Jump to content

ครอบครัวคืออะไร


Recommended Posts

ครอบครัวคืออะไร

ครอบครัวเป็น "กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันกันทางอารมณ์และจิตใจ มีการดำเนินชีวิตร่วมกัน รวมทั้งมีการพึ่งพิงกันทางสังคมและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กันทางกฎหมาย หรือทางสายโลหิตครอบครัวเป็นหน่วยพื้นฐานแห่งการแลกเปลี่ยน สิ่งสำคัญที่แลกเปลี่ยนกันก็คือ ความรัก โดยเริ่มต้นจากพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ให้ และลูกซึ่งเป็นผู้รับในระยะแรก ถ้าการแลกเปลี่ยนความรักเป็นไปในบรรยากาศที่พึงพอใจ มีทั้งการไว้วางใจบุคคลในครอบครัวเอื้ออาทรต่อกันและพร้อมจะเสียสละให้แก่กันถ้าสิ่งเหล่านี้ดำเนินไปอย่างไม่เหมาะสม ก็จะเกิดความรู้สึกทุกข์ใจ คับข้องใจ ความขมขื่น และความเกลียดชังเกิดขึ้น ความรู้สึกทางลบที่เกิดขึ้นในครอบครัว จะมีความรุนแรงยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นในสังคมหน่วยอื่นปัญหาเกิดจากความต้องการไม่เป็นไปตามความคาดหวังความคาดหวังของผู้หญิงไทย และผู้ชายไทยผู้หญิงไทยผู้หญิงไทยมีความคาดหวังสูงมากจากผู้ชาย หวังให้เขาเป็นทุกๆ อย่างแทนทุกๆคนในชีวิต ขอให้รักฉันนิรันดรหวังจะได้ฝากฝังชีวิต หวังจะได้ผู้นำชีวิตตลอดการ หวังจะได้ที่พึ่งทางร่างกายและจิตใจหวังจะได้มีคนไว้ให้ปรนนิบัติ โดยที่ไม่ได้เตรียมที่จะรับความผิดหวัง ผู้หญิงมองชีวิตแต่งงาน แต่ในด้านของความสุขมอบหมายและยอมจำนน ให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ในมือฝ่ายชาย ยึดติดที่เดิม ไม่ได้เตรียมการแก้ไขเหตุการณ์ในวันหนึ่งเมื่อผู้ชายเปลี่ยนไป พร้อมจะให้อภัย พร้อมจะตั้งต้นใหม่ให้เหมือนเดิม ไม่พร้อมจะเป็นตัวของตัวเองและไม่พร้อมจะกำหนดชีวิตด้วยตัวเอง ปฏิเสธอำนาจในตัวเอง ชอบที่จะเป็นคนอ่อนแอและแสดงความอ่อนแอผู้ชายไทยแรกเริ่มรับปาก รับคำมั่นสัญญา นานไปมีการยืดหยุ่นกว่า สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง ได้มากกว่า แต่ยังคาดหวังจะให้ผู้หญิงเหมือนเดิมไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงของผู้หญิงได้ นั่นคือ ยังคาดหวังว่าเมียจะยังเป็นทาสในเรือนเบี้ยต่อไป คาดหวังว่าภรรยาจะเป็นผู้ช่วยเหลือในการทำมาหากิน แต่ไม่ให้เครดิตไม่ให้เกียรติ คาดหวังจะได้ผู้หญิงพรหมจารี ไม่มีปากมีเสียง เป็นผู้ตาม มีหน้าที่เลี้ยงดูลูก ๆ ผู้หญิงแต่งงานแล้วไม่ควรแบ่งหันใจให้ชายอื่น คิดถึงชายอื่น และไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร เธอทนได้รับได้ เป็นต้น

ความคาดหวังของลูกลูกๆ ยอมรับบทบาทของพ่อ ในฐานะเป็นพ่อ เป็นผู้นำครอบครัว เป็นคนหาเงิน จุนเจือครอบครัว เป็นผู้ปกป้องคุ้มครอง ไม่ค่อยอยู่บ้านเป็นธรรมดา พ่อไปเที่ยวนอกบ้านเพราะพ่อเป็นชาย พ่อมีหญิงอื่น เพราะแม่อ่อนแอ/พูดมาก แต่ลูก ๆจะเห็นและยอมรับบทบาทของแม่ว่าเป็นผู้ที่รับใช้ดูแลทุก ๆ คนในบ้าน และมีชายอื่นไม่ได้ เป็นคนดูแลในบ้านทำอาหารให้พ่อและลูก ๆ อยากเห็นแม่ ทุกครั้งที่เข้าบ้าน แม่น่าเบื่อกว่าพ่อเป็นต้น เมื่อสิ่งที่คาดหวังไม่เป็นไป ตามความคาดหวังก็จะเกิดปัญหา ฉะนั้นครอบครัวควรจะเข้าใจความคาดหวังของคนในครอบครัวด้วยข้อแนะนำสำหรับการดำเนินชีวิตให้ครอบครัวมีความสุขก่อนแต่งงาน

1. ทั้งหญิงชาย ควรมีความพร้อม ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีการเตรียมตัวและแสวงหาข้อแนะนำในการใช้ชีวิตคู่ ตลอดจนการวางแผนครอบครัว

2. มีการพูดคุยกันถึงความคาดหวังในกันและกัน มีการแบ่งงานกันทำว่าส่วนไหนใครทำ และส่วนไหนทำด้วยกัน

3.ให้การยอมรับ และเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของกันและกัน ตระหนักในสิทธิของตนเองทั้งหญิงและชาย

4. มีการยอมรับ และเตรียมตัวกับความเปลี่ยนแปลงของคู่สมรสและของตนเอง และเผชิญด้วยใจที่เป็นธรรม ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการของการเจริญเติบโต

การใช้ชีวิตคู่

1. ต้องฝึกทักษะในการติดต่อสื่อสารพูดคุยให้เข้าใจ การเรียนรู้ที่จะใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

2. ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ให้มีความเมตตาและรู้จักอภัย ให้กันเป็นอันดับแรก

3. ทั้งสองฝ่ายต้องยึดมั่นในความซื่อสัตย์ในศีลธรรม และในสัจจะที่ให้ไว้ต่อกัน 4.ทำหน้าที่และความรับผิดชอบบทบาทของตนให้ดีที่สุด ในทุกสถานการณ

์5. ให้การอบรมสั่งสอนลูกร่วมกัน ให้ตระหนักในบทบาทที่ทัดเทียมกันระหว่างหญิงชายสอนลูกผู้ชายไม่ให้

เอาเปรียบทางเพศ สอนลูกชายและลูกผู้หญิงให้ดูแลสุขภาพอนามัยให้ปลอดภัย ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และเพศศึกษา

6. เมื่อมีปัญหาครอบครัว หรือปัญหาความเครียด ควรแสวงหาความช่วยเหลือทันทีมีแหล่งข้อมูลทางภาคเอกชน และราชการให้ในยามฉุกเฉินการสื่อสารในครอบครัวอาศัยการสื่อสารที่เปิดเผย ต่อกัน จะช่วยให้เกิดความเข้าใจกัน และนำไปสู่การเพิ่มความรัก ความผูกพันที่มีต่อกันในมุมกลับกันการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนก็จะได้รับการตอบสนองที่ไม่เป็นไปตามความประสงค์ นำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันและกัน และนำไปสู่ความขัดแย้งมากขึ้นเรื่อย ๆ การสื่อสารในครอบครัวแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน

1. แสดงความต้องการเปิดเผยสื่อสาร สิ่งที่ต้องการอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น ฉันอยากให้เธอเอาเสื้อผ้า ใส่ตะกร้า พี่อยากให้นิดช่วยรับลูกแทนหน่อยเป็นต้น

2. ถามความรู้สึกนึกคิดของอีกฝ่าย แสดงให้เห็นว่าเราคำนึงถึงความ รู้สึกนึกคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น เธอว่าไงไม่ทราบว่า นิดลำบากไหม

3.แสดงความขอบคุณ เมื่อเขาตอบสนอง เมื่อเขาตอบตกลงก็แสดงความชื่นชมให้เขาเห็น เช่น ยอดเลยค่ะ ขอบคุณดีจังที่นิดช่วย

เมื่อคู่สมรสมีความคิดเห็น หรือความต้องการไม่ตรงกัน จะแก้ไขอย่างไร

1. บอกความรู้สึก และปัญหาที่คิดเห็นหรือต้องการไม่ตรงกัน

2. แสดงความรู้สึกอย่างจริงใจแทนที่จะเอาชนะด้วยเหตุผลแทน เช่น เค้ารู้สึก น้อยใจที่ช่วงนี้พี่ไม่ค่อยมีเวลาว่างให้เลย แสดงความต้องการอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ชัดเจนเป็นรูปธรรมเช่นผมขอไม่ไปงานศิษย์เก่าของคุณกับเพื่อน

3.ถามความรู้สึกนึกคิดของเขา เช่น เธอว่ายังไง ไม่ทราบว่าพี่คิดอย่างไร แสดงความรู้สึกขอบคุณ เมื่อเขาตอบสนอง เช่น ดีจังที่คุณไม่ว่าอะไร


  •  


  •  

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...