Jump to content

Recommended Posts

หลักการเลือกซื้อประกันภัย แบบมืออาชีพ ฉบับ Mr.Prakanpai ของแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลัก คือ

 

1. แบบประกันภัยรถยนต์ เสี่ยงมาก ใช้รถมาก ควรเลือกคุ้มครองมาก เบี้ยสูง เสี่ยงน้อยใช้รถน้อย ซื้อความเสี่ยงเองบ้าง เบี้ยต่ำ

2. บริษัทประกันภัย ชื่อเสียงไม่เสียหาย ศูนย์บริการ หรืออู่ ที่เราจะเข้าใช้บริการ ยามมีสินไหม ยินดีที่จะรับ

3. ส่วนลดพิเศษ เช่น ส่วนลดจากการระบุผู้ขับ ส่วนลดจาดการจัดรายการ ส่วนลดจากเป้าท้ายทาย รู้จริงได้ส่วนลดจริง

4. ซื้อจากคนขายมืออาชีพ เมื่อมีสินไหม คนขาย ตัวแทน นายหน้า หรือโบรคเกอร์ คือตัวช่วยสำคัญที่แก้ปัญหาได้

 

ขอแยกอธิบายตัวหัวข้อต่อไปครับ

Link to comment
Share on other sites

1. แบบประกันภัยรถยนต์ เสี่ยงมาก ใช้รถมาก ควรเลือกคุ้มครองมาก เบี้ยสูง เสี่ยงน้อยใช้รถน้อย ซื้อความเสี่ยงเองบ้าง เบี้ยต่ำ

การเลือกแบบประกันที่เหมาะสม อาจช่วยแบ่งเบา ค่าใช้จ่ายได้มากครับ ปัจจุบัน การทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจสามารถเลือกทำได้ 5 ประเภท คือ

 

1. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 1 (ประกันภัยชั้น 1)

2. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 2 (ประกันภัยชั้น 2)

3. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 3 (ประกันภัยชั้น 3)

4. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 4 (ประกันภัยชั้น 4)

5. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 5 (ประกันภัยชั้น 5)

 

รายละเอียด ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 1 (ประกันภัยชั้น 1)

คุ้มครอง : ซ่อมเขา + ซ่อมเรา + สูญหาย + ไฟไหม้

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 1 หรือ กรมธรรม์คุ้มครองรวม (Comprehensive Cover)

มีรายละเอียดการให้ความคุ้มครอง ดังนี

- ให้ความคุ้มครองต่อชีวิต และร่างกายของผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือของคู่กรณี โดยในกรณีเสียชีวิต

บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้ไม่ต่ำกว่า 300,000 บาทต่อคน

- ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับความเสียหาย เช่น รถยนต์ของคู่กรณี

- ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันที่ทำประกันภัย รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งหรือสิ่งที่ติดกับตัวรถยนต์

- ให้ความคุ้มครองในกรณีรถยนต์สูญหาย และกรณีตัวรถยนต์ถูกไฟไหม้ โดยรวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งหรือสิ่งที่ติดกับตัวรถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 2 (ประกันภัยชั้น 2)

คุ้มครอง : ซ่อมเขา + ไม่ซ่อมเรา + สูญหาย + ไฟไหม้

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 2 หรือกรมธรรม์ประเภทคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก คุ้มครองรถยนต์สูญหาย

และไฟไหม้ (Third Party Liability, Fire and Theft) มีรายละเอียดการให้ความคุ้มครอง ดังนี้

- ให้ความคุ้มครองต่อชีวิต และร่างกายของผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือของคู่กรณี โดยในกรณีเสียชีวิตบริษัทประกันภัย

จะชดใช้ค่าเสียหายให้ไม่ต่ำกว่า 300,000 บาทต่อคน

- ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับความเสียหาย เช่น รถยนต์ของคู่กรณี

- ให้ความคุ้มครองในกรณีรถยนต์สูญหาย และกรณีตัวรถยนต์ถูกไฟไหม้ โดยรวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่ง

หรือสิ่งที่ติดกับตัวรถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 3 (ประกันภัยชั้น 3)

คุ้มครอง : ซ่อมเขา + ไม่ซ่อมเรา ไม่รวมสูญหายไฟไหม้

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 3 หรือกรมธรรม์ประเภทคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก (Third Party Liability)

มีรายละเอียดการให้ความคุ้มครอง ดังนี้

- ให้ความคุ้มครองต่อชีวิต และร่างกายของบุคคลภายนอก หรือของคู่กรณี โดยในกรณีเสียชีวิตบริษัทประกันภัย

จะชดใช้ค่าเสียหายให้ไม่ต่ำกว่า 300,000 บาทต่อคน

- ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับความเสียหาย เช่น รถยนต์ของคู่กรณี

 

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 4 (ประกันภัยชั้น 4)

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 4 หรือกรมธรรม์ประเภทคุ้มครองต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

(Third Party Properties Liability) ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เช่น

รถยนต์ของคู่กรณี โดยบริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท

ต่ออุบัติเหตุในแต่ละครั้ง

 

5. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 5 (ประกันภัยชั้น 5 หรือเรียกกันติดปาก 2+ 3+ 2พิเศษ 3พิเศษ)

คุ้มครอง : ซ่อมเขา + ซ่อมเรา(จำกัดตามทุนประกัน และมีเงื่อนไข) + สูญหาย + ไฟไหม้(จำกัดตามทุนประกัน และมีเงื่อนไข)

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 พิเศษ ที่มีกรมธรรม์ประกันภัยเบ็ดเตล็ดเพิ่มเติม

โดยมีรายละเอียดการให้ความคุ้มครอง ดังนี้

- เป็นกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 ที่เพิ่มคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนความคุ้มครองในการซ่อมรถคันเอาประกัน

ด้วยในวงเงินสูงสุด 300,000 บาทต่อครั้ง

- คุ้มครองในกรณีที่เป็นการเกิดอุบัติเหตุโดยมีคู่กรณีเท่านั้น ไม่ว่าผู้เอาประกันจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็ตาม

- ในกรณีที่เป็นฝ่ายผิด บางแพ็คเกจจะต้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) 2,000 บาท

 

ลองพิจารณาตามความเหมาะสมก่อนไปหัวข้อต่อไปครับ

Link to comment
Share on other sites

การเลือกบริษัทประกันภัยที่เหมาะกับเรา สามารถตรวจสอบได้ ต่อไปนี้

 

1. หากว่าเกิดอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันภัย สะดวก หรือต้องการเข้าซ่อมศูนย์บริการ หรืออู่ไหนที่มากสุด (ต้องหาข้อมูลนี้ก่อน)

 

2. สอบถามในศูนย์บริการ หรืออู่ (ตามข้อ 1) เขารับบริษัทประกันภัยที่ไหนบ้าง อยากได้บริษัทประภัยที่ใดเป็นพิเศษหรือไม่

 

3. ตรวจสอบชื่อเสียงบริษัทที่เลือกมา หรือได้มาจากอู่ หรือศูนย์บริการ (ถามอาก*๋google หรือเพื่อนในนี้ก็ได้ครับ) ให้เหลือสัก 2-3 ที่

 

ได้แบบประกัน ได้บริษัทประกัน ดูกันในหัวข้อต่อไปครับ

Link to comment
Share on other sites

บ่อยครั้งที่มักจะได้ยิน มีส่วนลด 20 - 50% และเมื่อมีส่วนลดขนาดนั้นแล้ว เบี้ยประกันภัยควรอยู่ที่เท่าไร ???

อันดับแรก มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยนั้น มีกี่แบบ และแบบไหน คือ ส่วนลดจริง ๆ ที่ได้ประโยชน์

ผมขอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามฉบับ Mr.Prakanpai ดังนี้

 

1. ลดทั่วไป คือ ส่วนลดที่แต่ละบริษัทประกันทำกันทุกที่ ตลอดเวลาอยู่แล้ว บางข้อเป็นไปตามกฎที่ คปภ.

ประกาศ และบังคับใช้อยู่แล้ว ตัวแทน นายหน้า และโบรคเกอร์ มักจะเอาส่วนลดเหล่านี้เป็นตัวดึงลูกค้า ผู้เอาประกันภัย

ต้องละเอียด โดยเฉพาะข้อ 1.4 ที่คนขายอาจแอบใส่ให้ เพื่อให้เบี้ยต่ำ โดยที่ลูกค้าไม่รู้ว่ามีส่วนร่วมด้วย รายละเอียด

ดังต่อไปนี้ครับ

1.1 ส่วนลดจากการระบุผู้ขับขี่ สามารถระบุได้ 2 คน โดยถือเอาอายุคนที่น้อยกว่าเป็นเกณฑ์ในการคำนวน

ส่วนมากได้เฉพาะรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ ดังนี้

ช่วงอายุ 18 – 24 ปี ส่วนลด 5%

ช่วงอายุ 25 – 35 ปี ส่วนลด 10%

ช่วงอายุ 36 – 50 ปี ส่วนลด 15%

ช่วงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%

1.2 ส่วนลดประวัติดี หรือส่วนลด NCB รถที่เอาประกันภัยไม่เรียกร้องสินไหมเป็นฝ่ายประมาท

จะได้รับส่วนลดประวัติดี ตามลำดับขั้นในแต่ละปี สูงสุดถึง 50% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ

***ขั้นที่ 1 (ปีแรก) รับส่วนลด 20%

***ขั้นที่ 2 (ปีสอง) รับส่วนลด 30%

***ขั้นที่ 3 (ปีสาม) รับส่วนลด 40%

***ขั้นที่ 4 (ปีสี่ขึ้นไป)รับส่วนลด 50%

1.3 ส่วนลดกลุ่ม กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป

สามารถขอส่วนลดเบี้ยประกันภัยกลุ่ม 10% ได้

1.4 ส่วนลดจากการกำหนดค่าเสียหายส่วนแรก ในการทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถลดเบี้ยประกันภัย

ได้ตามจำนวนเงินที่ต้องการระบุ(โดยประมาณ) ส่วนลดจากการกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกนี้ผู้ทำประกันภัย

สามารถกำหนดเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 2,000 บาท สูงสุดถึง 5,000 บาท

 

2. ลดใช้งาน เป็นแพ็คเกจที่แต่ละบริษัทคิดค้นขึ้น โดยต้องได้รับความเห็นชอบเป็นทางการจาก คปภ.

แพ็คเกจเหล่านี้ บางครั้งไม่ยั่งยืน เนื่องจากเป็นเกมการตลาดของบริษัทประกันภัย ในการช่วงชิงความได้เปรียบ

บางครั้งออกมาแล้ว เกิดภาวะขาดทุน หรือไม่ได้ผล ก็จะยุบ หรือเปลี่ยนไปค่อนข้างรวดเร็ว เช่น

2.1 ส่วนลดจากวิชาชีพ เช่น ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ แพทย์ พยาบาล จะได้รับสิทธิพิเศษ ในการรับส่วนลด

เบี้ยประกันรถยนต์ (ปัจจุบันเริ่มหยุดขาย เพราะขาดทุน)

2.2 ส่วนลดกำหนดพื้นที่ใช้งาน จากผลการสำรวจการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์พบว่าพื้นที่กรุงเทพ นนทบุรี

สมุทรปราการ และปทุมธานี มีการเกิดอุบัติมากกว่าพื้นที่ต่างจังหวัด จึงทำให้กำหนดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่มี

ป้ายทะเบียนต่างจังหวัด ได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้น

2.3 ส่วนลดการใช้รถ ตามหลักตรรกะรถยนต์ที่ขับขี่น้อย โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุมีน้อยลง

ทำให้บางบริษัทกำหนดอัตราเบี้ยที่ลดลงได้

 

3. ลดวัดใจ เป็นส่วนลดที่มีเป้าหมายต้องการลูกค้าโดยยอมนำเอารายได้ของตน เช่น คอมมิชชั่น

ของตนมาลดให้ลูกค้า ซึ่ง ส่วนลดบางประเภท อาจเข้าข่ายผิดกฎตามที่ คปภ. ประกาศและบังคับใช้

ส่วนลดในข้อนี้ออกแนวรุนแรง และชัดเจนกว่าข้อ 1 และข้อ 2 เป็นส่วนลดที่ผู้บริโภคได้ประโยชน์เต็ม ๆ ครับ

3.1 ส่วนลดแรกเข้า(แคมเปญ) โดยปกติ รถยนต์ที่เคยทำประกันรถยนต์ที่บริษัทประกันภัยอื่นมาแล้ว (อาจจะมีเคลม)

บริษัทประกันแห่งใหม่จะให้ส่วนลดได้ไม่เกิน 20% แต่เมื่อมีความต้องการยอด บางครั้งให้กัน 30 - 40%

ผู้เอาประกันภัยจึงได้ประโยชน์ครับ

3.2 ส่วนลดคอมมิชชั่น เป็น ส่วนลดที่ ตัวแทน นายหน้า หรือโบรคเกอร์ ยอมนำเอารายได้ของตน เช่น คอมมิชชั่น

ของตนมาลด โดยมีเป้าหมาย เช่น ยอดขาย ความสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้เอาประกันภัย จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากส่วนลดนี้

และถ้าได้ส่วนลดแล้วตามหัว (3.3) ด้วย จะเป็นเบี้ยประกันภัยที่ถูกที่สุดครับ

3.3 ส่วนลดแบบเป้าหมาย เป็นการร่วมมือ ของตัวแทน นายหน้า หรือโบรคเกอร์ ที่มีการเจรจา

และร่วมมือกับบริษัทประกันภัย โดยมีข้อตกลง และมีการท้าทายทั้งยอดขาย และผลประกอบการ

ทำให้ได้เบี้ยประกันภัยที่ต่ำกว่าท้องตลอดอย่างเด่นชัด คนทำต้องมืออาชีพ และมีเป้าหมายที่ท้าทายค่อนข้างมาก

 

ส่วนลดต่าง ๆ ผมได้อธิบายในฉบับของ Mr.Prakanpai แล้ว ผู้เอาประกันภัย สามารถนำไปใช้ในการ

เลือกซื้อประกันภัยได้ และเบี้ยประกันภัยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ในการประกอบการตัดสินใจเท่านั้นครับ

Link to comment
Share on other sites

วิธีตรวจสอบสอบความน่าเชื่อถือของตัวแทน และนายหน้า

ควรพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง

 

1. มีหน้าร้าน มีหลักแหล่ง เป็นที่ประกอบอาชีพชัดเจนถาวร เพราะคนที่รักในอาชีพ ย่อมมีการลงทุน

เพื่อความมั่นคงถาวร ไม่ฉาบฉวย

 

2. ทำเป็นอาชีพหลัก หรือเป็นอาชีพเสริม เพราะคนที่มีอาชีพหลักเพียงอย่างเดียว มีความเป็นไปได้

ที่จะจริงจังต่ออาชีพมากกว่า ที่จะลองถูกลองผิด สุดท้ายก็อาจทิ้งกันไป

 

3. ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทประกันภัย ให้รับเบี้ยประกันภัยหรือไม่ เพราะบริษัทจะออกหนังสือให้กับตัวแทน

หรือนายหน้า ที่ผ่านการคัดเลือก และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแล้ว ก็มีความมั่นใจได้ว่า สิ่งที่ตัวแทน

หรือนายหน้ากระทำ บริษัทจะปฏิเสธ หรือไม่รับรู้ไม่ได้ บริษัทต้องรับผิดชอบในฐานะผู้กระทำ

จึงมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า

 

4. เป็นตัวแทน นายหน้าตรง หรือแค่เป็นแค่ตัวแทนช่วง (ไม่ได้รับการแต่งตั้งตรงจากบริษัทประกัน)

ถ้าเป็นช่วง ๆ ก็อาจมีปัญหา ไม่ว่าจะประสานงาน หรือเวลาเกิดสินไหม จะหาคนมาดูแลยากมาก ๆ ครับ

เพราะสิ่งที่ตัวแทยช่วงทำ บริษัทประกันสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

กับบริษัทประกันเลย ดังนั้น การซื้อให้ถามว่า คนขายเป็นตัวแทน หรือ นายหน้าแต่งตั้งหรือไม่ หรือขอโค๊ทคนขาย

เพื่อโทรตรวจสอบกับบริษัทประกันภัยได้ครับ

 

5. มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในอาชีพไปได้ดีแค่ไหน ข้อนี้ผู้เอาประกันภัยที่ไม่เคยเกิดเหตุ

หรือมีสินไหมหนัก ๆ จะไม่เคยมองเลย แต่คนที่เคยมีประสบการณ์ จะรู้ว่าเป็นทุกข์มาก ถ้ามีคนให้คำปรึกษา

หรือช่วยประสานงาน คงเบาภาระได้มากมายครับ

sm56.gifsm56.gifsm56.gif

Link to comment
Share on other sites

หวัดดีครับพี่เม้ง :)

 

(ผมรอเรื่องโอนรถอีกคันแล้วจะไปกวนพี่อีกนะครับ)

Link to comment
Share on other sites

หวัดดีครับพี่เม้ง :)

 

(ผมรอเรื่องโอนรถอีกคันแล้วจะไปกวนพี่อีกนะครับ)

 

ขอบคุณครับ

Link to comment
Share on other sites

  • 1 month later...

พี่เม้งครับ ผมจะต่อประกันชั้น 1 ของปีที่ 3

ผมต้องเอาข้อมูลอะไรให้พี่บ้างครับ

ปีนี้ไม่อยากเสียเบี้ยประกันแพงแล้วครับ

Link to comment
Share on other sites

  • 3 weeks later...

พี่เม้งครับ ผมจะต่อประกันชั้น 1 ของปีที่ 3

ผมต้องเอาข้อมูลอะไรให้พี่บ้างครับ

ปีนี้ไม่อยากเสียเบี้ยประกันแพงแล้วครับ

 

สนใจและอยากรู้ด้วยคนครับ ประกันจะหมดกลางเดือนตุลานี้แล้วครับผม

Link to comment
Share on other sites

  • 4 weeks later...

ได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณมากนะครับ...

ปล.สินมั่นคง เนี่ย ไม่ค่อยContract

กำลังจะพิมพ์ว่าไม่ค่อยประสานกับซ่อมห้างเท่าไหร่เลยนะครับ

Link to comment
Share on other sites

  • 7 months later...

ขอราคาเบี้ยประกันชั้น1ปีที่4หน่อยครับ ผมต้องส่งข้อมูลอะไรให้พิจารณาบ้างครับ  ทางPMครับผม

Link to comment
Share on other sites

  • 2 weeks later...
  • 6 months later...
  • 2 weeks later...

ผมจะต่อประกันชั้น 1 ของปีที่ 4 ของคุ้มภัย

ผมต้องเอาข้อมูลอะไรให้พี่บ้างครับ

 

รบกวน PM ด้วยครับ

น้องเนตดำเนินการให้แล้วครับ ขอบคุณครับ

Link to comment
Share on other sites

  • 2 weeks later...
  • 2 weeks later...
  • 3 months later...

ต่อประกันชั้น1 ซ่อมห้าง รวมอุปกรณ์ชุดแต่งรอบคัน

 

ต้องการเอกสารอะไรบ้างครับ รบกวนPM ข้อมูลให้ด้วยครับ

:)  :)  :)

Link to comment
Share on other sites

  • 4 months later...

"เมื่อจอดกลางแจ้ง จะลดความร้อนในรถได้อย่างไร?"

 

mq7App.jpg

ให้เปิดกระจกหน้าต่างด้านหน้า 1 บาน เปิดประตูรถให้หมดทั้งคัน จากนั้นค่อย ๆ เปิด - ปิดซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง จะช่วยให้อากาศภายนอกไหลเวียน และลดอุณหภูมิลดลง 4 - 5 องศาได้ค่ะ

Cr : CSR Society

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...