Jump to content

Recommended Posts

งานนี้ขอเล่นเซนเตอร์นะครับ  ประตูเดียวให้เฮียเฟิร์ส เป็น 555 รับรองม่ะเข้า

คุณขอมา  เราจัดให้...

Link to comment
Share on other sites

สำรวจเสาอากาศทีวีดิจิตอลแบบใช้ในอาคาร

ทางเราได้นำเสนอเรื่องกล่องทีวีดิจิตอลหรือ set top box มาเยอะแล้วนะครับ คราวนี้ก็ถึงโอกาสที่จะลองมาสำรวจเสาอากาศที่จะใช้กับกล่องทีวีดิจิตอลกัน บ้างนะครับ

ตามที่เคยได้เขียนบทความมาแล้วว่า หากท่านมีเสาอากาศเดิมอยู่แล้วก็สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้เลย เพราะเสาส่งส่วนใหญ่ก็อยู่ที่เดิม ทิศทางเดิม ช่วงทดลองออกอากาศอาจจะต้องรอหน่อยจนกว่าจะมีการปรับค่าต่างๆ ได้นิ่งแล้วค่อยทดลองจูนหาช่องก็ได้นะครับ

แต่สำหรับบางคนที่คิดว่าลองแล้วเสาอากาศเดิมไม่น่าจะใช้งานได้ อาจจะเพราะอยู่ไกล หรือเพิ่งย้ายเข้าหอใหม่ที่ระบบ CATV เดิมสัญญาณหายไปเยอะ จะซื้อเสาก้างปลามาติดเองก็ยุ่งยาก เจ้าของบ้านหรือหอพักอาจจะไม่อนุญาต ไหนจะค่าใช้จ่ายในการหาเสา ค่าแรงช่าง ลองดูเสาหนวดกุ้งแล้วเหมือนจะไม่สามารถดูได้เลยหมุนหนวดกุ้งจนหนวดจะหักอยู่ แล้วเป็นต้น

เสารับสัญญาณทีวีดิจิตอลภายในอากาศแบบ Active ก็น่าสนใจนะครับ เพราะในตัวเสาเองจะมีตัวขยายสัญญาณในตัว และต้องอาศัยไฟเลี้ยงจากกล่องทีวีดิจิตอลหรือ set top box ซึ่งก็ไม่ต้องห่วงนะครับว่ากล่องจะปล่อยไฟมาหรือไม่ เพราะตามข้อกำหนดของ กสทช แล้วหากผ่านการรับรองมาแล้วกล่องจะต้องสามารถปล่อยไฟ 5V ออกมาได้ ผ่านการตั้งค่าด้วยระบบเมนูของกล่องเอง

กลับมาเรื่องเสาอากาศทีวีดิจิตอลภายในอาคารของเรากันนะครับ ตอนนี้ก็มีหลายบริษัทวางจำหน่ายอยู่หลายยี่ห้อด้วยกัน ทั้งขายพร้อมกล่องและขายแยก ซึ่งเท่าที่สำรวจดูแล้วราคาขายรวมกับขายแยกก็ไม่ต่างกันมาก เราอาจจะซื้อหากล่องมาลองก่อน หากดูไม่ได้แล้วค่อยไปซื้อเสาอากาศตามมาทีหลังก็ไม่ต้องเสียดายส่วนลดมากนัก

เรามาเริ่มกันที่ยี่ห้อแรกกันเลยนะครับโดยเป็นตารางสรุปรุ่นยี่ห้อราคา ส่วนข้อมูลด้านล่างจะเป็นรายละเอียดของสายอากาศภายในอาคาร (Active Antenna) ของแต่ละรุ่น/ยี่ห้อนะครับ

ยี่ห้อ รุ่น Gain ราคาโดยประมาณ SAMART D1A 12-18 dB 500-600 บาท SAMART D2A 12-16 dB - SAMART D7A 16 dB 300-350 บาท Leotech DBY-20 20 dB 400-550 บาท Leotech T2H 28 dB 690 บาท Createch AT-1 20 dB 400 บาท

indoor-antenna-samart-d1a.jpg

เสาอากาศ SAMART D1A

เป็น Indoor Antenna รุ่น D1A ขนาดใหญ่พอสมควร วางขายตามห้างขนาดใหญ่หรืออาจจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ก็ได้นะครับ ราคาจะอยู่ในช่วง 500 – 600 บาท มีการบรรยายสรรพคุณไว้ว่าเป็นเสาอากาศชนิด Flat Corner Reflector Antenna ทำให้มีอัตราชยายสูง รับสัญญาณที่มีความเข้มต่ำได้ดี มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย

ลักษณะเด่นของเสาอากาศ

- ออกแบบพิเศษเพื่อรองรับทีวีดิจิตอลโดยเฉพาะ

- ใช้รับสัญญาณทีวีย่ายความถี่ UHF

- อัตราการขยายสูง ทำให้รับในที่สัญญาณต่ำได้ดี

- อุปกรณ์พร้อมติดตั้ง สายสัญญาณ + JACK ทีวี

- ใช้วัตถุดิบผสมสาร UV ทำให้ทนทานต่อการเสื่อมสภาพ

- น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย สามารถติดตั้งบนโต้ะหรือยึดผนังได้

- ใช้รับสัญญาณภายในอาคาร

- เป็นเสาอากาศชนิด Flat Corner Reflector Antenna ทำให้มีอัตราการขยายสูงรับสัญญาณที่มีความเข้มต่ำได้ดี

ข้อมูลทางเทคนิค

Model : D1A

Frequency Range : UHF 470 – 862 MHz

Channel : 21-69

Gain : 12 – 18 dB

Max Output Level : 100 dB

Impedance : 75 Ohm

Noise Figure : < 2.5 dB

Power Supply : 5 VDC from set top box

Power consumption : 40 mA

Weight : 780g

สายสัญญาณที่ให้มามีความยาวประมาณ 3.5 เมตร

samar-d2a.jpg

เสาอากาศ Samart D2A

เสาอากาศรุ่นนี้ จะมีลักษณะบางกว่ารุ่น D1A โดยจะหนาเพียง 1 เซ็นติเมตรเท่านั้น ขนาดตัวกว้างยาวก็จะเป็น 22×11 เซ็นติเมตร โดยสามารถตั้งพื้นหรือแขวนผนังก็ได้ การออกแบบจะเป็นลักษณะ Flat Antenna โดยวัตถุดิบผสมสาร UV ทำให้ทนทานต่อการเสื่อมสภาพ โดยเสาอากาศรุ่นนี้จะมีสายยาวมาให้ 5 เมตร

ข้อมูลทางเทคนิค

Model: D2A

Frequency Range : UHF 470 – 862 MHz

Impedance : 75 Ohm

Power Supply : 5 VDC <25 mA

Gain : 12 – 16 dB

Noice figure : < 2.5 dB

น้ำหนัก : 265g

ส่วนราคายังไม่ทราบแน่ชัด ได้เรื่องเมื่อไหร่แอดมินจะรีบมา update โดยไวนะครับ

indoor-antenna-samart-d7a.jpg

เสาอากาศ SAMART D7A

เสาอากาศรุ่นนี้ก็เป็นของ Samart เช่นกัน แต่อาจจะมีการกล่าวถึงกันน้อย ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในต้องตลาดจึงมีน้อย ราคาจะอยู่ใสช่วง 300 – 350 บาท โดยระบุว่าจะต้องใช้กับเครื่องรับ DVB T2 เท่านั้น

ข้อมูลทางเทคนิคเท่าที่มีระบุคือ

Frequency Range : UHF 470 – 862 MHz

Impedance : 75 Ohm

Power Supply : 5V

Gain : 16 dB

indoor-antenna-leotech-dby-20.jpg

เสาอากาศ Leotech DBY-20

เสาอากาศยี่ห้อนี้พบเห็นมีการรีวิวการใช้งานอยู่บ้าง ตามร้านค้าทั่วไปอาจจะหาซื้อได้ยาก ส่วนใหญ่สินค้าลักษณะนี้สามารถหาซื้อได้จากร้านขายแบบออนไลน์หรือร้านขาย อุปกรณ์ดาวเทียม โดยคุณสมบัติโดดเด่นเป็นเรื่องของขนาดและน้ำหนัก รูปร่างที่สามารถเอาเทปมาติดกับกระจกหน้าหรือหลังรถได้ จึงเหมาะกับการใช้งานในรถยนต์อีกด้วย

spec ของสายอากาศ

- Frequency Range : UHF 470 – 860 MHz

- Gain : 20 dB

- Impedance : 50 Ohm

- Supply Voltage : 5 – 12 VDC

- Working Current : 15 – 30 mA

- Cable Length : 5 m

จะเห็นได้ว่าให้อัตราขยายถึง 20 dB เลยทีเดียวพร้อมสายสัญญาณยาวถึง 5 เมตร ส่วนราคาจำหน่ายอยู่ที่ 400 – 550 บาท

indoor-antenna-leotech-t2h.jpg

เสาอากาศ Leotech ANTRE-LEO-T2H-00

เสาอากาศตัวนี้มีจุดเด่นในเรื่อง Gain ที่สูงในระดับ 28 dB สำหรับย่านความถี่ UHF การออกแบบสวยงามโดดเด่น ราคาประกาศขายหน้าเว็บอยู่ที่ 690 บาท โดยข้างกล่องระบุคุณสมบัติต่างๆดังนี้คือ

เสาอากาศรับดิจิตอลทีวี T2H

– เสาอากาศถูกออกแบบมาให้รับสัญญาณ Full HD ได้เป็นอย่างดี

– ผิวสีดำมันวาว สวยงามดูสมดุลกับทีวี เรียวสูงประหยัดพื้นที่

– สวิทส์ปิด/เปิดและปรับอัตราขยายได้

– มีอัตราขยายสูงถึง 28 dB

– มีความไวในการรับสัญญาณดีเยี่ยม

– LED แสดงสถานะการทำงาน

– ป้องกันการรบกวนได้ดีมาก

– ไม่ต้องเสียบไฟ ต่อใช้ไฟจากกล่อง set top box ได้เลย

– รับได้ทั้ง VHF : 87.5 – 230 MHz และ UHF: 470 – 862 MHz

Spec

Frequency Range : VHF : 87.5 – 230 MHz UHF: 470 – 862 MHz

Receiving Range: VHF /UHF/ FM

Gain : VHF 26bB/ UHF 28dB

Output level: 100 dBuv

Output Impedance : 75 Ohm

Noise Figure: <= 3 dB

Power Supply : 5 VDC (From STB)

Working Current : 40 mA

indoor-antenna-createch.jpg

เสาอากาศ Createch AT-1

เป็นเสาอากาศขราดเล็ก มีฐานเป็นแม่เหล็กดูดโลหะได้ทุกที่ Gain ก็อยู่ในระดับใช้ได้ ราคาอยู่ในช่วงประมาณ 400 บาท เหมาะสำหรับคนที่หาความสะดวกในการติดตั้ง ตัวเสาอากาศไม่มีสวิทส์ปิดเปิด แต่จะมีไฟแสดงสถานะสีเขียวอยู่บนแป้นเล็กๆ ที่ติดมากับสายสัญญาณ สายสัญญาณที่ให้มาจะยาวประมาณ 2 เมตร

spec

Frequency Range : 470 – 862 MHz

Gain : UHF 20dB

Output Impedance : 75 Ohm

Power Supply : 5 VDC (From STB)

Operating Temperature : -20C to +65C

สรุป

การจะซื้อเสาอากาศภายในรุ่นไหน ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและระยะห่างจากเสาส่งนะครับ หากที่อยู่ของเราห่างจากเสาส่งไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องซื้อเสาอากาศภายในที่มี gain สูงเกินไปเพราะไม่จำเป็น แต่หากท่านคิดว่าระยะห่างของเสาส่งกับที่อยู่ของท่านถือว่าไกลแล้วละก็ มองหาเสาอากาศที่มี gain สูงๆ ไว้ก่อนก็จะเป็นการดี แม้ราคาอาจจะสูงถึงสองเท่าก็ตาม

Link to comment
Share on other sites

วันนี้ อากาศดีมาก ชอบๆ  

 

 

วันนี้มีงานเพลงที่ทำงานก้อง 

 

 

BtWHOHLCMAA4f4p.jpg

Link to comment
Share on other sites

เมื่อพูดถึงรถยนต์กระบะรุ่นใหม่ที่มีมากมายในตลาดแล้วนั้น รถยนต์กลุ่มนี้ในปัจจุบันมีพัฒนาที่ก้าวล้ำไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรากำลังพูดถึงรถรุ่นใหม่ที่ตอบสนองการขับขี่ได้ดีขึ้นมากกว่าแค่ภาพเดิมที่ถูกมองว่าเป็นรถส่งของ

กระบะรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนั้นจนมายืนเทียบชั้นรถ นั่งหลายๆรุ่น จนได้รับความนิยมมาแต่งแรงกัน โดยเฉพาะเรื่องของเครื่องยนต์ที่วิ่งได้ไม่แพ้รถเก๋ง และเมื่อพูดถึงการทำให้รถยนต์แรงขึ้นนั้น เราหลายคนต้องเคยได้ยินตัวอักษร EGR ที่ได้รับคำแนะนำว่าให้อุดมันทิ้งเสียเถิดเพื่อความสนุกในการขับขี่

boucher-egr.jpg

หลายคนอาจจะตัดสินใจในเรื่องการอุด EGR ที่สามารถตอบโจทย์ในความแรงโดยไม่ได้ไถ่ถามว่าตกลงมันมีความสำคัญอย่างไร บ้าง แต่แท้ที่จริงแล้ว EGR หรือ Exhaust Gas Recirculation นั้น คือวาล์วตัวหนึ่งที่ทำการดึงไอเสียจากท่อไอเสียกลับมาหมุนเวียน ในการเผาไหม้อีกรอบ ซึ่งประโยชน์หลักของมันนั้นก็เพื่อตอบสนองเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม

เราคงต้องบอกว่า วิศวกรไม่ได้คิดเกินในส่วนนี้ขึ้นมา หากแต่ EGR นั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อมอย่างที่ได้กล่าวไปเช่นเดียวกับในเรื่องของการ ประหยัดน้ำมัน และเชื่อหรือไม่ การอุด EGR อาจจะทำให้รถคุณไม่ได้รับการประกันในเรื่องเครื่องยนต์ด้วย

 

ความเชื่อเรื่องอุด EGR

 

อย่างที่เรากล่าวไปแล้วว่า EGR หรือ Exhaust Gas Recirculation นั้นคือการนำไอเสียกลับมาเผาไหม้ซึ่ง แน่นอนว่า มันก็ไม่ต่างอะไรจากการที่เอาของเสียมายัดลงไปในท้องอีกครั้ง และนั่นคือการก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่ว่า อุด EGR แล้วจะแรงขึ้น

images.jpg

แนวคิดอุด EGR นี้มีขึ้นมาได้สักระยะหนึ่งแล้วเริ่มต้นในกลุ่มคนเล่นรถกลุ่มเล็กที่หาวิธี แรงทางลัด ด้วยการศึกษาระบบเครื่องยนต์ และเมื่อเจอ EGR ที่เป็นการนำไอเสียมาเผาไหม้นั้นอีกครั้งนั้น ก็เลยทดลองทำการอุดเพื่อตัดการทำงานในการนำไอเสียมาเผาไหม้ใหม่อีกครั้ง

การปิดช่องทางในการนำไอเสียมาเผาไหม้ใหม่นั้นส่งผลให้อากาศที่เข้าสู่ เครื่องยนต์นั้นมีแต่อากาศที่ออกมาจากเทอร์โบ ซึ่งเมื่อผ่านชุดอินเตอร์คูลเลอร์ ก็ทำให้มีความเย็นลงและเป็นอากาศที่มีการควบแน่นสูงทำให้มีการตอบสนองที่ดี จากเครื่องยนต์นั่นเอง

 

ผลดีที่มากับผลเสีย

 

คำถามที่สำคัญคือ เมื่ออุด EGR แล้วจะมีผลเสียอะไรตามมาหรือไม่ คนที่อุดส่วนใหญ่ ซึ่งโดยมากเป็นผู้ใช้และศึกษาเรื่องเครื่องยนต์ในแบบรู้กันมาปากต่อปาก ทั้งจากประสบการณ์ตัวเองและประสบการณ์ช่างหรือ Guru ก็มักจะบอกว่าไม่มีอะไร ..รับรองแรง!!! แต่ในความเป็นจริงแล้ว การอุด EGR นั้นมีผลเสียเช่นกัน แลัวควรต้องพิจารณาให้ดี

egr1.jpg

เมื่ออุด EGR สิ่งแรงที่จะเกิดขึ้นคือการเสื่อมสภาพของเครื่องยนต์ที่จะเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะการขับขี่ แต่ที่หลายคนลืมไปคือเครื่องยนต์ดีเซลนั้นปัจจุบันเป็นระบบไฟฟ้า หรือคอมมอนเรล ซึ่งใช้การตรวจจับอากาศที่ออกมาจากไอเสียคอยควบคุมสั่งการทำงานของเครื่อง ยนต์

การวัดค่าอากาศนี้ระบบจะทำการประมวลผลโดยผล ECU (Electronics Control Unit) หรือ ECM (Electronic Control Management) ตามแต่รถรุ่น นั้นจะเรียก ซึ่งค่าอากาศและส่วนผสมนั้นจะถูกประมวล และในจังหวะที่เครื่องยนต์มีการปล่อยไอเสียมากวาล์ว EGR ที่อยู่ตรงท่อไอดีก็จะเปิดขึ้นเพื่อให้ไอเสียนั้นกลับมาเผาไม้อีกครั้ง เพื่อลดก๊าซไอเสียอย่างคาร์บอนมอนนอกไซด์ หรือที่เรารู้จักในฐานะ "ควันดำ" ซึ่งมีส่วนประกอบโลหะหนักในกลุ่มควันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ลองคิดง่ายเมื่อวาล์วเปิดเครื่องยนต์ย่อมจะต้องสั่งลดการสั่งจ่ายน้ำมัน ให้ส่วนผสมบางลงเพื่อลดการเกิดแก๊ส โดยหวังว่าแก๊สไอเสียที่มีส่วนน้ำมันที่ปนอยู่ในลักษณะก๊าซที่เผาไหม้ไม่หมด นั้นมาควบรวมแล้วจุดระเบิดเผาไหม้อีกครั้งนั้นจะมา แต่เราดันไปอุดมันนั้น ผลคือส่วนผสมที่บางย่อมส่งผลในเรื่องของการจุดระเบิดที่ไม่ปกติ คือส่วนผสมบาง ซึ่งทำให้เครื่องยนต์ร้อนขึ้น เสี่ยงต่อเครื่องยนต์พังมากกว่า แต่แน่นอนย่อมมีคนต้องบอกว่ายังไม่มีใครเจอ แต่จะคิดแค่วันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้

egr_valve_location.jpg

ประการต่อมา เมื่อระบบไอเสียมีมลพิษมาก ผลคือระบบระบายไอเสียที่ปัจจุบัน มีตัวกรองไอเสีย ซึ่งเราเรียกว่า Caterlytic Converter นั้น จะทำหน้าที่หนักขึ้นและ เมื่อมันทำงานหนักก็เสี่ยงที่จะอุดตันเร็วกว่าปกติ เมื่อเทียบกับรถที่ ไม่ได้ทำการอุด EGR และสุดท้ายที่ลืมนึกถึงไม่ได้ คือเทอร์โบ ที่ปัจจุบันเทอร์โบแบบ Variable หรือ Geometry turbo นั้นมีการอ่านค่าไอเสียและรอบเครื่องยนต์ในการปรับความสัมพันธ์ในการทำงาน ของชุดครีบ ซึ่งทำให้เสียหายต่อแกนเทอร์โบมีความร้อนสะสมมากกว่านั่นเอง

 

 

เข้าใจอย่างถ่องแท้ตกลง EGR คืออะไร  

 

 

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า EGR นั้นค่อนข้างมีความสัมพันธ์กับหลายระบบมากกว่าที่คิดไม่ใช่เพียงแค่ ท่อที่นำไอเสียมาหมุนวนใหม่อีกครั้งเท่านั้น แต่มันอาจจะยังส่งผลถึงระบบต่างมากมาย ซึ่งเราไม่ได้ห้ามไม่ให้ทำแต่อยากให้เข้าใจอย่างแท้จริงก็เท่านั้น

EGR หรือ exhaust gas recirculation เป็นกระบวนการทางวิศวกรรมในการนำไอเสียจำนวนหนึ่งประมาณ 5-15 % กลับมาเผาไหม้ร่วมกับ อากาศดีเพื่อให้มีไอเสียที่ดีขึ้นลดมลภาวะที่เกิดจากก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์

แน่นอนจะเห็นได้ว่ามันไม่ใช่ทั้งหมดของไอเสียจะถูกโยนกลับเข้าสู่ห้องเผา ไหม้ แต่แม้จะเป็นเพียงเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่ง EGR เองก็มีข้อเสียทำให้น่ำมันเครื่องนั้นมีเขม่ามากกว่าปกติโดยเฉพาะเครื่อง ยนต์ดีเซล แต่นี่คือข้อดี 4 ประการของการมี EGR

1.ลดการสูญเสีย อัตราเร่ง EGR นั้นคือการนำไอเสียมาเผาไหม้และการจะเผาไหม้ไอเสียนั้นลิ้นปีกผีเสื้อต้อง รับอากาศดีเข้ามาด้วย และถ้าคุณจับทางได้จะพบว่า อัตราเร่งจะลดลง(เครื่องลอยตัวมากกว่า)ไปน้อยกว่าเมื่อไม่อุด EGR

2.เครื่องทำงานลื่นไหลมากขึ้น อันนี้เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งสักนิด แต่ให้นึกถึงน้ำร้อนน้ำเย็น และมันก็เป็นเช่นนั้นกับอากาศและกระบอกสูบ คิดง่ายๆการอุด EGR เปรียบเหมือนกับการอากาศร้อนจากไอเสียออกไปทำให้เครื่องยนต์รับแต่อากาศดี และเย็นสบายแต่ความจริงแล้ว อากาศที่ดีนั้นทำให้ เครืองยนต์มักจะสูญเสียค่าความร้อนหน้าสัมผัสลูกสูบมากกว่ าถ้าเทียบกับมีไอเสียจาก EGR เข้ามาผสม ซึ่งแม้อาจจะไม่สามารถรู้สึกได้จากปลายเท้า แต่เชื่อเถอะว่ามีจริง

3.ลดก๊าซไอเสีย แน่นอนนี่คือหน้าที่หลักของ EGR และก๊าซไอเสียถูกใส่เข้ามาเมื่อถึงจุดสูงสุดของลูกสูบเพื่อเผาไหม้ก๊าซ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

4.ลดค่าความร้อนที่ลูกสูบ จำได้ไหมที่เราบอกว่าเมื่อ EGR ทำงานแล้วส่วนอากาศนั้นผสมจะน้อยลงหมายถึงส่วนผสมบางลง และเมื่อส่วนผสมบางลง นั้นก็หมายถึงการที่อากาศใหม่ที่เปลี่ยนจากเย็นเป็นร้อนหลังจากเผาไหม้ก็จะ น้อยลงตามไปด้วย ทำให้เครื่องยนต์มีการสึกหรอน้อยลง

 

ถ้ามองตามข้อเท็จจริงของ EGR แล้ว แน่นอนมันเป็นเพียงระบบที่หมุนวนนำอากาศไปเผาไหม้อีกครั้ง หากแต่ระบบนี้นั้นยังมีอีกหลายสิ่งที่ แม้แต่ช่างก็ไม่ได้เข้าใจอย่างลึกซึ่ง ฉะนั้นหากคิดจะอุด EGR นั้นจงคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนทำ

Link to comment
Share on other sites

้ดี๋ยวอัพให้นะนายหัว ขับรถไปโลตัสอยู่ ติดสลัดบาร์มากๆ

Link to comment
Share on other sites

อัพเดตๆ 

 

เดี๋ยววันนี้ทำ จม ไปขอสปอนเซอร์ที่บริษัทของหัวหน้าตั้ม ถ้าได้ก้อ 5000  เดี๋ยวทำชุดทีมใหม่ เพราะเค้าให้เงินมาทำเสื้อ ไม่อยากขัดเจตนา

 

แต่เอาถูกๆหน่อย เดี๋ยวลองถามครูฝึกก่อนว่าพอหาได้ป่าว ถ้าไม่ได้คงพึ่งหัวหน้าตั้ม

 

เอาถูกๆชุดละ 250 พอ สกรีนนิดหน่อย น่าจะจบได้ 300 ซัก 10 ชุด 3000  ที่เหลือขอปันมาแชร์ค่าทีม น่าจะโอนะ  :D

 

เอาแขนสั้นนะ แขนยาวมันร้อน+แพง 

 

557000006319501.JPEG

 

 

ไปแข่งได้ คอนเฟิมอีกทีนะ  :D ขอเบอร์เสื้อด้วย (เสื้อถ้าหาเงินได้  :Pนะ ถ้าไม่ได้เอาตัวเก่า 555 )

1. ทอมมี่ L เบอร์ 6 Comfirmed ลงได้ เสื้อ L
2. ตาต่ำ XL เบอร์ 13 Comfirmed ลงได้ เสื้อ XL
3. เติร์ก S เบอร์ 7 Comfirmed ลงได้ เสื้อ S
4. เอ๊ะ Ae M เบอร์ 10 Comfirmed ลงได้ เสื้อ L
5. พี่วิท พอไหว M เบอร์ 18 Comfirmed ลงได้ เสื้อ M
6. wat XL เบอร์ 5 Comfirmed ลงได้ เสื้อ XL
7. sarmkung M เบอร์ 3 Comfirmed ลงได้ เสื้อ M
8. เต๊นท์ ยังไม่มีเสื้อ Comfirmed ลงได้ เสื้อ L
9. ซัน Manulism ยังไม่มีเสื้อ Comfirmed ลงได้ เสื้อ L
10.Yong Morphias L เบอร์ 11 Comfirmed ลงได้ เสื้อ L
11. S เอส S เบอร์ 9
12. เอิท L เบอร์ 21
13. พี่พร L เบอร์ 8
14. อัยพี ศูนย์หน้าผ้าเย็น

ไปเชียร์ แต่ไม่แข่ง  :0108:
1. น้ำพริก
2. ดิววี่
3. น้องเก๋วรัญ
4. พี่เอ๋
5.เฟิส

6. โอ 

 

kapook_world-588968.jpg

 

พี่เฟิส สู้ๆ นะ คร่ะ   นะ คร่ะ  :0093: 

Link to comment
Share on other sites

เสื้อญี่ปุ่นเหรอครับ ถ้าใช่ผมเปลี่ยนเป็นไซส์ M นะคับ คิดว่ามันไม่รัดรูปเหมือนชุดพี่คราวก่อนแน่ครับ

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...