Jump to content

@~~พระเครื่องพระบูชาไทย~~@


Recommended Posts

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บ้านหลังใหม่นะครับ กระทู้นี้เปิดเพื่อให้สมาชิกที่สนใจและศึกษาเกี่ยวกับพระเครื่องพระบูชาไทย ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับพระเครื่อง เครื่องราง ของคลัง และพระบูชา ผมเองก็เป็นคนที่ชอบศึกษา สะสม พระเครื่อง จึงหวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับสมาชิกที่ชื่นชอบในพระเครื่องพระบูชาไทย....

Link to comment
Share on other sites

  • Replies 409
  • Created
  • Last Reply

Top Posters In This Topic

ห้องนี้ยาวววว แน่ๆ กำลังเริ่มศึกษาเหมือนกัน คงต้องเข้ามาหาข้อมูลบ่อยๆครับ

Link to comment
Share on other sites

ห้องนี้ยาวววว แน่ๆ กำลังเริ่มศึกษาเหมือนกัน คงต้องเข้ามาหาข้อมูลบ่อยๆครับ

ยินดีค้าบผม ไว้ว่างจะเริ่มลงรูปไว้เป็นแนวทางนะค้าบ

Link to comment
Share on other sites

ยินดีต้อนรับพี่น้องที่รักและชอบในพระเครื่อง เครื่องราง ของคลัง เข้ามาศึกษาข้อมูล แสดงรูป แลกเปลี่ยนกันนะค้าบ แต่ผมลงรูปจากไอแพดไม่เป็นอ่ะ ทำไงดี

Link to comment
Share on other sites

เข้ามาชมด้วยคนครับ

ขออยู่ด้วยคนนะคะพี่โอม....9ab61a30.gif

รอห้องนี้มานาน...ชอบๆๆๆ ครับ

 

พี่ๆๆค้าบลงรูปยังไงอ่ะ อายจัง

Link to comment
Share on other sites

ผมเริ่มก่อนเลยละกันครับ องค์ที่ใช้อยู่ แขวนเดี่ยวทั่วไทย :P

เหรียญหลวงพ่อสมบุญ(พระครูวินยานุโยค) วัดยางยี่แสน รุ่น 2 อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

 

หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส หรือพระครุวินยานุโยค ท่านเป็นศิษย์เอกในหลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี เหรียญนี้สร้างปี ๒๕๐๐ร่วมปลุกเสกโดยยอดเกจิสุพรรณมากมายหลายท่าน เช่น หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส หลวงพ่อสม วัดดอนบุผผา หลวงพ่อไข่ วัดเชิงเลน หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อโบ๊ย วัดมะนาว หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก เหรียญทองแดงกะหลั่ยทอง สร้างประมาณ ๕๐๐ เหรียญ ประสบการณ์เพียบครับ

 

1-3.jpg

 

2-1.jpg

 

 

ประวัติและปฏิปทา

 

 

หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส วัดของท่านอยู่อ.อู่ทอง สุพรรณบุรี อยู่ติดแม่น้ำเก่าจระเข้สมาพัน

หลวงพ่อสมบุญ เขมาภรโต เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2433

โยมบิดาชื่อหมี โยมมารดาชื่อเรือน นามสกุล รักน้อย อาชีพทำนา มีนิสัยรักสงบและมีความเรียบร้อยมาตั้งแต่เล็กๆ

ท่านบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2466 เรียนหนังสือไทยและขอมได้อย่างแตกฉาน สวดมนต์เก่ง

ลาสิกขาออกไปทำไร่ไถนา

พอตอนอายุ 21 ปี พ.ศ. 2454 ก็เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดยุ้งทะลาย คือวัดโบสถ์วิทยาคาร

ต.ยุ้งทะลาย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี พระครุฑ วัดท่าโขลงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูช้อย วัดขวาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุดใจ วัดโพธิ์สางเทรา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็มาจำพรรษาที่วัดยางยี่แส

 

ท่านสนใจในการศึกษา วิปัสสนากรรมญานและได้ศึกษากับหลวงพ่อแขม เจ้าอาวาสวัดยางยี่แส แล้วเดินทางไปศึกษาเพิ่มเติมกับอาจารย์ที่วัดโกสินาราย์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อกลัยมา อีกไม่นานท่านก็เดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์เอกหลวงพ่อเนียม วัดน้อยอยู่อีก 1-2 ปี พลังจิตท่านสูงมาก สามารถแผ่พลังจิตไปยังสัตว์ทั้งหลายได้

 

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.sittloung...php?topic=219.0

Link to comment
Share on other sites

เปิดด้วยพระหลักสายอีสาน....

 

JP143803.jpg

 

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ ปี 2507 จ.ศรีษะเกษ เนื้ออัลปาก้า พิมพ์ ส หางสั้น องค์นี้ขึ้นคอมานาน แต่ตอนนี้เปลี่ยนมือแล้วค้าบท่าน

 

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อมุม อินทปญฺโญ เนื้ออัลปาก้า สร้างปี 2507 พิมพ์ ส.หางสั้น บล๊อคหน้าเล็ก

 

...โดยคุณวรวัฒน์ รุ่งแสง ร่วมกับศิษย์ดำเนินการจัดสร้าง ด้านหน้าออกแบบ เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ของหลวงพ่อ ข้างบนเหรียญเขียนว่า "วัดปราสาทเยอร์" ในปัจจุบันชื่อวัดเป็นทางการ คือ "วัดปราสาทเยอ

เหนือ"ข้างล่างมีคำว่า "พระครูประสาธน์ขันธคุณ" ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ หลวงพ่อมุม ด้านหลังของเหรียญเรียบ แต่จะมี รอยจาร ที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ พบเห็นที่ไหนก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นลายมือของหลวงพ่อ

มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ

 

1.พิมพ์ ส. ติดขอบ หรือ ส. หางยาว โดยสังเกตที่ตัวอักษร "ส" ของคำว่า "วัดปราสาทเยอร์" หาง "ส"

จะยาวจดขอบ

2.พิมพ์ ส. ไม่ติดขอบ หรือ ส. หางสั้น พบ อยู่ 2 บล็อค คือ

1.บล็อคหน้าใหญ่

2บล๊อคหน้าเล็ก

โดยสังเกตง่ายๆตรงตัว"ส" เช่นกัน แต่หางตัว "ส" จะยาวไม่ถึงขอบ

Link to comment
Share on other sites

อีกองค์ที่สะสมไว้....

 

get_auc1_img.jpg

 

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ปี 2503 จ.เพชรบุรี อีกหนึ่งเหรียญหลักของวงการเหรียญเมืองไทย เหรียญนี้ถึงสภาพจะใช้มาบ้าง แต่ความหายากไม่ต้องพูดถึง

 

ประวัติ หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ pdf_button.png printButton.png emailButton.png

ประวัติ หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ

"หลวงพ่อแดง" แห่งวัดเขาบันไดอิฐ ท่านเป็นพระเกจิที่มีญาณสมาธิแก่กล้า มีจิตตานุภาพสูงพอที่จะเพ่งเครื่องรางให้ขลังได้ ผ้ายันต์และเหรียญลงยันต์ของหลวงพ่อแดงจึงมีผู้นิยมเ สาะหาไปบูชากันมาก แม้ท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ 16 มกราคม พ.ศ. 2517 แต่ความนิยมเลื่อมใสศรัทธา ความเชื่อมั่นในกฤตยาคม อภินิหาร และอาคมขลังในวัตถุมงคลของท่านก็ยังไม่เสื่อมคลาย หลวงพ่อรูปนี้ท่านมีอะไรดี ทำไมใครๆ ทั่วสารทิศจึงพากันมาวัดเขาบันไดอิฐกันไม่ขาดสาย...

"หลวงพ่อแดง" หรือ "พระครูญาณวิลาศ" เกิดที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางนุ่ม นามสกุล อ้นแสง เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2422 ในวัยเด็กท่านก็ช่วยพ่อแม่ทำไร่ ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสืออย่างเด็กสมัยนี้จนกระทั่ง อายุ 20 ปี พ่อแม่ก็หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับท่านอาจารย์เปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ เพื่อจะได้เล่าเรียนและบวชเป็นพระภิกษุต่อไป

พระภิกษุแดงเมื่อได้บวชก็ประพฤติเคร่งครัดต่อพระวินั ยและปฏิบัติต่อพระอาจารย์เปลี่ยนเป็นอย่างดี อาจารย์เปลี่ยนจึงรักใคร่มากกว่าศิษย์คนอื่นๆ และยังไดสอนวิชาการวิปัสสนา และวิธีนั่งปลงกัมมัฏฐานให้ รวมถึงถ่ายทอดวิชากฤตยาคมให้อย่างไม่ปิดบังหวงแหน เหตุนี้จึงทำให้พระภิกษุแดงเพลิดเพลินในการศึกษาวิชา ความรู้ จนลืมสึก ยิ่งนานวันก็ยิ่งสำนึก ในรสพระธรรม ก็เลยไม่คิดสึกเลย จึงกลายเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่มีอาวุโสสูงสุด

จนกระทั่งพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพลง พระภิกษุแดงรับหน้าที่เป็นสมภารวัดเขาบันไดอิฐแทน กลายเป็น "หลวงพ่อแดง" ตั้งแต่ พ.ศ. 2461 เป็นต้นมา และแม้ท่านจะได้เป็นสมภารซึ่งต้องมีภารกิจมาก แต่ท่านก็ยังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำเพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน ญาณสมาธิจึงแก่กล้า จิตนิ่ง บริสุทธิ์ จนว่ากันว่าท่านมีหูทิพย์ ตาทิพย์

หลวงพ่อแดงไม่เคยอวดอ้างในญาณสมาธิของท่าน แต่ผลของความศักดิ์สิทธิ์ในเลขยันต์เป่ามนต์ของท่านก ็ได้สำแดงออกมาให้ประจักษ์ว่าคุ้มครองป้องกันภัยได้แ น่ๆ โดยมีเรื่องเล่ากันมาว่า

ในระหว่าง พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2480 เวลานั้นเกิดโรคระบาดสัตว์ วัวควายเป็น โรครินเดรอ์เปรส ซึ่งเป็นโรคปากเท้าเปื่อยที่ติดต่อร้ายแรง พากันล้มตายเป็นเบือ สัตว์แพทย์ก็ไม่มี ต้องขอให้ทางการมาช่วยฉีดยา ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระ บาดสัตว์ให้ด้วย

หลวงพ่อแดง จึงปลุกเสกลงเลขยันต์ในผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ท ี่คอกสัตว์ของตน ปรากฏผลว่า คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียดยันต์หลวงพ่อแดงไม่ตายเลย ทุกบ้านในตำบลใกล้เคียงวัดเขาบันไดอิฐ เมื่อรู้กิตติศัพท์จึงพากันมาขอยันต์หลวงพ่อแดงทุกวั นมิได้ขาด

กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือมหาสงครามเอเชียบูรพา มีทหารญี่ปุ่นมาขึ้นที่ประจวบคีรีขันธ์ ก็เกิดการต่อสู้กับทหารอากาศของไทยที่นั่น ชาวเพชรบุรีก็ตระหนกตกใจ แล้วชักชวนกันหาหลวงพ่อแดง ท่านก็ลงผ้าประเจียดยันต์แจก ให้คุ้มครองป้องกันตัว

เมืองเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2487 เกิดภัยสงครามชนิดร้ายแรง มีระเบิดลงทุกวันทำลายสถานีรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำ บ้านเรือน โรงเรียนต้องสั่งปิด ข้าราชการไม่ได้ไปทำงาน ทุกหน่วยราชการปิดหมด และปรากฏเรื่องเป็นที่ฮือฮาว่า บ้านคนที่มีผ้ายันต์หรือห้อยเหรียญหลวงพ่อแดง กลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลย หลวงพ่อแดงจึงดังใหญ่ จนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 กิตติคุณของหลวงพ่อในทางกฤตยาคมจึงปรากฏความศักดิ์สิ ทธิ์แพร่หลายยิ่งขึ้น

ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแดง ปรากฏอีกครั้ง เมื่อเกิดคอมมิวนิสต์ญวนเหนือบุกญวนใต้ ประเทศไทยต้องส่งกองพันเสือดำ ออกไปช่วยพันธมิตรรบในญวนใต้ ก็ปรากฏว่าทหารไทยที่ไปปฏิบัติหน้าที่รบในเวียดนาม คนที่มีเหรียญหลวงพ่อแดงห้อยคออยู่ ไม่ถูกอาวุธเป็นอันตรายแก่ชีวิตสักคน ทั้งๆ ที่เข้าประจัญบานอย่างหนัก เป็นที่สงสัยของเพื่อนทหารต่างชาติว่าทหารไทยมีของดี อะไร ได้รับคำตอบจากทหารไทยว่ามี "เหรียญหลวงพ่อแดง"

ท่านเป็นพระใจดีมีเมตตาสูง และอารมณ์ดีเสมอ ไม่ชอบดุด่า ว่าใคร โดยเฉพาะคำหยาบคายถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด ท่านว่าทุกคนเขาก็มีพ่อมีแม่ การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระพระท่านก็ไม่คุ้มครอง

หลวงพ่อแดง มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่ออายุ 96 ปี พรรษาที่ 74 ก่อนตายท่านเคยพูดกับพระปลัดบุญส่ง ธมัมปาโล รองเจ้าอาวาสวัดขณะนั้นว่า

"เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ"

พระบุญส่งจึงรับปาก และได้ทำตามที่หลวงพ่อประสงค์ทุกอย่างและหลังจากที่หลวงพ่อแดงมรณภาพแล้วก็ได้เกิดเหตุอัศจ รรย์ที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า อภินิหารของหลวงพ่อแดงมีจริง กับผู้หลักผู้ใหญ่ของเมืองเพชรบุรีท่านหนึ่ง ซึ่งจู่ๆ ท่านก็มีนิมิตฝันเห็นบ่อน้ำโบราณที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ต้ นก้ามปูใหญ่ พอขุดก็พบบ่อน้ำนั้นจริงๆ บ่อน้ำแห่งนี้หลวงพ่อแดงเคยพูดไว้สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ว่าเป็น "บ่อน้ำวิเศษ" และขณะที่ขุดยังพบ "หัวพญานาคสีขาว" แบบปูนปั้นอยู่ที่ก้นบ่อด้วย 1 หัว เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวก็พากันแห่มาเพื่อจะตักน้ำเอาไปใช้กันแต่ปรากฏว่าพบงูใหญ่ตัวหนึ่งนอนขดอยู่ใต้สังกะสีที่เอาไว้ปิดปากบ่อ ชาวบ้านที่เห็นบอกว่า ลักษณะงูที่เห็นนั้นมีหงอนที่หัวด้วย ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีชาวบ้านกล้าเข้าไปตักน้ำที่บ่อนี้ี้อีกเลย

ที่น่าแปลกอีกก็คือ นายตำรวจท่านหนึ่งซึ่งเคยมาช่วยงานในวัดก็ฝันเห็นหลว งพ่อแดง ท่านมาต่อว่า "ทำอะไรทำไมไม่บอก"

นายตำรวจก็ไปเล่าให้พระปลัดบุญส่งเจ้าอาวาสรูปปัจจุบ ันฟัง ท่านก็ไม่เชื่อแล้วยังสั่งให้ย้ายศาลเก่า 2 ศาล บริเวณเชิงเขาบันไดอิฐเพื่อปรับปรุงบริเวณ โดยไม่ยอมทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เพราะท่านเป็นคนไม่เชื่อไสยศาสตร์ ปรากฏว่าพอตกเย็นก็เกิดอาการผิดปกติ อยู่ๆ คอก็เริ่มบิดและตัวแข็งไปทั้งตัว ขยับไม่ได้ ชาวบ้านมาเยี่ยมเห็นว่าอาการหนักมากจึงช่วยกันพาส่งโ รงพยาบาลเปาโล แต่พอถึงโรงพยาบาล อาการที่เป็นกลับหายราวปลิดทิ้ง และเมื่อเอ็กซเรย์พร้อมตรวจอย่างละเอียดก็ไม่พบว่าเป ็นอะไรเลย และระหว่างที่นอนพักรักษาตัวอยู่ ท่านก็พูดออกมาคนเดียวโดยไม่รู้ตัวว่า

"ของดีมีอยู่ ผ่านไปผ่านมาไม่ใช้ต้นก้ามปูตรงนั้นเป็นบ่อน้ำ ให้ขุดลงไปแล้วจะเจอ มีของดีทำไมไม่รักษา"

ในภายหลังที่ออกจากโรงพยาบาลแล้วพระปลัดบุญส่งก็ได้ฝ ันอีกครั้ง ในความฝันท่านเห็นคนนุ่งผ้าถกเขมรมาหา มาบอกว่าเขาเป็นคนมัดหลวงพ่อเอง พูดแล้วเขาก็เอามือรีดที่ตัวหลวงพ่อเหมือนรีดเอาไขมั นออก ทั้งขาและแขน จนหลวงพ่อพระปลัดบุญส่งสะดุ้งตื่นและพอตื่นขึ้นมาก็ย ังเห็นผู้ชายคนนั้นอยู่ในห้องพอถามชื่อ เขาก็ถอยออกไปแล้วตอบกลับมาว่า "เขาเป็นเปรต" จากนั้นก็หายวับกลายเป็นแสงไฟ พร้อมเสียง "วี๊ด" ดังมาก ซึ่งพระในวัดก็ได้ยินกันทั่ว

เรื่องนี้ได้ทำให้ "พระปลัดบุญส่ง" เจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐรูปปัจจุบัน ยังยอมรับว่าไสยศาสตร์และอภินิหารของหลวงพ่อแดงนั้นมีจริงเพราะเจอแล้วด้วยตัวท่านเอง

Link to comment
Share on other sites

ผมเริ่มก่อนเลยละกันครับ องค์ที่ใช้อยู่ แขวนเดี่ยวทั่วไทย :P

เหรียญหลวงพ่อสมบุญ(พระครูวินยานุโยค) วัดยางยี่แสน รุ่น 2 อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

 

หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส หรือพระครุวินยานุโยค ท่านเป็นศิษย์เอกในหลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี เหรียญนี้สร้างปี ๒๕๐๐ร่วมปลุกเสกโดยยอดเกจิสุพรรณมากมายหลายท่าน เช่น หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส หลวงพ่อสม วัดดอนบุผผา หลวงพ่อไข่ วัดเชิงเลน หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อโบ๊ย วัดมะนาว หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก เหรียญทองแดงกะหลั่ยทอง สร้างประมาณ ๕๐๐ เหรียญ ประสบการณ์เพียบครับ

 

1-3.jpg

 

2-1.jpg

 

 

ประวัติและปฏิปทา

 

 

หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส วัดของท่านอยู่อ.อู่ทอง สุพรรณบุรี อยู่ติดแม่น้ำเก่าจระเข้สมาพัน

หลวงพ่อสมบุญ เขมาภรโต เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2433

โยมบิดาชื่อหมี โยมมารดาชื่อเรือน นามสกุล รักน้อย อาชีพทำนา มีนิสัยรักสงบและมีความเรียบร้อยมาตั้งแต่เล็กๆ

ท่านบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2466 เรียนหนังสือไทยและขอมได้อย่างแตกฉาน สวดมนต์เก่ง

ลาสิกขาออกไปทำไร่ไถนา

พอตอนอายุ 21 ปี พ.ศ. 2454 ก็เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดยุ้งทะลาย คือวัดโบสถ์วิทยาคาร

ต.ยุ้งทะลาย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี พระครุฑ วัดท่าโขลงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูช้อย วัดขวาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุดใจ วัดโพธิ์สางเทรา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็มาจำพรรษาที่วัดยางยี่แส

 

ท่านสนใจในการศึกษา วิปัสสนากรรมญานและได้ศึกษากับหลวงพ่อแขม เจ้าอาวาสวัดยางยี่แส แล้วเดินทางไปศึกษาเพิ่มเติมกับอาจารย์ที่วัดโกสินาราย์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อกลัยมา อีกไม่นานท่านก็เดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์เอกหลวงพ่อเนียม วัดน้อยอยู่อีก 1-2 ปี พลังจิตท่านสูงมาก สามารถแผ่พลังจิตไปยังสัตว์ทั้งหลายได้

 

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.sittloung...php?topic=219.0

 

ถ่ายรูปร้านไหนค้าบ ถ่ายได้สวยคมมากเลยยยยชอบๆๆๆ

Link to comment
Share on other sites

ไว้ว่างๆ เดี๋ยวจะถ่ายมาให้ชมบ้างนะครับ ส่วนใหญ่ของผมจะเป็นพระเครื่องทางเหนือนะครับ

Link to comment
Share on other sites

ไว้ว่างๆ เดี๋ยวจะถ่ายมาให้ชมบ้างนะครับ ส่วนใหญ่ของผมจะเป็นพระเครื่องทางเหนือนะครับ

 

รอชมพระสายครูบานะค้าบบบบบ

 

Link to comment
Share on other sites

ผมชอบสะสมเหมือนกันครับ

 

4.jpg

พระร่วงยืนกรุ วังเพิ่ม แห่งเมืองขามแก่นนคร แตกกรุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๔ โดยประมาณ (ถ้าผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ) โดยพระที่แตกกรุออกมานั้น เป็นพระเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดง และ เนื้อชินเงิน (มีจำนวนน้อยกว่า) โดยมีพิมพ์ที่พบเจอ จะเป็นพระร่วงยืน ปางประทานพร และ ปางพนมมือ วันทาเสมา ครับ.

 

2-1.jpg

ขุนแผนพรายคู่ตัดเดี่ยว

 

20120429_125319.jpg

สมเด็จที่บ้านเก่าเก็บ

Link to comment
Share on other sites

ผมชอบสะสมเหมือนกันครับ

 

4.jpg

พระร่วงยืนกรุ วังเพิ่ม แห่งเมืองขามแก่นนคร แตกกรุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๔ โดยประมาณ (ถ้าผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ) โดยพระที่แตกกรุออกมานั้น เป็นพระเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดง และ เนื้อชินเงิน (มีจำนวนน้อยกว่า) โดยมีพิมพ์ที่พบเจอ จะเป็นพระร่วงยืน ปางประทานพร และ ปางพนมมือ วันทาเสมา ครับ.

 

2-1.jpg

ขุนแผนพรายคู่ตัดเดี่ยว

 

20120429_125319.jpg

สมเด็จที่บ้านเก่าเก็บ

 

ชอบกรุวังเพิ่มมากค้าบ หายาก ค่นิยมสูงพอตัว ขุนแผนกำลังนิยมเรื่อยๆๆ. อนาคนไกลเลย สมเด๊จดูมีเสน่มากค้าบบบบ เอารูปมาชมอีกนะค้าบบบบ

Link to comment
Share on other sites

7.jpg

พระพุทธโธ เนื้อผงขาว หลังยันต์ 5 สร้างเมื่อ ปีพศ.2498 ของหลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าชลบุรี ปลุกเสกออกงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นเจ้าคุณวรพรตปัญญาจารย์ พุทธคุณเป็นเยี่ยม.

 

4-1.jpg

@พระสรงน้ำพิมพ์ใหญ่ พิมพ์หลังยันต์ อะ เดือนเสี้ยว ขึ้นยอดอุณาโล เนื้อผงพุทธคุณสีขาว หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ จ.ชลบุรี สร้างเมื่อปี 2506

 

11.jpg

พระพุทธชินราชกลีบบัว เนื้อผงใบลานดำ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มีใบรับรองบัตรการันตีแท้ 100%

Link to comment
Share on other sites

7.jpg

พระพุทธโธ เนื้อผงขาว หลังยันต์ 5 สร้างเมื่อ ปีพศ.2498 ของหลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าชลบุรี ปลุกเสกออกงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นเจ้าคุณวรพรตปัญญาจารย์ พุทธคุณเป็นเยี่ยม.

 

4-1.jpg

@พระสรงน้ำพิมพ์ใหญ่ พิมพ์หลังยันต์ อะ เดือนเสี้ยว ขึ้นยอดอุณาโล เนื้อผงพุทธคุณสีขาว หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ จ.ชลบุรี สร้างเมื่อปี 2506

 

11.jpg

พระพุทธชินราชกลีบบัว เนื้อผงใบลานดำ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มีใบรับรองบัตรการันตีแท้ 100%

 

มีพระปิดตาป่าววววค้าบบบอยากชม อิอิ

Link to comment
Share on other sites

หลวงปู่ตี๋ วัดท่ามะกรูด รุ่น 3 (เหรียญไตรมาส) ครับ

 

IMG_9987_1.jpg

 

IMG_9988_1.jpg

 

จากหนังสือ The Art of Siam

PUTEE.jpg

 

IMG_0855_1.jpg

 

ชีวประวัติ หลวงปู่ตี๋ วัดท่ามะกรูด

 

พระอธิการวิทยา ฉันทธัมโม

หลวงปู่ตี๋ เจ้าอาวาส วัดเขาเขียวพนาราม

ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

 

 

แต่ปัจจุบันท่านได้ย้ายมาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดท่ามะกรูด ต.กระเสียว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ซึ้งห่างจากวัดเขาเขียวเพียง ๓ กิโลเมตรเท่านั้น

 

 

ชาติภูมิ

หลวงปู่ตี๋ เกิดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปี ชวด (ปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๑ อายุ๘๔ปี) ณ.บ้านท่าน้ำตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช เป็นบุตรของนายห้อย นาง กิมบี้ นามสกุล น้ำดอกไม้ หลวงปู่ตี๋มีพี่น้องทั้งหมด ๔ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๑ คน หลวงปู่ตี๋เป็นบุตรคนโต

 

วัยเด็ก

 

แต่เดิมโยมพ่อท่านเป็นช่างก่อสร้างมณฑปบนยอดเขาวัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช และเมื่อตอนสร้างมณฑปนั้นได้นำเด็กชายตี๋ในขณะนั้นติดตามไปด้วยตลอด และหลวงพ่ออิ่ม เจ้าอาวาสวัดหัวเขาได้เห็นเด็กชายตี๋เข้า จึงเมตตาเลี้ยงดูให้ในขณะที่โยมพ่อหลวงปู่ตี๋กำลังทำงาน หลวงพ่ออิ่มได้ป้อนข้าวป้อนน้ำเลี้ยงเด็กชายตี๋เปรียบเสมือนลูกในไส้ และรักเด็กชายตี๋มาก และดูดวงชะตาเด็กชายตี๋ก็ทราบว่า ในอนาคตเด็กผู้นี้ต้องบวชไม่สึก และจะเป็นกำลังสำคัญในพระพุทธศาสนา ท่านจึงมอบตำราวิชาอาคมของท่านจำนวน1 เล่มไว้ให้กับโยมพ่อของหลวงปู่ตี๋เก็บรักษาเอาไว้ให้หลวงปู่ตี๋เมื่อโต ก่อนที่หลวงพ่ออิ่มท่านจะมรณภาพ

 

 

บรรพชา

 

เมื่อหลวงปู่ตี๋อายุ ๑๕ ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และเริ่มเรียนวิชาต่างๆจากตำราของหลวงพ่ออิ่ม สิริปุญโญ วัดหัวเขา ที่โยมพ่อของท่านได้เก็บรักษาเอาไว้จนแตกฉาน

อุปสมบท

 

จวบจนอายุ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบท ณ.พัทธสีมาวัดเขาพระ อ.เดิมบางนางบวช เมื่อวันที่ ๑๙ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยมี

พระครูอเนกคุณากร (หลวงปู่แขก) วัดหัวเขา เป็นพระอุปัชฌาย์

พระอาจารย์พิณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์ไสว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

 

 

หลวงปู่ตี๋ กับหลวงปู่แขก วัดหัวเขา

 

 

หลังจากหลวงปู่ตี๋อุปสมบทแล้ว ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวเขา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมจากหลวงปู่แขก ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม ดังนั้นหลวงปู่แขกจึงป็นอาจารย์องค์แรกของท่านจวบจนปี พ.ศ.๒๔๙๗

หลวงปู่ตี๋ กับ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่

 

หลังจากเรียนวิชาอาคมจากหลวงปู่แขกแล้วนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงปู่ตี๋ได้กราบลาหลวงปู่แขก เพื่อมาศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ผู้เป็นศิษย์เอกหลวงพ่ออิ่ม การมาศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อมุ่ยของหลวงปู่ตี๋นั้นก็เพื่อจะเป็นการรวบรวมตำราของหลวงพ่ออิ่มที่หลวงพ่อมุ่ยมีอยู่เอาไว้ ดังนั้นหลวงปู่ตี๋จึงมาฝากตัวกับหลวงพ่อมุ่ย ซึ่งก็ดูเหมือนหลวงพ่อมุ่ยจะรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าหลวงปู่ตี๋จะต้องมาฝากตัวกับท่านเป็นแน่แท้ เพราะว่าหลวงพ่อมุ่ยท่านพรึมพรำออกมาตอนพบหลวงปู่ตี๋ว่า “อ้อ ท่านตี๋นี้เอง เห็นพ่อครูเคยบอกฝากฝังเอาไว้” ซึ่งก็แสดงว่าหลวงพ่ออิ่มท่านได้เคยฝากฝังหลวงปู่ตี๋เอาไว้กับหลวงพ่อมุ่ยในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

เมื่อหลวงปู่ตี๋มาพบหลวงพ่อมุ่ย ก็ได้บอกจุดประสงค์ต่อหลวงพ่อมุ่ยว่าจะมาขอเรียนด้วย และบอกว่าวันพรุ่งนี้จะนำดอกไม้ธูปเทียนเข้ามาหาใหม่ เพื่อเป็นพิธีไหว้ครู ฝากฝังตัวไว้เป็นศิษย์ แต่หลวงพ่อมุ่ยกลับบอกว่า “ไม่ต้องพรุ่งนี้หรอก วันนี้แหละ เดี๋ยวไปเอาดอกไม้ที่พระพุทธรูปโน้นมาเรียนเสียวันนี้เลย” พร้อมกับจูงมือหลวงปู่ตี๋เข้ากุฏิเริ่มเรียนวิชากันเดี๋ยวนั้นเลย

หลวงปู่ตี๋เล่าเรียนวิชาต่างๆจากหลวงพ่อมุ่ยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยเดินทางไปๆมาๆอยู่หลายปี จวบจนจบในปี พ.ศ.๒๕๐๕จึงเรียนจบ พร้อมกับได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกระเสียว ต.กระเสียว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี

หลวงปู่ตี๋ กับหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

 

 

หลวงปู่ตี๋ท่านมีลักษณะนิสัยชอบธุดงค์เป็นประจำ ช่วงชีวิตของท่านถือธุดงค์มาเกือบ ๔๐ ปี ในระหว่างที่อยู่วัดกระเสียวท่านก็ได้ออกธุดงค์เสมอๆโดยฝากวัดไว้กับรองเจ้าอาวาสวัดกระเสียว คือ พระครูวิเชียร

ครั้งหนึ่งหลวงปู่ตี๋ท่านออกธุดงค์ไปทางภาคตะวันออก และได้พบกับหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ จ.ระยอง แรกพบท่านทั้งคู่นั้นได้เกิดการลองวิชากันพอสมควร สุดท้ายหลวงปู่ตี๋จึงบอกกับหลวงปู่ทิมว่า “ในช่วง๗วันที่อยู่ที่นี่ ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านด้วยได้ไหม” หลวงปู่ทิมท่านก็ตอบว่า “แค่ ๗ วันจะไปเรียนอะไรได้ นี่เห็นว่าเป็นคนสุพรรณ ร่ำลือกันนักกันหนาว่าคนสุพรรณแน่จริงอยู่ หากเป็นจริงดังคำร่ำลือนั่นแล้ว ต้องมาเรียนด้วยกัน ๑ พรรษา จึงจะสอนให้” หลวงปู่ตี๋ได้ยินทำท้าทายจากหลวงปู่ทิมดังนั้นจึงธุดงค์กลับมาวัดกระเสียว และฝากวัดไว้กับรองเจ้าอาวาสอีก เพื่อจะกลับไปร่ำเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ เป็นเวลา ๑ พรรษา เรียนกับหลวงปู่ทิมได้วิชาทำผงพรายกุมาร การเสกผง และวิธีการปลุกเสกพระเครื่อง

หลวงปู่ตี๋ กับ หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม (วัดบ้านแค)

 

 

หลวงปู่ตี๋ท่านมาเรียนกับหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท หลายครั้ง และหลวงพ่อกวยมักจะจูงมือหลวงปู่ตี๋เข้าไปเรียนในกุฏิแบบตัวต่อตัวตลอดครับ วิชาที่ท่านเรียนจากหลวงพ่อกวยนั้น คือ เรียนวิชาทำปลัดขิก ตะกรุด หนุมาน และวิชาอื่นๆอีกมากมาย

และวิชาหนึ่งที่หลวงปู่ตี๋ท่านสำเร็จเป็นเลิศและศิษย์หลวงพ่อกวยทุกท่านต่างทราบดีและยกย่องท่านนั้นก็คือ วิชาตัวเบา สามารถนั่ง สามารถเดินบนผิวน้ำได้ และอีกวิชาหนึ่งที่ท่านสำเร็จและขึ้นชื่อคือ วิชามือยาวรอดรูดาน สามารถหยิบสิ่งของไกลๆ และมีช่องเล็กๆได้ครับ

 

หลวงปู่ตี๋ กับหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ และหลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญ

 

 

 

หลวงปู่ตี๋ท่านมีความสนใจในวิชาอาคมและวิชาต่างๆมาก ซึ่งคนโบราณเรียกว่า “คงแก่เรียน” จึงได้พยายามเสาะแสวงหาพระอาจารย์เก่งๆและเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์เพิ่มเติมอยู่เสมอๆอีกดังนี้ กับหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ จ.ชัยนาท ท่านได้วิชาย่นระยะทาง และกำบัง ส่วนหลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญ จ.สิงห์บุรี นั้นท่านได้วิชาแป้งเสกครับ

ออกจากวัดกระเสียว มาอยู่วัดเขาเขียว

 

 

ท่านออกจากวัดกระเสียวขณะที่เป็นเจ้าอาวาสและธุดงค์เรื่อยๆ เพื่อจะไปเรียนวิชาต่อกับหลวงพ่อกวย จนมาเจอวัดเขาเขียวพนาราม อ.เดิมบางนางบวช ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ ซึ่งเดิมเป็นวัดร้าง และมีโรงเรียนร้าง ท่านจึงตัดสินใจที่อยู่ที่นั่น แต่ท่านต้องสู้กับเจ้าพ่อเขาเขียว (เจ้าที่) ที่ไม่ยอมให้ท่านสร้างวัดที่นั่น ตอนนั้นเวลานอนท่านยังนอนในกลดเช่นเดียวกับลูกศิษย์ท่าน คืนที่โดนเจ้าที่ลองก็คือ มีฝูงวัวควายวิ่งกันฝุ่นตลบนอกกลดจะเข้ามาทำร้ายท่านกับลูกศิษย์ แต่ท่านรู้ท่านสั่งลูกศิษย์ท่านว่าตอนกลวงคืนไม่ว่ามีอะไรห้ามออกจากกลดเด็ดขาด ถ้าจะตายก็ให้ตายด้วยกัน คืนนั้นลูกศิษย์ท่านกลัวมากและคิดว่าท่านหลับแล้วจะวิ่งออกนอกกลด แต่ท่านกระแอม ลูกศิษย์ท่านจึงมีสติและนึกถึงคำสั่งของท่านได้ เช้าวันรุ่งขึ้นมีชาวบ้านมานิมนต์ให้ท่านอยู่ที่นี่ และทำพิธีแบ่งเขตกันระหว่างวัดกับเจ้าพ่อเขาเขียว

 

ระหว่างที่ท่านอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาเขียวนั้น ท่านถูกทำร้ายอยู่หลายๆครั้ง ทำให้ลูกศิษย์ถามท่านว่า “ทำไมหลวงพ่อไม่ย้ายวัด เพราะมีหลายวัดที่อยากได้หลวงพ่อไปจำพรรษาอยู่” แต่ท่านกลับบอกว่า “ต้องการใช้กรรมให้หมดในชาตินี้ ไม่ต้องการใช้กรรมนี้ในชาติต่อไป”

 

ตอนที่ท่านโดนทำร้ายบางคนใช้มีดฟันศรีษะท่านเลย ลูกศิษย์เคยถามท่านว่า “หลวงพ่อไม่กลัวหรือ?” แต่ท่านกลับพูดติดตลกว่า “กลัวมีดของมันจะบิ่นมากกว่า”

หลวงปู่ตี๋ท่านจำพรรษาอยู่วัดเขาเขียวได้พัฒนาวัดเขาเขียวพอสมควรจากสำนักสงฆ์จวบจนเป็นรูปเป็นร่างและกลายเป็นวัดขึ้นมา

ย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดท่ามะกรูด

 

 

ต่อมาหลวงปู่ตี๋ท่านได้ชราภาพมาก และเจ็บป่วยบ่อยครั้ง ลูกศิษย์จึงนิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาอยู่วัดท่ามะกรูด อ.สามชุก ซึ่งอยู่ใกล้โรงพยาบาลมากกว่าวัดเขาเขียว และถนนหนทางก็สะดวกมากกว่าวัดเขาเขียว ท่านจึงจำพรรษาอยู่วัดท่ามะกรูดเมื่อไม่กี่ปีนี้เป็นต้นมา

 

คัดลอกข้อมูลมาจาก.........................................

 

ชีวประวัติ หลวงปู่ตี๋ วัดท่ามะกรูด

โดย : saksuphan

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...

×
×
  • Create New...