Jump to content

gryffindor

CCTH Member
  • Posts

    1,235
  • Joined

  • Last visited

Everything posted by gryffindor

  1. ปตท ผมเอาไว้เข้าห้องน้ำ ไม่ก้อฉุกเฉินขีดแดงขึ้น หาเชลไม่ได้ เลยต้องจำใจอุดหนุนมัน
  2. ต้องเหน็บปืนติดรถไว้ด้วยครับ เอาไว้ดับเกรียน
  3. ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ ขับขี่ปลอดภัยกันทุกคนนะครับ
  4. 555 จุดแบบนี้มีอีกหลายที่ พี่ต้น โรงเรียนลูกเทวเทวดา ตำรวจโบกให้จอดตามสไตล์
  5. ตำหนวดท่านนี้คงกำลัง ทำยอดใบสั่งรายวัน อยู่แน่เลยครับป๋าทอมมี่
  6. copy เค้ามาอีกที่ V V V ตำรวจบอกห้ามจอดรถ แต่ถ้าเราหยุดรถ สามารถทำได้ เช่นหยุดรถส่งคนหน้าสถานที่ที่ห้ามจอด แต่หยุดเพื่อส่งคนสักครู่ สามารถทำได้…อยากเข้าใจมากกว่านี้ อ่านด้านล่างได้เลยครับ หยุดรถกับจอดรถต่างกันอย่างไร หยุดรถ กับ จอดรถต่างกันอย่างไร ทุกท่านเคยสงสัยบ้างไหมว่า การหยุดรถ ต่างจากการจอดรถตรงไหน วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน เริ่มต้น จากการหาความหมายโดยทั่วไปของคำว่า “หยุด” และคำว่า “จอด” กันก่อน ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า “หยุด” ว่า ชะงัก, นิ่ง, อยู่กับที่ ,พัก เช่น หยุดงาน[1] และให้ความหมายของคำว่า “จอด” ว่า หยุดอยู่หรือทำให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น),รัก เช่น ใจจอดเจ้า[2] จากนั้นพิจารณาบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการหยุดรถและจอดรถ ในหมวดที่ 4 ของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ในมาตรา 54 ถึงมาตรา 64 ประกอบแล้วทำให้ผู้เขียนพอจะกำหนดความหมายของคำว่า “หยุดรถ” และ “จอดรถ” ได้ดังนี้ “การหยุดรถ” หมายถึง การทำให้รถนิ่งอยู่กับที่ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ขับขี่จะต้องอยู่ในภาวะที่ควบคุมรถได้และสามารถขับขี่รถออกไปได้ใน ทันที่ (ไม่มีการดับเครื่องยนต์ ในกรณีรถเดินด้วยเครื่องจักรกล) “การจอดรถ” หมายถึง การทำให้รถนิ่งอยู่กับที่ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งนานพอสมควรและผู้ขับขี่ไม่อยู่ในสภาวะที่ควบคุมรถหรือสามารถขับขี่รถออก ไปได้ในทันที (มีการดับเครื่องยนต์ ในกรณีรถเดินด้วยเครื่องจักรกล) จากความหมายดังกล่าว เห็นได้ว่า การหยุดรถนั้น มีช่วงระยะเวลาที่รถจะนิ่งอยู่กับที่น้อยกว่ากว่าจอดรถ อีกทั้งการควบคุมรถของผู้ขับขี่ก็มีความใกล้ชิดมากกว่า ซึ่งถ้าพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในท้องถนนแล้วการหยุดรถ การจำแนกความแตกต่างระหว่าง การหยุดรถ และการจอดรถมีความสำคัญมาก ทั้งกับผู้ขับขี่รถบนท้องถนน และ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรผู้บังคับใช้กฎหมาย เพราะสองเรื่องนี้อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ ต่างมาตรากัน กล่าวคือ การหยุดรถอยู่ในบังคับของมาตรา 55 ความว่า[3] “มาตรา ๕๕ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ (๑) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจําทาง (๒) บนทางเท้า (๓) บนสะพานหรือในอุโมงค์ (๔) ในทางร่วมทางแยก (๕) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ (๖) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ (๗) ในเขตปลอดภัย (๘) ในลักษณะกีดขวางการจราจร ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ซึ่งจำเป็นต้องหยุดรถเพราะมีสิ่ง กีดขวางอยู่ในทางเดินรถ หรือเครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องหรือในกรณีที่ปฏิบัติตาม สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร” นอกจากพื้นที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีการกำหนดเครื่องหมายจราจรเพื่อติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการห้ามการหยุด รถอีกซึ่งเครื่องหมายจราจรดังกล่าวคือ “เครื่องหมายจราจรแบบป้ายห้ามหยุดรถ”[4] “เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางห้ามหยุดรถ” มีลักษณะเป็นแถบสีแดงสลับขาว แสดงที่ขอบคันหิน หรือขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หรือทางจราจร หรือที่อื่น ๆ หมายความว่า ห้ามหยุดรถ หรือจอดรถทุกชนิดตรงแนวนั้นเป็นอันขาด[5] ส่วนการจอดรถนั้นอยู่ในบังคับของมาตรา 57 ความว่า “มาตรา ๕๗ เว้นแต่จะได้มีบทบัญญัติ กฎ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ (๑) บนทางเท้า (๒) บนสะพานหรือในอุโมงค์ (๓) ในทางรวมทางแยก หรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก (๔) ในทางขาม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม (๕) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ (๖) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง (๗) ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร (๘) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน (๙) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว (๑๐) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ (๑๑) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง (๑๒) ในที่คับขัน (๑๓) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจําทางและเลยเครื่องหมายไปอีกสามเมตร (๑๔) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์ (๑๕) ในลักษณะกีดขวางการจราจร” นอกจากพื้นที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีการกำหนดเครื่องหมายจราจรเพื่อติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการห้ามการจอดรถ อีกซึ่งเครื่องหมายจราจรดังกล่าวคือ “เครื่องหมายจราจรแบบป้ายห้ามจอดรถ”[6] “เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางห้ามจอดรถ” มีลักษณะเป็นแถบสีเหลืองสลับขาว แสดงที่ขอบคันหิน หรือขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หรือทางจราจร หรือที่อื่น ๆ หมายความว่า ห้ามจอดรถทุกชนิดระหว่างแนวนั้นเว้นแต่การหยุดรับส่งคน หรือสิ่งของชั่วขณะซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า[7] เห็นเครื่องหมาย ขาว-เหลืองแบบนี้หลายท่านอาจบอกว่า นี่คือเครื่องหมายให้จอดได้แต่ไม่นานใช่ไหมครับ แต่ขอให้ท่านเข้าใจความหมายที่ว่า จอดได้แต่ไม่นานนั้น แปลความได้ว่า ให้หยุดรถได้แต่ห้ามจอดรถก็จะเข้าใจได้ทันทีครับ จะเห็นได้ว่า การจอดรถ ถูกควบคุมมากว่าการหยุดรถอย่างมาก ด้วยเหตุที่การจอดรถผู้ขับขี่ไม่อยู่ในสภาวะที่จะเข้าควบคุมรถได้ในทันที ทำให้หากมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นย่อมอาจก่อให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรงแก่สังคมได้ เช่น หากเกิดเหตุไฟไหม้ แล้วมีผู้จอดรถกีดขวางหัวต่อท่อดับเพลิง ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนที่ถูกไฟไหม้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควร เป็นต้น แต่ทว่า หากมองในแง่ของการบังคับใช้แล้ว การห้ามหยุดรถจะดูเข้มงวดกว่ามาก เพราะในที่ซึ่งห้ามหยุดรถท่านจะไม่สามารถจอดรถได้เลย เนื่องจากการจอดรถ รถจะต้องอยู่นิ่งกับที่นานกว่าการหยุดรถอยู่แล้วจึงไม่สามารถทำได้ แต่ในที่ซึ่งห้ามจอดรถท่านสามารถหยุดรถได้ เนื่องจากการหยุดรถ รถจะอยู่นิ่งในระยะเวลาที่สั้นกว่าการจอดรถ หวังว่า เรื่องนี้จะเป็นประโยชน์กันท่านผู้อ่านในการจอดรถหรือหยุดรถในครั้งต่อไปนะ ครับ
  7. หลังจากมีมาตรการเคลื่อนย้ายรถ ที่จอดผิดกฎหมายออกจากพื้นผิวการจราจร วันนี้ (21 ต.ค.) ได้ฤกษ์เริ่มใช้จริงแล้ว โดยพล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ดูแลงานด้านจราจร ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วกัน ทั้งนี้ ค่าปรับและค่าอำนวยการยกรถผู้กระทำผิดจะต้องจ่ายเงินเองทั้งหมดที่สถานีตำรวจในพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 1. ค่าปรับ คันละ 500บาท 2. ค่ายกรถและดูแลรถ - 4ล้อ ค่ายก 500 บาท และค่าดูแล 200 บาทต่อวัน - 6ล้อ ค่ายก 700 บาท และค่าดูแล 300 บาทต่อวัน - 10ล้อขึ้นไป ค่ายกรถ 1,000 บาท และค่าดูแล 500 บาทต่อวัน สำหรับ 10 ถนนสายหลักที่เริ่มทำการยกรถ ประกอบด้วย 1.ถนนลาดพร้าว ตั้งแต่แยกลาดพร้าว-แยกแฮปปี้แลนด์ 2.ถนนพระราม4 ตั้งแต่แยกหัวลำโพง-แยกพะราม4 3.ถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิต ถนนพระราม1 ตั้งแต่แยกบางนา-แยกพงษ์พระราม 4.ถนนรัชดาภิเษก ถนนอโศกดินแดง ถนนอโศกมนตรี ตั้งแต่แยกประชานุกูล-แยกรัชดาพระราม4 5.ถนนรามคำแหง ถนนพระราม9 ถนนจตุรทิศ ตั้งแต่แยกคลองเจ๊ก-แยกรามคำแหง-ถนนจตุรทิศ 6.ถนนพหลโยธิน ถนนเกษตรนวมินทร์ ตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยฯ-สะพานใหม่ และแยกเกษตรศาสตร์-แยกนวมินทร์ 7.ถนนสาทรเหนือและสาทรใต้ตลอดสาย 8.ถนนราชดำเนิน สะพานพระปิ่นเกล้าฯ ถนนบรมราชชนนี และถนนคู่ขนานลอยฟ้า ตั้งแต่ ลานพระราชวังดุสิต-แยกผ่านพิภพฯ-จนสุดเขตกทม. 9.ถนนเพชรบุรี ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ตั้งแต่แยกอุรุพงษ์-แยกคลองตัน 10.ถนนวิภาวดีรังสิต ตลอดเส้นทาง เครดิต Mthai
×
×
  • Create New...