Jump to content

Search the Community

Showing results for tags 'อ่านนะครับ'.

The search index is currently processing. Current results may not be complete.
  • Search By Tags

    Type tags separated by commas.
  • Search By Author

Content Type


Forums

  • CivicClub News and Announcements
    • เรื่องควรรู้ก่อนใช้งาน CivicClubThailand
  • CivicClub Members Area | ห้องสนทนาสำหรับสมาชิก CivicClubThailand
    • CivicClub Lobby | ห้องรับแขก
    • CivicClub Communities | ห้องสนทนาทั่วประเทศ
    • Volunteer Spirit Room | ห้องจิตอาสา
    • Recreation Room | ห้องสันทนาการ
    • Travel & Foretaste Room | ห้องท่องเที่ยวตระเวนชิม
    • Show Room | ห้องโชว์รูมส่วนตัวของสมาชิก
    • CivicClub Meeting Gallery | ห้องภาพกิจกรรม
  • CivicClub Driving Experience Sharing | ห้องสาระ ประสบการณ์ใช้งาน
    • Drivers Talk | ห้องคนขับ
    • Alternative Fuels Talk | ห้องสนทนาเชื้อเพลิงทางเลือก
    • Dress up & Tuning | ห้องสนทนานักแต่งรถ
    • Car Care Discuss | ห้องสนทนาคาร์แคร์
    • D.I.Y. & Services | ห้องสนทนาประสาช่าง
    • Audio Talk | ห้องคนรักเครื่องเสียง
    • Insurance Talk | ห้องสนทนาประกันภัย
    • International Room
  • CivicClub Market Place | ตลาดสินค้าออนไลน์
    • Civic Parts&Accessories | ตลาดเกี่ยวกับรถยนต์
    • Other Products | ตลาดสินค้าทั่วไป
    • Used car Buy and Sell | ตลาดรถมือสอง
    • Need to buy | ตลาดหาสินค้า
  • CivicClub Members Lounge | ห้องพักผ่อนสำหรับสมาชิก
    • Entertain Room | ห้องสังสรรค์ บันเทิง

Find results in...

Find results that contain...


Date Created

  • Start

    End


Last Updated

  • Start

    End


Filter by number of...

Joined

  • Start

    End


Group


Facebook


Line ID


Website


AIM


MSN


Yahoo


ICQ


Jabber


Skype


Nickname


Location


Interests

Found 3 results

  1. เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง ตั้งแต่มีรถเกียร์อัตโนมัติ มาขับในบ้านเรา นั้น เรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงมากที่สุดในเรื่องของการขับขี่ คงจะไม่พ้นข้อคำถามที่ว่า ในระหว่างการขับขี่หากรถหยุดชั่วขณะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สี่แยกไฟแดง เราควรจะปรับตำแหน่งเกียร์จาก D ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ มาสู่ตำแหน่ง N หรือ เกียร์ว่าง ซึ่งจะความคล้ายคลึงกับการใช้งานในรถยนต์เกียร์ธรรมดา หรือไม่ ข้อถกเถียงที่ไม่มีวันที่สิ้นสุดนี้ เป็นเหมือนเรื่องราวไก่กับไข่ ที่เถียงกันมายาวนาน ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็มีเหตุผลมาสนับสนุน และไม่เพียงแต่ในไทยเท่านั้นแต่ที่ต่างประเทศก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นข้อกังขากันมาอย่างยาวนาน จนแทบจะพูดว่านี่คือคำถามสุดคลาสสิคของเกียร์อัตโนมัติกันลยทีเดียว คำถามที่ชวนเถียงกันทะเลาะกันเปล่าๆนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าขำขัน เมื่อระบบเกียร์อัตโนมัติ ถูกผลิตขึ้นมาให้มีตำแหน่งเกียร์ที่สำคัญ คือ P R ND และ บ้างก็จะมีตำแหน่งเกียร์พิเศษขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อการใช้งานเช่น D3 , 2 , และ 1 ซึ่งการมีตำแหน่ง N ที่เท่ากับเกียร์ว่าง ทำให้หลายคนได้รับความเข้าใจมาแบบผิดว่า การเข้าตำแหน่งเกียร์จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพมากกว่านี้ จะก่อให้เกิดผลต่อการทำงานของระบบเกียร์มากกว่า และวันนี้เรามี 3 เหตุผลที่คุณควรเปลี่ยนเกียร์มาตำแหน่ง N เมื่อมีโอกาส ตราบเท่าที่คุณมองว่าสมควร 1. ปลอดภัยมากกว่า ทุกครั้งที่คุณเหยียบเบรกเข้าเกียร์ D แม้รถจะหยุดนิ่ง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่มันจะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในการจราจรติดขัด ที่คุณอาจจะเผลอเรอได้เพียงแค่คุณผ่อนน้ำหนักที่แป้นเบรก นิดเดียว รถที่อยู่ในตำแหน่ง D ก็พร้อมที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าทันที ดังนั้น หากรถติดขัดสาหัสมากนานหลายนาที การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ มายัง N ย่อมจะทำให้คุณปลอดภัยมากกว่าอย่างปฏิเสธไม่ได้ 2. เรื่องสึกหรอ จริงหรือเปล่าที่จะช่วย แม้จะไม่มีข้อพิสูจน์ที่ฟันธงกันไปเลยว่า การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จากตำแหน่งเกียร์ D ไป N จะมีผลต่อกระบวนการสึกหรอของชุดเกียร์มากน้อยเพียงใด แต่ข้อเท็จจริงทางด้านเทคนิคในรถยนต์เกียร์อัตโนมัตินั้น คือ ทุกครั้งที่คุณเข้าตำแหน่งเกียร์ขับเคลื่อน ตัวชุด Torque Covertor จะถูกเชื่อมเข้ากับชุดฟลายวีลที่ด้านหลังเครื่องยนต์ หากแต่ที่รถไม่ขับเคลื่อนนั้น เพราะว่า มีแรงเบรกมากพอที่จะเอาชนะแรงบิดจากเครื่องยนต์ ซึ่งยังไม่มีแรงบิดมากนักที่กำลังเครื่องยนต์รอบเดินเบา ทำให้รถหยุดนิ่งกับที่ได้ ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่คุณเข้าเกียร์ D แล้วเหยียบเบรกไว้ จะมีการใช้งานระบบเบรกอย่างเต็มที่เพื่อเอาชนะแรงจากเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถสร้างการเสื่อมสภาพให้กับเบรก ได้ในระยะยาวอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะชุดหม้อลมและท่อทางเดินน้ำมันที่จะรับแรงดันเป็นเวลานานๆ ต่อเนื่อง เช่นเดียวกัน การคงตำแหน่งเกียร์ที่ D ในส่วนของตัวเกียร์เองก็ทำให้ชุด Torque convertor ถูกต่อติดกับเครื่องยนต์ตลอดเวลาและ ภายในเจ้าตัวแปลงกำลังเครื่องยนต์นี้ก็มีการหมุนเวียนน้ำมันเกียร์เช่นกัน ซึ่งจุดนี้เองที่ทำมีการถกเถียงกันว่าเกียร์จะเสื่อมสภาพถ้าค้างเป็นเวลานานๆ หรือไม่นั่นเอง ประเด็นที่ถกเถียงกันในเรื่องนี้ ก็มาจากในระบบเกียร์เองมีการใช้แรงดันน้ำมันในการทำงานเช่นกันเพื่อปรับตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสม และมีแรงดันสูง ซึ่งอาจจะทำอันตรายต่อระบบถ้าเปลี่ยนไปๆมาๆ บ่อยครั้ง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็มีเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่า ถ้าน้ำมันมีการหมุนวนมากๆ โดยไม่เคลื่อนไหว อาจจะก่อให้เกิดความร้อนสะสม มากขึ้นในน้ำมัน และมันคือศัตรูที่สำคัญ ที่ทำให้ระบบเกียร์เสื่อมสมรรถนะเร็วขึ้นเช่นกัน รวมถึงในส่วนของระบบคลัทช์ระหว่างเฟืองเกียร์ด้วย ที่จะพร้อมทำงานตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าอย่างไรก็มีการเสื่อมสมรรถนะได้ทั้งสิ้น **ดังนั้นในเรื่องนี้ถ้ามองแล้วต้องมาพบกันตรงกลาง คือถ้าคิดว่ารถติดเวลานานมาก สาหัสมากก็ให้เปลี่ยนตำแหน่งจาก D มา N น่าจะดีกว่า และเช่นเดียวกัน ถ้าตัวเลขเวลารอที่สี่แยกไม่ได้นานอย่างที่คิด ก็คงค้างที่ตำแหน่งเดิมแล้วเหยียบเบรกเอาก็น่าจะดีกว่าเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้ดุลพินิจของผู้ขับขี่ 3. เรื่องความประหยัด ประเด็นที่ถกเถียงกันมากถัดมานั้นก็คงไม่พ้นเรื่องของความประหยัดในการใช้น้ำมันของเครื่อง ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือไม่เปลี่ยน เรื่องนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดเกียร์ แต่ก็อธิบายไม่ยาก และสามารถตอบได้จากเหตุผลข้อที่แล้วว่า ทุกครั้งที่เราเข้าเกียร์ D เหยียบเบรกแล้วรถไม่เคลื่อนมาจากการกำลังเบรกต้านไว้ มันก็คือการที่เราสั่งรถเดินหน้าอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่ความจริงเราไม่ได้จะเดินหน้า ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ โดยตรงเพราะในรถบางรุ่นจะมีการปรับการทำงานเครื่องยนต์ให้สูงขึ้นอีกเล็กน้อยเพื่อความสะดวกและให้กำลังของการออกตัว และมันหมายถึงการสิ้นเปลืองน้ำมันนั่นเอง โดยเฉพาะเมื่อเครื่องยนต์พยายามที่จะสู้กำลังเบรกอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้มีความต้องการเร่งในช่วงสั้นๆบ่อยครั้ง ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าเกียร์จะมีการใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงกว่าตอนที่เราไม่เข้าเกียร์ D หรืออยู่ในตำแหน่งเกียร์ N แม้การปรับตำแหน่งเกียร์ N ไป D จะมีข้อดีและเสียต่างกัน แต่การเปลี่ยนตำแหน่งนี้ ก็ยืนยันว่ามันไม่สร้างความสึกหรอเท่ากับ การเปลี่ยนตำแหน่งกับสู่เกียร์ P ไปมาเป็นประจำที่รถหยุดซึ่งบางคนมักทำติดเป็นนิสัย หากแต่ไม่ว่าวันนี้คุณจะมีเหตุผลอะไร ทางออกที่ดีในการถนอมชุดเกียร์และปลอดภัยที่สุด ในการขับขี่เพื่อป้องกันไม่เผลอเรอ คือการปรับตำแหน่งเกียร์ไปที่ Nเมื่อรถติดเป็นเวลานานๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนที่สำคัญที่สุดคือคุณในฐานะผู้ขับขี่ต้องตัดสินใจว่าเมื่อไรควรจะปรับเข้าสู่ N เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง ที่ีมาของข้อมูล http://auto.sanook.com/5152/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C-n-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-d-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94/
  2. เกือบสังเวยบนโทล์เวย์ไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่าน กับท่านนายกหญิงของเราที่บังเอิญไปเจอความสะเพร่าของคนรถที่ลืมตรวจเช็คลมยาง แต่ยังดีที่ไหวตัวทันจนทีมรักษาความปลอดภัยจัดรถคันใหม่มาให้เพื่อเดินทาง ส่วนรถคันเดิมสรุปสั้นๆว่ายางลมอ่อน แล้วจบข่าวกันไป โดนปล่อยลมหรือสะเพร่าไม่รู้ แต่ที่รู้นี่คือ เรื่องของลมยางไม่ใช่เรื่องเล่นๆอีกต่อไป โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังพูดถึงรถยนต์ ที่ยางคือปัจจัยสำคัญที่สุดในการขับขี่ และเชื่อไหมว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดแบบว่าไม่เป็นไรเรื่องเล็กไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทั้งที่จริงนี่คือข้อสำคัญกว่าที่คุณคิดเสียอีก ทุกวันนี้มีคนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะสุภาพสตรีทั้งหลายที่ไม่ถนัดเรื่องรถลืมหรือบ้างก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องของลมยางที่อยู่กับล้อ แถมมิหนำซ้ำเรายังใช้งานทุกวัน ด้วยหนึ่งในสาเหตุหลัก ก็มาจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยิ่งบางคนตัดปัญหาเอาไปว่า เติมลมชนิดอยู่ได้นานตามคำโฆษณาของร้านขายยางที่อ้างตัวเองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ ลมยางตามปกติแล้วควรหมั่นตรวจเช็คเป็นประจำทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อตรวจสอบการรั่วซึมของยาง โดยเฉพาะยิ่งรถที่ไม่ใช้บ่อยเป็นประจำ ยิ่งควรต้องเช็คลมยางก่อนการขับขี่ เนื่องจากลมที่มีการคงที่เป็นเวลานานๆ จะทำให้มีการควบแน่นของก๊าซในอากาศทำให้มีบางส่วนแปรสภาพเป็นอย่างอื่นได้ และเกิดการยุบตัวของแรงดัน ยิ่งในช่วงหน้าหนาวที่ใกล้เข้ามานี้ควรตรวจสอบบ่อยครั้งขึ้น เนื่องมาจากสภาพอากาศที่เย็นนั้นเอง ฟังดูลมยางอ่อนก็ไม่ใช่ปัญหาที่ร้ายแรงอะไร แต่ความจริงแล้วนี่คือต้นเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติหตุได้เนื่องจากลมยางที่อ่อนจะทำให้ยางเกิดการยุบตัวได้ง่าย ยิ่งใครที่ต้องเดินทางต่างจังหวัดต่อเนื่องหรือขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง การขับรถที่มีลมยางอ่อนอาจจะทำให้ลื่นไถลได้ง่ายกว่า เช่นเดียวกับระยะเบรกที่มากกว่าปกติ นี่ยังไม่นับรวมถึง การสึกหรอของยางที่มีมากขึ้น เนื่องจากมีลมซับแรงกระแทกในการเดินทางน้อยลง รวมถึง หากกระแทกแรงๆยังสามารถส่งความเสียหายต่อส่วนของแก้มยางได้อีกด้วย นอกจากการสร้างความเสียหายต่อแก้มยางและความไม่ปลอดภัยในการเดินทางแล้ว ลมยางอ่อนยังเป็นต้นเหตุของการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นของรถยนต์โดยไม่จำเป็นซึ่งหากเทียบเป็นรถยะทางที่แต่ละคนขับขี่กันเป็นประจำก็จะพบว่า ในแต่ละปีคนเดินทางด้วยระยะทางราวๆ12,000 ไมล์ ต่อปี และการขับรถที่มีลมอ่อนก็ทำให้ต้องสูญเสียค่าน้ำมันในการเดินทางเพิ่มขึ้นราวๆ 144 แกลลอนจากปกติ หรือคิดเป็นค่าน้ำมันก็ตกราวๆ 9000-17,000 บาท โดยประมาณ ซึ่งนี่ยังไม่รวมค่าสึกหรอของยางที่จะมากขึ้น และเช่นเดียวกับการเกิดมลพิษมากขึ้นเพียงแค่คุณไม่เจียดเวลานิดหน่อยในการเติมลม แม้การเติมลมยางอาจจะฟังเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลายๆคน แต่การเติมลมยางจริงๆแล้วก็ง่ายกว่าที่คิดแถมยังมีค่าใช้จ่ายน้อยหรือบางที่ก็ไม่มีเลย อย่างเช่น ตามสถานีบริการน้ำมัน การตรวจเช็คลมยางถือเป็นบริการหนึ่งที่คุณเรียกหาได้ และ ไม่เพียงเท่านี้ การเติมลมยางนั้นก็ง่าย โดยอาศัยค่าจากตารางข้างรถเป็นสำคัญ เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเช่น การบรรทุกหรืออื่นๆ ก็ควรปรับระดับลมยางให้เหมาสมด้วย ลมยางไม่ใช่แค่เพียงสิ่งที่มองไม่เห็นในยาง แต่นี่คือสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้คุณไม่เกิดอุบัติเหตุ แม้ยังสามารถเซฟเงินในกระเป๋าได้ด้วย ถ้าวันนี้ยังไม่แน่ใจว่า รถคุณมีลมยางอ่อนหรือไม่ แวะเข้าสถานีบริการน้ำมันสักนิด แล้วให้พวกเขาจัดการให้คุณ เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง ที่มาของข้อมูล http://auto.sanook.com/4353/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94/
  3. ช่วงนี้หลายคนที่อยู่ในเขตกรุงเทพ คงจะหวั่นใจไม่น้อยหลังจากที่ฟ้าฝนเทกระหน่ำลงมาจนถนนหลายสายกลายเป้นคลอง พากันเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าปีนี้ น้ำอาจะท่วมกทม. ซ้ำรอย แต่ว่าก่อนที่คิดว่า เปลี่ยนโครงการรถคันแรกเป็นเรือลำแรกดีไหม เราว่าน่าจะห่วงสิ่งเล็กๆในรถอย่างเจ้า "ใบปัดน้ำฝนกัน" ใบปัดน้ำฝน อุปกรณ์ที่ตั้งตรงหน้า ทุกครั้งที่ขึ้นขับรถ อาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม ยามที่ฝนไม่ตกและอาจจะไม่ได้มีประโยชน์ใดๆมากนัก สำหรับการขับขี่ นอกจากคอยเช็ดทำความะอาดบนกระจก เมื่อ มีสิ่งที่พึงประสงค์อยู่บนหน้าและมันทำความสำคัญให้กับผู้ขับขี่ ตามปกติแล้ว "ใบปัดน้ำฝน" ก็ไม่ได้ต่างจากสิ่งอื่นที่อยู่ในรถคือมันมีอายุการใช้งานเหมือนกัน เพียงแต่ เราอาจจะไม่ไดสังเกต หรือเป็นสิ่งที่เล็กมากจนหลายคนมองข้ามถึงอายุการใช้งานของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจากข้อมูลที่เชื่อถือได้ ใบปัดน้ำฝนจะมี อายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน - 1 ปี ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และชนิด รวมถึง คุณภาพของยางที่ใช้มาเป็นตัดครีบใบปัดน้ำฝน นั่นเอง สิ่งที่เป็นข้อคำถามสำคัญคงไม่พ้นว่าแล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าใบปัดเหล่านี้ลากลับบ้านเก่าแล้ว คำตอบของเรื่องนี้นั้นมันก็อยู่ตรงหน้า เพราทุกครั้งที่เราปัดน้ำฝนแล้วเกิดสะดุด สั่น หรือ มีเสียงไม่พึงประสงค์ นั่นคือสัญญาณ บ่งชี้ที่สำคัญว่า ได้เวลาที่เราควรจะเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนใหม่ได้แล้ว ซึ่งตามปกติ แม้ตลอดทั้งปีเราแทบจะไม่ได้ใช้ใบปัดน้ำฝนเลยนอกจากในช่วงฤดูฝน หรือ ฉีดน้ำเช็ดกระจกเล็กๆน้อย ทว่าการเสื่อสภาพของใบปัดน้ำฝันนั้นก็มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความร้อนจากแสงแดด ที่จำจะทำให้ครีบใบแห้งและเสื่อสภาพได้ไวกว่าที่ควรจะเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยเราที่มีอากาศร้อนเป็นทุนเดิมกันอยู่แล้ว แม้ฟังดู "ใบปัดน้ำฝน" อาจจะเลี่ยงไม่ได้ที่จะเปลี่ยน แต่ก็สามารถยืดอายุการใช้งานได้ ด้วยการหมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ เป็นประจำ เพื่อ นำคราบสกปรกหรือฝุ่น ออกจากใบปัด ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือวิธีการทำความสะอาด ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีใด ให้ใช้เพียงผ้าสะอาดชุบน้ำแล้วรูปเท่านั้น เนื่องจาก ใบปัดมีคุณสมบัติเป็นยาง การลงน้ำยา อาจจะทำให้เสื่อมสภาพได้ เร็วกว่าปกติ เช่นเดียวกับที่หลายคนเข้าใจผิดว่าการยกใบปัดน้ำฝนจะช่วยยืดอายุได้ ทั้งที่จริงๆ มันเป็นการยกชูสุ่แดดด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการเลือกเปลี่ยนตัวใบปัด ที่ควรเลือกใช้ตามขนาดเดิมที่มากับรถเนื่องจากการเพิ่มขนาดใบปัดไม่ได้ส่งผลอะไรมากมายต่อทัศนวิสัยในการขับขี่ เช่นเดียวกับการเลือกชนิดใบปัดที่ควรดุตามความเป็นจริงไม่ควรหลวงตัวกับคำโฆษณา ที่นอกจากจะให้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่ออะไรสักอย่างก็เท่านั้นเอง หากมองโดยรวม "ใบปัดน้ำฝน" ก็คงไม่ใช่อะไรที่หลายคนจะใส่ใจนัก เพราะนอกจากมันไม่ได้ทำให้รถดูดีและแรงขึ้นแล้ว มันยังไม่ได้ถูกใช้งานบ่อยๆด้วย ทว่า การที่เราเลือกหมั่นใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความปลอดภัยและมั่นใจในยามขับขี่ เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง ที่มาของข้อมูล http://auto.sanook.com/4306/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9D%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1-/
×
×
  • Create New...