Jump to content

13 ข้อหาหลัก ที่ตำรวจจราจรไม่ต้องออกใบเตือน..!!


Recommended Posts

600.jpg

 

 

วันที่ 27 ส.ค. พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผบก.จร. เปิดเผยกรณีที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีนโยบายแจกใบเตือนแทนใบสั่ง สำหรับผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรครั้งแรก เริ่มวันที่ 1 ก.ย.2555 นั้น ว่า ความผิดที่จะออกใบเตือนนั้นจะเป็นความผิดเล็กน้อย และไม่กระทบกับส่วนรวม ตามพระราชบัญญัติจราจรปี 2522 มีประมาณ 100 กว่าข้อหา ซึ่งเป็นความผิดนอกเหนือจาก 13 ข้อหาหลักที่กวดขันจับกุมและออกใบสั่งให้ตามปกติ สาเหตุที่ไม่ระบุข้อหาชัดๆ เพราะจะเป็นเงื่อนไขมากจนเกินไป เนื่องจากมีมาก คงแล้วแต่จะตรวจพบความผิดข้อหาใดโดยให้ตำรวจเป็นผู้กรอกข้อความ สำหรับข้อดีการออกใบเตือน เป็นการให้โอกาสผู้กระทำผิด เดิมความผิดเล็กน้อย ตำรวจมีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา เพียงแต่มาเพิ่มทำเป็นใบเตือน เพื่อเก็บบันทึกไว้เป็นสถิติ และเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจว่าได้ทำการว่ากล่าวตักเตือนจริง นอกจากนี้ เป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนให้เคารพกฎหมายมากขึ้น เพราะบางคนอาจไม่รู้ หรือขาดเจตนากระทำผิด ส่วนจะดำเนินการนานแค่ไหนนั้นต้อง รอดูผลการประเมินอีกครั้ง

 

พ.ต.อ.วีระวิทย์ วัจจนะพุกกะ ผกก.3 (ศูนย์ข้อมูลใบสั่ง) กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) เปิดเผยถึงการเตรียมพร้อมออกใบเตือนให้กับผู้ขับขี่บนท้องถนนว่า เบื้องต้นใบเตือนจะเริ่มใช้ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 1 ก.ย.นี้ เช่น ขับขี่โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย หรือขับขี่โดยไม่พกใบอนุญาตขับขี่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อตำรวจออกใบเตือนให้ผู้ขับขี่ที่ทำผิดกฎไปแล้ว หากมีความผิดซ้ำจะมีการบันทึกข้อมูล และให้ตำรวจปรับในอัตราสูงสุด

 

พ.ต.อ.วีระวิทย์กล่าวอีกว่า ในส่วน 12 ข้อหาหลักที่เตือนไม่ได้ ต้องจับกุมเท่านั้น ได้เพิ่มมาอีก 1 ข้อหา รวมเป็น 13 ข้อหา คือ แท็กซี่ที่ปฏิเสธรับผู้โดยสาร หากผู้โดยสารเดือดร้อนสามารถโทรศัพท์แจ้งตำรวจได้โดยตรง ไม่ต้องไปร้องเรียนที่ขนส่งทางบกแล้ว โดยจดจำเลขทะเบียนรถเพื่อแจ้งตำรวจ จะได้ตรวจสอบและจับกุมตามความผิดทันที ทั้งนี้ ข้อหาดังกล่าวถือว่าสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปที่จำเป็นต้องอาศัยรถแท็กซี่เพื่อโดยสาร ทำให้ไม่สามารถจะออกใบเตือนให้ได้.

 

ประชาชนหลายคนสับสนว่า การทำผิดกฎจราจรในปัจจุบันนี้ ตำรวจควรออกใบเตือนก่อน แต่ การออกใบเตือนกับผู้ที่ขับขี่ผิดกฎจราจรจะไม่นำไปใช้ใน สำหรับ13 ข้อหาหลักตามนโยบาย ประกอบด้วย

 

1. แข่งรถในทาง (ม.134)

2. ขับรถเร็ว (ม.67)

3. แซงในที่คับขัน (ม.46, 47และ 48)

4. เมาแล้วขับ (ม.43(2))

5. ขับรถย้อนศร (ม.41)

6. ไม่สวมหมวกนิรภัย (ม.122)

7. จอดรถซ้อนคัน (ม.57(9))

8. ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ม.7)

9. มลพิษควันดำ(ม.10 ทวิ)

10. จอดรถในที่ห้ามจอด (ม.57)

11. การจอดรถบนทางเท้า (ม.57(1))

12. การขับรถบนทางเท้า (ม.43(7))

13. แท็กซี่ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร

 

พวกดื่มแอลกอฮอล์ พอเจอด่านตรวจ ตำรวจเรียกตรวจ และให้เป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์ มักจะคิดว่า ถ้าเป่าแล้ว ค่าแอลกอฮอล์เกิน ที่กฎหมายกำหนด ตำรวจควรตักเตือน ให้ใบเตือน จริง ๆ ไม่ใช่นะครับ โปรดระวัง กรณีน้องกิ๊ฟซ่าเป็นตัวอย่าง

 

 

โดย: ทีมข่าวกทม. และ พันทิพ

Link to comment
Share on other sites

600.jpg

 

 

วันที่ 27 ส.ค. พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผบก.จร. เปิดเผยกรณีที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีนโยบายแจกใบเตือนแทนใบสั่ง สำหรับผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรครั้งแรก เริ่มวันที่ 1 ก.ย.2555 นั้น ว่า ความผิดที่จะออกใบเตือนนั้นจะเป็นความผิดเล็กน้อย และไม่กระทบกับส่วนรวม ตามพระราชบัญญัติจราจรปี 2522 มีประมาณ 100 กว่าข้อหา ซึ่งเป็นความผิดนอกเหนือจาก 13 ข้อหาหลักที่กวดขันจับกุมและออกใบสั่งให้ตามปกติ สาเหตุที่ไม่ระบุข้อหาชัดๆ เพราะจะเป็นเงื่อนไขมากจนเกินไป เนื่องจากมีมาก คงแล้วแต่จะตรวจพบความผิดข้อหาใดโดยให้ตำรวจเป็นผู้กรอกข้อความ สำหรับข้อดีการออกใบเตือน เป็นการให้โอกาสผู้กระทำผิด เดิมความผิดเล็กน้อย ตำรวจมีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา เพียงแต่มาเพิ่มทำเป็นใบเตือน เพื่อเก็บบันทึกไว้เป็นสถิติ และเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจว่าได้ทำการว่ากล่าวตักเตือนจริง นอกจากนี้ เป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนให้เคารพกฎหมายมากขึ้น เพราะบางคนอาจไม่รู้ หรือขาดเจตนากระทำผิด ส่วนจะดำเนินการนานแค่ไหนนั้นต้อง รอดูผลการประเมินอีกครั้ง

 

พ.ต.อ.วีระวิทย์ วัจจนะพุกกะ ผกก.3 (ศูนย์ข้อมูลใบสั่ง) กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) เปิดเผยถึงการเตรียมพร้อมออกใบเตือนให้กับผู้ขับขี่บนท้องถนนว่า เบื้องต้นใบเตือนจะเริ่มใช้ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 1 ก.ย.นี้ เช่น ขับขี่โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย หรือขับขี่โดยไม่พกใบอนุญาตขับขี่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อตำรวจออกใบเตือนให้ผู้ขับขี่ที่ทำผิดกฎไปแล้ว หากมีความผิดซ้ำจะมีการบันทึกข้อมูล และให้ตำรวจปรับในอัตราสูงสุด

 

พ.ต.อ.วีระวิทย์กล่าวอีกว่า ในส่วน 12 ข้อหาหลักที่เตือนไม่ได้ ต้องจับกุมเท่านั้น ได้เพิ่มมาอีก 1 ข้อหา รวมเป็น 13 ข้อหา คือ แท็กซี่ที่ปฏิเสธรับผู้โดยสาร หากผู้โดยสารเดือดร้อนสามารถโทรศัพท์แจ้งตำรวจได้โดยตรง ไม่ต้องไปร้องเรียนที่ขนส่งทางบกแล้ว โดยจดจำเลขทะเบียนรถเพื่อแจ้งตำรวจ จะได้ตรวจสอบและจับกุมตามความผิดทันที ทั้งนี้ ข้อหาดังกล่าวถือว่าสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปที่จำเป็นต้องอาศัยรถแท็กซี่เพื่อโดยสาร ทำให้ไม่สามารถจะออกใบเตือนให้ได้.

 

ประชาชนหลายคนสับสนว่า การทำผิดกฎจราจรในปัจจุบันนี้ ตำรวจควรออกใบเตือนก่อน แต่ การออกใบเตือนกับผู้ที่ขับขี่ผิดกฎจราจรจะไม่นำไปใช้ใน สำหรับ13 ข้อหาหลักตามนโยบาย ประกอบด้วย

 

1. แข่งรถในทาง (ม.134)

2. ขับรถเร็ว (ม.67)

3. แซงในที่คับขัน (ม.46, 47และ 48)

4. เมาแล้วขับ (ม.43(2))

5. ขับรถย้อนศร (ม.41)

6. ไม่สวมหมวกนิรภัย (ม.122)

7. จอดรถซ้อนคัน (ม.57(9))

8. ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ม.7)

9. มลพิษควันดำ(ม.10 ทวิ)

10. จอดรถในที่ห้ามจอด (ม.57)

11. การจอดรถบนทางเท้า (ม.57(1))

12. การขับรถบนทางเท้า (ม.43(7))

13. แท็กซี่ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร

 

พวกดื่มแอลกอฮอล์ พอเจอด่านตรวจ ตำรวจเรียกตรวจ และให้เป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์ มักจะคิดว่า ถ้าเป่าแล้ว ค่าแอลกอฮอล์เกิน ที่กฎหมายกำหนด ตำรวจควรตักเตือน ให้ใบเตือน จริง ๆ ไม่ใช่นะครับ โปรดระวัง กรณีน้องกิ๊ฟซ่าเป็นตัวอย่าง

 

 

โดย: ทีมข่าวกทม. และ พันทิพ

 

ขอบคุณมากครับ

ปล.ข้อ13 นี่ไม่ต้องออกใบเตือนเลยนะเนี่ย(เพิ่งรู้) :rolleyes:

Link to comment
Share on other sites

ขอบคุณครับ จริงไหมครับหากเมาแล้วขับ เมื่อถึงด่านตรวจวัดให้ดื่มยาคูลก่อนเป่าวัดปริมาณแอลกอฮออล์ จะช่วยให้ปริมาณแอลกอฮอลล์ลดลง

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...