Jump to content

Leaderboard

The search index is currently processing. Leaderboard results may not be complete.

Popular Content

Showing content with the highest reputation on 27/06/2560 in all areas

  1. หยุดหลายวันได้เล่นหลายอย่าง อันนี้เอามาแชร์กันนะครับ จริงๆ ไม่ต้องไปแตะก้อได้ ไม่ได้ส่งผลอะไรมาก รอมันพังไปเลยทีเดียวได้ครับ ถ้ามันเสื่อม เสีย มันจะขึ้น CEL ( Check engine light ) ค่อยเอา OBD เช็คดูได้ อันนี้สำหรับมือซนครับ เริ่มเลยดีกว่า
    1 point
  2. ค่าหลังล้างมันไม่ได้ต่างนะครับ ผมจับ OBD มาตั้งแต่ครั้งแรกแล้วพบว่า ดูไม่ทันมันครับ มันยังจับเร็วเหมือนเดิม ค่าวิ่งไปมาใกล้ๆ 14.7 แต่ที่รู้สึกได้คือ รอบมันไม่ตกไว รถผมพอเก่าๆลงนี่ รอบรถ เวลาเร่งแล้วผ่อน เบรค (คือเอาเท้าออกจากคันเร่งน่ะ ไม่เบรคก้อได้) แล้วเร่งต่อ แบบรถไหลติดๆน่ะ คือช่วงประมาณแบบเร่ง มีไอเสีย พอผ่อน ไอเสียจางลง แล้วเร่งใหม่ ไอเสียกลับมาใหม่ จังหวะแบบนี้ ปกติพอเอาเท้าออกปุ๊บ แหม รอบวิ่งปรู๊ดลงมาประหยัดเลย ที่ 1000 มั่ง 1200 มั่ง มันชอบตกไว เด้งดึ๋งๆ บางจังหวะ ต้องผ่อนแบบไม่เอาเท้าออกจากคันเร่ง ถึงจะขับเนียนๆ คือปกติมันก้อตกแหละ แต่ต้องตกหน่วงๆ หนืดๆ จังหวะแบบนี้ ลองจับกันดูคับ รถใหม่ๆคงยังไม่เจอ เฟียสต้าผมนี่ ค่อยๆลงอย่างช้าเลย แทบไม่ลงด้วย ถ้าไม่ผ่อนจนเกือบหยุด หลังล้างมันดีขึ้นเห็นๆคับ รอบไหลลงช้ากว่าเดิมเยอะ แถมไม่ลงถึง 1000 แล้ว รอหน่วงๆที่ 1200 แถมลงจริงจังต่ำ1000 เฉพาะตอนเบรคแช่ไปแล้ว ชื่นใจ ถึงมีโปรเจค ทำครั้งสอง นี่แหละ เดี๋ยวดูไป ถ้าพังก้อซื้อใหม่เอา เอามาแชร์นะครับ รถผม 9 ปี พึงได้ถอดมาล้างนี่แหละ
    1 point
  3. มาดูใกล้ๆครับ หลังจากเสร็จขั้นตอน ลองดูเอาเองนะครับ ว่า ที่ดูๆว่าใสๆ ตอนเอาออกมา กับหลังล้างเห็นอะไร สีเขียวๆ ไม่ใช่สนิม ไม่ใช่สีพ่นนะครับ คราบแข็งล้วนๆ เอานิ้วจิกยังไม่ออกเลย เกาะระรานไปทั่วผิวกระเปาะด้านในด้วย
    1 point
  4. 20 นาทีแล้ว เขย่าๆ หาพู่กันมาแทงๆ ในรูครับ เอานิ่มๆนะ อย่าเอาแข็งเดี๋ยวบาดเคลือบ เสร็จแล้วเอาออก หงายดูสิ่งตกค้างด้านใน
    1 point
  5. แต่อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น 555 ดูสวยใส ข้างในต๊ะติ้งโหน่งเยอะคับ อย่าที่บอกคือ ตัวจับค่ามันจริงๆ อยู่ด้านใน เป็นเซรามิคเคลือบเพลตินั่มกริด เวลามองให้ดูพื้นผิวด้านในว่า โดนเบียดเบียนขนาดไหนนะคับ แล้วถ้ามองแบบที่ผมพึ่งถอดออกมาจะไม่รู้เลย ว่าผิวมันโดนเขม่าแข็ง ทับไปขนาดไหน สีมันกลืนๆ เจ้าตัวนี้จะทำงานคล้ายๆตับของเรา แม้มันจะพังโดนไขมันพอกไปขนาดไหน มันก้อยังทำงานได้อยู่ จนกว่าไขมันจะพอกมิดแล้วมันเสื่อมไปเอง อย่ากระนั้นเลย ดีทอกซ์มันซะหน่อย เอาไขมันพอกตับออก เนื่องจากผมทำครั้งสองแล้ว ลืมถ่ายซูมเข้ากระเปาะ ถ่ายไว้ครั้งแรกไม่รู้ไปเซฟไว้ไหน เอาวิธีไปเลยดีกว่า ครั้งแรกผมแช่น้ำส้มสายชูนะครับ แต่มันออกไปไม่ได้ดังใจ ตอนนั้นบอกตรงๆกลัวเสียของ เสียเงิน หลังจากผ่านวันนั้นมา 2 เดือน ไม่พังแถมรู้สึกรถกระปรี้กระเปร่าขึ้นนิดๆ เลย วันนี้จัดหนัก เป็ดม่วง ตามตำราไทยเลย ปล . อันนี้หาอ่านมาพอสมควรนะคับ เลยกล้าทำ จะลองดู พิสูจน์ดู ว่ามันเชื่อได้แค่ไหน วิธีนี้
    1 point
  6. อันนี้รุ่นของเรานะคับ
    1 point
  7. ขันๆ ทวนเข็ม ออกมาแล้ว เหมือนขันน๊อตทั่วไป แค่มันแข็งนิดนึง
    1 point
  8. เริ่มงาน ปลดสายเลยคับ ไม่ต้องถอดแบต
    1 point
  9. เอามาใส่กับด้ามประแจได้เลย แหล่มๆ เป๊ะๆ งามไส้ละทีนี้
    1 point
  10. อิ่มแล้ว มาต่อได้ เริ่มงานเลยละกันนะคับ อุปกรณ์ที่จำเป็น เรียกว่าจำเป็นมากคือ ลูกบล๊อคถอดนี่แหละ ตัวฆ่าความอยากเลย ผมหามาไมรู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ ไม่จบ คือ ตัวเซนเซอร์มันจะมาพร้อมปลั๊ก เจ้าปลั๊กนี่แหละ ที่มันลอดช่องลูกบล๊อคไม่ได้ จำเป็นต้องหาลูกบล๊อคผ่าข้าง ขี้เกียจหาซื้อไง ร้อน เลยเอาของที่บ้านมาโมเอง เอาลูกบ๊อคมาผ่าข้าง เสียไป 2 ลูก ซน มันผ่านได้ปกติ แต่ยาวไม่พอบ่านั่ง เอาประแจแหวน มาผ่า ก้อขันออกได้ แต่ได้ครั้งเดียว มันง้าง เพราะความแข็งเหล็กมันไม่ได้ สุดท้าย อย่ากระนั้นเลยวะเรา ค้นดูใน Ali มีแฮะ ชุดละ 400 กว่าๆเอง ในไทยลูกละ 420 ไปแล้ว สั่งเลย มาตามนัด 3 อาทิตย์
    1 point
  11. การทำงานนะคับ รถยนต์ทำงานจะมีไอเสียไหลเข้าในกระเปาะ มันจะลอดรูเล็กๆ เข้าไปเปลือกวัดค่าชั้นในของกระเปาะ เป็นแกนเซรามิค เคลือบแพลตินั่ม ชื่อดูเม้นต์ข้างบนๆเอา มันจะมีการเปรียบค่ากันระหว่างออกซิเจนไอเสียกับออกซิเจนภายนอก เกิดปฏิกิริยาอะไรซักอย่างกับเจ้าแพลตนัมนี่แหละ แล้วสร้าง Voltage ขึ้น ยิ่งความต่างของออกซิเจนในไอเสียกับอากาศภายนอกมากเท่าไหร่ ก้อเกิด Voltage มากตามไปด้วย ปกติจับค่าดูจะเห็นค่า 0.2 - 0.9 โวลต์ วิ่งไปมาโดยมีเส้นรีเฟอค่ากลางอยู่ 0.45 ที่ส่วนผสมอากาศน้ำมันประมาณ 14.7 :1 ซึ่งค่าที่ส่งไปยัง ECU นี่เพื่อวัดว่าค่าอยู่ในระดับที่ควรเป็นหรือไม่ มันก้อส่งค่าไปเรื่อย ECU ปรับไปวัดไปเรื่อย 5-6 ครั้งต่อวินาทีมั้ง ECUก้อปรับจ่ายเชื้อเพลิงให้ตามค่าที่ส่งไปเรื่อยๆ ไวมากๆ ถ้าค่าโวลต์มาก แสดงว่า ส่วนผสมของเชื้อเพลิงมีน้อยเกินไป ถ้าค่าโวลต์น้อย แสดงว่า ส่วนผสมของเชื้อเพลิงมีมากเกินไป
    1 point
  12. อันนี้จะแบบของเรา แต่ไม่ใช่ตรงรุ่นนะ คือมันใช้ความร้อนช่วยเร่งเหมือนกัน เป็นแบบมีตัวทำความร้อน มีแกนทำความร้อนเร่งการทำงานตัวเอง ถ้าสังเกตดีๆ สตาร์ทรถใหม่ๆ จะมีกลิ่นน้ำมันออกท่อครับ พอ O2 sensor มันร้อน จะเริ่มส่งค่าที่ถูกต้อง แล้วปรับการจ่ายน้ำมันให้เผาไหม้สมบูรณ์ สัก 15-30 วิ ก้อหมดกลิ่นละคับ ไอเสียสะอาด
    1 point
  13. คร่าวๆ ว่าตัวมันคืออะไร ทำงานยังไงนะครับ ดูรูปก่อนนะ แล้วมาอ่านไป ดูไป O2 Sensor คือ ตัวจับค่าออกซิเจนในไอเสีย ตรวจวัดความสมบูรณ์ของการเผาไหม้ที่ออกมาทางท่อไอเสีย เวลาไอเสียไหลผ่าน พรวดๆมา พอมันอ่านค่าออกซิเจนในทางเดินไอเสียได้แล้วจะส่งไป ECU เพื่อคำนวณอีกที ในไอเสียรถยนต์ที่เผาไหมดี สมบูรณ์เหมาะๆ จะมีปริมาณออกซิเจนอยู่ที่ 1-2 % (เทียบกับอากาศโดยทั่วไป มีออกซิเจนอยู่ 21 %) ประมาณแบบนี้คับ ตัวมันนี้จะอยู่ในทางเดินท่อไอเสีย ด้านหน้าแคท ส่วนที่เป็นกะเปาะจะยื่นเข้าไปในท่อรับไอเสีย และส่วนท้ายกระเปาะอยู่นอกทางเดินไปเสีย มีสายไฟมาเสียบตูดอยู่ 4 เส้น 2 ชุด ชุดนึงทำความร้อน ชุดนึงซิกแนลส่งไป ECU มันมีหลายแบบ หลายสายนะคับ หลายสีนะคับ ตามแต่ผู้ผลิต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ใช้แทนกันสบายๆครับ บอกเลย ต่อสายให้ตรง ความยาวสายให้เท่ากันพอ
    1 point
×
×
  • Create New...