Jump to content

ken_style

CCTH Crew
  • Posts

    381
  • Joined

  • Last visited

  • Days Won

    2

Everything posted by ken_style

  1. เล่นน้ำกันจนอิ่มแล้ว ต่อไปจะเริ่มผจญภัยกันอย่างจริงจัง ภาพที่เห็นไม่ใช่ปากทางเข้าถ้ำน่ะครับ เป็นทางออกของสายน้ำที่ไหลลอดใต้หุบเขาออกมาจากถ้ำเสาหิน เราไต่น้ำตกกันขึ้นไปไม่นานก็เจอปากปล่องสำหรับเข้าไปในถ้ำเสาหิน สภาพภายในถ้ำไม่มีแสงไฟเราต้่องอาศัยไฟฉายคาดหัว และลอยคอตามกันเข้าไป ก่อนเข้า check อุปกรณ์กันน้ำสำหรับกล้องถ่ายรูปว่ายังอยู่ในสภาพดีหรือเปล่า ตั้งใจว่าจะไปถ่ายเสาหินซึ่งป็นหินงอกหินย้อยที่สูงที่สุดในโลกมาเก็บบันทึกไว้เป็นภาพถ่ายซักหน่อย บริเวฯปากถ้ำยังพอมีแสง เลยถ่ายมาได้นิดหน่อยหลังจากนั้นแล้ว ลำบากในการถ่ายภาพมากเพราะมืดสนิท
  2. ในที่สุดหลังจากเหน็ดเหนื่อยกันมาพอสมควรเริ่มได้ยินเสียงน้ำตกดังมาไกลๆแล้ว เดินไปอีกสักพักก็ถึงตัวน้ำตกลำคลองงู แวะพักกินข้าวกันก่อนเพราะว่าข้าวต้มที่กินเมื่อเช้าย่อยหมดไปตั้งแต่ชมแรกของการเดินแล้ว ><! เพื่อนรุ่นพี่คนนั้นหมดสภาพตามภาพที่เห็น she เลยนอนแช่น้ำเย็นๆให้สบายอุราไปก่อน หลังจากนั้นมาโดดน้ำเล่นวัดใจกันก่อนเข้าถ้ำเสาหิน
  3. หลังจากเดินชมนกชมไม้ ไปเรื่อยๆภูมิประเทศเริ่มเปลี่ยนไป จากป่าไผ่กลายเป็นป่าดิบชื้น ไต่ลงไปตามแนวผนังของภูเขาหินปูน สลับกับหินน้ำตกก้อนมหึมา เพื่อนรุ่นพี่ที่ไม่เคยเดินป่ามาก่อนถึงกับเริ่มหน้ามืด ต้องพักเป็นช่วงๆ แต่เจ้าหน้าที่ดูแลกันดีมาก
  4. หลังจากจัดการอาหารมื้อเช้าตุนไว้ในกระเพาะเสร็จเรียบร้อย ไปติดต่อที่อช.และรับเสื้อชูชีพกันมา ถามว่าทำไมต้องใส่เสื้อชูชีพเดินป่า เดี๋ยวก็รู้ เราออกเดินทางจาก อช.ลำคลองงู ไปอีกประมาณ 16 กิโล โดยรถกระบะของเจ้าหน้าที่อุทยาน พร้อมเจ้าหน้าที่อีก 3 คนเป็นคนนำทางและดูแลพวกเรา รถพาเรามาทิ้งไว้ที่จุดเริ่มเดิน สภาพภูมิประเทศเป็นป่าไผ่ อากาศช่วงเช้ายังไม่ร้อนมาก เดินกันเรื่อยๆสบาย ๆ เพราะเป็นทางลงเขา
  5. ทริปใหม่นี้ตั้งใจหลบร้อนไปผจญภัยกันที่อุทยานแห่งชาติลำคลองงู จ.กาญจนบุรี ในวันที่ 5-7 เม.ย 56 รวบรวมสมาชิกได้ 8 คน ออกเดินทาง จากกทมตอน 3 ทุ่มคืนวันศุกร์ที่ 5 ไปถึงอช.ราวๆ ตี 3 จัดการตั้งเต้นท์พักผ่อนเอาแรง ก่อนที่ความลำบากจะมาเยื่อนในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ตี 5 ครึ่งถูกปลุกด้วยเสียงนกประจำป่าอช.ลำคลองงู เป็นสัญญานว่า ได้เวลาผจญภัยกันแล้ว จัดแจงทำธุระส่วนตัว แล้วมาจัดการหุงหาอาหารเพื่อเตรียมไว้สำหรับตอนกลางวันระหว่างทาง
  6. ถ้ำเสาหิน ถ้ำเสาหิน เป็นถ้ำหนึ่งในหลายถ้ำของอุทยานแห่งชาติลำคลองงู ลักษณะเป็นถ้ำที่มีลำห้วยลำคลองงูไหลผ่าน บริเวณกลางถ้ำเป็นห้องโถงขนาดใหญ่มาก และภายในห้องโถงนั้นมีเสาหินตั้งตระหง่านอยู่กลางถ้ำ เป็นเสาหินธรรมชาติที่สูงที่สุดในโลก วัดจากพื้นถึงยอดได้ ๖๒.๕ เมตร ซึ่งสูงกว่าเสาหินที่สูงเป็นอันดับสองของโลกที่อยู่ในประเทศจีนถึงเกือบสองเท่า ( อันดับสองสูง 32 เมตร ) เสาหินนี้สำรวจโดยนายเคฟแมน นักสำรวจถ้ำที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก และได้บันทึกลงในกินเนสบู๊คไว้แล้ว ภาพเสาหินที่สูงที่สุดในโลกดังภาพข้างบน หากเทียบกับความสูงของคนแล้วน่าจะประมาณ ๓๕ คน การเดินทาง สามารถเข้าถึงได้โดยทางเรือแล้วต่อด้วยการเดินเท้า จากบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ขึ้นไปทางเหนือถึงบริเวณปากห้วยคลองงูแล้วเดินเท้าเข้าไปยังปากถ้ำอีก ๖ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง หรืออีกเส้นทางหนึ่งที่สะดวกกว่า คือการเดินทางโดยทางบก จากหน่วยพระอินทร์ ของอุทยานแห่งชาติลำคลองงูนั่งรถไปประมาณครึ่งชั่วโมง ต่อด้วยเดินเท้าเข้าไปประมาณ ๖ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินไปประมาณ ๒ ชั่วโมง เดินกลับ ๓ ชั่วโมง การเข้าชมภายในถ้ำค่อนข้างที่จะท้าทายซึ่งจะต้องย้อนกระแสน้ำเข้าไป บางช่วงต้องใช้เชือกขึงแล้วสาวเชือกเข้าไป บางช่วงขึ้นเดินเลาะผนังถ้ำ บางช่วงต้องว่ายข้ามน้ำ เป็นการเดินทางที่ผจญภัยและท้าทายเป็นอย่างยิ่ง ทัวร์ดอยได้พานักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวถ้ำนี้มากมายหลายครั้ง
  7. เก็บตกสักนิดน่ะครับ เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ภาพประกอบจากมหา'ลัยชีวิต "ของเหลือจากคนเมืองอันมีจะกิน เป็นสิ่งมีค่าเหลือหลายสำหรับเด็กที่ไม่เคยได้ใช้ "เงิน" แม้แต่บาทเดียว . . ." คำพูดนี้กลั่นออกมาจากปากของ "พระครูวุฒิธรรมาทร" เจ้าอาวาสวัดโบสถ์วรดิตถ์ วัดแห่งหนึ่งใน อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง … ในขณะที่ทุกคนเข้าวัดเพื่อทำบุญหรือหาที่พึ่งทางใจ แต่ ณ วัดโบสถ์วรดิตถ์ วัดเล็กๆ ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก กลับเป็นสถานที่ชุบเลี้ยงเด็กอีกหลายร้อยชีวิต พวกเขาคิดว่า "วัด" คือบ้านที่ให้ชีวิตพวกเขา ให้แหล่งพักพิงอันยิ่งใหญ่ที่สุดที่คนไร้ญาติ ขาดคนเหลียวแล และคนจนเช่นพวกเขาจะได้รับ หลวงพ่อพระครูวุฒิธรรมาทร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์วรดิตถ์ เล่าถึงความเป็นมาของวัดว่า เมื่อประมาณ 30 ปี ที่แล้ว พวกทหารพรานนำเด็กกว่า 30 คนมาฝากให้ท่านเจ้าอาวาสรูปก่อนดูแล ส่งเงินให้เดือนละ 500 บาท เด็กๆ ที่นำมาฝากส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้า เพราะพ่อแม่เป็นพวกคอมมิวนิวส์ หลังพ่อแม่ถูกฆ่า ถูกกวาดล้างก็มาขอพึ่งพาอาศัยใบบุญวัดเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด "ต่อมาชาวเขาทางภาคเหนือที่มีฐานะยากจนรู้เรื่องก็ส่งลูกๆ มาให้ทางวัดดูแลอีก เขาบอกว่าอย่างน้อยก็ยังดีกว่าอดตายอยู่บนเขา และก็มีมาอีกเรื่อยๆ เกือบทุกจังหวัด จนถึงปัจจุบันก็กลายเป็นกว่า 400 คนแล้ว ก็ต้องดูแลกันไป จำชื่อได้บ้างไม่ได้บ้าง ดื้อบ้างซนบ้าง แต่อาตมาก็ดูแล ไม่ให้ทะเลาะกัน ถ้าทะเลาะกันจะไม่ถามเลยว่าใครผิดใครถูก จะตีทั้งคู่ เด็กๆ เขาก็ซนตามประสาเด็กๆ" หลวงพ่อกล่าว พร้อมด้วยรอยยิ้มเล็กๆ ที่แฝงไว้ซึ่งความเมตตาต่อเด็กๆ พร้อมกันนี้ท่านยังบอกอีกว่า ทางวัดก็มีโรงเรียนให้เด็กๆ ได้เรียนหนังสือ เป็นโรงเรียนประจำแต่ก็เป็นไปตามอัตภาพที่จะทำได้ มีตั้งแต่ชั้นระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่เด็กเป็นร้อยคนดูแลเด็กก็ต้องไปบิณฑบาตรข้าวของเครื่องเรียนต่างๆ เพื่อนำมาให้เด็กๆ เขาใช้ ส่วนครูที่สอนหนังสืออยู่ที่นี่ก็เป็นระบบกึ่งข้าราชการ มีเงินเดือนมีสวัสดิการให้จากภาครัฐ แต่เงินเดือนจะไม่ขึ้น ที่เขาเสียสละมาอยู่กับเด็กๆ ก็เพราะรัก "ทุกวันนี้หลวงพ่อไม่เคยมีปัญหาอะไร มีแต่ทุกข์ ขนาดเป็นพระก็ยังมีทุกข์ ทุกข์ที่ว่ากลัวจะมีไม่พอเลี้ยงเขา จะอยู่กันไปตลอดได้อย่างไร บางคนเรียนจบก็กลับมาช่วย บางคนก็ไม่กล้ามา เขาคงละอายใจตัวเองที่ยังช่วยวัดไม่ได้ เพราะในแต่ละเดือนภาระค่าใช้จ่ายของทางวัด เฉพาะค่าไฟก็ไม่น้อยไปกว่า 3 หมื่นบาท รายได้ก็มาจากการบริจาค ส่วนใหญ่ก็ต้องไปขอบิณฑบาตรเอาปัจจัยบ้าง และของที่บริจาคจะเป็นจำพวกข้าวสารอาหารแห้ง แต่บางทีข้าวสารไม่พอ วัดก็ไปขอหยิบยืมมาจากโรงสี พอมีผ้าป่ากฐินมาวัดก็เอาเงินไปใช้เขา ถ้าไม่มีหรือไม่พอเขาก็ไม่ทวงทางวัด ก็ถือว่าเป็นการทำบุญไป" หลวงพ่อ กล่าว ... ในขณะที่หลายคนเกิดมาบนกองเงินกองทอง เรียนบ้างเล่นบ้างตามประสา ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยตามสมัยนิยม แต่ในวัดเล็กๆ แห่งนี้ยังมีเด็กอีกหลายร้อยชีวิตที่ไม่เคยได้สัมผัส "เงิน" ที่กลายเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต หรือไม่มีเสื้อผ้าใหม่ๆ ดีๆ สวมใส่ "ของเก่ามันเก่าที่บ้าน แต่กับเด็กๆ ที่เขาไร้โอกาสมันก็เป็นของใหม่สำหรับเขา แต่ส่วนใหญ่เด็กๆ เค้าก็ดีใจ เราเคยบอกกับเด็กๆ ว่าถ้าไม่มีคนช่วยก็ต้องต่างคนต่างไป เพราะญาติโยมที่มาก็ไม่เยอะมาก แต่แค่เงินทำบุญหาได้เดือนชนเดือนก็พอใจแล้ว ไม่ได้หวังอะไรมาก ส่วนใหญ่คนที่มาบริจาคเค้ามาเอง มาแบบปากต่อปาก วัดไม่เคยออกไปโฆษณาทางไหน ของบริจาคอยากจะบริจาคเสื้อผ้า ของเล่น อะไรก็เอามาบริจาคได้ อาหารแห้ง ถ้าเหลือใช้ไม่รู้จะทิ้งที่ไหน ก็เอามาได้" เรียกได้ว่า ทุกคำพูด ทุกลมหายใจเข้าออกของหลวงพ่อพระครูวุฒิธรรมาทร จะคิดคำนึงถึงปากท้องของชีวิตน้อยๆ ที่ต้องเลี้ยงดูอยู่เสมอ "การกินเป็นสิ่งสำคัญต้องมาก่อนอย่างอื่น เด็กๆ ต้องกินแล้วค่อยร่ำเรียน ยังไงก็ต้องให้เค้ามีกิน ถึงจะไม่ดีตาม แต่ก็ต้องได้กิน ทุกวันนี้กลัวอย่างเดียวคือวันข้างหน้าจะมีไม่พอให้เค้ากินเค้าใช้" หลวงพ่อ กล่าวความทุกข์ที่เป็นกังวลใจ พร้อมๆ กับฝากถึงคนที่มีโอกาสว่า "กว่าพ่อแม่จะเลี้ยงมาได้ กว่าจะเติบโตมาเป็นคนได้ มันสุดแสนจะยากลำบาก ยังมีชีวิตก็ยังมีโอกาส อย่าไปคิดสั้นชีวิตมันยังต้องต่อสู้กันต่อไป" บางสิ่งบางอย่างคนที่มีเพียบพร้อมอาจจะมองเป็นเพียงแค่เศษขยะ เป็นของเหลือกินเหลือใช้ แต่ในทางตรงกันข้าม สิ่งของเหล่านั้นอาจจะช่วยประทังชีวิตเล็กๆ ให้อยู่ต่อข้ามพ้นไปในอีกวัน ...
  8. ขอขอบคุณพี่น้อง CCTH ที่ได้สละความสุขส่วนตน มาช่วยเหลือเด็กกำพร้าและยากจนเหล่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่านทุกคนเทอญ แล้วพบกันใหม่ในกิจกรรมครั้งต่อๆไป..
  9. มาชมภาพช่วงที่ 2 กันต่อน่ะครับ เป็นช่วงทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์
  10. จบช่วงที่ 1 ก่อนน่ะครับ ช่วงที่ 2 จะเป็นช่วงงานทำบุญกับเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า
×
×
  • Create New...