Jump to content

koko_power

CCTH Member
  • Posts

    166
  • Joined

  • Last visited

Everything posted by koko_power

  1. สำหรับผม ใช้ผ้าเบรก Hisoft มาเป็ฯระยะทาง 15,000 km. โดยประมาณครับ....หลังจาก Bedding In แล้วเสียงเบาลงนิดนึง แต่ปัจจุบันเสียงยังไม่หายครับ เลยอยากวิเคระห์สาเหตุ จึงตั้งประเด็น จานเป็นรอย หรือ ผ้าเบรก มีเสียง...... อยากให้คุณ Lhorn ช่วยเปลี่ยนผ้าเบรกเป็น mu spect ตัวเดิมที่เคยใช้ กับจานเบรกเดิมที่เป็ฯรอย (ของผมก็เป็นรอยเหมือนกันครับ) ทดสอบใช้งานดู ว่ายังมีเสียงรึปล่าว หรือเสียงหายไป จากนั้น...ลองเปลี่ยนจานเบรก กับเพื่อนๆ FD ที่ไม่มีรอย....หรือเอาจานเบรกเดิมไปเจียจาน ใส่ ผ้าเบรก Hisoft ดูว่าเสียงลดลงไปหรือเปล่า(ผู้นำเข้าบอกมาเป็นเพราะจาน) สำหรับส่วนตัวผม ชอบผ้าเบรกตัวนี้ ด้านการเบรกฉุกเฉิน ที่ความเร็วกลาง หรือความเร็วสูง มากเลยครับ ช่วยชีวิตผมหลายครั้งแล้ว แต่ยังเบื่อเรื่องเสียงรบกวน....ที่เกิดขึ้นเวลาเลียเบรก จ่ายค่่าทางด่วน(มันมองหน้าผมตลอด 555) ก้ออยากทราบสาเหตครับ ถ้าเป็ฯที่จาน ผมก็จะหาจานใหม่มาใส่.......เพื่อ Feeling การขับที่ดีขึ้น ครับ.... ขอบคุณมากครับ....
  2. ตามร้านเค้าก้อใช้กระดาษทรายขัดโคมเหมือนกันครับ....ไล่ตั้งแต่เบอร์หยาบ กลาง ไปจนละเอียดสุดๆ แล้วเคลือบแลกเกอร์อีกรอบเป็นอันเสร็จ แต่แบบใช้ยาสีฟันก้อประหยัดเงินเป็นดีแท้ อิอิ...
  3. N-500 ออกมามาเพื่อเอาใจคนที่เบรกด้วยความเร็วสูง....เพื่อมาลบจุดบอร์ด ด้านการเบรกลื่นที่ความเร็วสูงของ u-spect ครับ แต่ผมยังไม่เคยลอง N-500 ว่าจะเบรกหนึบตอนขับจี้เหมือน u-spect หรือเปล่า.... แต่เท่าที่ลอง Hi Soft มา ก็ดีทุกย่านความเร็วครับ.....ใช้งานได้หลากหลายกว่าค่าย N ที่แยกทำมาสำหรับคนขับปกติ แยกขายคนละราคากับคนขับซิ่ง(เกิน 130 km/hr) ส่วนเรื่องอายุการใช้งาน และอัตราการกินจาน มีคนในคลับ เอาไปลองทดสอบเพิ่มเติมแล้วครับ...แต่ต้องใช้เวลาเก็บข้อมูลสักพัก......ส่วนด้านอื่นสำหรับผมสอบผ่านครับ ตอนแรกว่าจะกลับไปใส่ u-spect เพราะใช้เวลา Bedding In นาน(3,000 กม. กว่าเสียงจะหาย) แต่มองเรื่องความเร็วสูง ตัว HS จะเบรกมั่นใจกว่าครับ....
  4. ขออนุญาตยืมความเห็นจากคุณ jchoomal ในเวปเพื่อนบ้านครับ...มาแชร์กันอีกต่อนึงครับ... การผสมเอทานอน ในน้ำมันเบนซินนั้น จากการที่สารเอทานอนให้พลังงานปริมาณความร้อนที่ต่ำกว่า และอีกประการหนึ่งคืออัตราส่วนผสมของเชื้อเพลิงหลังจากน้ำมันถูกฉีดเข้าไป พบว่าอัตราส่วรเปลี่ยนไปโดยปกติการเผาไหม้ของเครื่องยนต์จะมีอัตราส่วนผสม ของอากาศ : เชื้อเพลิงที่ประมาณ 14.7 : 1 (น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว) แต่เมื่อใช้นำ่มันแก๊สโซฮอล์อัตราส่วนนี้จะเปลี่ยนไปเป็นเบาบางลงกลายเป็น 15.1-15.2 : 1 ซึ่งกล่องควบคุม ECU ก็จะปรับแต่งค่าการจ่ายน้ำมันผ่านหัวฉีดมากขึ้นเพิ่อให้ได้อัตราส่วนที่ กำหนด เครื่องยนต์ก็สามารถยังทำงานได้อย่างมีประสิทิภาพเหมือนเดิม แต่ว่าอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น วัดเป็นตัวเลขได้เท่ากับ 3-5 % ดังนั้นน้ำมันแก๊สโซฮอล์จะมีอัตราการสิ้นเปลืองมากกว่าในการวัดพลังงานที่ ได้ต่ออัตราการสิ้นเปลือง หรือที่เรามักเปรียบเทียบกันอยู่เสมอว่าได้กี่กิโลลิตรนั่นเอง ซึ่งข้อนี้บริษัทผู้ผลิตทั้งหลายเก็บเงียบไม่ยอมออกมาเปิดเผย อีกปัญหาหนึ่งที่ควรรู้ก็คือหากขับที่ความเร็วรอบไม่เกิน 2500 รอบ เจ้ากล่องควบคุม ECU ก็จะปรับแต่งค่าการจ่ายน้ำมันที่เหมาะสมได้แน่นอน บวกกับระบบควบคุมวาล์วไอดีไอเสียแบบ VTEC ของฮอนด้าด้วยพลังงานที่ได้ก็เหมือนเดิมละครับ แต่หากขับกันที่รอบสูงมากที่เจ้าปีกผีเสื้อเปิดกันเกือบสุด (near full throttle) แถว 4000-5000 รอบละก้อ กล่องควบคุม ECU มันจะเปลี่ยนการทำงานมาเป็น แบบ open loop มันจะควบคุมไม่ได้อีตอนนี้แหละ ที่แรงหายไปวูบๆๆๆ เพราะรอบเครื่องกวาดอยู่แถวๆ 5,000 แต่ส่วนผสมดันเปลี่ยนจาก 14.7:1 กลายเป็น 15.1:1 นี่ละมั่งที่ทำให้บรรดานักซิ่งทั้งหลายบอกไม่ชอบแก๊สโซฮอล์ สำหรับอัตราการสิ้นเปลื้องผมว่าในทางปฎิบัต ิปัจจัยแล้วเรื่องพฤติกรรมของผู้ขับรถมีปัจจัยมากกว่าในเรื่องนี้ ใช่ไหมครับเพื่อนๆ ใครชอบลากรอบเครื่องยนต์ออกรถแรงๆ ขับเร็ว ล้วนแล้วแต่ทำให้เปลื้องกว่าใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ทั้งสิ้น บวกกับราคาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ถูกกว่า โดยรวมก็ทำให้ผู้ใช้รถประหยัดกว่าไม่ใช่หรือ เมื่อมีการใช้แก๊สโซฮอล์แล้ว ยังสามารถลดการนำเข้าสาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่งเป็นสารเพิ่มปริมาณออกซิเจนเพื่อเพิ่มค่าออกเทนได้อีกด้วย ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องนำเข้าสาร MTBE ปีละ 3,000 ล้านบาท ขณะที่แก๊สโซฮอล์ใช้เอทานอลสามารถหาได้ภายในประเทศ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกับ MTBE ซึ่งย่อยสลายยาก (มลรัฐหลายแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มประกาศยกเลิกใช้สาร MTBE สำหรับประเทศไทย กำหนดไว้ภายในปี 2550) ตานี้มาถึงข้อสงสัยคำถามก็คือ จะเติมอะไรกับเจ้า FD ของเราดี ตอบ ผมขออธิบายดังนี้ ไม่ว่าจะเป็นนำ้มันแก๊สโซฮอล์หรือน้ำมันเบนซิลไร้สารตะกั่ว มันก็ผสมสารเพิ่มออกเทนอยู่แล้ว ตามที่อธิบายมา ขอสรุปดังนี้ น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 ทั่วไป = น้ำมันเบนซิน 91+ สาร MTBE ในปริมาณ 5.5 - 11% Vol + สารพิเศษตามสูตรของแต่บริษัท(สาร MTBE นำเข้าจากต่างประเทศ) น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 = น้ำมันเบนซิน 91+เอทานอล ในปริมาณ 10 % Vol. + สารพิเศษตามสูตรของแต่บริษัท (เอทานอลผลิตจากพืชเกษตร เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด) น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 ทั่วไป = น้ำมันเบนซินค่าออกเทนต่ำ (83-89) + สาร MTBE ในปริมาณ 5.5 - 11% Vol. + สารพิเศษตามสูตรของแต่บริษัท(สาร MTBE นำเข้าจากต่างประเทศ) น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 = น้ำมันเบนซินค่าออกเทนต่ำ (83-89) +เอทานอล ในปริมาณ 10 % Vol. + สารพิเศษตามสูตรของแต่บริษัท (เอทานอลผลิตจากพืชเกษตร เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด) นั่นก็คือทั้งสองอย่างมีพื้นฐานมาจากน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนต่ำมาผสมสาร เพิ่มออกเทนให้เป็น 91 หรือ 95 สารที่เติมก็ประมาณ 10 % Vol . ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าออกเทนมันจะลดลงได้เอง หรือกลัวว่าแก๊สโซฮอล์จะมีการเปลี่ยนแปลงค่าออกเทนจะลดลง ทั้งสาร MTBE หรือ เอทานอล มีคุณสมบัติติดไฟที่จุดวาบไฟต่ำ ระเหยง่ายเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน และสามารถจะรวมตัวกันได้อย่างดี หากค่าออกเทนจะมีค่าลดลงจากการระเหย สาร MTBE หรือ เอทานอลจะต้องระเหยหายไปอย่างเดียวหรือมากกว่าตัวน้ำมันนะครับ และในทางปฎิบัติเราก็บรรจุในภาชนะปิด ถังน้ำมันปิดที่มีการควบคุมการระเหยอยู่แล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงค่าออกเทนจึงไม่เกิด หรือมีก็น้อยมาก อีกทั้งค่าออกเทนที่ผลิตจะกำหนดที่ขั้นต่ำ คือไม่ต่ำกว่า 91 หรือ 95 นะครับ น้ามันออกเทน 95 ใช้กับเครื่องยนต์เก่าๆ ที่ออกแบบมายังไม่ค่อยมีคุณภาพ เครื่องยนต์มีปัญหาการน็อคในเครื่องยนต์ได้ง่าย การปรับแต่งก็ทำได้ยาก เพราะยังไม่มีระบบอิเล็กทรอนิก มาตรวจวัดแล้วปรับแต่ค่าให้เหมาะสม ช่างได้แต่ปรับแต่ที่รอบเดินเบา และก็ที่ความเร็วรอบใช้งานปกติ การปรับแต่งมีความยุ่งยากเพราะยังใช้ระบบคาร์บิวเรเตอร์ การจ่ายน้ำมันเพื่อผสมกับอากาศในแต่ละกระบอกสูบมันควบคุมยาก กระบอกลูกสูบทั้ง 4 มีระยะห่างใกล้ไกลผิดกันทำให้ส่งน้ำมันไปไม่เท่ากัน และที่ความเร็วรอบสูงก้ยิ่งมีปัญหา ทำให้มีอัตราการผสมน้ำมันเบาบางไปทำให้เกิดการน็อค และจ่ายไฟไปหัวเทียนก็แบบเก่าก็อาจมีปัญหาจากชุดจานจ่าย จึงต้องการน้ำมันที่มีค่าออกเทนสูงมาช่วย ทำให้เวลาเครื่องเย็นก็สตาดเครื่องได้ง่าย เวลารอบเครื่องสูงการจุดระเบิดก็ยังคงพอจะเป็นไปได้ไม่เกิดการน็อค ปัจจุบันจนการออกแบบเครื่องยนต์ให้ใช้น้ำมันค่าออกเทนต่ำ คือ ออกเทน 91 จึงเป็นมาตรฐานของรถยนต์ที่ถูกผลิตขึ้นมาในปัจจุบัน และในอนาคตน้ำมันค่าออกเทน 95 จะถูกยกเลิก ไม่มีการผลิตอีกต่อไป แต่ จขกท. เติมโซฮอล91 มันคือ E10 อยู่แล้วครับ..... ส่วน E20 ก็คือ E10 แต่เพิ่มปริมาณของ เอทานอล ในปริมาณ 20 % Vol. เข้าไปครับ... เติม E20 ได้ครับ แต่อัตราการสิ้นเปลืองเยอะกว่า E10 นิดหน่อย และจะเกิดความร้อนในห้องเผาใหม้สูงขึ้นกว่าเดิมบ้าง แต่บริษัทผู้ผลิตได้เปลี่ยนวัสดุให้ทนต่อความร้อนที่เกิดขึ้นดังกล่าว แระครับ....ผมเติม E20 มา เกือบ 5 ปี 182,000 km. ยังปกติดีอยู่ครับ....
  5. สภาพฝุ่นที่ล้อตอนใช้ MS (ถ้าเจอ MK จะเยอะกว่านี้ ล้างวันเดียวเปื้อน แถมสีแดงน้ำตาลจ๋าเลย)
  6. ผมขอโพส ผลการทดสอบผ้าเบรกของประเทศ KOREA ยี่ห้อ KYISOI รุ่น Hi Soft ที่ผู้นำเข้าเสนอให้ผมมาทำการทดสอบครับ กับรถ FD รุ่น 1.8E ปี 2008 วันที่โพส 22/04/56 เลขไมล์ 182,003 km.(เกือบ 1 เดือน 5,610 km.) - ระยะทางที่เริ่มเปลี่ยน วันที่ 24/03/56 เลขไมล์ 176,393 km. - ระยะทางที่ใช้ในการ bedding in ระยะเบรกจะดีขึ้นหลังวิ่งไป 2,000 km. เสียงแหลมเริ่มเบาลงเมื่อเลย 3,000 km. - ฟิลลิ่งต่างๆ หลังจาก bedding in ไปแล้ว ผ้าเบรคเย็น ช่วงแรกๆ เวลาเลียเบรคเบาๆ ในขณะรถติดและค่อยเคลื่อยตัว ความรู้สึกที่สัมผัสได้คือ นิ่มกว่าผ้าเบรคที่ติดรถ และหยุดล้อให้หนืดได้เร็ว Feeling ในการควบคุมเบรกทำได้ดี การเบรกไม่ลื่นขณะผ้าเบรกเย็นเหมือนผ้าเบรกบางค่าย - การเบรกฉุกเฉินที่ความเร็วต่ำ(80 km/hr ลงมา) = เริ่มมั่นใจมากขึ้นหลังจาก bedding in ผ่านไปแล้ว กล้าขับจี้ตูดใน กทม. แระ.....ก่อนหน้านี้เสียว นิดๆ ฟีลลิ่ง ใกล้เคียง Mu Spec มากๆ - การเบรกที่ความเร็วปานกลาง(80-130 km/hr) = ทำได้ดีมาก หมดห่วงกับเรื่องการเบรกในการขับขี่ปกติ - การเบรกฉุกเฉินที่ความเร็วสูง(130 km/hr ขึ้นไป) = ทำได้ดี ช่วงที่ต้องการชลอความเร็วกระทันหันสามารถหยุดได้ดีในระยะสั้น เบรกนิ่มและหนืดไม่มีอาการไหล ฟีลลิ่ง ใกล้เคียง Metal King มากๆ - ความรู้สึกในการดูดเท้าของเบรก(Feeling) = Feeling คล้ายๆ ผ้าเบรกยุโรป รถเริ่มหยุดตั้งแต่เริ่มกดเบรก - ความสะอาดของล้อ และจานเบรก(การเกิดฝุ่น) = ล้อไม่ค่อยมีฝุ่น แต่จานเบรกเงาเหมือนมีสารเคลือบ - เสียงรบกวนในการเบรก(ขณะเลียเบรก ก่อนหยุด) = เสียงเสียดสีของผ้ากับจานจะมีให้ได้ยินดังจื๊ดๆแหลมๆ แต่ถ้าออกแรงกดให้จมลงไปเลยเสียงจะไม่มีครับ ผ้าเบรคร้อน - การเบรกฉุกเฉินที่ความเร็วต่ำ(80 km/hr ลงมา) = การเบรคจะรู้สึกนุ่มและหนึบกว่าตอนผ้าเย็นเล็กน้อย - การเบรกที่ความเร็วปานกลาง(80-130 km/hr) = ช่วงขากลับจากสงกรานต์ วิ่งระยะทางยาวๆ ลงเขาแถว เขื่อนป่าสัก แถวๆชัยภูมิ สามารถเลียเบรก ควบคุมรถให้อยู่ในโค้งได้อย่างปลอดภัย แม้คันหน้าเค้าจะเชนเกียร์ลงช่วยเบรก แต่ขอทดสอบเบรกหน่อย ไม่เชนเกีย เลียเบรกอย่างเดียว เออเอาอยู่แฮะ เบรกไม่มีกลิ่นไหม้ ไม่ไหลเหมือนของ 0 แระ.....จากนั้นเข้าเส้นลพบุรี-สระบุรี เจอรถช้าวิ่งขวาตลอดทาง(วิ่งกัน 90 เฮ้อ) ต้องคอยเหยียบเบรก หาช่องแซงซ้ายตลอด ก็มั่นใจดี - การเบรกฉุกเฉินที่ความเร็วสูง(130 km/hr ขึ้นไป) = มีช่วงเริ่มมืดประมาณ 1 ทุ่ม ตำรวจบ้านตั้งด่าน มีกรวยขวางเลนส์ขวา แต่ไม่มีไฟฉุกเฉินหรือไฟฟลูออเรสเซ็นสักดวง มีแต่ไม้กายสิทธิ์แดงๆ คอยโบก เราก้อคิดว่าไฟเบรก ช่วงเร่งแซงรถพ่วง เลยเหยียบต่อไป 140 เจออีกทีอ้าว กรวยเพียบเลย ทำให้ต้องกระทืบเบรกฉุกเฉิน โชคดีมากที่วิ่งมา สามารถหยุดได้อย่างปลอดภัย แล้วตามตูดรถพ่วงเข้าเลนส์ซ้ายได้ ส่วนตำรวจกระโดดหนีไปแล้ว.... - ความรู้สึกในการดูดเท้าของเบรก(Feeling) = ผ้าเบรกร้อน Feeling จะดีขึ้นกว่าเดิม คล้ายๆ ผ้าเบรกยุโรป - เสียงรบกวนในการเบรก(ขณะเลียเบรก ก่อนหยุด) = เมื่อวิ่งจนมีความร้อนสะสม เสียงจื๊ดที่เคยได้ยิน ก็จะมีบ้างแต่น้อยกว่าตอนผ้าเบรคเย็น สรุป ผมค่อนข้างพอใจกับผ้าเบรกชุดนี้มากๆครับ.....ตอนแรกทดสอบเสร็จ ว่าจะกลับไปใส่ของ Mu Spec เหมือนเดิม แต่คิดอีกที ผ้าเบรกตัวนี้มันเบรกด้วยความเร็วสูงค่อนข้างดีเหมือน Metal King เสมือนว่าเอาข้อดีของทั้งสองค่ายมารวมกัน ทั้งเบรกความเร็วสูงดีของ Metal King และการเบรกฉุกเฉินขณะขับจี้ในเมืองของ Mu Spec ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์ หลายๆส่วนในเรื่องราคาถูกกว่า 2 รุ่นดังที่กล่าวมา สารเคลือบจานเบรก ฝุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับหลายๆรุ่น.....ฟีลลิ่งการกดเบรกคล้ายๆ ผ้าเบรกของยุโรป รถเริ่มหยุดตั้งแต่เริ่มกดเบรก ข้อเสียของผ้าเบรกชุดนี้ก็คือใช้เวลา bedding in ค่อนข้างนานประมาณ 2-3 พันโลได้ และยังมีเสียงจี๊ดๆบ้างขณะผ้าเบรกยังเย็นอยู่ แต่หากกดเบรกเต็มๆ ไม่เลียเบรกเสียงดังกล่าวก็หายไป.....ถือว่าสอบผ่าน...... ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก สำหรับคนที่คิดจะเปลี่ยนผ้าเบรก.....ซึ่งหวังว่าคนในคลับ คงจะไม่หลงกล 0 ในการเปลี่ยนผ้าเบรกตอนเช็คระยะนะครับ.....ใช้ของนอก 0 ราคาถูกกว่า คุณภาพดีกว่า......ชีวิต ปลอดภัยกว่าเยอะ...... ซึ่งการโพสผลทดสอบในครั้งนี้ ผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผ้าเบรก KOREA ยี่ห้อ KYISOI รุ่น Hi Soft ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายจากผู้นำเข้าแต่อย่างใด เป็นเพียงผู้ทดลองใช้งานครับ พอใจกับประสิทธิภาพของผ้าเบรกชุดนี้มาก......ถึงแม้จะไม่ได้เป็นผ้าเบรกที่ ดีที่สุดในแต่ละด้าน เช่น หนึบ ขับจี้ จานสะอาด ล้อไม่ดำ ไม่กินจาน ไม่เฟด ไม่ลื่นตอนเบรกเย็น หรือ อื่นๆๆ....แต่ตัวนี้สามารถ ทำคะแนนในแต่ละด้านได้ดีเป็นอันดับ 2-3 เลยทีเดียว..... ตอนนี้ ขอใช้ผ้าเบรกชุดนี้แทน Mu Spec ไปเลยครับ.....เพราะความเร็วสูงตัวนี้มั่นใจกว่า Mu Spec อย่างเห็นได้ชัดครับ......ถึงแม้การขับจี้จะสู้ Mu Spec ไม่ได้แต่ใกล้เคียงครับ......ขอเป็นเป็ดได้หลายด้าน ไม่เก่งแต่ปลอดภัยดีกว่า วิ่งใช้งานได้หลายประเภทกว่าจัดว่าเป็นผ้าเบรกที่ครอบคลุมการใช้งานทุกๆ ด้าน ในราคาที่ถูกกว่า....ผ้าเบรกชื่อดัง 300- 600 บ. ครับ....
  7. จากผลการทดสอบ พอสรุปได้ดังนี้ 1.ผ้าเบรก MS ข้อดี คือ เบรกฉุกเฉิน(ขับจี้) ที่ความเร็วต่ำดีมาก กดแช่แล้วมีแรงดูดรถให้หยุดดีมาก , ไม่ลื่นขณะผ้าเบรกเย็น ความรู้สึกในการดูดเท้าค่อนข้างดีมาก ไม่มีเสียงรบกวน ไม่กินจานเบรก ข้อเสีย คือ ย่านความเร็วสูงเบรกฉุกเฉินได้ไม่ดี ต้องออกแรงกดเบรกมากกว่าปกติ ช่วงกดแรกๆ จะเบรกยังไม่ค่อยอยู่ ต้องกดแช่สักพัก กดนานๆ อาจมีหัวทิ่มบ้าง แค่นุ่มนวล ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับผ้าเบรกคลาสเดียวกัน 2.ผ้าเบรก HS ข้อดี คือ เบรกที่ความเร็วปานกลาง และความเร็วสูงได้ดีมาก, ไม่ลื่นขณะผ้าเบรกเย็น จานเบรกเงา ล้อสะอาด ไม่มีฝุ่นที่ล้อ Feeling ในการควบคุมรถค่อนข้างดี ราคาถูก ข้อเสีย คือ มีเสียงจี๊ดๆ ขณะเลียจานก่อนหยุดสนิทบ้าง แต่ไม่มาก ถ้ากดจมมิดจะไม่มีเสียง ใช้เวลา Bedding ค่อนข้างนานประมาณ 2-3 พันโล 3.ผ้าเบรก MK ข้อดี คือ เบรกฉุกเฉินที่ความเร็วสูงดีมาก มีอาการจับตั้งแต่กดเบรกเล็กน้อย ใช้แรงกดเบรกไม่ต้องมาก ข้อเสีย คือ มีอาการลื่นขณะผ้าเบรกเย็น ขับจี้เบรกฉุกเฉินมักมีอาการลื่นให้เห็น มีฝุ่นแดงๆที่ล้อ อายุการใช้งานสั้น 4.CN ข้อดี คือ อายุการใช้งานทนทาน, ไม่มีฝุ่นที่ล้อ ไม่มีเสียงรบกวน ราคาถูกมาก ข้อเสีย คือ เบรกฉุกเฉิน(ขับจี้) ที่ความเร็วต่ำมักลื่น ความเร็วสูงต้องใช้ระยะเบรกพอสมควร 5.H0 ข้อดี คือ อายุการใช้งานทนพอสมควร, มีอาการจับทันทีตั้งแต่กดเบรกเล็กน้อย ช่วงผ้าเบรกเย็นไม่ลื่น ข้อเสีย คือ เบรกฉุกเฉินที่ความเร็วสูงมักลื่น ความเร็วสูงต้องใช้ระยะเบรกพอสมควร ราคาแพงเกิน มักกินจานเบรก มีอาการเสียงแหลมขณะเลียเบรก นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหลายรุ่นที่ผมยังไม่เคยใช้ เช่น TRW Akebono ETC. อยากให้เพื่อนมารีวิว ข้อดีข้อเสีย ของแต่ละรุ่นครับ...... ส่วนผ้าเบรกแนวสนาม หรือ Racing เช่นพวก N500, N800, Bendix Ultra Premuim หรือราคา 2พัน ขึ้นไป ขอไม่เปรียบเทียบนะครับ เพราะมันเหมาะกับคนที่ขับเร็วจริงๆ กะในสนามแข่ง อยากได้แบบใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริงมากกว่าครับ ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน และแสดงความคิดเห็นครับ......
  8. รบกวนมาแชร์ข้อดีข้อเสีย ของผ้าเบรกที่ใช้งานแต่ละรุ่นกันครับ…...ซึ่งขอเทียบจากประสบการณ์ใช้จริงล้วนๆ ไม่ได้ใช้เครื่องมือในการวัดแต่อย่างใด.....ไม่ได้มีเจตนา จะทำลายความเชื่อของใคร.....อยากให้คนใช้จริงมารีวิวกันเพิ่มเติมหลายๆ รุ่นครับ.....เพื่อเป็นทางเลือกของคนที่ใช้แต่ผ้าเบรก 0 ซึ่งราคาแพง แต่คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ผมจะเริ่มจากผ้าเบรกที่เคยใช้มาทั้งหมด 5 ชนิดนะครับ....(ใช้กับ FD รุ่น E ปี 08 มา 182,000 km. 4 ปีครึ่ง) H0 = ใช้ตั้งแต่ป้ายแดงยัน 70,000 km(2ปี) จนผ้าเบรกหมดเกลี้ยง CN = ใช้ประมาณ 40,000 km(1ปี) ก็อยากเปลี่ยน ผ้าเบรกเหลือเพียบ ทนมากๆ MK = ใช้ประมาณ 50,000 km(1ปี ) ผ้าเบรกหมดซะง้าน MS = ใช้ประมาณ 15,000 km(5เดือน) มีคนขอให้ลองทดสอบผ้าเบรก KOREA รุ่น Hi Soft เลยลองเปลี่ยน Hi Soft(HS) = ใช้ประมาณ 5,000 km(1เดือน) ปัจจุบันยังใช้อยู่.... หัวข้อการเปรียบเทียบ( A > B เรียงจากดีไปหาไม่ดีครับ ทุกหัวข้อ) 1. การเบรกฉุกเฉินที่ความเร็วต่ำ(80 km/hr ลงมา) MS > HS > MK > H0 > CN 2. การเบรกที่ความเร็วปานกลาง(80-130 km/hr) MK > HS > MS > CN > H0 3. การเบรกฉุกเฉินที่ความเร็วสูง(130 km/hr ขึ้นไป) MK > HS > MS > CN > H0 4.การลื่นไถลขณะผ้าเบรกเย็น(ช่วงเริ่มวิ่ง 4 km. แรก) MS > HS > H0 > CN > MK 5. ความรู้สึกในการดูดเท้าของเบรก(Feeling) MS > HS > MK > CN > H0 6. ความสะอาดของล้อ และจานเบรก(การเกิดฝุ่น) HS> CN > MS > H0 > MK 7.เสียงรบกวนในการเบรก(ขณะเลียเบรก ก่อนหยุด) MS > CN > MK > HS > H0 8.อายุการใช้งาน(การสึกหรอของผ้าเบรก) CN> HS >MS > H0 > MK 9.อาการกินจาน(จานเบรกเป็นรอย) MS < MK < CN < HS < H0 10.ราคาขายปลีกตามท้องตลาด(ถูกไปหาแพง) CN > HS > MK > MS > H0 เส้นทางการทดสอบของผมส่วนใหญ่จะวิ่งไปทำงาน จากแถวสุวรรณภูมิ-มอเตอร์เวย์-ทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์-ลงถนนเกษตรนวมิ น-งามวงศ์วาน วิ่งประมาณวันละ 100 km. และเที่ยว ตจว. บ้างในช่วงวันหยุด ช่วงความเร็วที่ใช้งาน ความเร็วสูง และความเร็วปานกลาง ประมาณ 30 km. ความเร็วต่ำประมาณ 10 km. ตารางการทดสอบผ้าเบรก 5 ชนิด จากการใช้งานจริง จากคะแนนความพึงพอใจข้างต้น อาจเป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ เป็นแนวทางสำหรับ การพิจารณาการ เลือกซื้อผ้าเบรกไม่ใช่ข้อมูลสถิติที่ได้รับการรับรองจากสถาบันใดๆ เนื่องจากผ้าเบรกในตลาดประเทศไทยมีหลากหลายชนิด และมีการโฆษณาชวนเชื่อ สร้างภาพพจน์หลากหลายแบบ ผู้ใช้รถควรพิจารณาข้อมูลผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อนการตัดสินใจซื้อ
×
×
  • Create New...