Jump to content

เข้าเกียร์ N หรือ ค้าง D เอาจริงๆ ใครถูก ใครผิด


Recommended Posts

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง

 

            ตั้งแต่มีรถเกียร์อัตโนมัติ มาขับในบ้านเรา นั้น  เรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงมากที่สุดในเรื่องของการขับขี่ คงจะไม่พ้นข้อคำถามที่ว่า ในระหว่างการขับขี่หากรถหยุดชั่วขณะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สี่แยกไฟแดง เราควรจะปรับตำแหน่งเกียร์จาก  D  ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ มาสู่ตำแหน่ง  N  หรือ เกียร์ว่าง ซึ่งจะความคล้ายคลึงกับการใช้งานในรถยนต์เกียร์ธรรมดา หรือไม่

car-with-automatic-transmission.jpg

                ข้อถกเถียงที่ไม่มีวันที่สิ้นสุดนี้ เป็นเหมือนเรื่องราวไก่กับไข่ ที่เถียงกันมายาวนาน ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็มีเหตุผลมาสนับสนุน และไม่เพียงแต่ในไทยเท่านั้นแต่ที่ต่างประเทศก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นข้อกังขากันมาอย่างยาวนาน จนแทบจะพูดว่านี่คือคำถามสุดคลาสสิคของเกียร์อัตโนมัติกันลยทีเดียว

                คำถามที่ชวนเถียงกันทะเลาะกันเปล่าๆนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าขำขัน เมื่อระบบเกียร์อัตโนมัติ ถูกผลิตขึ้นมาให้มีตำแหน่งเกียร์ที่สำคัญ คือ  P R ND  และ บ้างก็จะมีตำแหน่งเกียร์พิเศษขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อการใช้งานเช่น  D3  , 2 , และ 1 ซึ่งการมีตำแหน่ง N  ที่เท่ากับเกียร์ว่าง ทำให้หลายคนได้รับความเข้าใจมาแบบผิดว่า การเข้าตำแหน่งเกียร์จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพมากกว่านี้ จะก่อให้เกิดผลต่อการทำงานของระบบเกียร์มากกว่า และวันนี้เรามี 3  เหตุผลที่คุณควรเปลี่ยนเกียร์มาตำแหน่ง  N  เมื่อมีโอกาส ตราบเท่าที่คุณมองว่าสมควร

 

1.       ปลอดภัยมากกว่า ทุกครั้งที่คุณเหยียบเบรกเข้าเกียร์  D  แม้รถจะหยุดนิ่ง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่มันจะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในการจราจรติดขัด  ที่คุณอาจจะเผลอเรอได้เพียงแค่คุณผ่อนน้ำหนักที่แป้นเบรก นิดเดียว รถที่อยู่ในตำแหน่ง  D  ก็พร้อมที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าทันที ดังนั้น หากรถติดขัดสาหัสมากนานหลายนาที การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ มายัง  N  ย่อมจะทำให้คุณปลอดภัยมากกว่าอย่างปฏิเสธไม่ได้

 

2.       เรื่องสึกหรอ จริงหรือเปล่าที่จะช่วย แม้จะไม่มีข้อพิสูจน์ที่ฟันธงกันไปเลยว่า การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จากตำแหน่งเกียร์  D  ไป  N  จะมีผลต่อกระบวนการสึกหรอของชุดเกียร์มากน้อยเพียงใด แต่ข้อเท็จจริงทางด้านเทคนิคในรถยนต์เกียร์อัตโนมัตินั้น คือ ทุกครั้งที่คุณเข้าตำแหน่งเกียร์ขับเคลื่อน ตัวชุด  Torque Covertor จะถูกเชื่อมเข้ากับชุดฟลายวีลที่ด้านหลังเครื่องยนต์  

หากแต่ที่รถไม่ขับเคลื่อนนั้น เพราะว่า มีแรงเบรกมากพอที่จะเอาชนะแรงบิดจากเครื่องยนต์ ซึ่งยังไม่มีแรงบิดมากนักที่กำลังเครื่องยนต์รอบเดินเบา ทำให้รถหยุดนิ่งกับที่ได้ ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่คุณเข้าเกียร์  D  แล้วเหยียบเบรกไว้ จะมีการใช้งานระบบเบรกอย่างเต็มที่เพื่อเอาชนะแรงจากเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถสร้างการเสื่อมสภาพให้กับเบรก ได้ในระยะยาวอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะชุดหม้อลมและท่อทางเดินน้ำมันที่จะรับแรงดันเป็นเวลานานๆ ต่อเนื่อง

 

automatic_transmission_cut.jpg

เช่นเดียวกัน การคงตำแหน่งเกียร์ที่ D ในส่วนของตัวเกียร์เองก็ทำให้ชุด  Torque convertor  ถูกต่อติดกับเครื่องยนต์ตลอดเวลาและ ภายในเจ้าตัวแปลงกำลังเครื่องยนต์นี้ก็มีการหมุนเวียนน้ำมันเกียร์เช่นกัน ซึ่งจุดนี้เองที่ทำมีการถกเถียงกันว่าเกียร์จะเสื่อมสภาพถ้าค้างเป็นเวลานานๆ หรือไม่นั่นเอง

ประเด็นที่ถกเถียงกันในเรื่องนี้ ก็มาจากในระบบเกียร์เองมีการใช้แรงดันน้ำมันในการทำงานเช่นกันเพื่อปรับตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสม และมีแรงดันสูง ซึ่งอาจจะทำอันตรายต่อระบบถ้าเปลี่ยนไปๆมาๆ บ่อยครั้ง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็มีเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่า ถ้าน้ำมันมีการหมุนวนมากๆ โดยไม่เคลื่อนไหว อาจจะก่อให้เกิดความร้อนสะสม มากขึ้นในน้ำมัน และมันคือศัตรูที่สำคัญ ที่ทำให้ระบบเกียร์เสื่อมสมรรถนะเร็วขึ้นเช่นกัน  รวมถึงในส่วนของระบบคลัทช์ระหว่างเฟืองเกียร์ด้วย ที่จะพร้อมทำงานตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าอย่างไรก็มีการเสื่อมสมรรถนะได้ทั้งสิ้น

**ดังนั้นในเรื่องนี้ถ้ามองแล้วต้องมาพบกันตรงกลาง คือถ้าคิดว่ารถติดเวลานานมาก สาหัสมากก็ให้เปลี่ยนตำแหน่งจาก  D  มา N  น่าจะดีกว่า และเช่นเดียวกัน ถ้าตัวเลขเวลารอที่สี่แยกไม่ได้นานอย่างที่คิด ก็คงค้างที่ตำแหน่งเดิมแล้วเหยียบเบรกเอาก็น่าจะดีกว่าเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้ดุลพินิจของผู้ขับขี่

 

3.       เรื่องความประหยัด ประเด็นที่ถกเถียงกันมากถัดมานั้นก็คงไม่พ้นเรื่องของความประหยัดในการใช้น้ำมันของเครื่อง ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือไม่เปลี่ยน เรื่องนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดเกียร์ แต่ก็อธิบายไม่ยาก และสามารถตอบได้จากเหตุผลข้อที่แล้วว่า ทุกครั้งที่เราเข้าเกียร์  D  เหยียบเบรกแล้วรถไม่เคลื่อนมาจากการกำลังเบรกต้านไว้ มันก็คือการที่เราสั่งรถเดินหน้าอยู่ตลอดเวลา

torque-converter-callouts.jpg

ทั้งที่ความจริงเราไม่ได้จะเดินหน้า ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ โดยตรงเพราะในรถบางรุ่นจะมีการปรับการทำงานเครื่องยนต์ให้สูงขึ้นอีกเล็กน้อยเพื่อความสะดวกและให้กำลังของการออกตัว และมันหมายถึงการสิ้นเปลืองน้ำมันนั่นเอง  โดยเฉพาะเมื่อเครื่องยนต์พยายามที่จะสู้กำลังเบรกอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้มีความต้องการเร่งในช่วงสั้นๆบ่อยครั้ง ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าเกียร์จะมีการใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงกว่าตอนที่เราไม่เข้าเกียร์ D  หรืออยู่ในตำแหน่งเกียร์ N

 

แม้การปรับตำแหน่งเกียร์  N  ไป D  จะมีข้อดีและเสียต่างกัน แต่การเปลี่ยนตำแหน่งนี้ ก็ยืนยันว่ามันไม่สร้างความสึกหรอเท่ากับ การเปลี่ยนตำแหน่งกับสู่เกียร์  P  ไปมาเป็นประจำที่รถหยุดซึ่งบางคนมักทำติดเป็นนิสัย หากแต่ไม่ว่าวันนี้คุณจะมีเหตุผลอะไร ทางออกที่ดีในการถนอมชุดเกียร์และปลอดภัยที่สุด ในการขับขี่เพื่อป้องกันไม่เผลอเรอ คือการปรับตำแหน่งเกียร์ไปที่ Nเมื่อรถติดเป็นเวลานานๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนที่สำคัญที่สุดคือคุณในฐานะผู้ขับขี่ต้องตัดสินใจว่าเมื่อไรควรจะปรับเข้าสู่  N

 

 

 

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง

 

ที่ีมาของข้อมูล http://auto.sanook.com/5152/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C-n-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-d-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94/

Link to comment
Share on other sites

ขอบคุณครับ แต่เวลารถติดนานๆ พอผมเปลี่ยนเกียร์ไป N ปุ๊บ ไฟเขียวทุกที ต้องเปลี่ยนเกียร์ไป D อีก -*-

Link to comment
Share on other sites

ขอบคุณครับ เรื่องนี้เถียงกันมานานก็ำไม่มีข้อสรุปสักที แต่ถ้าจอดติดอยู่ที่ไฟแดงเป็นคันแรก ต่อให้อยู่เกียร์ D หรือ N ก็ควรจะเหยียบเบรคไว้ครับ เผื่อคันหลังมาชนเราจะได้ไม่หลุดไปกลางสี่แยก ทำให้เราเ้กิดอุบัติเหตได้ครับ

Link to comment
Share on other sites

ผมเองคงใส่ D ไว้ หากมีการหยุด ไม่นานเกินไป ถ้าเกิน 180 sec. คงเข้า N

อีกอย่าง

โดยมองต่างกันนะครับ

 

การสึกหรอของเบรค ที่บอกว่าจะสึกหรอมากในส่วนของท่อน้ำมัน หรือปั้มต่างๆ ในระยะเวลานานๆ อาจจะไม่ได้ระบุชัดเจน แต่ผมมองแค่ว่า ในการหยุดจอดติดไฟแดง น้อยมากที่จะสร้างความเสียหาย ชัดเจน และแรงดันน้ำมันเบรค ก็ไม่สามารถสร้างความเสียหายแก่ระบบท่อต่างๆแน่นอน เพราะท่อน้ำมันเผื่อแรงดันน้ำมันอย่างเพียงพอแล้ว หากแต่สายเก่าๆ รถ 10 ปีนั้นละ อาจจะเห็นผลได้บ้าง

 

รถที่ติดๆ ขยับและเบรค ถี่ๆ มีความเสี่ยงมากกว่าอีก เหยียบปล่อยๆๆ นั้นละครับ ยิ่งกำลังเครื่องในสถานะ idle running แล้ว.... ถือว่าน้อยมาก แรงบิดนิดเดียว ความเสียหายในระยะยาว มีหน่ะแน่นอน แต่ Linear fialure แทบจะแบนราบเลย

 

กินน้ำ มันหรือไม่ ก็คงกินมากกว่าตอนจอด D แต่คงไม่ต่างมาก เพราะใส่ N มันก็ running ตลอดเหมือนกัน ใส่ D คงเพิ่มมาอีก 100 รอบต่อนาที

 

แต่เท่าที่อ่านของเขามา สุดท้าย ก็ ไม่ได้สรุปชัดเจน คงขึ้นอยู่กับผู้ขับขี่อยู่ดี

 

 

แต่ขอบคุณมากครับ อ่านๆมาคิดตามได้เยอะเลย

Link to comment
Share on other sites

เปิดแอร์ขณะถ่ายภาพ Compressor ทำงาน

สถานะรถ

เปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ วิ่งมา 280Km. (2วัน)

ล้างลิ้นผีเสื้อใหม่ ( 7วัน )

จากระยะทาง ยังไม่ได้ตั้งบ่าวาล์ว

 

 

สถานะ P

1e6c7339a6.jpg

 

 

 

 

สถานะ N

080210b6ab.jpg

 

 

สถานะ D

9798557ad5.jpg

 

 

จากการดูเปรียบเทียบระหว่าง P N และ D   รอบเครื่องแทบไม่แตกต่างกันเลยในสถานะนี้ 

 

สมมติจากภาพเครื่อง idle running ที่ 800 rpm.  ในการเปลี่ยนเกียร์ในระดับต่างๆ รอบเครื่องแทบไม่มีความแตกต่างกันเลย

ทั้งในขณะ no load , และ load รอบเครื่องก็เท่าเดิม

Link to comment
Share on other sites

  • 2 weeks later...

ขอบคุณครับพี่จุ๊บ

 

ส่วนมากไฟแดงนานๆผมก็เปลี่ยนเป็น N ครับ

 

ถ้าจอดติดคันแรกก็ต้องดูเวลาว่าใกล้เขียวไหม. แล้วก็ค่อยเปลี่ยนไป D

 

เพราะเปลี่ยนจาก. N. ไป D. เร็วๆ รถจะดูเหมือนกระตุกบ้าง

Link to comment
Share on other sites

ขออนุญาติแชร์นะครับ

จากประสบการณ์ตรงของผม กะคันเก่า 323 Protege (ใช้งานทางไกลเยอะ ราวสามแสนโล)

ผมจะเข้า N ทุกครั้งเวลาติดไฟแดงหรือจอดนิ่งๆ

ปัญหาที่พบคือเกียร์จะกระตุกมากขึ้นที่ราวๆแสนแปดหมื่นโลและจะเข้า R ได้บ้างไม่ได้บ้าง

จนที่สุดต้องเปลี่ยนเกียร์ลูกใหม่

 

พอมา FD ผมเปลี่ยนมาเหยียบเบรคเข้า D ค้างไว้ตลอด

ยกเว้นติดนานจริงๆ เมื่อยจริงqก็ไป N

ปัจจุบัน 2 แสนโลแล้ว เกียร์ก็ยังอยู่ดีนะครับ

 

เข้าใจว่าทั้งสองกรณี อาจจะเปรียบเทียบกันไม่ได้เท่าไหร่ เพราะลักษณะการใช้งานต่างกัน รถก็คนละยี่ห้อ

แต่ผมก็จะเข้าศูนย์และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามคู่มือตลอด รถทั้งสองคันก็ขับเองคนเดียว ไม่มีคนอื่นขับ

 

มองในแง่ดี เกียร์ลูกนี้ของ Honda ค่อนข้างทนและดี การใช้งานเลยไม่ค่อยมีปัญหารึเปล่า

ก็ถือเป็นความโชคดีของชาว FD ไป

 

ล่าสุดเพิ่งถ่ายน้ำมันเกียร์ไป ร้สึกได้ว่าเกียร์ตอบสนองได้ลื่นขึ้นกว่าเดิม และยังประสิทธิภาพดีอยู่

 

สรุป ไม่อยากให้คิดมากครับ ใครเคยชินแบบไหนก็ใช้ตามนั้นดีกว่า  ใครห่วงว่าเข้า D แล้วจะพังก็ไม่ต้องห่วง

ผมก็ใช้มาสองแสนโลแล้ว ไม่พังครับ สบายใจได้

Link to comment
Share on other sites

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่ดี ตั้งแต่อ่านเรื่องแบบนี้

 

เวลาขับรถติดไฟแดง สมองสั่งการให้คิดทู้กที  :D  ว่า ถ้า 60 วิ+ N โลด ถ้า ต่ำกว่านั้น เบรคโลด T_T 

ถ้าแยกไหนไม่มีตัวเลขบอก อันนี้ยิ่งหนุกใหญ่เลยครับ - -

 

 

แต่ตะก่อนตอนยังไม่ได้อ่านบทความพวกนี้ ผมขับแล้วเพลินดีมีความสุข นั่งฟังเพลงชิวๆ เพราะ N ตลอดเลย 555+  :0141:

Link to comment
Share on other sites

  • 3 weeks later...

ผมว่าขับตามถนัดเถอะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นกังวลกันไป ขับไม่สนุกเอานะครับ :)  ยกตัวอย่างรถพี่ที่รู้จัก เกียร์Auto เป็น โรงเรียนสอนขับรถยนต์

ออกมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ สอนนักเรียนต่อวัน เอาเฉพาะท่าเดินหน้าถอยหลัง คนละ 2 ชม. วันนึงสอน 5 คน ลองคิดดูคร่าวๆนะครับ ว่าจะมีการ

เปลี่ยนเกียร์ N D R P วันนึงนับครั้งไม่ได้ ใช้มา 4 ปีแล้วเกียร์ ไม่มีความเสียหายอะไรนะครับ ผมว่าในเรื่องของการบำรุงรักษา เปลี่ยนถ่ายของเหลว

ตามความเหมาะสม น่าจะช่วยได้เยอะครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ดีๆครับ :)

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...