Jump to content

NO_COMMENT

CCTH Member
  • Posts

    60
  • Joined

  • Last visited

Posts posted by NO_COMMENT

  1. หลวงปู่ตี๋ วัดท่ามะกรูด รุ่น 3 (เหรียญไตรมาส) ครับ

     

    IMG_9987_1.jpg

     

    IMG_9988_1.jpg

     

    จากหนังสือ The Art of Siam

    PUTEE.jpg

     

    IMG_0855_1.jpg

     

    ชีวประวัติ หลวงปู่ตี๋ วัดท่ามะกรูด

     

    พระอธิการวิทยา ฉันทธัมโม

    หลวงปู่ตี๋ เจ้าอาวาส วัดเขาเขียวพนาราม

    ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

     

     

    แต่ปัจจุบันท่านได้ย้ายมาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดท่ามะกรูด ต.กระเสียว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ซึ้งห่างจากวัดเขาเขียวเพียง ๓ กิโลเมตรเท่านั้น

     

     

    ชาติภูมิ

    หลวงปู่ตี๋ เกิดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปี ชวด (ปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๑ อายุ๘๔ปี) ณ.บ้านท่าน้ำตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช เป็นบุตรของนายห้อย นาง กิมบี้ นามสกุล น้ำดอกไม้ หลวงปู่ตี๋มีพี่น้องทั้งหมด ๔ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๑ คน หลวงปู่ตี๋เป็นบุตรคนโต

     

    วัยเด็ก

     

    แต่เดิมโยมพ่อท่านเป็นช่างก่อสร้างมณฑปบนยอดเขาวัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช และเมื่อตอนสร้างมณฑปนั้นได้นำเด็กชายตี๋ในขณะนั้นติดตามไปด้วยตลอด และหลวงพ่ออิ่ม เจ้าอาวาสวัดหัวเขาได้เห็นเด็กชายตี๋เข้า จึงเมตตาเลี้ยงดูให้ในขณะที่โยมพ่อหลวงปู่ตี๋กำลังทำงาน หลวงพ่ออิ่มได้ป้อนข้าวป้อนน้ำเลี้ยงเด็กชายตี๋เปรียบเสมือนลูกในไส้ และรักเด็กชายตี๋มาก และดูดวงชะตาเด็กชายตี๋ก็ทราบว่า ในอนาคตเด็กผู้นี้ต้องบวชไม่สึก และจะเป็นกำลังสำคัญในพระพุทธศาสนา ท่านจึงมอบตำราวิชาอาคมของท่านจำนวน1 เล่มไว้ให้กับโยมพ่อของหลวงปู่ตี๋เก็บรักษาเอาไว้ให้หลวงปู่ตี๋เมื่อโต ก่อนที่หลวงพ่ออิ่มท่านจะมรณภาพ

     

     

    บรรพชา

     

    เมื่อหลวงปู่ตี๋อายุ ๑๕ ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และเริ่มเรียนวิชาต่างๆจากตำราของหลวงพ่ออิ่ม สิริปุญโญ วัดหัวเขา ที่โยมพ่อของท่านได้เก็บรักษาเอาไว้จนแตกฉาน

    อุปสมบท

     

    จวบจนอายุ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบท ณ.พัทธสีมาวัดเขาพระ อ.เดิมบางนางบวช เมื่อวันที่ ๑๙ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยมี

    พระครูอเนกคุณากร (หลวงปู่แขก) วัดหัวเขา เป็นพระอุปัชฌาย์

    พระอาจารย์พิณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    พระอาจารย์ไสว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

     

     

    หลวงปู่ตี๋ กับหลวงปู่แขก วัดหัวเขา

     

     

    หลังจากหลวงปู่ตี๋อุปสมบทแล้ว ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวเขา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมจากหลวงปู่แขก ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม ดังนั้นหลวงปู่แขกจึงป็นอาจารย์องค์แรกของท่านจวบจนปี พ.ศ.๒๔๙๗

    หลวงปู่ตี๋ กับ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่

     

    หลังจากเรียนวิชาอาคมจากหลวงปู่แขกแล้วนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงปู่ตี๋ได้กราบลาหลวงปู่แขก เพื่อมาศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ผู้เป็นศิษย์เอกหลวงพ่ออิ่ม การมาศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อมุ่ยของหลวงปู่ตี๋นั้นก็เพื่อจะเป็นการรวบรวมตำราของหลวงพ่ออิ่มที่หลวงพ่อมุ่ยมีอยู่เอาไว้ ดังนั้นหลวงปู่ตี๋จึงมาฝากตัวกับหลวงพ่อมุ่ย ซึ่งก็ดูเหมือนหลวงพ่อมุ่ยจะรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าหลวงปู่ตี๋จะต้องมาฝากตัวกับท่านเป็นแน่แท้ เพราะว่าหลวงพ่อมุ่ยท่านพรึมพรำออกมาตอนพบหลวงปู่ตี๋ว่า “อ้อ ท่านตี๋นี้เอง เห็นพ่อครูเคยบอกฝากฝังเอาไว้” ซึ่งก็แสดงว่าหลวงพ่ออิ่มท่านได้เคยฝากฝังหลวงปู่ตี๋เอาไว้กับหลวงพ่อมุ่ยในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

    เมื่อหลวงปู่ตี๋มาพบหลวงพ่อมุ่ย ก็ได้บอกจุดประสงค์ต่อหลวงพ่อมุ่ยว่าจะมาขอเรียนด้วย และบอกว่าวันพรุ่งนี้จะนำดอกไม้ธูปเทียนเข้ามาหาใหม่ เพื่อเป็นพิธีไหว้ครู ฝากฝังตัวไว้เป็นศิษย์ แต่หลวงพ่อมุ่ยกลับบอกว่า “ไม่ต้องพรุ่งนี้หรอก วันนี้แหละ เดี๋ยวไปเอาดอกไม้ที่พระพุทธรูปโน้นมาเรียนเสียวันนี้เลย” พร้อมกับจูงมือหลวงปู่ตี๋เข้ากุฏิเริ่มเรียนวิชากันเดี๋ยวนั้นเลย

    หลวงปู่ตี๋เล่าเรียนวิชาต่างๆจากหลวงพ่อมุ่ยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยเดินทางไปๆมาๆอยู่หลายปี จวบจนจบในปี พ.ศ.๒๕๐๕จึงเรียนจบ พร้อมกับได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกระเสียว ต.กระเสียว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี

    หลวงปู่ตี๋ กับหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

     

     

    หลวงปู่ตี๋ท่านมีลักษณะนิสัยชอบธุดงค์เป็นประจำ ช่วงชีวิตของท่านถือธุดงค์มาเกือบ ๔๐ ปี ในระหว่างที่อยู่วัดกระเสียวท่านก็ได้ออกธุดงค์เสมอๆโดยฝากวัดไว้กับรองเจ้าอาวาสวัดกระเสียว คือ พระครูวิเชียร

    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ตี๋ท่านออกธุดงค์ไปทางภาคตะวันออก และได้พบกับหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ จ.ระยอง แรกพบท่านทั้งคู่นั้นได้เกิดการลองวิชากันพอสมควร สุดท้ายหลวงปู่ตี๋จึงบอกกับหลวงปู่ทิมว่า “ในช่วง๗วันที่อยู่ที่นี่ ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านด้วยได้ไหม” หลวงปู่ทิมท่านก็ตอบว่า “แค่ ๗ วันจะไปเรียนอะไรได้ นี่เห็นว่าเป็นคนสุพรรณ ร่ำลือกันนักกันหนาว่าคนสุพรรณแน่จริงอยู่ หากเป็นจริงดังคำร่ำลือนั่นแล้ว ต้องมาเรียนด้วยกัน ๑ พรรษา จึงจะสอนให้” หลวงปู่ตี๋ได้ยินทำท้าทายจากหลวงปู่ทิมดังนั้นจึงธุดงค์กลับมาวัดกระเสียว และฝากวัดไว้กับรองเจ้าอาวาสอีก เพื่อจะกลับไปร่ำเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ เป็นเวลา ๑ พรรษา เรียนกับหลวงปู่ทิมได้วิชาทำผงพรายกุมาร การเสกผง และวิธีการปลุกเสกพระเครื่อง

    หลวงปู่ตี๋ กับ หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม (วัดบ้านแค)

     

     

    หลวงปู่ตี๋ท่านมาเรียนกับหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท หลายครั้ง และหลวงพ่อกวยมักจะจูงมือหลวงปู่ตี๋เข้าไปเรียนในกุฏิแบบตัวต่อตัวตลอดครับ วิชาที่ท่านเรียนจากหลวงพ่อกวยนั้น คือ เรียนวิชาทำปลัดขิก ตะกรุด หนุมาน และวิชาอื่นๆอีกมากมาย

    และวิชาหนึ่งที่หลวงปู่ตี๋ท่านสำเร็จเป็นเลิศและศิษย์หลวงพ่อกวยทุกท่านต่างทราบดีและยกย่องท่านนั้นก็คือ วิชาตัวเบา สามารถนั่ง สามารถเดินบนผิวน้ำได้ และอีกวิชาหนึ่งที่ท่านสำเร็จและขึ้นชื่อคือ วิชามือยาวรอดรูดาน สามารถหยิบสิ่งของไกลๆ และมีช่องเล็กๆได้ครับ

     

    หลวงปู่ตี๋ กับหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ และหลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญ

     

     

     

    หลวงปู่ตี๋ท่านมีความสนใจในวิชาอาคมและวิชาต่างๆมาก ซึ่งคนโบราณเรียกว่า “คงแก่เรียน” จึงได้พยายามเสาะแสวงหาพระอาจารย์เก่งๆและเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์เพิ่มเติมอยู่เสมอๆอีกดังนี้ กับหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ จ.ชัยนาท ท่านได้วิชาย่นระยะทาง และกำบัง ส่วนหลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญ จ.สิงห์บุรี นั้นท่านได้วิชาแป้งเสกครับ

    ออกจากวัดกระเสียว มาอยู่วัดเขาเขียว

     

     

    ท่านออกจากวัดกระเสียวขณะที่เป็นเจ้าอาวาสและธุดงค์เรื่อยๆ เพื่อจะไปเรียนวิชาต่อกับหลวงพ่อกวย จนมาเจอวัดเขาเขียวพนาราม อ.เดิมบางนางบวช ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ ซึ่งเดิมเป็นวัดร้าง และมีโรงเรียนร้าง ท่านจึงตัดสินใจที่อยู่ที่นั่น แต่ท่านต้องสู้กับเจ้าพ่อเขาเขียว (เจ้าที่) ที่ไม่ยอมให้ท่านสร้างวัดที่นั่น ตอนนั้นเวลานอนท่านยังนอนในกลดเช่นเดียวกับลูกศิษย์ท่าน คืนที่โดนเจ้าที่ลองก็คือ มีฝูงวัวควายวิ่งกันฝุ่นตลบนอกกลดจะเข้ามาทำร้ายท่านกับลูกศิษย์ แต่ท่านรู้ท่านสั่งลูกศิษย์ท่านว่าตอนกลวงคืนไม่ว่ามีอะไรห้ามออกจากกลดเด็ดขาด ถ้าจะตายก็ให้ตายด้วยกัน คืนนั้นลูกศิษย์ท่านกลัวมากและคิดว่าท่านหลับแล้วจะวิ่งออกนอกกลด แต่ท่านกระแอม ลูกศิษย์ท่านจึงมีสติและนึกถึงคำสั่งของท่านได้ เช้าวันรุ่งขึ้นมีชาวบ้านมานิมนต์ให้ท่านอยู่ที่นี่ และทำพิธีแบ่งเขตกันระหว่างวัดกับเจ้าพ่อเขาเขียว

     

    ระหว่างที่ท่านอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาเขียวนั้น ท่านถูกทำร้ายอยู่หลายๆครั้ง ทำให้ลูกศิษย์ถามท่านว่า “ทำไมหลวงพ่อไม่ย้ายวัด เพราะมีหลายวัดที่อยากได้หลวงพ่อไปจำพรรษาอยู่” แต่ท่านกลับบอกว่า “ต้องการใช้กรรมให้หมดในชาตินี้ ไม่ต้องการใช้กรรมนี้ในชาติต่อไป”

     

    ตอนที่ท่านโดนทำร้ายบางคนใช้มีดฟันศรีษะท่านเลย ลูกศิษย์เคยถามท่านว่า “หลวงพ่อไม่กลัวหรือ?” แต่ท่านกลับพูดติดตลกว่า “กลัวมีดของมันจะบิ่นมากกว่า”

    หลวงปู่ตี๋ท่านจำพรรษาอยู่วัดเขาเขียวได้พัฒนาวัดเขาเขียวพอสมควรจากสำนักสงฆ์จวบจนเป็นรูปเป็นร่างและกลายเป็นวัดขึ้นมา

    ย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดท่ามะกรูด

     

     

    ต่อมาหลวงปู่ตี๋ท่านได้ชราภาพมาก และเจ็บป่วยบ่อยครั้ง ลูกศิษย์จึงนิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาอยู่วัดท่ามะกรูด อ.สามชุก ซึ่งอยู่ใกล้โรงพยาบาลมากกว่าวัดเขาเขียว และถนนหนทางก็สะดวกมากกว่าวัดเขาเขียว ท่านจึงจำพรรษาอยู่วัดท่ามะกรูดเมื่อไม่กี่ปีนี้เป็นต้นมา

     

    คัดลอกข้อมูลมาจาก.........................................

     

    ชีวประวัติ หลวงปู่ตี๋ วัดท่ามะกรูด

    โดย : saksuphan

  2. ไม่รู้ว่ามันเป็นตั้งแต่แรกป่าวนะครับ

     

    เพราะของผมตรงกลางก็กดยาก มันจะแข็งๆ กดไม่ค่อยติด ส่วนใหญ่ผมก็กด ซ้าย-ขวา ครับ

    ตามพี่ต้นว่าครับ ตรงกลางกดยากครับ น่าจะเป็นเหมือนกานหมด

  3. ผมเริ่มก่อนเลยละกันครับ องค์ที่ใช้อยู่ แขวนเดี่ยวทั่วไทย :P

    เหรียญหลวงพ่อสมบุญ(พระครูวินยานุโยค) วัดยางยี่แสน รุ่น 2 อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

     

    หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส หรือพระครุวินยานุโยค ท่านเป็นศิษย์เอกในหลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี เหรียญนี้สร้างปี ๒๕๐๐ร่วมปลุกเสกโดยยอดเกจิสุพรรณมากมายหลายท่าน เช่น หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส หลวงพ่อสม วัดดอนบุผผา หลวงพ่อไข่ วัดเชิงเลน หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อโบ๊ย วัดมะนาว หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก เหรียญทองแดงกะหลั่ยทอง สร้างประมาณ ๕๐๐ เหรียญ ประสบการณ์เพียบครับ

     

    1-3.jpg

     

    2-1.jpg

     

     

    ประวัติและปฏิปทา

     

     

    หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส วัดของท่านอยู่อ.อู่ทอง สุพรรณบุรี อยู่ติดแม่น้ำเก่าจระเข้สมาพัน

    หลวงพ่อสมบุญ เขมาภรโต เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2433

    โยมบิดาชื่อหมี โยมมารดาชื่อเรือน นามสกุล รักน้อย อาชีพทำนา มีนิสัยรักสงบและมีความเรียบร้อยมาตั้งแต่เล็กๆ

    ท่านบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2466 เรียนหนังสือไทยและขอมได้อย่างแตกฉาน สวดมนต์เก่ง

    ลาสิกขาออกไปทำไร่ไถนา

    พอตอนอายุ 21 ปี พ.ศ. 2454 ก็เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดยุ้งทะลาย คือวัดโบสถ์วิทยาคาร

    ต.ยุ้งทะลาย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี พระครุฑ วัดท่าโขลงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูช้อย วัดขวาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุดใจ วัดโพธิ์สางเทรา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็มาจำพรรษาที่วัดยางยี่แส

     

    ท่านสนใจในการศึกษา วิปัสสนากรรมญานและได้ศึกษากับหลวงพ่อแขม เจ้าอาวาสวัดยางยี่แส แล้วเดินทางไปศึกษาเพิ่มเติมกับอาจารย์ที่วัดโกสินาราย์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อกลัยมา อีกไม่นานท่านก็เดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์เอกหลวงพ่อเนียม วัดน้อยอยู่อีก 1-2 ปี พลังจิตท่านสูงมาก สามารถแผ่พลังจิตไปยังสัตว์ทั้งหลายได้

     

    ข้อมูลอ้างอิง : http://www.sittloung...php?topic=219.0

×
×
  • Create New...