Jump to content

วัตถุประสงค์ ในการใช้หมอนพิงศรีษะ


Recommended Posts

toyota_2013-09-27-11-49-15.jpg

 

รถยนต์ในปัจจุบันได้พัฒนาอุปกรณ์ ป้องกันให้ดีขึ้น และมีการเสริมเพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นระบบถุงลมนิรภัย ระบบเซ็นเซอร์ภายนอกรถ การปรับปรุงโครงสร้างตัวถัง แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่แม้จะผ่านไปหลายยุค จะรถกี่รุ่นก็ต้องมีคือ หมองพิงศีรษะ ซึ่งยังคงลักษณะการใช้งานแบบดั้งเดิม และเป็นสิ่งที่ผู้ขับหลายคนใช้กันผิดวัตถุประสงค์

 

ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับการชนกันก่อน โดยส่วนใหญ่การชนมักเกิดขึ้นด้านหน้า เมื่อมีการชนเกิดขึ้นร่างกายจะสะบัดไปหน้ารถตามแรงกระแทก ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บในการชนลักษณะนี้ สายคาดนิรภัย ที่จะยึดตัวคนนั่งให้ติดกับเก้าอี้ และถุงลมนิรภัยที่จะป้องกันศีรษะของคนนั่งไม่ให้กระแทกกับคอนโซลและลดพื้นที่ที่ศีรษะจะสะบัดจนเกิดการบาดเจ็บที่คอได้

 

แต่การชนอีกอย่างคือการถูกชนจากด้านหลัง ซึ่งการชนแบบนี้จะส่งผลให้ตัวรถมีการพุ่งไปข้างหน้า ร่างกายโดยเฉพาะศีรษะจะถูกผลักไปด้านหลังจากแรงกระแทก การชนลักษณะนี้จะทำให้คอเงย ซึ่งอาจจะทำให้เกิด การบาดเจ็บของเอ็นยึดที่กระดูกต้นคอได้ ในภาษาแพทย์เรียกว่า Whiplsh Injury การบาดเจ็บที่บริเวณนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทถึงขั้นอัมพฤต ได้เลยทีเดียว

 

อุปกรณ์ที่ป้องกันการบาดเจ็บจากการชนจากด้านหลังมี สายรัดนิรภัย ที่ยังทำหน้าที่ยึดตัวคนนั่งเอาไว้ และ หนอนพิงศีรษะ เพราะแม้ตัวจะถูกยึดกับที่ แต่รถก็ยังพุ่งไปข้างหน้า ขนาดที่ศีรษะจะแกว่งไปข้างหลังอย่างรุนแรง จึงต้องมีหนอนพิงศีรษะมารองรับ

 

แต่ปัญหาคือ คนขับรถส่วนใหญ่มัก จะไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้ของหมอนพิงศีรษะ มักเข้าใจว่าไว้หนุนเพื่อความสบาย ปรับหมอนพิงให้หนุนบริเวณต้นคอ ซึ่งกลับเป็นการสร้างความบาดเจ็บมากขึ้นไปอีก เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เหตุนี้จึงมีผู้ผลิตบางรายออกแบบหมอนพิงศีรษะไม่ให้ปรับได้ เพื่อตัดปัญหานี้ไป 

 

จากการทดสอบพบว่า ระดับความสูงของหมอนพิงศีรษะที่จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้จะต้องไม่ต่ำกว่าระดับใบหู โดยสามารถทดสอบได้ง่ายๆ โดยเมื่อนั่งพิงพนักเต็มที่ หลังศีรษะของเราส่วนที่นูนที่สุดจะแตะหมอนพอดี แสดงว่าระดับของหมอนถูกต้อง

 

ข้อมูลจาก



Link to comment
Share on other sites

:) อ๋อ !!มันเป็นอย่างนี้นี่เอง นอกจากใช้งัดกระจกตอนตกน้ำแล้ว ยังช่วยตอนมีอุบัติเหตุได้อีกด้วย

             ขอบคุณครับ :)

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...