Jump to content

น้ำมัน ยูโร 2 หรือ ยูโร 4 ดี?


Recommended Posts

ประเทศไทยนั้น มีการบังคับใช้น้ำมันยูโร 4 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 12 ธันวาคม 2549 ที่มีมาตรการส่งเสริมให้มีการผลิตน้ำมันยูโร 4 เนื่องจากประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีประชากรและการจราจรที่หนาแน่นนั้น มีปัญหาเรื่องคุณภาพของอากาศอย่างหนัก เช่น มีมลพิษฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน, สารกำมะถันและก๊าซโอโซนเกินกว่ามาตรฐานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ริมถนนใหญ่ จากการประเมินคุณภาพอากาศในเขตควบคุมมลพิษพบว่า การใช้น้ำมันยูโร 4 สามารถลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ถึง 220 ตันต่อปี ลดการปลดปล่อยฝุ่นละอองได้ถึง 1,732 ตันต่อปี ลดการระบายสารเบนซีนลง 9 ตันต่อปี และลดการระบายสาร 1,3-บิวทาไดอีน 4.1 ตันต่อปี (ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ)

 

นอกเหนือจากการพัฒนาคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นมาตรฐานยูโร 4 ซึ่งทำให้เครื่องยนต์สามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้นแล้ว ก็ต้องมีการพัฒนามาตรฐานของเครื่องยนต์และระบบการควบคุมการปลดปล่อยมลพิษของรถยนต์เช่นเดียวกัน รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ตามมาตรฐานยูโร 4 นั้นมีการติดตั้งระบบ OBD (On Board Diagnostics) ที่เป็นแผงวงจรคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์รวมถึงการวิเคราะห์ปริมาณการปล่อยมลพิษของไอเสียโดยทำงานร่วมกับ ECU (Electric Control Unit) ที่รวบรวมข้อมูลเซนเซอร์ในหลายๆ จุดและควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงให้สมดุล รวมถึงทำงานร่วมกับ Catalytic Convertor เพื่อจัดการมลพิษให้ได้ตามมาตรฐานยูโร 4 อีกด้วย ถ้าจะให้เปลี่ยนกลับไปใช้น้ำมันยูโร 2 รถยนต์เหล่านี้ก็จะมีปัญหาทันทีเพราะน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้มาตรฐาน

 

สำหรับประเทศเพื่อนบ้าน แม้วันนี้หลายๆ ประเทศยังคงใช้น้ำมันยูโร 2 หรือยูโร 3 กันอยู่ เพราะเขามีการจราจรที่ไม่หนาแน่น ปริมาณมลพิษยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ รวมถึงยังไม่ได้มีการกำหนดมาตรการควบคุมมลพิษที่จริงจังและยังไม่ได้บังคับใช้รถยนต์ที่มีไอเสียมาตรฐานยูโร 4 อีกด้วย แต่ในอนาคตประเทศเพื่อนบ้านเราหลายๆ ประเทศก็จะพัฒนาคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเป็น ยูโร 4 และ ยูโร 5 เช่นเดียวกัน อย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ ที่เพิ่งเริ่มใช้น้ำมันเบนซินยูโร 4 และน้ำมันดีเซลยูโร 5 ไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้ ประเทศเวียดนามก็มีแผนจะใช้น้ำมันยูโร 4 ภายในปี 2559 และเป็นยูโร 5 ในปี 2564 และประเทศมาเลเซียตั้งเป้าจะใช้น้ำมันยูโร 4 ทั่วประเทศในปี 2558 สำหรับประเทศไทยตอนนี้ก็ได้มีการพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงบางชนิดเป็นยูโร 5 ไปบ้างแล้วเช่น แก๊สโซฮอล์ E20 ของบางจาก และ ดีเซลพรีเมียม ของ ปตท.

 

หากมองไปทั่วโลกจะพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ประเทศกลุ่มยุโรปและสแกนดิเนเวีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ตอนนี้กำลังจะไปไกลกว่ายูโร 5 แล้วด้วยซ้ำ

 

ส่วนผลกระทบของผู้ที่ใช้รถยนต์ก็ต้องยอมรับว่าการผลิตน้ำมันยูโร 4 ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณลิตรละ 50 สตางค์ที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายจากการที่ผู้ประกอบการได้ลงทุนปรับปรุงคุณภาพโรงกลั่นน้ำมันไปแล้ว แต่ก็คุ้มค่ากับการแลกมาซึ่งสภาพอากาศที่ดีขึ้นและสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นของส่วนรวม เพื่อให้พวกเราและลูกหลานได้สูดอากาศหายใจได้เต็มปอด ลดอัตราการเจ็บป่วยทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งจากการประเมินพบว่า น้ำมันยูโร 4 สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของประชาชนสูงถึง 56,700 ล้านบาทต่อปี (ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ)

 

จะเห็นได้ว่าวันนี้เราแทบจะไม่เห็นควันดำและสภาพอากาศก็ดีขึ้นมากโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ผมมองว่าเราควรเดินหน้าพัฒนาคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยไปเป็นยูโร 5 หรือมากกว่านั้น แทนที่จะถอยหลังกลับไปใช้น้ำมันยูโร 2 ตามข้อเสนอของบางกลุ่มที่จะให้ยกเลิกข้อบังคับมาตรฐานยูโร 4 เพื่อเปิดทางให้มีการนำเข้าน้ำมันยูโร 2 มาขายแข่งขันกับโรงกลั่นน้ำมันในประเทศในราคาที่ต่ำกว่าตามคุณภาพ ซึ่งจะไม่เป็นผลดีและไม่คุ้มค่าในระยะยาวเพราะจะส่งผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนไทยโดยรวม รวมถึงส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงกลั่นน้ำมันในประเทศอีกด้วย

 

ที่มาข้อมูล: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน คอลัมน์ "พลังงานเพื่อความยั่งยืน"

 

1408509923-2082557114-o.jpg

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...