Jump to content

D.I.Yหุ้มท่อแอร์


Recommended Posts

http://civicfbthailand.com/forum/viewtopic.php?f=18&t=3266

 

ไปเจอมาจากเวปของ FB เห็นว่ามีประโยชน์ ไม่รู้ว่าของเราทำได้หรือป่าว รบกวนผู้รู้ทีครับ

Link to comment
Share on other sites

ฉนวนที่หุ้มนี่จะดูอย่างไรครับว่าีมีุคุณภาพหรือป่าว กลัวเจอความร้อนมากๆจะมีปัญหา

Link to comment
Share on other sites

เห็นที่บอร์ดเขาให้ใช้วัสดุจำพวก V0 นะครับ ส่วนใหญ่เข้าคิดเผื่อเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ หรือความร้อนสูง ซึ่งใครก็ไม่อยากให้เกิดครับ

 

( V0 เป็นขีดจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการลุกลามไฟนะครับ สมมุติว่า วัสดุใดวัสดุหนึ่งอยากจะทราบว่าติดไฟที่อุณหภูมิใด และมีการลุกลามของวัสดุนั้นหรือไม่ เมื่อลุกลามแล้วกินระยะทางและเวลาเท่าไร ก็นำไปทดสอบ เมื่อไ้ด้ข้อมูลก็นำไปเทียบว่าวัสดุนั้นได้ระดับชั้นไหน ความเห็นนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดนะครับ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดู)

 

ลองดูของแบรนด์นี้นะครับ

 

แอร์โรเฟลกซ์ชนิดท่อ (Aeroflex tube insulation) มีความยืดหยุ่นสูงจึงโค้งงอได้ตามลักษณะท่อ ประกอบกับรูภายในของท่อฉนวนเคลือบด้วยแป้งลื่น (Talcum powder) ทำให้การติดตั้งสำหรับท่อใหม่เป็นไปอย่างง่ายดาย เพียงแต่สวมท่อเข้าไปตามความยาวของท่อน้ำเย็น หรือท่อฟรีออน และติดรอยต่อฉนวนด้วยแอร์โรซีล (กาวประเภทนีโอพรีน) ส่วนท่อที่ติดตั้งอยู่ก่อนแล้วใช้ฉนวนแบบผ่าตามแนวยาวนำไปหุ้มท่อโลหะ และใช้กาวทาติดให้แน่นตามรอยผ่าของฉนวนทั้งหมด

 

 

คุณสมบัติของแอโรเฟล็กซ์


  • ช่วงอุณหภูมิใช้งานการห้อมท่อนำความเย็น ลดการสูญเสียความเย็นและป้องกันการเกิดหยดเหงื่อของท่อที่มีความเย็นต่ำได้ถึง -57 องศาเซลเซียล และยังใช้หุ้มท่อน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง +125 องศาเซลเซียส เพื่อลดการสูญเสียความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ป้องกันการแทรกซึมของความชื้น โดยมีผนังเซลส์ที่ทำจากยางสังเคราะห์ชนิดพิเศษ และผิวฉนวนที่หนาจึงสามารถป้องกันการแทรกซึมผ่านของความชื้นหรือไอน้ำได้ โดยไม่ต้องทาเคลือบหรือหุ้มห่อด้วยวัสดุกันความชื้นอื่น ๆ

  • ไม่เป็นเชื้อเพลิงและมีปริมาณควันน้อยเมื่อเผาไหม้ เนื่องจากมีส่วนผสมสารเคมีที่ทำให้มีคุณสมบัติไฟดับได้เอง ทำให้ปลอดภัยจากการก่อให้เกิดอัคคีภัย และมีปริมาณควันน้อยเมื่อถูกเผาไหม้ ทั้งนี้ยังไม่ก่อให้เกิดหยดไฟ และการลามของไฟ

  • ติดตั้งสะดวก ลดการสั่นสะเทือนและเสียงก้องในระบบท่อ เพราะมีความยืดหยุ่นสูงและผิวเรียบทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง และทำให้ผลงานแลดูเรียบร้อย รวมทั้งมีคุณสมบัติเป็นตัวเก็บเสียงได้ดี ช่วยลดปัญหาการสั่นสะเทือนและลดเสียงก้องที่จะเกิดขึ้นในท่อน้ำเย็น หรือท่อน้ำร้อนได้ดีขณะใช้งาน

  • คุณสมบัติอื่น ๆ คือ ไม่ก่อปัญหาแพ้จนเกิดอาการคัน อีกทั้งยังป้องกันปัญหาอันเกิดจากมด ปลวก หรือหนู ซึ่งชอบทำลาย มีความคงทนต่อสารเคมีต่าง ๆ โดยเฉพาะกรดและด่างซึ่งสามารถช่วยป้องกันการกัดกร่อนของท่อโลหะในแหล่งอุตสาหกรรม หรือบริเวณใกล้ทะเล ซึ่งมีไอน้ำเค็มในปริมาณสูง

 

 

http://www.banseekeaw.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=2&Id=218058

Link to comment
Share on other sites

ลองดูฝั่งที่ควรหุ้ม จะมีหยดน้ำตอนจอดรถน่ะคับของเรา

 

พอมีรูปมั้ยครับ วันนี้ลองส่องดูแล้วไม่รู้ตรงใหน

Link to comment
Share on other sites

ลองดูฝั่งที่ควรหุ้ม จะมีหยดน้ำตอนจอดรถน่ะคับของเรา

 

จอดรถ ติดเครื่องป่าวครับ ผมจอดรถ ดับเครื่องดู ไม่เห็นมีหยดน้ำ สักแอะเลยครับ

Link to comment
Share on other sites

มีคับ รอมันคอนเดนซ์สักพักคับ เหมือนเอาน้ำเย็นจากตู้เย็นเทลงแก้วแล้ววางทิ้งไว้น่ะ

 

แก้วน้ำเย็นที่วางไว้ในบรรยากาศร้อน แล้วไม่มีน้ำเกาะเลย ต้องมีผิดปกติอะไรแน่ๆ :P

 

 

ถ้าจะดูง่ายๆ ท่ออลูที่มียางหุ้มนั่นแหละ เค้าหุ้มมาให้แล้วบริเวณส่วนที่ผ่านเครื่องน่ะคับ :)

Link to comment
Share on other sites

FD ใครทำเสร็จแล้วเอามาโชว์กันบ้างครับ เห็นแล้วอยากทำบ้างจริงๆ

 

อยากเห็นเหมือนกันครับ ยังไม่มีเวลาทำเลยครับ

Link to comment
Share on other sites

  • 2 weeks later...

ไปเจอมา

 

http://www.pajerosport-thailand.com/forum/index.php?topic=7166.0

 

 

 

สังเกตกันไหมครับว่า ในห้องเครื่องจะมีท่ออยู่เส้นนึง ทุกครั้งที่เปิดแอร์จะมีความเย็นที่ท่อนั้นอยู่ตลอดเ วลา

 

บางคนคิดว่านั้นคือท่อส่งความเย็น เลยเอาผ้าไปพัน หรือ เอาท่อยางอ่อนสีดำที่ใช้กับแอร์บ้านไปพัน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า นั้นเป็นการทำลายคอมเพรสเซอร์ทางอ้อม

 

อธิบายเพิ่มเติมแล้วกัน เพราะพักหลังๆคนเข้าใจผิดอย่างมาก

 

-------------------------------

 

1. ท่อเย็นที่เห็นน้ำเกาะ เป็นท่อน้ำยาที่ออกมาจากตู้แอร์มาสู่ภายนอก เรียกว่าท่ออีวาปอเรเตอร์ หรือท่อ L (L = Low Pressure) ซึ่งมีการขยายตัวต่ำ จึงทำท่อให้มีขนาดใหญ่

 

โดยน้ำยาแอร์จะดูดซับความร้อนวนเวียนอยู่ตามท่อทางเด ินที่ขดไปมาบนแผงคอยล์เย็นจนแปรสภาพเป็นก๊าซ ไหลออกจากคอยล์เย็นไปตามท่อ เข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง

 

แต่เพราะระหว่างทางกลับคอมเพรสเซอร์ ตัวน้ำยาเองยังไม่แปรสภาพเป็นก๊าซอย่างเต็มที่ จึงยังพอมีคุณสมบัติในการดูดซึมความร้อนหลงเหลืออยู่ เค้าถึงออกแบบท่อให้เดินผ่านห้องเครื่องเพื่อดูดซับค วามร้อน เพื่อเริ่มต้นกระบวนการอัดความดันของน้ำยาแอร์รอบใหม ่วนเวียนไปจนกว่าคอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน

 

อีกอย่างคือ การดูดซับความร้อนจากท่อ = การเพิ่มแรงดันให้กับคอมเพรสเซอร์ไปในตัว

 

จากนั้นเข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นกระบวนการอัดความดันของน้ำยาแอร์รอบใหม ่

 

------------------------------

 

2. หลังจากคอมเพรสเซอร์ดูดกลับมา ก็ทำการอัดน้ำยา จากนั้นพออัดเสร็จก็จะส่งผ่านท่อซึ่งมีความร้อนอยู่

 

ท่อร้อนคือ เป็นท่อน้ำยา หรือ ท่อ H (H = High Pressure) ตัวท่อจะมีขนาดเล็กเพื่อสร้างแรงดัน โดยน้ำยาที่ผ่านการอัดจากคอมเพรสเซอร์เรียบร้อยแล้ว จะดันออกมาเข้าแผงระบายความร้อนหน้ารถ และสภาพน้ำยาแอร์นั้นยังเป็นก๊าซอยู่

 

จังหวะคอมเพรสเซอร์ทำงาน จะดูดน้ำยาแอร์ที่มีสภาพเป็นก๊าซเข้ามาอัดความดันและ อุณหภูมิให้สูงขึ้น จากนั้นส่งไปตามท่อทางออกของเข้าสู่คอยล์ร้อนซึ่งพัด ลมหม้อน้ำจะทำหน้าที่ระบายความร้อนก๊าซเหล่านี้ออกไป จากครีบระบายความร้อน กระทั่งก๊าซกลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูงไหลออกจาก คอยล์ร้อนผ่านท่อทางออกไป และน้ำยาจะไหลเข้ามาดรายเออร์ เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอม และดูดความชื้นไปด้วย

 

จากนั้นน้ำยาแอร์ไปตามท่อเข้าสู่วาล์วปรับความดัน ซึ่งจะลดความดันของน้ำยาแอร์ให้อุณหภูมิลดต่ำลงอย่าง มาก เพื่อป้อนเข้าสู่คอยล์เย็น โดยเจ้าวาล์วนี้ก็จะทำหน้าที่ลดแรงดัน (หรือฉีดน้ำยาให้เป็นฝอย) อย่างรวดเร็วจนเกิดการควบแน่น และแทรกไปในคอยล์เย็นเพื่อไปดูดความร้อนที่บริเวณรอบ ๆตัวออกมา อาศัยพัดลมโบลว์เวอร์จะทำหน้าที่ดูดอากาศในห้องโดยสา รผ่านแผงคอยล์เย็น ผ่านทางท่อลมจนออกไปจากช่องปรับอากาศด้านหน้าคอนโซล อากาศร้อนในห้องโดยสารจะถูกดูดซับออกไปด้วยวิธีนี้

 

จากนั้น.... ขั้นตอนก็จะย้อนไปที่ข้อแรกเหมือนเดิม

 

---------------------------

 

เพราะฉะนั้นแล้ว ห้ามเอาอะไรไปพันท่อ L หรือ ท่อเย็นที่มีน้ำเกาะโดยเด็ดขาดครับ เพราะจะทำให้แอร์กลับบ้านเร็วกว่าเวลาอันควร ซึ่งท่อ L จำเป็นต้องดูดซึมความร้อนในห้องเครื่องเพื่อส่งให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำการอัด

 

ถ้าเราเอาอะไรไปขวางทาง เช่น ไปหุ้มมัน จะทำให้สภาวะการเปลื่ยนแปลงจากของเหลวเป็นก๊าซผิดเพี ้ยนไปอย่างมาก

 

เราจึงควรปล่อยมันไว้ อย่าไปยุ่งกับมันเกินเหตุ ถ้าเครื่องปรับอากาศในรถคุณเย็นดีอยู่แล้ว อย่าไปยุ่งกับมันเด็ดขาด

 

สิ่งที่จะช่วยยืดอายุคอมเพรสเซอร์ให้ยาวนานคือ

 

1. หมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อนหน้ารถ โดยการใช้น้ำฉีดเข้าไปทุกครั้งที่ล้างรถ (ถ้าใช้เครื่องฉีดน้ำ ระวังครีบล้ม)

2. เป็นไปได้ ใช้ลมเป่าบริเวณพัดลมหม้อน้ำหน้ารถ และเป่าย้อนแผงรังผึ้งออกมา

3. เป่าไส้กรองแอร์ หรือเปลื่ยนบ่อยๆ ก่อนกำหนดได้ยิ่งดี

4. บางคนขี้ร้อน เปิดสวิตช์ ON แต่ไม่ติดเครื่อง แล้วเปิดแอร์.. นั้นเป็นการทรมานคอมเพรสเซอร์แอร์อย่างที่สุด คอมจะพังอย่างรวดเร็ว

5. หมั่นดูช่องตาแมวว่า มีฟองสีขาว (ไม่ใช่ฟองสบู่เล็กๆ) โผล่ขึ้นมาหรือเปล่า

6. ตรวจสอบสาพานขับ อย่าให้หย่อน

7. สังเกตหัวข้อต่อน้ำยา ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่

 

เพียงเท่านั้น ระบบแอร์ก็จะอยู่คู่กับรถไปจนกว่าจะเบื่อ แล้วก็ขายทิ้ง

Link to comment
Share on other sites

ขอเสริมนิดนึงครับ

 

สารทำความเย็นที่จะเข้าคอมเพรสเซอร์ได้นั้นจะต้องอยู่ในสถานะก๊าซ ซึงมีค่า Degree of superheat 5-6C ถึงจะปลอดภัย ซึ่งถ้าเอาฉนวนไปพันท่อนี้ก่อนเข้าคอมเพรสเซอร์ อาจทำให้สารทำความเย็นยังมีอุณหภูมิและความดันต่ำอยู่ และยังอยู่ในสภาวะของผสมระหว่างของเหลวกับก๊าซ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการทำงานของคอมเพรสเซอร์

Link to comment
Share on other sites

สรุปมาจากโรงงานดีอยู่แล้ว อย่าไปยุ่งกับมันเลย ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

Link to comment
Share on other sites

ผมก็เกือบละ 55 โชคดี เจอก่อน

 

ผมว่า เอาจริงๆ หาทาง ลดความร้อนที่แผงคอยย์ร้อนด้านหน้ารถ น่าจะ ดีกว่า

Link to comment
Share on other sites

จากหัวข้อกระทู้ดังกลาวในข้างต้น ทำให้หลายท่านเกิดการเข้าใจผิดในเรื่องของระบบปรับอากาศ

สืบเนื่องมาจากหลายๆ ท่านเข้าใจผิดคิดว่าท่อที่นำยาแอร์ที่อยู่ในห้องเครื่องนั้น

 

++++++ ท่อที่เราจับแล้วเย็น หลายๆ ท่านตีความหมายว่ามันคือท่อที่นำน้ำยาแอร์ที่เย็น เพื่อส่งต่อไปยังคอล์ยเย็นในห้องโดยสาร (ท่อ L)

คำตอบ ผิดครับ มันคือท่อที่น้ำยาผ่านคอล์ยเย็นมาแล้ว แล้วกำลังจะกลับไปที่คอมเพรสเซอร์ครับ

 

++++++ ท่อที่เราจับแล้วอุ่น หลายๆท่านคิดว่ามันคือท่อที่ผ่านคอล์ยเย็นมาแล้ว (ท่อ H)

คำตอบ ผิดครับ มันคือท่อที่จะนำน้ำยาส่งไปที่คอล์ยเย็นในห้องโดยสารครับ

 

 

เรามาดูกันว่าจริงๆ แล้วระบบแอร์มันทำงานอย่างไร อุปกรณ์แต่ละตัวทำหน้าที่อะไร

 

5x411.jpg

 

 

การทำงานของระบบปรับอากาศรถยนต์

 

1.คอมเพรสเซอร์( Compressor) ทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นที่เข้ามาทาง ท่อซักชั่น ( Suction line )หรือท่อดูด ซึ่งดูดต่อมาจาก Expension Valve สารทำความเย็นที่ดูดเข้ามานี้มีสถานะเป็นไอ (ไออิ่มตัว saturated vapor )มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ(ท่อ L) แล้วอัดออกไปด้วยกำลังของเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ ออกมาทางท่อดิสชาร์จ ( Discharge line )หรือท่อจ่าย สารทำความเย็นที่ถูกอัดออกไปนี้จะมีสถานะเป็นไอ (ไอยิ่งยวด superheated vapor) มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง

 

2.คอนเดนเซอร์ ( Condenser )หรือแผงรังผึ้งที่อยู่หน้ารถ ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น โดยมีพัดลมทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อน สารทำความเย็นที่ถูกอัดออกมาจาก คอมเพรสเซอร์ เข้ามาทางท่อท่อดิสชาร์จ ( Discharge line )หรือท่อจ่าย มีสถานะเป็นไอ (ไอยิ่งยวด superheated vapor)มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง หลังจากระบายความร้อนออกแล้ว สารทำความเย็น จะมีสถานะเป็นของเหลว (ของเหลวอิ่มตัว satured liquid) มีความดันสูงและอุณหภูมิสูงลดลง

 

3.ดรายเออร์ และรีซีฟเวอร์ ( Drier & receiver) สารทำความเย็นที่ออกจาก คอนเดนเซอร์ จะถูกส่งมาที่ ดรายเออร์และรีซีฟเวอร์ เพื่อทำการกรอง , ดูดความชื้น และพักสารทำความเย็นเพื่อจะส่งต่อไปยัง แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ผ่านทางท่อ ท่อลิควิด ( Liquid line ) หรือ ท่อ H

 

4.แอ็ก ซแพนชั้นวาลว์ ( Expansion valve)หรือคอล์ยเย็นที่อยู่ในห้องโดยสาร ทำหน้าที่ทำหน้าที่ลดความดัน ของสารทำความเย็น และควบคุมสารทำความเย็นที่ฉีดเข้าสู่อีวาโปเรเตอร์ ให้พอเหมาะที่จะกลายเป็นไอในอีวาโปเรเตอร์ การฉีดนั้นเช่นเดียวกับการฉีดน้ำทางท่อยางที่บีบปลายท่อใว้ สารทำความเย็นจะถูกฉีดเข้าไปเป็นฝอย จะมีสถานะเป็นไอเปียก มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ เข้าสู่ อีวาโปเรเตอร์

 

5.อี วาโปเรเตอร์ ( Evaporator ) รับสารทำความเย็นที่ฉีดออกมาจาก แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ซึ่ง มีลักษณะเป็นฝอย มีสถานะเป็นไอเปียก มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากคุณสมบัติของสารทำความเย็นที่มีจุดเดือดที่อุณหภูมิต่ำ ที่อีวาโปเรเตอร์นี้เองที่สารทำความเย็นจะดูดความร้อนเข้าสู่ตัวเองแล้วกลาย เป็นไอ (ไออิ่มตัว มีความดันต่ำ และอุณหภูมิต่ำ ) ออกจาก อีวาโปเรเตอร์แล้วถูกดูดเข้าสู่ คอมเพรสเซอร์ เมื่อความร้อนของอากาศโดยรอบอีวาโปเรเตอร์ถูกดูดออกไป ที่เหลือก็คืออากาศเย็น ที่พัดออกมาทางช่องลมเย็นนั้นเอง

 

 

เครดิต http://www.baanyo.co...le=detail&id=27

 

 

หลายๆ ท่านคงจะเข้าใจในระบบปรับอากาศมากขึ้นนะครับ

 

ส่วนที่จากหัวข้อกระทู้ดังกล่าวเป็นการ DIY ที่คงจะเกิดจากการเข้าใจผิด

เนื่องจากท่อ L ซึ่งนำน้ำยาแอร์จากแผงคอล์ยเย็น ซึ่งเป็นของเหลวและมีอุณหภูมิที่ต่ำ(จะเป็นเช่นนี้ต่อเมื่อระบบปรับอากาศได้ทำงานไปแล้วระยะหนึ่ง แต่ถ้ายังไม่สตาร์รถท่อนี้จะมีอุณหภูมิปกติ) แต่ถ้าเรานำท่อฉนวนไปหุ้มที่ท่อ L นี้จะส่งผลให้อุณหภูมิในท่อนี้ยิ่งลดต่ำกว่าปกติ อาจส่งผลให้คอมเพรสเซอร์น๊อคได้ ซึ่งในการออกแบบของวิศวกรได้ออกแบบไว้ให้ท่อได้รับการแลกเปลี่ยนความร้อนกับความร้อนของเครื่องยนต์อยู่แล้ว

 

ซึ่งถ้าอยากจะหุ้มแนะนำควรจะหุ้มท่อ H หลัง Drier มากกว่าครับ

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...