองใหม่ เมื่อเกียร์รถยนต์มีเสียงดัง http://www.toyotanon.com/
  4. นอกเหนือจากการล้างรถธรรมดาแล้ว การเคลือบสีรถหลังล้าง เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ขั้นตอนหนึ่งในการดูแลรักษารถยนต์ของเราอย่างหนึ่ง ข้อดีการเคลือบสีรถยนต์ มีมาก ที่เด่นที่สุดคือ ความเงางามจากน้ำยาเคลือบสีตามคุณภาพเกรดของน้ำยาที่ใช้ และข้อดีในระยะยาว ยาเคลือบสี มีส่วนช่วยในการปกป้องสีของรถไม่ให้หม่นหมอง แลดูสดใสอยู่เสมอ หลังการเคลือบสีแต่ละครั้ง เมื่อน้ำยาเคลือบสีเซ็ตตัวแห้งดี จะเป็นชั้นฟิลม์อีกชั้นหนึ่ง ที่ช่วยปกป้องผิวสีของรถยนต์ จากสภาพแวดล้อมและมลพิษ พวกควันฝุ่นละอองต่างๆ ยางไม้ มูลนก น้ำฝน เพื่อไม่ทำให้สีหมองในภายภาคหน้า วิธีการเคลือบสีรถด้วยตนเอง 1. ล้างรถให้สะอาด 2. เช็ดรถให้น้ำหมาดๆ 3. เทน้ำยาเคลือบสี ลงบนผ้านุ่ม ขอเน้นว่าผ้านุ่มนะค่ะ ที่มีน้ำหมาดๆ 4. เช็ดบนตัวรถ โดยวนเป็นก้นหอย ให้ทั่วบริเวณตัวรถ 5. ทิ้งน้ำยาไว้ตามระยะเวลาที่รถบุไว้ข้างกระป๋อง เพราะแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกันค่ะ แต่บางยี่ห้อ เคลือบเสร็จเช็ดออกเลยก็มี เพราะถ้าปล่อยไว้นาน จะทำให้หนืดเช็ดยากนะค่ะ 6. ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ หรือผ้านุ่ม เช็ดน้ำยาออกให้หมดทั่วตัวรถ โดยน้ำยาเคลือบสีจะมีทั้งแบบเป็นน้ำแล้วเช็ด กับเป็นครีมขี้ผึ้ง โดยทั้ง 2 อย่างสามารถหาซื้อได้ ตามร้านขายอุปกรณ์ทำความสะอาดรถยนต์ทั่วไป สังเกตุดู รถยนต์ที่มีการเคลือบสีรถอยู่เป็นประจำนั้น จะมีสภาพสีผิว ที่ดูใหม่ สดใสอยู่เสมอ เมื่อเทียบกับรถยนต์สีเดียว รุ่นเดียวหรือปีเดียวกันที่ไม่ได้เคลือบ เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ข้อมูลจาก ข้อดีของการเคลือบสีรถ http://www.toyotanon.com
  5. วันนี้จะมาอธิบายคำศัพท์ เกี่ยวกับเครื่องยนต์ คำว่าแรงบิด (Torque) และแรงม้า (Horse Power) ที่อธิบายมาให้รายละเอียดรถยนต์อยู่เสมอ ที่หลายท่านมักจะมองผ่านๆ เพราะไม่เข้าใจ ซึ่งถ้าเข้าใจตรงจุดนี้ผู้อ่านก็จะสามารถเปรียบเทียบรถต่างๆ เพื่อเลือกซื้อได้ตรงตามการใช้งานได้มากขึ้น แรงบิด (Torque) แรงหมุนข้อเพลาภายในเครื่องยนต์ ซึ่งจะส่งกำลังของเครื่องยนต์ไปหมุนเกียร์ ล้อ เพลาช่วงล่าง ให้รถเคลื่อนที่ไปได้ ซึ่งในเครื่องยนต์แต่ละรุ่นจะมีการออกแบบให้แรงบิดสูงสุดไม่เท่ากัน และในอัตราความเร็วรอบที่แตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน โดยรถที่มีแรงบิดสูงสุดสูงกว่าจะมีอัตราเร่งดีกว่ารถที่มีแรงบิดสูงสุดต่ำกว่า และในความเร็วรอบของแรงบิดสูงสุดก็จะเป็นตัวบอกถึง ลักษณะการขับขี่ของรถแต่ละรุ่น โดย 1. รถที่มีแรงบิดสูงสุดในความเร็วรอบต่ำ จะออกตัวได้ดี และอัตราเร่งช่วงต้นดี 2. รถที่แรงบิดสูงสุดที่ความเร็วรอบสูง จะมีอัตราเร่งที่ดีในช่วงที่ขับด้วยความเร็วสูง แต่ในช่วงออกตัวจะเร่งได้ไม่ดีเท่า จากข้อความที่กล่าวมาข้างบนสรุปได้ว่า รถที่แรงบิดสูงสุดในความเร็วรอบต่ำ มักจะเหมาะกับรถที่ขับในเมือง หรือทางขรุขระที่มักไม่สามารถใช้ความเร็วได้สูงนัก และรถที่มีแรงบิดสูงสุดในความเร็วรอบสูง เหมาะกับรถที่ต้องวิ่งเส้นทางต่างจังหวัด ที่มักขับความเร็วสูงในระยะทางไกลๆ หน่วยของแรงบิดที่นิยมใช้กัน คือ Kg-m, Nm และ Ft-lbs แรงม้า (Horse Power) คือค่าที่บอกกำลังของเครื่องยนต์ โดยหน่วยที่นิยมใช้คือ HP แรงม้า บางครั้งในรายละเอียดรถ จะให้ค่า BHP (Brake Horse Power) มา ซึ่งหมายถึง กำลังของเครื่องยนต์ ที่ถูกหักด้วยแรงเสียดทานภายใน ดังนี้ BHP = IHP - FHP IHP คือ Indicated Horse Power หมายถึงกำลังที่เครื่องยนต์ผลิตได้ (*IHP = HP) FHP คือ Friction Horse Power หมายถึงแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์ ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบแบบคร่าวๆ อาจกล่าวได้ว่า แรงบิดเครื่องยนต์ แสดงถึงอัตราเร่ง ส่วนแรงม้าจะเปรียบกับความเร็วสูงสุด ถ้ามีการนำค่ามาเขียนลงกราฟแสดงรอบเครื่องยนต์ จะเห็นได้ว่า แรงม้าสูงสุดของเครื่องจะอยู่ในตำแหน่งรอบเครื่องที่สูงกว่า แรงบิดสูงสุดเสมอ และ ในเครื่องที่แรงบิดสูงสุดในรอบเครื่องที่ต่ำ มักจะให้แรงม้าน้อยกว่ารถที่มีแรงบิดสูงสุดในรอบที่สูง แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันรถยนต์ได้มีเทคโนโลยี ที่จะเสริมการทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งการมองแค่แรงบิดและแรงม้าเพียง 2 อย่างอาจไม่พอที่จะวัดประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ทั้งหมดได้ แต่อย่างไร 2 ค่านี้ก็เป็นค่าหลักพื้นฐานของเครื่องยนต์อยู่นั่นเอง ข้อมูลจาก ความหมายของแรงบิดและแรงม้า http://www.toyotanon.com
  6. ขออนุญาตประชาสัมพันธ์นะครับ รายละเอียด All new Toyota Yaris 2013 ฉบับสมบูรณ์ ครบทั้ง ภายนอก ภายใน สีและราคา พร้อมโปรแกรมคำนวนเงินผ่อน และ ตารางอุปกรณ์ตกแต่ง จากโตโยต้านนทบุรี
  7. ก็คงเป็นที่ทราบดีแล้วนะครับเครื่องยนต์ที่ใช้ประเภทน้ำมันเบนซินทุกคันต้องมีก็คือหัวเทียน ที่ใช้ในการจุดระเบิดขับเคลื่อนกระบอกสูบ โดยทั่วไปหัวเทียนจะมีอายุการใช้งาน ตั้งแต่ 8,000 - 20,000 กม. ขึ้นอยู่กับการขับของเรา เมื่อถึงระยะจึงเปลี่ยนเพื่อรักษาความสมบูรณ์ในการทำงานของเครื่องยนต์ แต่ก็มีหัวเทียนแพลตตินั่ม ที่ราคาสูงกว่าและอายุการใช้งานทนทานกว่า แต่ก็ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนนักเรื่องอายุการใช้งานว่าทนกว่ากี่เท่า สิ่งทีอยากจะแนะนำ เราควรจะมีหัวเทียนสำรองเก็บไว้บ้างอันสองอัน ติดเอาไว้ในรถ เปลี่ยนเป็นไม่เป็นค่อยว่ากันอีกที เปลี่ยนไม่เป็นจริงๆ ก็ค่อยหาคนมาเปลี่ยนให้ก็ได้ เมื่อหัวเทียนทำงานอยู่นั้นหน้าที่ของมันก็คือการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ เมื่อใช้งานไปนานๆ เข้า หัวเทียนก็จะสกปรกและสึกหรอ จากความร้อนและคราบเขม่าต่างๆ และแรงดัน เพราะอย่างนี้เราถึงต้องทำความสะอาดหัวเทียน และปรับตั้งของระยะเขี้ยวหัวเทียน แต่ถ้าไม่อยากยุ่งยากหรือหัวเทียนสึกหรอจนปรับไม่ได้ หัวเทียนสำรองนี่ละที่มีประโยชน์ ถ้ารถคุณเป็นรถใหม่ก็ไม่ต้องกังวลในส่วนนี้ ถ้าคุณยังใช้บริการศูนย์อยู่ แล้วเข้าเช็คตามระยะ ก็ไม่ต้องกังวลกับปัญหานี้ เพราะทางศูนย์บริการจะเปลี่ยนให้ เมื่อเวลาครบกำหนด วิธีการถอดหัวเทียนด้วยตัวเอง ก่อนอื่นต้องดับเครื่องยนต์ แล้วเปิดฝากระโปรงและดึงสายหัวเทียนออกก่อน แล้วทำสัญลักษณ์ตัวเลขกำกับไว้ด้วยว่าสายใดเข้าที่เบ้าไหน จะได้เวลาใส่กลับจะได้ใส่ถูก ตามแล้วแต่ประเภทของเครื่องยนต์ของรถ แล้วใช้บล็อคถอดหัวเทียนขันหัวเทียนออกมา *ที่สำคัญก่อนที่จะถอดหัวเทียนออก ให้ทำความสะอาดเบ้าหัวเทียนและรอบๆให้สะอาด เพื่อไม่ให้ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกตกลงไปในกระบอกสูบ ล้างทำความสะอาดหัวเทียน ในกรณีที่มีความรู้เรื่องช่างอยู่บ้าง หลังจากถอดแล้วให้เราเอากระดาษทราย มาขัดทำความสะอาดที่ขั้วหัวเทียน และอย่าลืมตรวจสอบว่า มีความปกติอะไรหรือไม่ เช่น มีความเปียกชื้น จากน้ำมันล่อลื่น มากเกินไปไหมหรือมีคราบเขม่าควันเยอะกว่าปกติ เพราะมาจากการทำงานผิดปกติของ หลังจากใช้กระดาษทรายเช็ดจัดไปแล้ว ถ้าใครมีอุปกรณ์เช็คระยะหัวเทียนก็นำมาวัดระยะแล้วปรับตั้งหัวเทียนได้เลย ให้ทำการล้างต่อด้วยน้ำมันเบนซิน และใส่กลับคืนมันกลับไปเหมือนเดิม *ถ้ารถของท่านมีปัญหา สตาร์ทไม่ติด , ติดสะดุด เหมือนเดินไม่เต็มสูบไม่เต็มที่ ถ้าคิดอาการเหล่านี้เป็นเพราะหัวเทียน เราก็มีวิธีเช็คง่ายๆ ดังนี้ 1. ให้ถอดตัวหัวเทียนออกมาจากเบ้า แต่ให้เสียบสายหัวเทียนเอาไว้ 2. ให้หาคีมที่ตัวด้ามจับเป็นฉนวน คีบหัวเทียน 3. นำไปจ่อกับชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ ใกล้ๆง่ายๆหน่อยก็เป็นตัวถังรถ แต่สิ่งระมัดระวังมากที่สุดห้ามอย่าจ่อไปกับ ที่มีน้ำมันเบนซิน และแบตเตอรรี่ 4. แล้วลองไปติดเครื่องรถดู ว่ามีการเกิดประกายไฟหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ทดสอบซ้ำ โดยนำหัวเทียนมาเปลี่ยนใส่สายหัวเทียนเส้นอื่น ถ้ายังไม่มีอีกแสดงว่าหัวเทียนเสียแล้วให้เปลี่ยนเลย อาจจะเคยได้ยินเรื่องการเปลี่ยนหัวเทียน เปลี่ยนสายหัวเทียนเป็นรุ่นอื่น ทำให้รถแรงขึ้น ขอบอกไว้ก่อนว่า ถ้ารถเราเป็นรถเดิมๆ ไม่แต่งหรือจูนเครื่องยนต์ ก็เปล่าประโยชน์ครับแถมเสียเงินโดยใช้เหตุอีกด้วย ถ้าเปลี่ยนหัวเทียน สายหัวเทียนแล้วรถแรงขึ้นเขาก็คงจะเปลี่ยนกันหมดทั้งประเทศทั้งโลกแล้วละ ถ้ารถอยากรถให้รถแรงมันต้องเซ็ตทั้งระบบครับ ข้อมูลจาก หัวเทียน สิ่งสำคัญของเครื่องยนต์ http://www.toyotanon.com/
  8. หม้อพักไอเสียซึ่งจะถูกติดอยู่ใกล้ๆกับปลายท่อไอเสียที่เราเห็นกันเป็นประจำนั้นมันมีประโยชน์อย่างที่บางคนคิดไม่ถึง โดยหม้อพักไอเสียนี้มีหน้าทีลดอุนหภูมิไอเสียลดแรงดันและควบคุมการขยายตัวของไอเสีย โดยไอเสียที่ออกมาจากเครื่องยนต์นั้นสูงประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (43-71ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) อุณหภุมิสูงประมาณ 600-800 องศาเซลเซียส (1412-1472 ฟาเรนไฮต์) ซึ่งแรงดันที่สูงและความร้อนนี้มีผลทำให้ไอเสีย เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วและเกิดเสียงดัง (ถ้าไม่มีหม้อพักไอเสียจะเป็นเหมือนที่พูดมาข้างต้นฮะ)ดังนั้นหม้อพักไอเสีย จึงถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้คับโดยหม้อพักไอเสียจะควบคุมการขยายตัของไอเสียให้เป็นแบบช้าๆและจะลดอุนหภูมิไอเสีย ก่อนระบายออกมาสู่โลกภายนอกคับแต่การออกแบบหม้อพักไอเสียต้องคำนึงถึงแรงดันย้อนกลับซึ่งจะบันทอนกำลัง ของเครื่องยนต์เมื่อเราเร่งเครื่องเท่าไรแรงดันไอเสียก็จะเพิ่มขึ้นตาใปด้วยเช่นที่ความเร็ว 120 กม.ชมแรงดันย้อนกลับที่ 1 กิโลกรัม และเสียไป4แรงม้าเป็นต้น หม้อพักไอเสียมีอยู่2แบบคือ แบบไส้ย้อน แบบไส้ตรง หม้อพักไอเสียของรถที่ออกมาจากโรงงานมักจะเป็นหม้อพักแบบที่เรียกกันว่า "ไส้ย้อน" อันหมายถึงการที่ไอเสียไหลเข้าไปในหม้อพักและถูกบังคับให้วิ่งวนไปตามห้องในหม้อพักที่กั้นไว้เป็นส่วนๆลอดตามห้องต่างๆ จนกว่าจะออกมาที่ปลายอีกด้านได้ก็เหนื่อยท่อไอเสียแบบนี้ให้เสียงที่เงียบขับแล้วมีความสุขแต่อัดรอบสูงๆเมื่อไหร่ไอเสียจะจุกออกไม่ทันการ ดังนั้นเราจึงมีหม้อพักแบบ "ไส้ตรง" ซึ่งก็คือไอเสียเข้ามาทางด้าน A และออกทางด้าน B โดยเป็นท่อเดียวกันตลอดโดยหม้อพักมีหน้าที่เอาไว้ช่วยซับเสียงที่เกิดขึ้นจึงเป็นที่นิยมในการแต่งรถเพราะช่วยให้ไอเสียออกได้เร็วและโล่งกว่าเดิม โดยทั่วไปแล้วรถที่ทำมาแข่งในสนามคุณมักพบว่ามีการเดินท่อตรงยิงเป็นเส้นตรงให้ได้มากที่สุดจากเครื่องยนต์มาออกด้านท้ายรถหรือด้านข้างรถโดยไม่มีหม้อพักเลย หรือถ้าไม่เช่นนั้นก็มีหม้อพักเพียงใบเดียวโดยไม่มีเครื่องกรองไอเสียวิธีนี้ระบบไอเสียจะมีความอั้นน้อยมากเพราะระบบไอเสียยิ่งมีหม้อพักน้อยก็ยิ่งมีตัวกวนการไหลออกของไอเสียน้อย แต่ผลเสียคือเสียงดังมาก เอาไว้แข่งในสนามได้แต่กับการใช้งานบนถนนผมแนะนำให้ใช้หม้อพักสองใบแต่ละใบยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้บอกช่างทำท่อให้ยัดใยแก้วแน่น ๆ เพราะเมื่อคุณอยู่บนถนนย่อมไม่ดีแน่ถ้ากดคันเร่งแล้วเสียงถึง 90 เดซิเบล ข้อมูลจาก หม้อพักไอเสียรถยนต์ http://www.toyotanon.com
  9. นับวันจะมีรถรุ่นใหม่ออกมาแล่นอยู่บนถนนอยู่เสมอ และยิ่งเดี๋ยวนี้เอาไปติดไฟแบบประหลาดเพิ่มเติมกันเข้าไปอีก ซึ่งจากกฎหมายจราจรของเรา ที่ใช้กันมานานก็ไม่กำหนดชัดถึงเรื่องไฟรถนี้ด้วย ทำให้มีบางคนติดกันตามใจชอบ จนกลายเป็นกระแสแฟชั่นตามๆกันไปอีก ซึ่งความจริงแล้วหน้าที่ของไฟรถ นับว่าเป็นสัญญาณเพื่อบอกตำแหน่งของรถเพื่อบอกให้เตือนบอกให้เห็นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนน ซึ่งนับเป็นสากลแล้วก็ใช่กันทั้งทั่วโลกทั่วประเทศ วันนี้เราจะมาพูดของเรื่องไฟหน้าและไฟฉุกเฉินกันครับ ไฟหน้า ใช้กันให้ถูก ไฟหน้ากระพริบถี่ๆ ที่ชอบเปิดกันในประเทศไทยแปลกันเองว่า ห้ามมานะขอฉันไปก่อน ซึ่งจะเข้าใจกันดีถ้าท่านขับรถอยู่ในประเทศไทย จนกลายเป็นการใช้ในแพร่หลายภายในประเทศและเป็นธรรมเนียมวัฒนธรรมปฏิบัติตามกันไปหมดแล้ว แต่ในความหมายในประเทศตะวันตกฝั่งอังกฤษ ยุโรป คือ การเชิญเรียกให้ไปหรือเข้ามาสิผมให้คุณเข้านะครับ จึงทำให้เห็นบางทีเมื่อฝรั่งมาขับรถในประเทศไทยแล้วเกิดเหตุกันขึ้นมาเพราะความใจผิดของสัญญาณสื่อสาร แต่ก็รู้ไว้ไม่เสียหาย เผื่อท่านมีโอกาสขับในต่างประเทศ เพื่อให้เข้าใจหลักสากลบ้าง ในความหมายของประเทศไทยคงจะไปเปลี่ยนแปลงได้ยากแล้วอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มไปอีก หรือถ้ามีโอกาสในการไปขับรถประเทศอื่นว่าเช้ามีอะไรทำเนียมอะไรแปลกๆไปหรือเปล่าก็อย่าลืมไปศึกษาให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุได้ครับ และจะขอขยายความเพิ่มอีกหน่อยครับ ในส่วนของหลักสากล คือการเตือนให้รู้ว่ามีรถอยู่ตรงนี้นะ โปรดระวังด้วย หรืออาจเป็นถึงสัญญานบอกเตือนแทนแตร หรือบางเขตบางที่เขาจำกัดการใช้เสียงเช่นโรงพยาบาลเป็นต้น และแสงนั้นเดินทางเร็วกว่าเสียงมากอีกด้วย ซึ่งได้ผลกว่าในกรณีวิ่งสวนทาง เป็นต้น การใช้ไฟฉุกเฉิน คงเคยได้ยินกันบ้าง ที่กดใช้ไฟฉุกเฉินแล้วเกิดอุบัติเหตุ ชนกันซ้ำเข้าไปอีก จะยกเหตุการณ์บางกรณีที่ใช้แบบผิดๆ ในบ้านเรา เช่น รถโดนลากจูงแล้วกดไฟฉุกเฉิน หรือ เมื่อจะผ่าน 4 แยกแล้วกดไฟฉุกเฉิน การกระทำแบบนี้อันตรายมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน รถที่สวนทาง รถตามหลังมาหรือตามมาอาจจะเข้าใจว่าจะตรงไป อยู่แล้วแต่ในส่วนของรถแยกข้างๆนั้นจะเข้าใจผิดได้ว่าเราจะเลี้ยว เพราะเนื่องจากเขาเห็นสัญญาณไฟของรถเพียงด้านเดียวถึงอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ณ กลาง 4 แยก และยิ่งยิ่งมากันด้วยความเร็วอาจถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้เลย ใครที่ยังทำอยู่ก็อยากให้เลิกทำซะนะครับ และอีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือเมื่อฝนตกหนักๆ แล้วมองทางไม่ค่อยเห็นแล้วเปิดไปฉุกเฉิน ขับรถนี้ก็เป็นวิธีการที่ผิด อาจให้คันที่ตามหลังมา เข้าใจผิดนึกว่ารถคุณจอดหรือจอดเสียอยู่ และเมื่อเปลี่ยนจะเลน คันตามมาเขาก็ดูไม่รู้ว่าคุณจะไปเลนไหนอีกด้วย อาจจะทำให้เกิดปัญหาเฉี่ยวชนกันได้ ดังนั้นควรคิดให้ดีก่อนที่จะกดไฟฉุกเฉิน การใช้ไฟฉุกเฉินที่ถูกต้องและถูกหลักมีดังนี้ ไฟฉุกเฉินคือไฟ ที่เราบอกสัญญาณกับรถคันอื่นว่า รถเราเสียหรือมีปัญหาไม่สามารถไปต่อได้หรือต้องการทำการจอดชั่วคราว ฯลฯ ซึ่งจอดขวางอยู่ในเส้นทางเพื่อบอกให้คันอื่นหลบหรือเลี่ยงออกไป ซึ่งหลักเป็นสากลใช้กันทั่วโลก สรุปสั้นๆง่ายๆ คือการบอกให้รถคันอื่นว่ารถเราจอดอยู่นั้นเอง ไม่ใช้ขับขี่รถอยู่กลางถนนแล้วไปเปิดมั่ว ทำให้เป็นปัญหาอย่างที่กล่าวไว้ด้านบนได้ นอกจากการขับรถแล้วเราก็ควรจะศึกษาเรื่องการใช้ไฟเปิดไฟด้วยเพื่อความปลอดมากขึ้นในการใช้รถใช้ถนนถึงจะเรียกได้ว่าเราขับรถเป็นและดีอย่างแท้จริงครับ ข้อมูลจาก ไฟหน้าและไฟฉุกเฉินใช้อย่างไรให้ถูกต้อง http://www.toyotanon.com/
  10. รู้จักชนิดของฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่ ขายกันปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ ฟิล์มธรรมดา ฟิล์มปรอท ฟิล์มเคลือบสารพิเศษ และฟิล์มนิรภัย 1.ฟิล์มกรองแสงชนิดธรรมดา ฟิล์มกรองแสงธรรมดา เป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกสีเข้มเพื่อลดแสงสว่างจากภายนอก ความสามารถในการกรองแสงขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยสีอาจถูกผสมเข้าไปในเนื้อฟิล์ม หรืออยู่ในกาว หรือเคลือบบนผิวฟิล์ม ฟิล์มกรองแสงชนิดนี้สะท้อนรังสีความร้อนได้น้อยหรือไม่สะท้อน จุดเด่นของฟิล์มกรองแสงธรรมดาคือ ราคาถูก แต่จุดด้อยคือ มีอายุการใช้งานไม่นานเมื่อเปรียบเทียบกับฟิล์มกรองแสงประเภทอื่น โดยเมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง สีของฟิล์มจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีน้ำตาลอ่อน (เรียกว่า ฟิล์มขึ้นสนิม) ซึ่งจะลดทัศนะวิสัยในการขับขี่ได้ 1.1. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีผสมในกาว 1.2. ฟิล์มกรองแสงประเภทย้อมสี 1.3. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่บนเนื้อฟิล์ม 1.4. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม 2.ฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบโลหะ ฟิล์มกรองแสงเคลือบโลหะ หรือฟิล์มปรอท เป็นฟิล์มกรองแสงที่สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ เนื่องจากผิวด้านหนึ่งของฟิล์มถูกเคลือบด้วยโลหะ ฟิล์มประเภทนี้อาจมีการใส่สีลงไปเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น สำหรับเทคนิคหรือวิธีการเคลือบโลหะลงบนเนื้อฟิล์มที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 วิธีคือ 1.การเคลือบในสุญญากาศ (vacuum coating) และ 2.การเคลือบสปัตเตอริง ซึ่งก็สามารถแบ่งได้เป็นชนิดโครงสร้างหลักๆตามฟิล์มกรองแสงชนิดธรรมดาคือ 2.1. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีผสมในกาว + โลหะ 2.2. ฟิล์มกรองแสงประเภทย้อมสี + โลหะ 2.3. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่บนเนื้อฟิล์ม + โลหะ 2.4. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม + โลหะ 3.ฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบสารพิเศษ โดยสารพิเศษนี้จะเป็นสารที่สามารถป้องกันรังสีอินฟาเรดได้ดีกว่าปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ ฟิล์มกรองแสงประเภทนี้จะเป็นฟิล์มกรองแสงที่มีความทึบแสงน้อย ซึ่งฟิล์มกรองแสงประเภทนี้มีราคาสูงกว่าฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบโลหะ 4.ฟิล์มนิรภัย เป็นฟิล์มกรองแสงที่มีความหนาของเนื้อฟิล์มตั้งแต่ 4 MIL ขึ้นไป (1 MIL = 1 / 1000 นิ้ว) มีคุณสมบัติในการยึดเกาะกระจกได้ดี เหมาะสำหรับในอาคารสูง และในกรณีที่มีความหนาของเนื้อฟิล์มมากๆ สามารถใช้ในการป้องกันการโจรกรรมรวมถึงป้องกันกระสุน(ขึ้นอยู่กับความหนาของเนื้อฟิล์มและกระจก) และอีกเรื่องคือเบอร์ฟิลม์กรองแสง ต้องกล่าวย้อนไปช่วงที่ฟิลม์เข้ามาแรกๆ สมัยนั้นจะมีเบอร์ฟิล์มอยู่น้อย คือ 05, 20, 35, 50 ซึ่ง 1. เบอร์ 05 หมายถึง แสงผ่านได้ 5 % ฟิล์มเข้ม 95 % 2. เบอร์ 20 หมายถึง แสงผ่านได้ 20 % ฟิล์มเข้ม 80 % 3. เบอร์ 35 หมายถึง แสงผ่านได้ 35 % ฟิล์มเข้ม 65 % 4. เบอร์ 50 หมายถึง แสงผ่านได้ 50 % ฟิล์มเข้ม 50 % แต่ที่เข้าใจผิดของบ้านเรามาจนบัดนี้คือ 1. ฟิลม์เบอร์ 05 เรียกผิดว่า ฟิล์ม 80 % 2. ฟิล์มเบอร์ 20 เรียกผิดว่า ฟิล์ม 60 % 3. ฟิล์มเบอร์ 50 เรียกผิดว่า ฟิล์ม 40 % รวมถึงการโฆษณาเกินจริงว่ากันรังสีได้ 99 % แท้จริงเป็นข้อมูลที่บอกไม่หมด เพราะรังสีจากแสงแดดมีอยู่ 3 ส่วนที่จะให้ความร้อนและมีสัดส่วนไม่เท่ากันดังนี้ 1. ความร้อนจากแสงสว่าง 44% 2. ความร้อนจากรังสีอินฟาเรด 53% (IR) 3. ความร้อนจากรังสียูวี 3%(UV) จะเห็นได้ว่า ความร้อนนั้นมาจากทั้งรังสีและแสงสว่าง ซึ่งค่าจากการป้องกันรังสี เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเอามาตัดสินใจได้จริง และการดูคุณสมบัติการกันความร้อนของฟิล์ม ควรดูที่ ค่าการกันความร้อนโดยรวม (TSER) ซึ่งค่านี้จะเป็นค่าที่สรุปการกันความร้อนทั้งหมดของฟิลม์แล้ว การปฎิบัติหลังติดฟิล์มกรองแสง 1. ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลง หรือ เช็ด ถูฟิล์ม ภายใน 7 วัน หลังจากติดตั้ง เนื่องจากกาวของฟิล์มกรองแสงจะใช้ระยะเวลาในการอยู่ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม เช่น การถูกแสงแดด ควรจะรอให้ครบระยะเวลาก่อนจึงเลื่อนหรือเช็ดกระจกได้ 2. หากมีปัญหาอื่นใด เช่น มีฟองอากาศ หรือ ฟิล์มอ้า ฯลฯ ให้รีบติดต่อศูนย์บริการภายในระยะเวลารับประกัน 3. ในการทำความสะอาดฟิล์มกรองแสง ควรใช้ผ้าสะอาด ผ้านุ่มหรือฟองน้ำ ร่วมกับน้ำยาทำความสะอาดฟิล์ม เพื่อกำจัดคราบมัน และไม่ควรนำวัสดุที่ลักษณะเป็นของแข็งหรือผิวไม่เรียบเช็ดถูที่กระจกเป็นอันขาด 4. ห้ามใช้น้ำยาเช็ดกระจกหรือสารเคมีที่มีส่วนประกอบของแอมโมเนีย ( NH4) เพราะอาจทำให้ ชั้นกันรอยของฟิล์มเสียหายได้ 5. ควรหมั่นดูแลรักษาร่องกระจก ไม่ให้มีเศษทรายหรือก้อนกรวดค้างอยู่ในราง เพราะจะทำให้ฟิล์มกรองแสงเกิดความเสียหายได้ ข้อมูลจาก รู้จักฟิล์มกรองแสง 1 รู้จักฟิล์มกรองแสง 2 http://www.toyotanon.com
  11. ในการที่เครื่องยนต์จะทำงาน เข้าใจง่ายๆ คือการจุดระเบิดในกระบอกสูบ เพื่อส่งกำลังให้รถขับเคลื่อน โดยการจุดระเบิดนี้จะต้องมีการผสมกันของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิง ในอัตราส่วนที่พอดี และมีจังหวะของการระเบิดที่พอดีกับการจ่ายน้ำมันด้วยเช่นกัน ดังนั้น ใส้กรองอากาศจึงมีหน้าที่หลักคือกรองอากาศให้สะอาดก่อนเข้าไปเผาไหม้ในห้องเครื่อง ซึ่งจะลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ได้ และนอกจากนี้ยังป้องกันไม่ให้ประกายไฟจากการระเบิด ย้อนกลับไปทำลายห้องเครื่องอีกด้วย แถมยังลดเสียงดังจากการดูดอากาศเข้าเครื่องอีกด้วย ไส้กรองอากาศที่ใช้กับรถยนต์ ในส่วนมากเป็นแบบกระดาษแห้ง เมื่อสกปรกก็สามารถเป่าทำความสะอาดได้ มีบางชนิดที่เป็นแบบกระดาษเคลือบน้ำมันแบบนี้เป่าไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนอย่างเดียว ไส้กรองอากาศถ้าสกปรกมากๆ จะทำให้อากาศไหลเข้าเครื่องได้น้อยลง อัตราส่วนของอากาศและน้ำมันผิดไปจากปกติ ทำให้เร่งเครื่องไม่ค่อยขึ้น รอบขึ้นช้า กินน้ำมัน ไอเสียมาก และถ้าฝุ่นผงหลุดเข้าไปในห้องเครื่อง ก็จะทำให้เครื่องยนต์สึกหรออย่างรวดเร็ว ไส้กรองอากาศ สามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ โดยทั่วไปจะปิดด้วยฝาครอบและล็อคด้วยคลิป เมื่อเปิดออกมาแล้ว ก็จับกรองอากาศยกขึ้นมาดูในด้านที่รับลม ถ้าเห็นว่าดำมากๆ ในกรณีเป็นกรองกระดาษก็เป่าไล่ฝุ่นได้ทันที จะเป็นที่เป่าลมแบบไฟฟ้าหรือ ที่เป่าตามปั้มก็ได้ ไส้กรองอากาศรถยนต์ http://www.toyotanon.com
  12. รถยนต์ในปัจจุบันได้พัฒนาอุปกรณ์ ป้องกันให้ดีขึ้น และมีการเสริมเพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นระบบถุงลมนิรภัย ระบบเซ็นเซอร์ภายนอกรถ การปรับปรุงโครงสร้างตัวถัง แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่แม้จะผ่านไปหลายยุค จะรถกี่รุ่นก็ต้องมีคือ หมองพิงศีรษะ ซึ่งยังคงลักษณะการใช้งานแบบดั้งเดิม และเป็นสิ่งที่ผู้ขับหลายคนใช้กันผิดวัตถุประสงค์ ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับการชนกันก่อน โดยส่วนใหญ่การชนมักเกิดขึ้นด้านหน้า เมื่อมีการชนเกิดขึ้นร่างกายจะสะบัดไปหน้ารถตามแรงกระแทก ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บในการชนลักษณะนี้ สายคาดนิรภัย ที่จะยึดตัวคนนั่งให้ติดกับเก้าอี้ และถุงลมนิรภัยที่จะป้องกันศีรษะของคนนั่งไม่ให้กระแทกกับคอนโซลและลดพื้นที่ที่ศีรษะจะสะบัดจนเกิดการบาดเจ็บที่คอได้ แต่การชนอีกอย่างคือการถูกชนจากด้านหลัง ซึ่งการชนแบบนี้จะส่งผลให้ตัวรถมีการพุ่งไปข้างหน้า ร่างกายโดยเฉพาะศีรษะจะถูกผลักไปด้านหลังจากแรงกระแทก การชนลักษณะนี้จะทำให้คอเงย ซึ่งอาจจะทำให้เกิด การบาดเจ็บของเอ็นยึดที่กระดูกต้นคอได้ ในภาษาแพทย์เรียกว่า Whiplsh Injury การบาดเจ็บที่บริเวณนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทถึงขั้นอัมพฤต ได้เลยทีเดียว อุปกรณ์ที่ป้องกันการบาดเจ็บจากการชนจากด้านหลังมี สายรัดนิรภัย ที่ยังทำหน้าที่ยึดตัวคนนั่งเอาไว้ และ หนอนพิงศีรษะ เพราะแม้ตัวจะถูกยึดกับที่ แต่รถก็ยังพุ่งไปข้างหน้า ขนาดที่ศีรษะจะแกว่งไปข้างหลังอย่างรุนแรง จึงต้องมีหนอนพิงศีรษะมารองรับ แต่ปัญหาคือ คนขับรถส่วนใหญ่มัก จะไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้ของหมอนพิงศีรษะ มักเข้าใจว่าไว้หนุนเพื่อความสบาย ปรับหมอนพิงให้หนุนบริเวณต้นคอ ซึ่งกลับเป็นการสร้างความบาดเจ็บมากขึ้นไปอีก เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เหตุนี้จึงมีผู้ผลิตบางรายออกแบบหมอนพิงศีรษะไม่ให้ปรับได้ เพื่อตัดปัญหานี้ไป จากการทดสอบพบว่า ระดับความสูงของหมอนพิงศีรษะที่จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้จะต้องไม่ต่ำกว่าระดับใบหู โดยสามารถทดสอบได้ง่ายๆ โดยเมื่อนั่งพิงพนักเต็มที่ หลังศีรษะของเราส่วนที่นูนที่สุดจะแตะหมอนพอดี แสดงว่าระดับของหมอนถูกต้อง ข้อมูลจาก วัตถุประสงค์ในการใช้หมอนพิงศีรษะ http://www.toyotanon.com/
  13. O2 Sensor (ออกซิเจน เซ็นเซอร์) ตัวจับค่าออกซิเจน ในไอเสีย เป็นตัวตรวจวัดความสมบูรณ์ในการเผาไหม้เชื้อเพลิง ในเครื่องยนต์ อากาศโดยทั่วไปจะมีออกซิเจนอยู่ 21 % แต่ในไอเสียรถยนต์ ที่เผาไหมดี จะมีปริมาณออกซิเจนอยู่ที่ 1-2 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ซึ่งเครื่องนี้จะอ่านค่าออกซิเจนในทางเดินไอเสีย และส่งค่าไปยังกล่องสมองกลเพื่อคำนวณว่าเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพเผาไหม้ไอดีอย่างไร O2 Sensor สร้างขึ้นด้วยกระเปาะหลอดทรงถ้วย ซ้อนกันสองชั้น เปลือกของหลอดทำด้วยทองคำขาวที่มีรูพรุนและระหว่างเปลือก 2 ชั้นจะบรรจุเซรามิกที่นำไฟฟ้าได้ไว้ ตัวเซ็นเซอร์นี้จะถูกขันติดเข้าไปในทางเดินท่อไอเสีย ด้านหน้าของ แคทาลิติกคอนเวิร์ตเตอร์ เพื่อให้ส่วนที่เป็นกระเปาะเข้าไปรับไอเสีย และส่วนท้ายกระเปาะอยู่นอกทางเดินไปเสียเพื่อให้สายไฟมาเสียบต่อเข้ากับกล่องสมองกล การทำงาน เมื่อไอเสียไหลเข้าในกระเปาะ จนถึงเปลือกชั้นในของกระเปาะ ตัว O2 Sensor จะมีการเปรียบค่ากันระหว่างออกซิเจนในไอเสียกับออกซิเจนภายนอก ส่งผลให้เกิด ions ขึ้นภายในเซรามิกที่กั้นไว้ ซึ่ง ions เป็นอะตอมที่มีค่าความต่างของกระแสบวกและกระแสลบ และจะสร้างกระแส Voltage ขึ้น ยิ่งความต่างของออกซิเจนในไอเสียกับอากาศภายนอกมากเท่าไหร่ ions ก็ยิ่งมาก และกระแส Voltage ก็จะมากตามไปด้วย กระแส Voltage ที่ได้จะส่งไปยังกล่องสมองกล เพื่อวัดค่าว่ากระแสอยู่ในระดับที่ควรเป็นหรือไม่ โดยปกติกระแสที่ปล่อยจากตัวออกซิเจนเซนเซอร์ จะมีค่า 0.2 - 0.9 โวลต์ และกล่องสมองกล จะจ่ายเชื้อเพลิงให้ตามอัตราข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งถ้าค่าโวลต์ที่ได้รับมีมากแสดงว่า ส่วนผสมของเชื้อเพลิงมีน้อยเกินไป และถ้าถ้าค่าโวลต์มีน้อย แสดงว่าส่วนผสมของเชื้อเพลิงมีมากเกินไป ออกซิเจนเซ็นเซอร์แบบนี้บางครั้งจะเรียกว่า narrow-range oxygen sensor เพราะการที่ตัวจับสัญญาณเปลี่ยนค่าเร็วมาก วินาทีละ 5-7 ครั้ง ในสภาพเครื่องปกติ ผู้ขับจึงรู้สึกว่ารถเดินเรียบนั่นเอง ข้อมูลจาก O2 Sensor ออกซิเจนเซนเซอร์คืออะไร http://www.toyotanon.com
  14. เจ้าของรถหลายคนที่คิดจะเปลี่ยนขนาดยาง เปลี่ยนล้อแม็ก คงจะเจอปัญหาปวดหัวไม่น้อยว่า "แล้วจะเปลี่ยนเป็นขนาดอะไรได้บ้าง" หรือ "แบบที่ชอบ ที่ถูกใจ จะใส่กับรถเราได้ไหม" หรือ "แล้วจะกินน้ำมันไหม มีผลกับการขับอย่างไร" หลักการเปลี่ยนขนาดยางมีไม่มากนัก ดังต่อไปนี้ 1. ล้อและยางที่จะเปลี่ยนไม่ควรมีหน้ากว้างมากเกินไป เพราะรถจะหนัก พวงมาลัยหนัก เลี้ยวได้ลำบาก หรือบางทีก็ติดซุ้ม ยางเป็นรอย ฯลฯ 2. เส้นรอบวงรวมเท่าของเดิมจะดีที่สุด ซึ่งในที่นี้หมายถึงขนาดกระทะล้อบวกกับขนาดแก้มยาง ซึ่งถ้าเปลี่ยนแล้วจะต้องคำนวณให้ผลรวมของ 2 ค่านี้เท่าของเดิมหรือถ้าไม่ได้ก็ให้ใกล้เคียง ตอนนี้คงจะมีคำถามตามมาแล้วว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ไม่ต้องห่วงครับ เรามีวิธีคำนวณมาบอก เวลาดูขนาดยาง จะมีค่าตัวเลขอยู่บนยาง เช่น 195 / 55 / R15 โดยใช้ตัวแทนเป็น W / S / d W = ความกว้างของหน้ายาง S = ซีรี่ย์ยาง คิดเป็น % แต่ต้อง คูณ 2 เพราะต้องคิดทั้ง 2 ข้าง บนและล่าง d = เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อแม๊ก หรือกะทะล้อ หน่วยเป็นนิ้ว แต่เวลาใช้ต้องเปลี่ยนเป็น มิลลิเมตร สูตรคำนวน D = (W x S% x 2) + d และจะได้ค่าที่เราต้องการคือค่า D = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของยาง (หน่วยเป็น มิลลิเมตร ) ตัวอย่างที่ 1 ขนาดยาง 195 / 55 / R15 W = 195 , S = 55% คือ 0.55 , d = 15 นิ้ว เป็นมิลลิเมตร 15x25.4 =381 แทนค่าใน D=(W x S% x 2)+d คือ D=(195 x 0.55 x 2) + 381 = 595.5 ดังนั้น ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ได้เท่ากับ 595.5 มม. ตัวอย่างที่ 2 ขนาดยาง 205 / 45 / R16 W = 205 , S = 45% คือ 0.45 , d = 16 นิ้ว เป็นมิลลิเมตร 16x25.4 = 406.4 แทนค่าใน D=(W x S% x 2)+d คือ D=(205 x 0.45 x 2) + 406.4 = 590.9 ดังนั้น ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ได้เท่ากับ 590.9 มม. ในกรณีนี้ยางรถตัวอย่างที่ 1 และ 2 สามารถใส่แทนกันได้ครับ ถือเป็นข้อสำคัญเวลาจะเปลี่ยนขนาดยางหรือล้อแม็กครับ ที่ต้องให้มีขนาดใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด เพื่อลดปัญหาหรือผลข้างเคียงในการขับขี่ครับ ข้อมูลจาก การคำนวนขนาดยางรถยนต์ http://www.toyotanon.com/
  15. พูดถึงการเดินทางเป็นครอบครัว ในยุคที่คนออกรถกันเกลื่อนถนนแบบนี้ แน่นอนว่าต้องเลือกเดินทางกันด้วยรถส่วนตัวมากกว่า ทั้งในแง่ความสะดวก การขนสัมภาระ หรือความยืดหยุ่นในการเดินทางที่กำหนดเองได้ แต่ถ้าครอบครัวไหนมีเด็กเล็กเดินทางไปด้วย คุณจะให้เขานั่งที่ไหน? ในประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็กเล็ก(Child seat) เข้าไปในตัวรถ เพราะคนในประเทศต่างๆ ศึกษาและมองเห็นถึงอันตรายที่เกิดกับเด็กที่นั่งอยู่ในรถ ซึ่งอุปกรณ์นี้จะเป็นตัวป้องกันเด็กเล็กได้อย่างดีเวลาเกิดอุบัติเหตุ แต่ในประเทศไทยกลับมอง Child seat นี้เป็นของฟุ่มเฟือย และตั้งภาษีสูงจนสินค้าตัวนี้มีราคาแพงอย่างมาก อีกทั้งยังไม่มีการรณรงค์และให้ความรู้ถึงข้อดีในการใช้ ท้ายที่สุดจึงทำให้ Child Seat กลายเป็นอุปกรณ์ที่หลายคนในประเทศไม่รู้จักไป และถ้าใครสนใจคิดจะซื้อ Child Seat มาติดตั้ง โตโยต้านนทบุรี มีคำแนะนำในการเลือก Child Seat มาฝาก 1. โครงสร้างของเบาะเหมาะกับตัวเด็ก เน้นให้นั่งสบายและป้องกันตัวเด็กได้ เพราะจะไม่มีประโยชน์เลยถ้า ขนาดไม่เหมาะสมกับการป้องกันอันตรายตัวเด็ก ยิ่งถ้าสามารถปรับขนาดได้ตามสรีระ และอัตราการเติบโตของเด็กด้วยก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี 2. สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เช่น สามารถถอดเบาะหุ้มออกไปซักได้ 3. มีการระบายอากาศที่ดี นั่งแล้วไม่ร้อน เพราะจะทำให้เด็กปฏิเสธการนั่ง Child Seat ไป 4. มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน มีตรารับประกัน 5. ไม่มีส่วนที่เป็นเหลี่ยมคม ที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ 6. วัสดุที่ใช้ผลิตมีความแข็งแรง ทนทาน และควรมีน้ำหนักเบา เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย อย่างไรเสียถ้าใครไม่มี Child Seat เราก็มีวิธีประยุกต์การปกป้องเด็กๆ ที่นั่งในรถได้ 1. ควรให้เด็กนั่งเบาะหลังชิดไปด้านใดด้านหนึ่ง เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุเด็กจะกระแทกพนักพิง ซึ่งการบาดเจ็บจะน้อยกว่าการนั่งตรงกลาง ซึ่งเด็กอาจกระเด็นออกนอกตัวรถได้ 2. เข็มขัดนิรภัยในรถควรใช้กับเด็กที่โตสักหน่อย ไม่เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะสรีระที่ต่างกัน การดึงรั้งบางมุมขณะเกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้บาดเจ็บเสียเอง 3. ไม่ควรอุ้มเด็กนั่งตักในที่นั่งข้างคนขับ เพราะขณะที่รถวิ่งแม้เพียงความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น เด็กจะกระเด็นออกด้วยน้ำหนัก 20 เท่าของน้ำหนักตัวเด็ก ซึ่งคนอุ้มไม่สามารถรั้งตัวเด็กไว้ได้แน่ๆ จึงมักเกิดการสูญเสียขึ้นเสมอๆ จากเหตุการณ์แบบนี้ และในรถที่มีถุงลมนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุถุงลมนิรภัยก็อาจกระแทกเด็กให้รับบาดเจ็บเช่นกัน การติดตั้ง Child Seat นั้นไม่ควรติดตั้งที่เบาะหน้าของรถ เพราะอาจถูกกระแทกจากถุงลมนิรภัยได้ จุดที่ดีที่สุดคือเบาะหลัง และในรถบางรุ่นมีจุดที่เอาไว้ติดตั้ง Child Seat โดยเฉพาะก็มี ทั้งนี้ ราคาของ child seat ที่วางขายกันในปัจจุบัน เริ่มต้นตั้งแต่หลักพัน จนถึงหลายหมื่นบาทเลยทีเดียว Child Seat ของดีที่ไม่ได้รับการสนับสนุน www.toyotanon.com
×
×
  • Create New...