Jump to content

dikiboyz

CCTH Member
  • Posts

    285
  • Joined

  • Last visited

  • Days Won

    2

Everything posted by dikiboyz

  1. E85 ผมว่ามันกินกว่าพวก E10 หรือ E20 มากกว่า 30% โดยประมาณ ผมว่าถ้าเทียบกับน้ำมันปกติ ผมว่าปกตินะ ในเมืองก็ประมาณนี้ น้ำมันธรรมดา พวก E20 หรือ โซฮอล ผมวิ่งแถวสุขุมวิท พระราม 4 พระราม 3 เต็มถังก็ ประมาณ 300 กว่าๆ กิโล 7-10 Km/L (รถติดพอสมควร) ถ้าออกต่าวจังหวัด ก็ 550+ (15-18Km/L)ครับ ที่บอกว่า "เค้าวิ่งกัน350อัพ" นี่เป็นน้ำมันทั่วไป หรือ E85 ครับ
  2. อัพเดท ซ่อมเสร็จเรียบร้อย (ซ่อมศูนยฺ์) ค่าใช้จ่าย 3,200 นิดๆ - ค่ากระจก 521 บาท - ค่าเปลี่ยนกระจก ดูดกระจก ค่าแรง 1,200 บาท - ฟิล์ม 3M เบอร์ FX-20 รวมค่าแรง 1,200 บาท เผื่อมีคนประสบเหตุการณ์เหมือนกับผมครับ แชร์ๆ กัน
  3. กลางวันกำลังดี ผมว่าดีสุดแล้วสำหรับขับกลางวันนะ หน้า 60 รอบคัน 80 แต่ กลางคืน ทางลาดยาง ที่ไม่ตีเส้น หรือเส้นแบ่งเลนลบ ณคือเจ้าของถนนครับ เพราะไม่รู้ว่าตรงไหนเลน ไปหรือเลนสวน 55+ ทางมืดๆ ต้องตั้งใจขับ เพิ่งถนนมากขึ้น ปล. ถ้าเป็นคนสายตาสั้น หรือสั้นไม่มาก (ที่ไม่ยอมใส่แว่น เหมือน ผม นะ) ไม่แนะนำครับ เอาบานหน้าไม่เกิน 40 กำลังพอ ประมาณนี้เลยครับ แต่ของผมบานหน้า ปรอท นะครับ
  4. บานหน้า ผมไม่แนะนำให้ติดถึง 80 นะครับ กลางวันเย็นจริง แต่กลางคืนขับยากครับ มองไม่ค่อยเห็นถนน ยิ่งเจอถนนยางมะตอย มืดๆ ยิ่งไปกันใหญ่
  5. ตามนี้เลยครับ โดยส่วนตัว แนะนำบานหน้าเอาแบบปรอทด้วย น่าจะโอเคกว่า
  6. ใช่ครับ ราคาก็ตามที่ผมโพสไปก่อนหน้า ทั้งของศูนย์ฮอนด้า และของ กลาสเทค คุณ PPOPP ได้ 1,800 บาท ฟิล์ม 600 บาท ตอนผมโทรไปถามบอก 2,000 บาท + ฟิล์ม 500 บาท ผมก็ไม่ทราบว่าราคามันมี List ของมัน หรืออยู่ที่คนรับโทรศัพท์กำหนดขึ้นมาเอง สรุป คือ ผมคงเข้าศูนย์ครับ ขอบคุณทุกคนที่ช่วยเหลือ และแนะนำครับ
  7. วันนี้โทรถามร้าน กลาสเทค มาแล้วครับ เขาคิดค่ากระจกประตู หลัง-ซ้าย เขาบอก 2,000 บาท ติดฟิล์ม 500 บาท แพงกว่า ศูนย์ 4 เท่าตัว สรุป ผมว่าจะเอาเข้าศูนย์ฮอนด้าครับ ให้เขาประเมินราคาซ่อม แล้วค่อยเอารถเขาไปเปลี่ยนกระจกเมื่อเบิกของแล้ว เปลี่ยนกระจกข้าง ไม่น่าจะนาน เหมือนกระจกหน้า
  8. ขอบคุณมากครับ แบบนี้เศร้าเลยครับ เพราะคู่กรณีคันไหนก็ไม่ทราบ สะเก็ดเห็นมันคงมาแบบวิถีกระสุน คงยากที่จะทราบว่ามาจากคันไหน ขอบคุณมากเลยครับ เป็นประโยชน์กับผมมาก เมื่อกี้ลองโทรถามศูนย์ ฮอนด้า มาได้ใจความว่า 1. กระจำบานข้าง หลัง-ซ้าย (เฉพาะบานเลื่อน) 557 บาท รวม vat + ค่าติดตั้ง 400 บาท 2. ฟิล์มกระจกบานข้าง หลัง-ซ้าย 1,000 บาท รวมติดตั้ง ราคาข้างบนนี้เป็นยังไงบ้างครับ แพงไปหรือสมน้ำสมเนื้อครับ ผมไม่เคยเปลี่ยนกระจก เลยไม่ทราบจริงๆ
  9. ตกลงไม่น่าจะเครมได้ใช่ไหม ผมก็ทำใจไว้ครึ่งนึงแล้วละ ว่าจะคงเครมไม่ได้ เพราะไม่มีข้อกรณี ที่เข้าเงื่อนไขของ 2+ (หินมันดีดมาจากคันไหน ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน) ปล.ใครพอทราบราคา กระจก กับ ฟิล์ม ช่วยแนะนำด้วยนะครับ
  10. วันนี้เย็นๆ กลับจากลพบุรี นั่งมา 2 คนกับแฟน มาถึงช่วง วังน้อย -> บางประอิน และแล้วมันก็ดัง " ปุ๊ก!!!!" ตกใจเกือบหักพวงมาลัย แต่ยังคุมสติอยู่เลยจับพวงมาลัยนิ่งๆ แล้วค่อยๆ ชะลอ (แว๊บแรกไม่รู้จริงๆ ว่าเสียงอะไร) แต่ได้ยินเสียง "เป๊าะแป๊ะๆ" ตามมา รู้เลยว่าเสียงกระจกลั่นแน่ๆ หันไปมองใช่จริงๆ ด้วย ผมไม่ทราบจริงๆ ว่ามันแตกได้ยังไง ทีแรกนึกว่าแก๊งปาหิน เพราะตอนนั้นประมาณทุ่มกว่าๆ แต่คิดว่าคงไม่ใช่ เพราะผมขับเลนขวาสุด ความเร็วตอนนั้นประมาณ 120 Km/h ไม่มีมอเตอร์ไซต์ขับสวนมาสักคัน แต่เดาว่านะจะเกิดจากหินดีดจากรถบรรทุก หรือรถทัวร์ ที่วิ่งๆ อยู่เลนซ้ายเป็นขบวนเลย เศร้า... แต่ลึกๆ ผมก็คิดว่าโชคดีแล้วที่ไม่โดนกระจกบานหน้า (ถ้าเป็นบานหน้าไม่อยากนึกภาพเลย) ขอบสอบถามเพิ่มเติมว่า 1. กระจกประตูหลังด้านซ้าย ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ 2. ฟิล์ม 3M บานประตูข้างบานเดียวประมาณเท่าไหร่ครับ ผมทำประกัน 2+ ของกรุงเทพฯ ว่าจะแจ้งเครมพรุ่งนี้
  11. มองๆ ล้อใหม่อยู่ พอมีใครจะทราบว่า ที่ไหน ร้านไหนขายล้อ YOKOHAMA AVS MODEL T5 ไหมครับ ล้อแท้ งานไทย งานนอก ก็ได้ครับ ล้อลายนี้อะครับ
  12. ถ้าเอาเรื่องการใช้งานก็ต้อง H-Drive อยู่แล้วครับ แต่ราคามันต่างกันเยอะอยู่นะครับ เกือบ 3 เท่าเลย ปล. น่าจะเทียบกับ New SR หรือ Monro ฯลฯ น่าจะเป็นตัวเปรียบเทียบที่โอเคกว่า
  13. จริงเหรอครับ ผมเข้าศูนย์ประจำอยู่ 3-4 ที่ เขาไม่เคยทาให้ผมเลยนะครับ
  14. ความรู้ไหม่จริงๆ ครับ ขอบคุณมากครับ แค่สงสัยว่ามันเป็นแบบนั้นจริง ทำไมเจ้าอื่น ยี่ห้อเขาไม่ทำกัน
  15. อ้อ เหรอครับ ขอบคุณมากเลยครับ งั้นโล่งไปที นึกว่างานจะเข้า เพราะผมเองไม่เคยเปลี่ยนหลอดไฟ โตต้า เอง เพิ่งเคยลองเปลี่ยนเอง โรงงานเขาแต้มจารบีขาวๆ มาทำไมเหรอ อยากรู้ เพราะถ้ามันมีข้อดี ทำไมเจ้า FD เราถึงไม่แต้มมา แบงค์พัน (ทอน 2 ร้อยครับ)
  16. เนื่องจากได้อัพเกรดหลอดไฟเอง พอดีซื้อหลอด Osram NB+ มา ขั่ว H4 เลยเปลี่ยนเอง บนรถอีกคัน(Vigo Champ) ครับ พอถอดออกมา สังเกตุที่ขั่วหลอด พบว่ามันเจลๆ ครีมๆ สีขาวๆ ไม่ทราบว่ามันคืออะไรเหรอครับ ทีแรกนึกว่าขั่วหลอดเป็นเกลือ แต่ไม่น่าใช่ เพราะรถใหม่อยู่(รถป้ายแดง อายุ 1ปี ) ผมเปลี่ยนเจ้า FD เป็นหลอด NB+ มันก็ไม่มีแบบนี้นะครับ เป็นเกลี้ยงๆ เลยไม่ทราบจริงๆ ว่ามันคืออะไร ใครพอจะทราบว่ามันคืออะไรช่วยบอกทีครับ ถ้ามันผิดปกติผมจะได้รีบแก้ไข ขอบคุณครับ
  17. เดี๋ยวลองไปเช็คดูครับพี่ทอมมี่ น่าจะแนววเดียวกันเลยครับ
  18. ตอนปล่อยเบรค (คลายเบรค) เกียร์ D ครับ แต่รู้สึกว่าจะเป็นเกียร์ สมมุติว่า ถ้ารถวิ่งมาแล้วเบรค พอรคหยุดสนิทแล้วคลายเบรค จะดัง "กึ๊ก" แทบทุกครั้ง เท่าที่ฟังๆ ทั้งผ้าเบรค เย็นอยู่ หรือร้อนแล้ว
  19. ใครเป็นบ้างครับ เวลาปล่อยเบรค ย้ำนะครับว่า เวลาปล่อยเบรค(จากรถหยุดนิ่ง) จะมีเสียงดัง "กึ๊ก...กึ๊ก" ทุกครั้งที่ยกเท้าออกจากแป้นเบรค(ตอนปล่อยเบรค) และจะดังเฉพาะเวลาปล่อยเบรคจากจังหวะที่ปล่อยเบรคจากรถหยุดนิ่ง เท่านั้น รู้สึกว่าดังตั้งแต่เปลี่ยนผ้าเบรคมา(ผ้าเบรคยี่ห้อญี่ปุ่น)
  20. เรื่องคุณภาพกับการใช้งานจริง ผมไม่ทราบเหมือนกัน แต่รถผมเป็น 3M ทั้งคัน (ค่อนข้างมืดจำเบอร์ฟิล์มไม่ได้ บานหน้า 60 ปรอท ข้าง 80 มั้ง ) - เท่าที่ใช้งานมาก็ถือว่าดีมากครับ ถ้าเทียบกับรถอีกคันของผมเป็น Vigo 4 Dr 4X4 เป็น Lamina ค่อนข้างใส ผมว่า 3M บน FD ผมเย็นกว่า ไม่ค่อยแสบแขนตอนขับกลางวัน (น่าจะเป็นความต่างกันของเบอร์ฟิล์มด้วยละ) - เรื่องความทนไม่ต้องห่วงเพราะรับประกันฟิล์ม 7 ปีครับ
  21. ใช้เกียร์ "อัตโนมัติ" ให้ถูกต้อง! ปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่นนิยมผลิตเฉพาะรุ่นเกียร์อัตโนมัติหรือออโต้ ออกมาจำหน่าย เพื่อให้สะดวกสบายในการขับขี่ แต่ยังมีผู้ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติไม่ถูกต้อง หลายครั้งก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบเกียร์ หลายครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เกิดเหตุการณ์เศร้าสลด เมื่อผู้ขับควบคุมเกียร์อัตโนมัติไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ดังนั้น เพื่อเป็นการเตือนสติและให้ผู้ขับขี้ทบทวนการใช้งานเกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้องอีกครั้ง จึงมีข้อแนะนำดังนี้ 1.การขับรถเกียร์อัตโนมัติหรือออโต้ สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มขับรถ ต้องเหยียบเบรกทุกครั้งก่อนสตาร์ตรถ เพื่อป้องกันอันตราย แม้ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ตำแหน่ง (P) หรือ (N) ก็ตาม และเหยียบเบรกทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ว่าง (N) หรือเกียร์จอด (P) ไปเป็นเกียร์เดินหน้า (D) หรือเกียร์ถอยหลัง ® เมื่อรถหยุดนิ่ง ต้องเหยียบเบรกก่อนทุกครั้ง ก่อนขยับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ 2.ถ้าเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่งเดินหน้า (D) ไปเป็นตำแหน่งถอยหลัง ® หรือเปลี่ยนจากตำแหน่งถอยหลัง ® ไปเป็นตำแหน่ง (D) ควรให้รถหยุดสนิทให้เรียบร้อยก่อน อย่าใจร้อน เมื่อรถยังเคลื่อนที่อยู่แต่รีบเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จะทำให้เกียร์มีอายุการใช้งานสั้น และค่าซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ใหม่ในรถยนต์ราคาสูงมาก 3.ขณะที่รถวิ่งอยู่ไม่ควรเข้าเกียร์ตำแหน่ง (N) เช่น เห็นไฟแดงข้างหน้า แต่ยังอีกไกล กลัวจะไม่ประหยัดน้ำมัน จึงเข้าเกียร์ในตำแหน่ง (N) และปล่อยให้รถไหลไปจนถึงไฟแดง รถแทบทุกรุ่นในยุคปัจจุบันใช้ระบบหัวฉีดควบคุด้วยสมองกลทันสมัย การจ่ายเชื้อเพลิงขึ้นตรงกับลิ้นปีกผีเสื้อ ถ้ายกเท้าออกจากคันเร่งลิ้นปีกผีเสื้อก็จะปิดทันที เซ็นเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อจะรายงานกล่องสมองกลควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิง ให้หยุดทำการจ่ายน้ำมันทันที ไม่จำเป็นต้องปลดเกียร์ว่าง (N) และยังเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเกียร์อีกด้วย เนื่องจากรถยนต์ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เกียร์ที่อยู่ในตำแหน่ง (D) จะมีปั๊มแรงดันสูง ส่งน้ำมันเกียร์เข้าไปหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา แต่ปั๊มน้ำมันของเกียร์อัตโนมัติจะทำงานน้อยลงเมื่อเกียร์อยู่ในตำแหน่ง (N) เมื่อไม่มีแรงดันพอเพียงจะดันน้ำมันไปหล่อลื่นเกียร์อย่างเพียงพอ จะทำให้เกียร์ออโต้ร้อน และเกิดการสึกหรอเสียหายตามมา ด้วยสาเหตุนี้เองเวลารถใช้เกียร์ออโต้เสียและต้องลากไปอู่ จึงจำเป็นต้องเติมน้ำมันเกียร์เพิ่มเข้าไปอีก เพื่อช่วยลดความร้อนของเกียร์ขณะลากจูง หรือถ้าหาน้ำมันเกียร์มาเติมไม่ได้ ควรยกให้ล้อที่ใช้ขับเคลื่อนให้ลอยพ้นพื้นถนน เนื่องจากระบบปั๊มน้ำมันเพาเวอร์ของระบบเกียร์อัตโนมัติหยุดทำงาน ไม่แนะนำให้ถอดเพลาสำหรับรถขับเคลื่อนล้อหลัง เพระยุ่งยากและเสียเวลามาก ปัจจุบันนี้มีรถยก 6 ล้อ แบบสไลด์ออน สามารถนำรถทั้งคันขึ้นไปไว้บนกระบะหลัง สะดวกสบายและปลอดภัยต่อเกียร์อัตโนมัติและรถยนต์ 4.การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ 2 ต้องระมัดระวังเนื่องจากตำแหน่ง 2 จะมีอัตราทดเฉพาะเกียร์ 1 และ 2 บริษัทผู้ผลิตต้องการทำให้รถใช้งานในกรณีที่ต้องการแรงบิดมากๆ เช่น ทางขึ้นเนินค่อนข้างชัน หรือต้องการการหน่วงความเร็วของรถเอาไว้ เช่น ในขณะที่ขับรถลงเนินเขา (ENGINE BRAKE) หรือวิ่งบนเส้นทางที่คดเคี้ยว ลาดชันมากๆ ห้ามใช้ตำแหน่งเกียร์ 2 ในขณะที่ท่านขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ใช้รอบเครื่องสูงตามไปด้วย จนเกินขีดจำกัดและก่อให้เกิดความเสียหาย และอาจลื่นไถลเนื่องจากเกิดแรงบิดมหาศาลมากระทำที่ล้อ ทำให้รถเสียการทรงตัวได้ 5.ไม่ควรขับลากเกียร์ โดยทั่วไปการขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ (D) ระบบสมองกลควบคุมเกียร์จะสั่งงานให้ปรับเปลี่ยนเกียรให้ขึ้นลงตามความเหมาะสมและความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลาบางคนรู้มากใช้วิธีเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์โดยการเลื่อนคันเกียร์ขึ้นลงเองในขณะที่รอบเครื่องทำงานสูงสุด เพื่อหวังผลทางด้านอัตราเร่ง แต่จะมีผลทำให้ผ้าคลัตช์ และระบบทอร์คคอนเวอร์เตอร์สึกหรอเสียหาย และทำให้อายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง 6.ไม่ขับแบบเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำเอง (คิกดาวน์) บ่อยๆ การขับในตำแหน่ง (D) ระบบสมองกลควบคุมเกียร์จะคำนวณค่าของแรงต่างๆ และปรับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ตามความเร็วของรถในขณะนั้นตลอดเวลาอยู่แล้ว การกดคันเร่งเพื่อเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำ หรือที่เรียกว่าคิกดาวน์ ไม่ควรทำบ่อยครั้ง หรือทำเท่าที่จำเป็นในการเร่งแซงให้พ้นเท่านั้น ถ้าทำบ่อยผ้าคลัตช์ของเกียร์จะทำงานหนักและสึกหรอเร็วมากขึ้น 7.ควรมีสายพ่วงแบตเตอรี่ติดท้ายรถไว้ตลอดเวลาเนื่องจากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติไม่สามารถเข็นด้วยความเร็วต่ำแล้วกระตุกสตาร์ตให้ติดเครื่องยนต์ได้เหมือนรถยนต์เกียร์ธรรมดาการเข็นรถเกียร์อัตโนมัติแล้วใช้วิธีกระตุกสตาร์ตต้องใช้ความเร็วอย่างน้อย 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข็นด้วยแรงคนเป็นไปได้ยาก และยังเสี่ยงกับความเสียหายต่อเกียร์ในขณะที่เข็นหรือลากอีกด้วย ควรตรวจสอบแบตเตอรี่ให้มีไฟพอเพียงต่อการสตาร์ตทุกครั้ง 8.น้ำมันเกียร์อัตโนมัติหัวใจของการหล่อลื่นและยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถให้ยาวนาน จึงควรเอาใจใส่ตรวจสอบบ่อยๆ การตรวจเช็กระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด กำหนดหมั่นเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่แนะนำ 9.ตำแหน่งในเกียร์อัตโนมัติ P)PARKING-เป็นตำแหน่งเกียร์ ใช้จอดในลักษณะไม่จอดขวางทางรถคันอื่น แล้วใส่ตำแหน่งเกียร์นี้ไว้ หรือจอดในทางที่มีลักษณะลาดชัน และใช้ในตำแหน่งสตาร์ตเครื่องยนต์ R) REVERSE-เป็นตำแหน่งเกียร์ถอยหลัง เหยียบเบรกทุกครั้งที่จะเข้าเกียร์ในตำแหน่งนี้ N) NEUTRAL-เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้ในการตัดกำลังของเครื่องยนต์ที่ส่งลงมาสู่เกียร์ และใช้เป็นตำแหน่งสตาร์ตเครื่องยนต์ D) DRIVE-เป็นตำแหน่งเกียร์เดินหน้าและใช้ในการขับขี่ตามปกติ ตำแหน่งเกียร์อัตโนมัติจะปรับเปลี่ยนเองตามคำสั่งของสมองกลที่ควบคุม สำหรับรถยนต์บางรุ่นที่มีอุปกรณ์เพิ่มเติมบางค่ายเรียก ทริปทรอนิก หรือสเต็ปทรอนิก เป็นสวิตช์ปรับเปลี่ยนระบบเกียร์ให้เป็นเกียร์สูงหรือต้ำลง ผู้ใช้เข้าระบบเพื่อใช้งานในการปรับตำแหน่งเกียร์ด้วยตัวเอง ช่วยสำหรับการเร่งแซง นอกจากนี้เกียร์ออโต้รถยนต์หลายรุ่น นอกจากเกียร์ (D) แล้ว ยังมีตำแหน่งเกียร์เดินหน้า แต่รอบต่ำลงมามีเลข 2 หรือเลข 3 กำกับ หมายถึงทดเกียร์ลงมา หรืออาจจะมี ( L) LOW เกียร์ในตำแหน่งนี้ มีเพียงเกียร์ 1 เท่านั้น ใช้สำหรับงานหนักที่ต้องการกำลัง หรือรถติดหล่ม หรือทางขึ้น ลงเขาที่ชันมาก ที่มา :คอลัมน์ คาร์ทิปส์ นสพ.มติชน
  22. หาใหม่ มือสอง ดีกว่าซ่อมครับ ราคาไม่ต่างกันเลย เพราะซ่อมไม่เนียน ก็เสียดายตัง เสียดายเวลาอีก
  23. ผมคยเจอครับ แต่กับวีโก้นัครับ ไม่แน่ใจว่าเป็นแบบที่พี่ทอมมี่ว่าหรือป่าวนะครับ เพราะรถป้ายแเดง ไม่เคยปรับมาก่อน ผมนี่ละเปิดซิงค์ปรับมันคนแรก เพราะมันเป็นตัว 4x4 มันสูงไปหน่อย ผมหมุนแบบถนอมแล้วนะ แต่หมุนทวน-ตาม เข็มนาฬิกาละก็แล้ว ส่องใส่กำแพง ไม่ขึ้นไม่ลง ไม่หือไม่อือเลย เซ็งๆ เหมือนกันไม่รู้จะทำไงกับมันดี
  24. หามือสองในบอร์ดถูกๆ ก็มีเยอะครับ ลองๆ หาดู
  25. ของท่านตัวไหนครับ จากเดิม CCA เท่าไหร่ครับ ใช้มากี่เดือน ละครับ
×
×
  • Create New...