Jump to content

ปรับภาษีรถยนต์ 7 ประเภท เก็บตามปล่อยก๊าซคาร์บอน


Recommended Posts

ปรับภาษีรถยนต์ 7 ประเภท เก็บตามปล่อยก๊าซคาร์บอน

452x300xNewCarSalesTaxDeduction-1024x679

ครม. มีมติเห็นชอบให้ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาการ

บิดเบือนโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ สร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีรถยนต์ และเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์

 

โดยจะเปลี่ยนภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทั้งระบบ และจัดเก็บภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นการคิดภาษีจะแบ่งตามประเภทรถยนต์ 7 ประเภท ประกอบด้วย

1. รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30%
- ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 35%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 40%

2. รถยนต์นั่งประเภทอี 85 และรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 25%
- ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 35%

3. รถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 10%
- ปล่อยก๊าซเกิน 100-150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 20%
- ปล่อยก๊าซเกิน 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 25% และปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 30%

4. รถยนต์กระบะที่ไม่มีพื้นใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 3%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 5%

5. รถยนต์กระบะที่มีพื้นใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 5%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 7%

6. รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (ดับเบิ้ลแคป) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 12%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 15%

7. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี ภาษี
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 25%
- ปล่อยก๊าซฯเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30%

 

อย่างไรก็ตาม ครม.เห็นว่า ควรให้มีช่วงระยะเวลาในการปรับตัวของผู้ประกอบการรถยนต์เป็นเวลา 3 ปี โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2559

 

ที่มา Mthai News

Link to comment
Share on other sites

อันนั้นมันไม่ค่อยละเอียดอะคับ จริงๆ เค้าปรับเพิ่มทุกอันจากอัตราเดิม ยกเว้น เครื่อง 1,200 cc (ปรับลง)

 

ตามนี้ >> http://news.tlcthai.com/news/79204.html

 

ขอบคุณครับ  :0031:   มติครม.ปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์เริ่มปี 2559

ครม.มีมติเห็นชอบปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เพื่อแก้ไขการบิดเบือน-สร้างความเป็นธรรม โดยจัดเก็บภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

0124-610x317.jpg

ปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์

18 ธ.ค. 55 ครม.มีมติเห็นชอบปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาการบิดเบือนโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีรถยนต์ และเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ของโลก ซึ่งจะเปลี่ยนภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทั้งระบบ โดยจัดเก็บภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ โดยคิดตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะเป็นการคิดภาษีจะแบ่งตามประเภทรถยนต์ 7 ประเภท ประกอบด้วย

1. รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 30% ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 35% และปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 40%

2. รถยนต์นั่งประเภทอี 85 และรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซีปล่อยก๊าซฯไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 25% ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 30% และปล่อยก๊าซฯเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 35%

3. รถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซีปล่อยก๊าซฯไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 10% กรณีปล่อยก๊าซเกิน 100-150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 20% และปล่อยก๊าซเกิน 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 25% และปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 30%

4. รถยนต์กระบะที่ไม่มีพื้นใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซีปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 3% และปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 5%

5. รถยนต์กระบะที่มีพื้นใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี ปล่อยก๊าซฯไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 5% และปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 7%

6. รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (ดับเบิ้ลแคป) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250ซีซี ปล่อยก๊าซฯไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 12% และปล่อยก๊าซฯเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 15%

7. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี ปล่อยก๊าซฯไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 25% และปล่อยก๊าซฯเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 30%

สรุปเป็นภาพง่ายๆ ดังนี้

0125-610x683.jpg

ปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์

นี่คือตารางปรับสรรพสามิตใหม่ เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2559

ขอบคุณภาพจาก โพสต์ทูเดย์

โดยที่ ครม.มีความเห็นชอบในการประชุมฯครั้งนี้ เห็นควรว่าให้มีช่วงระยะเวลาในการปรับตัวของผู้ประกอบการรถยนต์เป็นเวลา 3 ปี โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2559 เนื่องจากกระทรวงการคลังวิเคราะห์ผลกระทบว่าการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ในครั้งนี้อาจส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการบางราย ทั้งนี้มีการคำนวณรายได้ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในปีดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 เป็นเงิน 25,693 ล้านบาท

แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม.เปิดเผยว่า นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังเสนอให้มีการเก็บอัตราภาษีสรรพสามิตนำเข้ารถจักรยายนต์ขนาดกระบอกสูบ 800-1,000 ซีซี ที่ปัจจุบันมีการจัดเก็บอยู่ที่ 103% โดยจะมีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 20% เป็น 123% โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.เป็นต้นไป คาดว่าจะช่วยให้มีรายได้จากการเก็บภาษีส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นวงเงินประมาณ 150 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังให้เหตุผลว่า ผู้ที่สามารถซื้อรถจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดดังกล่าวได้เป็นผู้มีฐานะเพียงพอที่จะชำระภาษีเพิ่มเติม

 

ขอบคุณข่าวจาก นสพ.คมชัดลึก และโพสต์ทูเดย์

 

 

 

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...