Jump to content

ทำไมต้องเติมลมยาง


Recommended Posts

toyota_2013-09-09-10-13-03.jpg

 

อย่างที่เข้าใจกันว่ายางรถยนต์นั้น เป็นส่วนที่ต้องรับภาระทั้งในการรับน้ำหนักของรถทั้งคัน ทั้งหมุนเสียดสีกับพื้นถนน แต่กลับเป็นส่วนที่หลายคนละเลยที่จะดูแล จนยางอยู่ในสภาพที่ใช้แทบไม่ได้จึงมาเปลี่ยน

 

เพราะการที่มองว่ายางไม่ใช่อุปกรณ์ที่ซับซ้อน เป็นแค่ยางดำๆ รูปวงกลม แต่ตัวยางรถเองก็ต้องการดูแลเช่นกัน ถ้าอยากให้ยางอยู่กับเรานานๆ ใช้มันได้คุ้มกับเงินที่เสียไป เพราะเปลี่ยนทีก็ไม่ใช่น้อยๆ นะครับ

 

มาตรฐานการเติมลมยางของรถแต่ละประเภท

1. รถเก๋ง ความดันสูงสุด ไม่ควรเกิน 36 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรถนั้นๆ ด้วย 

1.1. รถเก๋งขนาดเล็ก  ความดันลมยาง ประมาณ 25 - 30 ปอนด์ / ตารางนิ้ว 

1.2. รถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่  ความดันลมยาง ประมาณ 30 - 35 ปอนด์ / ตารางนิ้ว 

2. รถกระบะ ความดันลมยาง ไม่ควรเกิน 65 ปอนด์ / ตารางนิ้ว

*ในรถส่วนใหญ่จะมีแผ่นบอกความดันลมยาง ที่ตรงช่องประตูคนขับ

 

การเช็คลมยาง

1. ควรเช็คลมยางขณะยางยังเย็นอยู่ จะได้ค่าที่แม่นยำที่สุด เพราะเมื่อรถเคลื่อนที่ ล้อจะมีการเปลี่ยนรูปและเกิดความร้อนขึ้นที่ตัวยาง ส่งผลให้ความดันภายในยางเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การวัดค่าผิดเพี้ยนได้ 

2. โดยทั่วไปลมยางจะอ่อนลงประมาณ 2-3 ปอนด์ต่อเดือน ซึ่งถ้าตรวจเช็คว่ามีลมยางหายไปมากกว่านั้นมาก ควรให้ร้านยางตรวจสอบ อาจมีจุดรั่วซึมที่ผิดปกติ

3. หาคู่มือมาอ่านเพื่อค่าลมยางที่ถูกต้องสำหรับรถแต่ละรุ่น ซึ่งโดยทั่วไปคู่มือรถจะต้องบอกค่าลมยาง ขนาดของล้อที่เป็นค่ามาตรฐานของรถรุ่นนั้นๆ

 

การเติมลมยาง

ถ้าเราซื้อยางมาจากร้านขายยาง ทางร้านมักมีบริการเติมลมยางให้ฟรี จะตลอดการใช้งานหรือ แค่ 2-3 ครั้ง ตามแต่ตกลง แต่ถ้าเราซื้อยางมาเองและให้ร้านใส่ให้ หรือกรณีไม่มีบริการเติมลมยางฟรี เราก็สามารถเติมเองได้ตามปั้มน้ำมันที่เขามีหัวเติมลมยางบริการให้อยู่แล้ว เช่นปั้ม ปตท. จะมีตู้เติมลมยางอยู่ เราแค่ตั้งความดันตามที่เราต้องการและเอาสายไปเติมได้เลยโดยมีข้อระวังง่ายๆ ดังนี้

เติมลมยางมากเกินไป จะทำให้หน้ายางสัมผัสกับตัวถนนได้น้อยลง ทำให้ดอกยางตรงกลางจะสึกมากกว่าด้านข้าง ไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ยางรถระเบิดได้อีก เพราะรับแรงยืดหยุ่นแรงกระแทกได้น้อยลง 

เติมลมยางน้อยเกินไป จะทำให้ดอกยางไม่เรียบ ไหล่ยางสึกมากกว่ากลางยาง ทำให้เราควบคุมพวงมาลัยได้ยากขณะเข้าโค้ง และเมื่อความร้อนสูงมากๆ จะทำให้ยางเสียรูปจนไม่สามารถแก้กลับคืนมาได้ 

เทคนิคเพิ่มเติมในการเติมลมยาง

1. ยางที่เพิ่มซื้อมาใหม่ โครงสร้างยางยังอยู่ในช่วงขยายตัว ทำให้ความดันไม่คงที่ ควรมีการตรวจเช็คลมยางบ่อยสักหน่อยในช่วง 3000 กม. แรกของการใช้

2. จากหัวข้อเช็คลมยาง เมื่อเราขับรถไปสักระยะยางจะร้อนและความดันของยางจะเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่ผู้ใช้รถก็มักจะใช้บริการเติมลมตามปั้มน้ำมัน ซึ่งต้องขับรถมาจนยางร้อน ฉะนั้นควรเติมลมยางมากกว่าปกติสัก 2 ปอนด์เผื่อเอาไว้

3. ถ้าขณะยางร้อน และเช็คว่าความดันยางสูง ไม่จำเป็นต้องปล่อยลมยางออก ค่าที่ได้มันไม่แน่นอน รอตอนยางเย็นค่อยเช็คอีกที

4. เพื่อป้องกันไม่ให้ลมรั่วซึมมากเกินไป ควรเปลี่ยนแกนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ และตรวจสภาพจุ๊บลมด้วย

5. นำยางอะไหล่สำรองมาตรวจเช็คบ้าง เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน

6. ถ้าคุณมักขับรถระยะทางไกล หรือขับความเร็วสูง ควรเติมลมยางเพิ่มกว่าปกติสัก 3-5 ปอนด์

 

การสลับยาง

เมื่อใช้รถไปสักระยะ ยางรถในแต่ละล้อจะสึกหรอไม่เท่ากัน อยู่ที่การขับของเรา แต่โดยมากล้อหน้ามักสึกมากกว่าล้อหลัง เพื่อยืดอายุของยาง และใช้งานได้ดี คุ้มค่า ควรสลับยางทุกๆ 10,000 กม. เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและการควบคุมรถ

 

สำหรับยางรถยนต์ ถือเป็นตัวกำหนดความปลอดภัยอันดับต้นๆ ของการขับรถเลยทีเดียว เป็นเรื่องสมควรจะใส่ใจ และตรวจเช็คนะครับ

 

ข้อมูลจาก



Link to comment
Share on other sites

ยังสงสัยอยู่นิดนึงอะครับ คือรถผมล้อ 215/45/17 ตอนนี้ใส่อยู่ 33 มันอ่อนไปรึเปล่าเพราะวิ่ง ตจว. บ่อย เหนจากบทความบอกว่าควรใส่เพิ่มประมาณ 3-5 ปอร์นอะคับ

Link to comment
Share on other sites

ถามอีกนิดนึง

แรงดันลมในยางเมื่อวิ่งไปสักพัก จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น แรงดันก็จะเพิ่มขึ้น

ในการตรวจเช็คลมยาง ถ้าอุณหภูมิปกคิ ควรเป็นเท่าไร และถ้าวิ่งไปสักพัก อุณหภูมิสูงขึ้น ควรเป็นเท่าไร

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...