Jump to content

project DIY ไฟท้ายเดิม เครดิตคุณเกรซ Zephyr ครับ


Recommended Posts

เจ้าของ DIY อันนี้คือคุณ เกรซ Zephyr ครับ ทั้งไฟหน้า Projector ไฟท้าย LED ของเขาทั้งนั้น :)

 

http://www.youtube.com/watch?gl=CA&hl=en&v=uAmpnXnpRP8

 

 

มาแล้วครับรูป พร้อมคำอธิบายคร่าวๆ

อย่างแรกต้องบอกก่อนนะครับว่า งานนี้จะว่ายากก็ยาก จะว่าไม่ยากก็ไม่ยากครับ

ความยากของมันไม่ได้อยู่ที่การทำวงจรหรือต่อสายอะไรครับ แต่อยู่ที่

1. การหาอุปกรณ์ครับ โดยเฉพาะ LED ผมไปเดินบ้านหม้อมาถามคนขายว่า LED นี้มี spec หรือเปล่า คำตอบคือไม่รู้ 55 คนขายของยังไม่รู้เลยครับ ดังนั้นผมจึงต้องใช้วิธีเสี่ยงเอา คืองี้ครับ ผมต้องการ LED ที่เป็นแบบ super flux คือสว่างกว่า LED ทั่วๆไป ตามปรกติ LED แบบ super flux คือแบบที่มี 4 ขา โดยจะกินกระแสที่ประมาณ 70 mA แต่บ้านเราแยกลำบากเพราะว่า LED แบบสี่ขาที่บ้านเราขายกันนั้นทำจากหลายที่มากๆ แล้วก็ไม่ได้มีการคุม spec ส่วนใหญ่จะใช้กระแสปรกติแบบ 3 mm หรือ 5 mm ที่เป็น 2 ขา คือที่ 20 mA

วิธีการที่ผมทำคือไปทีร้านแถวบ้านหม้อ แล้วผมก็เลือกเอาอันที่มันสว่างที่สุดอ่ะ มั่วๆเอาเลยซะงั้น (แต่สำหรับ LED สีส้มที่ผมซื้อมานั้น บังเอิญผมค่อนข้างมั่นใจระดับนึงว่าสามารถทนกระแสได้ที่อย่างน้อย 50 mA เนื่องจาก packaging มันดูมีมาตรฐานดี คือบรรจุใน หลอดขนาด 60 ดวง และมี part no. และ lot code ครับ)

2. การแกะโคม เนื่องจากการ seal โคมไฟท้ายนั้นมันไม่เหมือนไฟหน้าที่ใช้ความร้อนในการแกะ แต่การ seal โคมไฟท้ายใช้วิธีการเชื่อมพลาสติก ดังนั้นวิธีการแกะคือต้องตัดอย่างเดียว ผมใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องเจียรมือขนาดจิ๋ว ที่เปลี่ยนหัวได้ครับ เป็นหัวตัด ซึ่งผมซื้อไว้ใช้ตั้งแต่โปรเจ็คโคมไฟหน้าครับ ส่วนการ seal กลับนั้นง่ายมาก ใช้ silicone ใสครับ หลังจาก seal แล้วแกะมาแก้ไขได้ง่ายด้วย

เอาล่ะครับ เรามาเริ่มขั้นตอนกันเลย

LED01.jpg

ภาพแรกเป็นภาพที่ผมทดลองวาง LED บนแผ่นวงจรเอนกประสงค์ครับ เพื่อให้ได้ขนาดตามต้องการ ตกลงใช้ LED 20 ดวงต่อ ไฟท้าย 1 ดวง

เนื่องจากไฟรถอยู่ที่ประมาณ 12 volt แต่ LED สีแดงมี forward voltage ที่ประมาณ 2.0-2.5 โวลต์ ดังนั้นผมจะใช้ LED 4 ดวงต่อ 1 แถว แล้วต่อกับตัวต้านทานขนาด 82 โอห์ม เพื่อคุม forward current ที่ประมาณ 35 mA (อย่างที่บอกผมไม่แน่ใจสักเท่าไรนะครับ จริงๆผมอยากได้กระแสที่ ประมาณ 50 mA)

ดังนั้นในไฟท้าย 1 ดวงผมต้องต่อ LED แบบขนาน 5 แถว แถวละ 4 ดวง)

LED02.jpg

LED03.jpg

ภาพที่สองและสาม หลังจากต่อเสร็จแล้วครับ

LED04.jpg

ภาพที่สี่ เป็นการทดลองว่าต่อเรียบร้อยไม่มีปัญหาอะไร

สังเกตกล่องสีดำจะเป็น voltage regulator และ Pulse Width Modulation (PWM) หน้าที่ของมันคือ หนึ่ง ควบคุมvoltage ให้คงที่ที่ 12 volt (ไฟรถผมเวลาติดเครื่องจะจ่ายไฟ 13.5 volt และจะ drop ตอนพัดลมทำงานครับ) และสอง ควบคุมความสว่างของไฟท้าย (ความสว่างของไฟท้ายตอนไม่เหยียบเบรก ผมสามารถปรับได้ครับ แต่จะไม่ปรับ max เพราะ ค่า max นั้นสำหรับตอนเหยียบเบรก)

MyPMWandREG.jpg

เอาหละ test ดู เอาไปใส่ในโคม ตอนเหยียบเบรก และไม่เหยียบเบรก

LED05.jpg

LED06.jpg

หน้าตาไม่สวยแฮะ ต้องตบแต่งหน่อย โดยการใช้ แผ่นฝ้าอะคริลิก สำหรับทำฝ้าที่มีไฟอยู่ด้านในน่ะครับ เอามาตัดและเจาะรู

LED07.jpg

แต่เนื่องจากมันยังไม่สวยเท่าไร เลยเอา sticker มาแปะซะ ได้เรื่อง!!!

LED08.jpg

LED09.jpg

เสร็จแล้วสำหรับไฟท้าย ต่อไปเป็นไฟเลี้ยว

ไฟเลี้ยวนี่วุ่นวายเล็กน้อยตอนผมทำ เหมือนเดิมผมต่อ LED สี่ดวงต่อ 1 แถว แต่คราวนี้ผมใช้กระแสมากหน่อย คือที่ 45 mA ด้วยเหตุผลที่ผมบอกข้างต้น ดังนั้นเลยต่อตัวต้านทานที่ 56 โอห์มต่อแถวครับ

ที่นี้ เนื่องจากว่าผมต้องการให้มันเป็นแบบ sequential ผมก็ต้องวางแผนหน่อย อย่างแรกก็ต้องตัดแผ่นวงจรให้ได้ขนาดใกล้เคียงกับช่องที่เป็นไฟเลี้ยว แล้วก็ดูว่าจะแบบเป็นกี่ segment ดี โดยวงจรที่ผมเอามาทำนั้นประกอบด้วย IC 4017 ซึ่งเป็น decade counter คือแบ่งได้มากสุด 10 ช่อง

MySequentialTurn.jpg

สรุปแล้วผมแบ่งเป็น 7 segment ครับ (โดยบาง segment จะประกอบด้วย LED 2 แถว บาง segment จะประกอบด้วย LED 1 แถว เพื่อให้สอดคล้องกับรูปร่างของแผ่นวงจรครับ) คือไฟจะสว่างไล่จาก segment ที่ 1 ไล่ไปจนถึง segment ที่ 7 โดยความเร็วของการไล่จะสามารถปรับได้จากตัว variable resistant (จำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับจังหวะของไฟเลี้ยวของรถ)

LED10.jpg

ระหว่างทำมันก็มีปัญหาเล็กๆน้อยๆหลายอย่าง แต่ผมคงไม่สาธยายนะครับ เพราะมันเป็นรายละเอียด เอาเป็นว่าถ้าใครจะทำแล้วเจอปัญหาก็ค่อยถามมาละกัน

LED11.jpg

LED12.jpg

เอาหละเสร็จแล้ว จริงๆผมมีการตัด อะคริลิก เพื่อตีกล่องในช่องไฟเลี้ยวด้วยนะครับแต่ผมไม่ได้ถ่ายรูปมา ตอนนั้นรีบทำไปหน่อย คือผมตีกล่องเพื่อวางแผ่น LED ให้อยู่ตื้นขึ้นมาหน่อยโดยหลัง LED นั้นผมสามารถใส่วงจร sequential ซ่อนไว้ได้ และยังใส่หลอดไฟเลี้ยวเดิมไว้ได้ด้วย

หลายคนอาจจะงงว่าทำไมผมต้องใส่หลอดไฟเลี้ยวเดิมไว้ด้วย อันนี้เป็น technique ครับ สำหรับคนที่ไม่ทราบก็รับไว้เป็นความรู้ละกันครับว่าถ้าเราเอาหลอดไฟเลี้ยวออก คือไม่ต่อไว้ ไฟเลี้ยวจะกระพริบด้วยควาถี่ที่สูงขึ้นเพราะว่าระบบมันจะคิดว่าหลอดไฟขาดครับ พูดง่ายๆคือ relay หน่วงเวลาไฟเลี้ยวมันพบว่า load ไม่พอ ดังนั้นมันจึงไม่หน่วงเวลา

การแก้ไขตรงนี้สำหรับรถรุ่นอื่นอาจจะไปซื้อ electronics relay มาเปลี่ยนแทน relay ไฟเลี้ยวเดิมได้ แต่สำหรับ FD ไม่ได้คับ เพราะตัว relay ไฟเลี้ยวของ FD นั้นมัน integrate อยู่ที่แผงควบคุมด้านหน้า (ที่ หน้าปัด) ผมเลยต้องต่อหลอดไฟเลี้ยวเดิมขนานไว้ด้วยเพื่อให้ระบบมี load พอที่จะหน่วงเวลาครับ (แต่คนอื่นมองไม่เห็นเพราะมันซ่อนอยู่หลังแผง LED)

อิอิ ตอนประกอบไม่ได้ถ่ายอ้ะครับ

ขอบคุณที่ติดตามนะครับ

Link to comment
Share on other sites

อร๊าย Mod ต้น เริ่มจัดแร้น :P

 

เอามาเยอะๆ ทำ Tag ดีๆ หาง่ายๆ

 

เอาของอาจารย์เกรซ มาลง :lol:

Link to comment
Share on other sites

มาต่อกันที่วงจร

 

MyPMWandREG.jpg

 

เอาเป็นว่าผมอธิบายวงจรแรกก่อนเลยนะครับ

วงจรแรกนี้เค้าเรียกกันว่า PWM (Pulse Width Modulation)

ประโยชน์ของมันคือไว้สำหรับ “หรี่” ไฟ LED น่ะครับ

ลองคิดดูเวลาที่เราต่อไฟเข้า LED ไม่ว่าจะเป็นไฟส่องเท้าหรืออะไรก็แล้วแต่ มันจะมีความสว่างแค่ค่าเดียวใช่มั้ยครับ ความสว่างนั้นจะเป็นความสว่างที่สูงที่สุดและเราจะใช้ความสว่างระดับนั้นเป็น “ไฟเบรก” ครับ

ดังนั้น ในกรณีเป็นไฟปรกติที่ยังไม่ได้เหยียบเบรก ความสว่างของ LED ก็จะต้องน้อยกว่าเวลาเหยียบเบรก และ***เจ้า PWM เนี่ยแหละครับที่เราจะนำมาใช้ “หรี่” ไฟ LED

ผมใช้คำว่า “หรี่” แต่จริงๆแล้วมันไม่ได้จ่ายกระแสให้ LED น้อยลงหรือให้ volt ที่น้อยลงแต่อย่างไรครับ หน้าที่ของ PWM คือทำให้เกิดสัญญาณ “เปิด-ปิด” วงจรที่ ความถี่สูง จนทำสายตาเรามองว่ามันสว่างน้อยลงเท่านั้นเองครับ ทั้งๆที่วงจรยังคงมีกระแส และ volt เท่าเดิม

ถ้าดูจากในวงจร ตัวที่ทำหน้าที่ก่อให้เกิดสัญญาณ “เปิด-ปิด” คือ IC เบอร์ 555 น่ะครับ ซึ่งตัว IC นี้จะมีทั้งหมด 8 ขา ซึ่งเราสามารถควบคุมความถี่ของการ “เปิด-ปิด” ได้จากตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ VR1 ขนาด 500 Kohm (เหมือนตัวปรับเสียงที่หมุนๆได้อะครับ)

สำหรับ IC อีกตัวนีงคือ KIA278R12PI นั้นมันคือตัว voltage regulator ธรรมดาๆ นี่เอง หน้าที่มันคือควบคุม voltage ให้คงที่ที่ 12 volt ครับ

ตามที่เราๆน่าจะทราบกันว่า แบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้แต่ละคันนั้นมี volt ที่ไม่เท่ากัน โดยมีตั้งแต่ 13 volt จนถึง 14 volt และระหว่างที่รอบเครื่องตัดหรือพัดลมแอร์ทำงาน volt ก็จะดรอป

ดังนั้น ตัว IC ตัวนี้คือทำหน้าที่ให้ปรับ volt ให้คงที่ที่ 12 volt เป๊ะๆ ตลอดเวลาอะครับ

เพียงแต่ IC ตัวนี้จะพิเศษกว่าตัวอื่นคือมี 4 ขา โดยขาที่ 4 จะเป็นขาสัญญาณ on/off คือสั่งให้ตัว IC ทำงานหรือไม่ทำงานน่ะครับ

การต่อวงจรนั้น ความจริงถ้ามีพื้นฐานทาง electronic สักเล็กน้อยก็น่าจะไม่มีปัญหาแล้วล่ะครับ ก็ดูกันตามวงจรตรงๆเลย แล้วก็พยายามไล่ดูนิดนึงว่าตัวไหนต่อกับตัวไหนเท่านั้นก็เรียบร้อย

ส่วนตัวย่อต่างๆก็มีดังนี้นะครับ

D1 ก็คือ diode ที่ทนกระแสได้สัก 2-3 amp

D2 ก็คือ diode เหมือนกัน แต่ไม่จำเป็นต้องทนกระแสได้สูงนัก อาจใช้เบอร์เดียวกับ D3 ก็ได้ครับ คือ 1N4148 ถ้าผมจำไม่ผิดผมจะใช้ 1N4007 ครับ

หน้าที่ของ Diode คือเมื่อต่อในวงจรแล้วจะยอมให้กระแสวิ่งผ่านด้านเดียว ไม่ยอมให้วิ่งไหลกลับ นั่นก็คือกระแสจะวิ่งผ่านได้ตามทางที่สัญลักษณ์ diode ชี้ไปครับ

R ก็คือตัวต้านทาน ซึ่งผมก็ใส่ตัวเลขจำนวน Ohm ไว้ให้แล้วครับ เช่น 300 ก็คือ 300 ohm 5K ก็คือ 5 kilo-ohm

ส่วน C ก็คือตัวเก็บประจุ

Q ก็คือ transistor ซึ่งผมเขียนเบอร์ไว้แล้วคือ แบบ PNP เบอร์ TIP42

เอาล่ะ วิธีการทำงานของวงจรนี้ผมจะอธิบายคร่าวๆดังนี้นะครับ

ในตอนแรกเวลาที่เราเปิดไฟ กระแสไฟจะวิ่งจาก Marker (หรือไฟหรี่นั่นแหละ) เข้าไปในวงจรโดยส่วนแรกจะวิ่งเข้าไปที่ IC regulator ส่วนที่สองจะวิ่งไปยังขาของ transistor และส่วนที่สามจะวิ่งเข้าไปวงจรที่มี IC 555 คุมอยู่

ซึ่งวงจรที่มี IC555 จะสร้างคำสั่ง “เปิด” และ “ปิด” สลับกันไปโดยมี่ VR1 คอยควบคุมความถี่ของการเปิดปิด ในกรณีที่สัญญาณ "เปิด" ถูกส่งออกมานั้น จะออกมาทางขาที่ 3 ของ IC555 โดยจะเข้าไปยัง transistor เพื่อกระตุ้นให้ กระแสในส่วนที่สอง ไหลผ่าน transistor ได้

เมื่อกระแสส่วนที่สองไหลผ่าน transistor มาได้ ก็จะวิ่งไปสู่ขาที่ 4 ของ IC regulator เพื่อกระตุ้นให้ IC regulator เป็น status ON และส่งกระแสไปยัง แผง LED ที่เราต่อไว้ ไฟก็จะสว่าง

ในกรณีที่วงจร IC 555 ส่งกระแส “ปิด” ก็จะทำให้กระแสทั้งหมดหยุดไหลครับ

อย่างไรก็ตาม การเปิด และปิดนี้ เร็วมากจนสายตาเรามองไม่ทัน เราจะเห็นเพียงสว่างขึ้น กับมืดลง เท่านั้นเองครับ หรือพูดง่ายๆก็คือ “หรี่” ไฟ ได้โดยการปรับที่ VR1

ส่วนเวลาเราเหยียบเบรก กระแสจะวิ่งจาก Brake ไปยัง IC regulator และอีกทางส่งไปยังขาที่ 4 ของ IC regulator เพื่อบอกให้ IC ทำงาน

ในกรณีนี้สัญญานจะสั่งให้ IC regulator ทำงานตลอดเวลาเพราะไม่มีคำสั่ง “เปิด-ปิด” ใดๆทั้งสิ้น กระแสก็จะไหลจาก IC regulator ไปยังแผง LED ตลอดเวลา

สิ่งที่เรามองเห็นก็คือ ไฟ LED จะสว่างเต็มที่ เวลามีสัญญานจาก Brake ครับ

Link to comment
Share on other sites

วิธีผ่าโคมโดยคุณตี๋ Login : next9422

 

 

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1. คัตเตอร์

2. สว่านมือ

3. ใบตัดพลาสติก

160220091228_resize.jpg

4. ดินสอไม้ที่มียางลบติดที่ปลายหรือปากกาเขียนแผ่นซีดี (ของผมใช้อันหลังนี้) เน้นเลยนะครับต้องมียางลบที่ปลาย

160220091222_resize.jpg

เริ่มลงมือได้

1.ใช้สว่านมือ ตัดขอบระหว่างขอบแดงและของสีเทาออกจากกัน ใช้เวลาเป็นชั่วโมง

160220091209_resize.jpg160220091210_resize.jpg

2.เมื่อตัดแยกจากกันจะได้ตามรูป

160220091211_resize.jpg160220091212_resize.jpg

3.แกะน๊อตสองตัวนี้ออก เฉพาะโคมไฟเบรค(โคมใหญ่) หลังจากนั้นใช้มือดันโคมไฟเบครออกจากเบ้า แน่นมาก

160220091214_resize.jpg

4.เมื่อแยกชิ้นส่วนเสร็จ ก็จะได้ตามรูป

160220091216_resize.jpg

5.หลังจากนั้น นำโคมไฟเบรคสองอันนี้มาแกะฝาครอบใสออกจากโคม

วิธีแกะ ดันสลักสองตัวนี้ออกก่อน แล้วให้เอาดินสอหรือปากกา ที่มียางลบ มาสอดเข้าไปในรูไฟเบรค แล้วหงายโคมไฟขึ้น

จับดินสอหรือปากกาให้มั่น กระแทกโคมไฟลงกับพื้น อย่างแรงมากนะครับ ฝาครอบใสก็จะหลุด

160220091219_resize.jpg

160220091220_resize.jpg

6.หน้าตาของสลักสองตัวที่กล่าวถึง

160220091217_resize.jpg160220091218_resize.jpg

7.เมื่อถอดฝาครอบได้

160220091224_resize.jpg

8.ต่อมาก็ถอดฝาครอบใสออกจากโคมไฟหรี่

160220091225_resize.jpg

9.วิธีถอด ให้เอาดินสอหรือปากกา ที่มียางลบ มาสอดเข้าไปในรูไฟเบรค แล้วหงายโคมไฟขึ้น

จับดินสอหรือปากกาให้มั่น กระแทกโคมไฟลงกับพื้น อย่างแรงมากนะครับ ฝาครอบใสก็จะหลุด

160220091226_resize.jpg

เป็นอันเสร็จวิธีการแกะไฟเบรค

Link to comment
Share on other sites

สุดยอดมากเลยครับ เเต่งคงทำเองไม่ได้เเหง่ๆ :0153:

 

ขอบคุณนะครับ สำหรับข้อมูลดีๆ

Link to comment
Share on other sites

กระทู้นี้เลยที่รอคอย บ้านเก่าโดนลบหมดเลยอ่ะ (ของคุณต้นอ่ะครับ) อยากดูแบบที่คุณต้นทำกับไฟท้ายของMC อ่ะครับ

Link to comment
Share on other sites

สวยอ่ะ แต่ไม่กล้าทำ

 

ลองเลยครับ มีวิธีทำแล้ว ที่เหลือคือความกล้า :0025:

 

 

กระทู้นี้เลยที่รอคอย บ้านเก่าโดนลบหมดเลยอ่ะ (ของคุณต้นอ่ะครับ) อยากดูแบบที่คุณต้นทำกับไฟท้ายของMC อ่ะครับ

 

ของ MC ก็ทำประมาณนี้ครับ ยากมาก ทำอีกไม่ไหว :0129:

 

[media=]

[/media]

 

 

 

ไฟท้ายสวยมากคับพี่ต้น

 

ขอบคุณครับ ลงทำกันดูครับ

Link to comment
Share on other sites

  • 4 weeks later...

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...