Jump to content

บทความรู้จักกับไฟXenon


Recommended Posts

มารู้จักกับไฟ ซีนอล กันคับ ( Xenon )
1. หลอด xenon คือ หลอดที่ทำงานเหมือนไฟแฟลชถ่ายรูป แสงสว่างเกิดจากการอาร์คของไฟฟ้าข้ามขั้ว (ขั้วห่างกัน 5 mm) ผ่านแกสแรงดันสูง (2 bar)
เทอร์โบอัดหนักๆ อัดกันที่แรงดัน 1.2-1.5 bar
พวกแข่งขันชิงสาว ชิงถ้วยรางวัลจะอัดกันที่ 2.4-2.5 bar ก่อนเครื่องกระจาย

2. แก็สในหลอด xenon เป็นแก๊สเฉื่อยชื่อ xenon และมีแก๊สอื่นๆปนหลายอย่าง

3. ไฟที่ใช้จุดหลอด xenon ให้ทำงาน มีแรงดัน 12,000-18,000 volts! เพราะแก๊สหรืออากาศปกติ ก็มีความต้านทานไฟฟ้าสูงมากๆ (เกือบอินฟินิตี้ .. ร้อยๆล้านโอห์มเลย) ยิ่งแก๊สในหลอด xenon ของเรา มีแรงดันสูง ยิ่งต้องใช้ไฟแรงสูงให้มันกระโดดข้ามได้ ที่เรียกๆ กัน (ผิดๆ) ว่ากล่องรีเลย์ หรือ (เรียกถูกต้องว่า) กล่องบัลลาสท์ มีหน้าที่นี้แหละ ... แปลงแรงดันจากไฟแบต 12 volts ให้สูงถึงเกือบสองหมื่นโวลท์
แต่เมื่ออาร์คเกิดแล้ว กล่องจะต้องลดแรงดันเหลือ 100-200 volts เพราะลำอาร์ค มีความต้านทานต่ำ (100 โอห์ม)
เมื่อลำอาร์คเสถียร ให้แสงสว่างเต็มที่ ความต้านทานจะลดลงอีก กล่องจะต้องลดแรงดันลงอีก ไม่อย่างนั้น ไหม้แน่นอน

การทำงานทุกอย่างที่ว่ามา ต้องเสร็จภายใน 1-2 วินาที กล่องบัลลาสท์ดีๆ ถึงได้แพงระเบิด

คำเตือน คำเตือน คำเตือน

แรงดันไฟฟ้าในกล่องบัลลาสท์ เป็นไฟฟ้าแรงดันสูงมาก (20,000 volts) และมีพลังงานสูงมาก
(200-300 joules) สามารถฆ่าคนถึงตายได้

4. เมื่อหลอดสว่างเต็มที่ แรงดันในหลอดจะสูงขึ้น 30-40 bar อุณหภูมิในหลอด จะสูงประมาณ 1200 องศาซี ความร้อนนี้ ลดลงไม่ได้ เพราะถ้าลดลง ลำอาร์คซึ่งเป็นพลาสมา จะดับทันที .. ถึงทำให้หลอดมีขนาดใหญ่มากไม่ได้ หลอดแบบนี้ ถ้าเป็นหลอดใหญ่ๆ จะใช้เป็นไฟส่องสว่างถนน
หลอดถึงต้องมีซีลสองชั้น .. กันระเบิด

หลอดธรรมดาๆ มีอุณหภูมิภายในแถวๆ 700 องศาซี และอุณหภูมิที่ผิวหลอดแก้ว ร้อยกว่าองศาเท่านั้น

5. ความสว่างของแสงที่ออก หน่วยวัดคือ L (ลูเมนส์ LUMENS) ไม่ใช่ K (Kelvin)
K เป็นหน่วยวัดเปรียบเทียบ ว่าที่สว่างๆนั้น ให้สีเสมือนของที่กำลังร้อนที่กี่องศา K เสมือนร้อนกี่ K นะ
ไม่ใช่ร้อนเท่านั้นๆ K จริง

6. ถ้าไปดู website ของ บ.ที่ผลิตหลอด xenon ระดับยักษ์ใหญ่ จะพบความจริงที่น่าตกใจ ที่เหมือนกันหมด ทุกบริษัทพูดเหมือนกันหมด คือ
หลอดซีนอนในรถยนต์ ยิ่งมีองศาสีสูง (K ยิ่งสูง) ความสว่าง (L) ยิ่งน้อย
หลอด 10,000K สว่างไม่ถึง 1/2 ของหลอด 5,000K
xenon ของ BMW/Benz มีค่าองศาสี แค่ 4300K เท่านั้น ... แต่ความสว่างแถวๆ 3,000-3,500L

หลอดโรงงานยี่ห้อดังๆ มีองศาสีสูงสุด 6000K

พวก 10,000-12,000K ... บ.ยักษ์ใหญ่ ไม่กล้าเอาผลิตใต้ชื่อตัวเอง ... กลัวโดนฟ้อง เพราะความสว่างแค่ 1,600-1,800L เท่านั้น

7. หลอดไฟมีไส้ธรรมดาๆ จะมีความสว่าง 1,200-1,500L และให้อุณหภูมิสีอยู่ที่ 2,800-3,200K
หลอด superbright จะสว่าง 1,500-1,800L และให้สีเสมือนมีอุณหภูมิ 3,300-3,500K

หลอดไต้หวันราคาถูกๆ จะสว่าง 1,800-2,000L โดยการเพิ่มขนาดของไส้หลอด ความต้านทานไส้ลดลง กินกระแสไฟฟ้ามากขึ้นเป็น 100-110w แทนที่จะเป็น 50/55w เหมือนหลอดธรรมดาๆ ... ไฟรถมีแรงดัน 12v หมายถึงกระแสไฟฟ้าไหลเข้าหลอด 10A แทนที่จะเป็น 5A

จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามากขึ้น (10A) จะทำให้ขั้วหลอดที่ไม่ดี
(มีความต้านทาน) ร้อนจัดจนขั้วละลายได้
จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที ... พลังงานไฟฟ้า ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแสงสว่างทั้งหมด แต่กลายเป็นพลังงานความร้อน(สูญเปล่า)
ความร้อนที่มากขึ้น เกินปกตินี้ จะทำให้ปรอทที่ฉาบไว้บนโคม ไหม้ หรือระเหย (หมอง)
ความร้อนไส้หลอดที่มากเกิน จะทำให้ไส้ขาดเร็ว

8. หลอด xenon เก๊ (zenon, xenan ฯลฯ) เป็นหลอดมีไส้ธรรมดาๆ แต่ใช้สีเคลือบหลอด เพื่อให้แสงไฟที่ออก มีสีเสมือนกับว่า เป็นหลอด xenon แท้

สีที่เคลือบ จะทำให้ความสว่างลดลง
หลอด plasma blue ของ PIAA ราคาแพง เพราะผลิตโดยทำให้ตัวแก้วของหลอด มีสีน้ำเงินจางๆ (ผสม cobalt เข้าไปในเนื้อแก้ว) ความสว่างจึงลดลงน้อย ไม่เกิน 20%

หลอดไต้หวัน หลอดจีนแดง หลอดโนเนม .. ใช้สีเคลือบราคาถูกๆ การที่ความสว่างจะลดลง 40-50% จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ดูเผินๆ เหมือนหลอดสว่างขึ้น เพราะเวลากลางคืน ตาคนเราไวต่อแสงสีน้ำเงินน้อย พอเห็นแสงสีน้ำเงินจ้าๆ จึงหลอกตัวเองว่า เห็นแสงสว่างมากๆ ถ้าไม่หลอกตัวเอง จะพบว่า ตอนกลางคืน ตาของคนเร็ว ไวต่อแสงสีแดง มากกว่าสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่า
นอกจากจะไวกว่าแล้ว ยังพร่ามัวเพราะแสงสีแดง น้อยกว่าแสงสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่าเช่นกัน

การใช้ของเก๊ ที่ให้แสงสว่างน้อยลง ให้แสงสว่างที่เห็นไม่ค่อยชัด ให้แสงสว่างที่ทำให้ตาพร่ามัวง่าย
โดยคิดว่า มันสว่างกว่า ชัดเจนกว่า
อันตรายไหมหละ?

9. หลอดไฟมีไส้ ทำงานโดยการเผาไส้หลอด (ด้วยกระแสไฟฟ้า) ให้ร้อนแดง ... ไส้หลอดจะระเหยออกไปบ้างเล็กน้อย ระเหยไปเคลือบที่ผิวหลอดด้านใน ใช้ไปนานๆ ไส้หลอดบางลง หลอดขาดหรือ ไส้หลอดยังไม่ทันบาง ไอโลหะเคลือบผิวหลอด จนแสงส่องผ่านน้อยลง (เหมือนฟิล์มปรอท) หลอดจึงบรรจุธาตุพวก halogen และแก๊สเฉื่อย ไว้เล็กน้อย เพื่อให้เกิด Halide cycle ซึ่งทำให้กระบวนการที่ว่ามาข้างบน
ไม่เกิดขึ้น

แต่ถ้าไส้หลอดร้อนจัดเกินไป กระบวนการ halide cycle ทำงานไม่ทัน ... ไส้หลอดขาดพั้วะ!
หลอด 100/110w ... สว่างจริง ขาดเร็วจริง เวลาเราเปลี่ยนหลอดไฟหน้า เราเปลี่ยนสองข้าง
(ก็อยากแต่งซิ่งนี่นา หรือใครเปลี่ยนข้างนึง 50w อีกข้าง 100w?) เวลาขาด .. มันจะขาดไล่เลี่ยกันมาก
เพราะอะไร?
ถ้าใส่ relay แยก หลอดใครหลอดมัน ก็แล้วไป
แต่ถ้าไม่ใส่ .. จะมีแรงดันตกคร่อมสูญหาย ในระบบสายไฟส่องสว่าง
V = IR
ตอนที่หลอด 2 หลอดทำงาน V ตกคร่อม = (I1 + I2) * R
เนื่องจาก I1 = I2 ฉนั้นแรงดันตกคร่อมสูญหาย = 2*I*R
แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - 2*I*R

แต่เมื่อหลอดหนึ่งขาด ไฟตกคร่อมจะเหลือ I*R
แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - I*R

หลอดที่ปริ่มๆจะขาด โดนแรงดันเพิ่ม ถึงจะอีกนิดก็เหอะ ... ขาดไหมหละ?
คำถามบ่อย & คำตอบไม่บ่อย
1.ค่า K ของหลอดไฟมีผลต่อความสว่างและสีของแสงที่ออกมาไหม

มีผล
ค่า K คือ อุณหภูมิสี (ไม่ใช่อุณหภูมิของไส้หลอด)ของแสงที่ออกมา โดยเทียบกับสีของของที่เผาจนร้อน จนอุณหภูมิที่ระบุ (กี่ K ก็ว่าไป)
หลอด 5000k คือ หลอดที่มีสีสันของแสงไฟ เหมือนของที่เผาจนร้อน 5500 องศา Kelvin

เน้น ... เน้น .... เน้น ...
สีสัน ไม่ใช่ความสว่าง และ ...
K ยิ่งมาก ดูเหมือนสว่างมากขึ้น แต่จริงๆแล้ว สว่างน้อยลง
ยิ่งหลอด xenon ยิ่งเห็นผลชัด หลอด 4100k ให้ความสว่างประมาณ 3500 lumens ในขณะที่หลอด 10,000-12,000 ให้ความสว่างไม่เกิน 2000 lumens

บ.ผลิตหลอด xenon ยี่ห้อดีๆ จะไม่ผลิตหลอดที่สีไฟเกิน 5500k โดยใช้ชื่อของบริษัทเองครับ
หลอดมีไส้ทั่วๆไป ให้ความสว่าง 1200-1800 lumens

2. ค่า K มีผลต่อความร้อนภายในโคมไฟหน้าไหม

ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด
ความร้อน และความสว่าง ขึ้นกับจำนวนวัตต์ของหลอด

3.ถ้า ค่า K มากๆจะทำให้โคมไฟหน้าขุ่นหรือละลายไหม (ถ้าเป็นโคมพลาสติก)
แล้วสรุปว่าค่า K คืออารัย? ประโยชน์คืออะไร? ยิ่งมาก ยิ่งทำไมหรือ?

ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด ฉะนั้น จะขุ่นหรือไม่ขุ่น ไม่ได้เกี่ยวกับค่า K
K ยิ่งสูง ก็แค่สวย
และที่เข้าใจผิดกันมากๆๆ คือ ค่า K ที่เหมาะสมที่สุดนั้นคือ 4100-5500 เท่านั้น (สีเหลือง หรือ เหลือง-ขาว)
เพราะในเวลากลางคืน ตาคนเรา ไวต่อแสงที่มีโทนสีร้อน (เหลือง) มากกว่าโทนสีเย็นหลายเท่า
ยิ่งแสงไฟ มีโทนสี K สูงเท่าไหร่ แสงที่สะท้อนกลับจากพื้นถนน หรือ วัตถุอื่นๆ จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ และเห็นไม่ชัดมากขึ้น

ถ้าของที่มีโทนสีสูง (K สูง) ดีกว่า K ต่ำ .. เราคงเห็นเส้นถนน ที่ระบุถึงอันตราย เป็นสีขาวอมม่วง แทนที่จะเป็นสีเหลืองไปนานแล้วครับ

4. หลอด xenon กินไฟน้อยกว่าหลอดธรรมดา แล้วทำไมฟิวส์เดี๋ยวขาดๆ หละ?

ตัวหลอด ไม่กินไฟ แต่บัลลาสท์กิน และยัดจ่ายไฟให้หลอด ต้องรักษาพลังงานให้คงที่ (P=35 watts +/- 10%)

ตอนเริ่มทำงาน วงจรภายในต้องดึงพลังงานมาสะสมในกล่อง .. เพื่อการจุดอาร์คด้วยพลังงานสูงมาก หลายๆครั้ง ได้พอเพียง

ก็เหมือนกับเล่นซับ ในเครื่องเสียง
แอมป์ 100 วัตต์ ขืนต่อฟิวส์ 100/12 .. 8 แอมป์เข้าไป ฟิวส์ขาดกระจาย! เพราะมันสามารถอัดได้ (สั้นๆ) ถึง 400 วัตต์

แค่ไฟแฟลชถ่ายรูปดวงกระจิ๋ว วงจรภายในยังต้องสะสมพลังงานไว้ถึง 15-50 joules เลย ... มากพอที่จะทำให้คนแกะไฟแฟลชออกมาเล่นโดยไม่รู้เรื่อง ร่วงลงไปกองกับพื้น
เสีย 2 หมื่นซื้อ Xenon ได้กลับมาแค่ฮาโลเจนคู่เดียว
บทความโดยคุณ Achura

ไม่รู้ว่าพาดหัวแรงไปหรือเปล่า แต่เรื่องของเรื่องคือ เพราะผมมีความปรารถนาอย่างแรงที่จะเปลี่ยนไฟหน้าของเจ้า SXV20 ตัวเก่งจากแบบฮาโลเจนไปเป็นแบบซีนอน (Xenon) หรือ HID (High Intensity Discharge) ด้วยคาดหวังว่ามันจะสว่างกว่าเดิมและโดยไม่ไปรบกวนสายตาคนที่ขับรถสวนมา
ปัจจุบันมีชุดคิต HID วางจำหน่ายในท้องตลาดอยู่หลายยี่ห้อ จากหลายตัวแทนจำหน่าย และในหลายระดับราคา ไล่ตั้งแต่แถวๆ 1 หมื่นบาทไปจนถึง 2 หมื่นกว่าบาท คำถามคือ "แล้วจะเลือกอย่างไหนดีล่ะ อย่างถูกหรืออย่างแพง แล้วยี่ห้อไหนดี" สถานการณ์บังคับให้ผมต้องเข้าเน็ต สถานที่ที่หลายคนบอกว่าคือห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจ จนกระทั่งได้พบกับสัจธรรม "เดิมๆน่ะ ดีอยู่แล้ว"

ทำไม??? ก็เพราะ

1.ค่า K ที่เขาใช้โฆษณา เช่น 7000K หรือ 12000K นั้น ไม่ใช่ตัวที่บ่งบอกถึงความสว่าง แต่เป็นค่าที่ใช้บอกเฉดสีของแสง

2.ความสว่างมีหน่วยเป็นลูเมนส์ (lm) แต่ค่า K หรือเคลวิน เป็นหน่วยของอุณหภูมิสี (Color Temperature)

3.ค่า K ของ HID จะแปรผกผันกับความสว่าง

4.HID ที่สว่างที่สุดคือ 4100K ซึ่งเป็น OEM ของรถทั่วโลก โดยมีค่าความสว่างอยู่ที่ 3200 ลูเมนส์

5.HID 5800K จะสว่างแค่ 2400 ลูเมนส์

6.HID 8000K จะสว่างเพียง 2000 ลูเมนส์ เทียบกับ 1700 ลูเมนส์ของหลอดฮาโลเจน 100 วัตต์

7.HID 12000K จะมีค่าความสว่างต่ำกว่า 2000 ลูเมนส์ (ผมเดาเอาว่าอยู่แถวๆฮาโลเจน 100 วัตต์นั่นแหละ ซึ่งเป็นที่มาของหัวเรื่อง)

8.HID 12000K-30000K จะเป็นแสงสีม่วง ที่เราคุ้นเคยกันในชื่อแสง "อุลตร้าไวโอเลต" (Ultra Violet) หรือ "แบล็คไลท์" (Black Light) (คิดดูสิว่ามันจะมองเห็นอะไรมั้ย)

9.HID 12000K แม้จะมีความสว่างเท่ากับหลอดฮาโลเจน หรือใกล้เคียง แต่มีข้อเสียมากกว่าคือ แสงฟุ้งกว่า ซึ่งเป็นธรรมชาติของแสงสีน้ำเงิน/ม่วง ทำให้ยอนตาคนที่ขับรถสวนทางมา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้ นอกจากนี้แสงสีน้ำเงิน/ม่วงของ HID 12000K ยังทำให้เราต้องใช้สายตาเพ่งมองวัตถุ เช่น ถนน มากกว่าปกติด้วย ทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาได้ง่ายและเร็วกว่า

10.โคมรถ SXV20 ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับไฟ HID ดังนั้นถ้าเอาชุด HID ใส่เข้าไป อาจทำให้แสงฟุ้งยอนตาคนที่ขับรถสวนทางมาได้ ปรับระดับโคมอย่างไรก็ไม่หาย เนื่องจากจุดกำเนิดแสงเปลี่ยนไป (บางยี่ห้อก็ไม่เพี้ยน) อันเป็นผลจากหลอด HID ที่มีดีไซน์ต่างไปจากหลอดฮาโลเจน (อันนี้วิศวกรน่าจะเข้าใจดี ส่วนคนอื่น ถ้าไม่เข้าใจ ก็ให้ถามวิศวกร)

HID (High Intensity Discharge) คือเทคโนโลยีไฟส่องสว่างที่ต่างไปจากระบบฮาโลเจนปกติ แสงของหลอดฮาโลเจนจะเกิดจากการเปล่งแสงของขดลวดความต้านทาน ขณะที่แสงของ HID จะเกิดจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้วิ่งผ่านก๊าซซีนอน คล้ายกับการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ การสปาร์คครั้งแรกจะใช้แรงดันไฟสูงถึง 25,000 โวลต์ ก่อนจะลดระดับลงมาเป็นไฟเลี้ยงที่ 35 วัตต์ 12 โวลต์

ข้อดีของ OEM HID 4100K คือ

1.กินไฟต่ำกว่าฮาโลเจน 3 เท่า (HID = 35 วัตต์, halogen = 55-100 วัตต์)

2.สว่างกว่าฮาโลเจน 4 เท่า (HID = 2400-3200 ลูเมนส์, halogen = 800-1700 ลูเมนส์)

3.มีความเข้มของแสงสูงกว่าฮาโลเจน 10 เท่า (HID = 202,500 แรงเทียน, halogen = 21,000 แรงเทียน)

4.อายุใช้งานนานกว่าฮาโลเจน 6 เท่า (HID = 2500 ชั่วโมง, halogen = 400 ชั่วโมง)

5.มีอินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลตต่ำกว่าฮาโลเจน ทั้งนี้อินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลตคือต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการล้าทางสายตา ทั้งของผู้ขับขี่เองและผู้ร่วมทาง

6.อุณหภูมิสีของ HID เป็นระดับที่ใกล้เคียงแสงธรรมชาติมากที่สุด และทำให้เห็นภาพวัตถุได้ชัดเจนที่สุด

7.หลอดฮาโลเจนที่มีอุณหภูมิสีระหว่าง 2300K-4000K จะมีความสว่างน้อยกว่าหลอดฮาโลเจนธรรมดา เพราะใช้ฟิลเตอร์ในการเปลี่ยนสีของแสง

8.แสงของ HID จะไปได้ไกลกว่า กว้างกว่า และมีแพ็ตเทิร์นของแสงที่ชัดเจนกว่า

ฟิลิปส์ (Philips) และออสแรม (Osram) คือ 2 ซัพพลายเออร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผลิต HID ส่งให้กับผู้ผลิตรถยนต์ทั้งค่ายยุโรปและค่ายญี่ปุ่น โดย HID ของฟิลิปส์และออสแรมจะมีอายุการใช้งานอยู่ระหว่าง 2000-2500 ชั่วโมง และมีอุณหภูมิสีอยู่ระหว่าง 4100K-5800K ซึ่งจะให้แสงใกล้เคียงแสงธรรมชาติที่สุด ส่วนอุณหภูมิสีที่สูงกว่านี้จะออกโทนฟ้า น้ำเงิน และม่วง ตามลำดับ

ทั้งฟิลิปส์และออสแรมไม่มีรายใดที่ผลิตหลอด HID ที่มีอุณหภูมิสีเกิน 6000K ดังนั้นหากพบชุดคิตที่มีอุณหภูมิสีสูงเกิน 6000K และบอกว่าเป็นฟิลิปส์หรือออสแรมทั้งชุดแล้ว สันนิษฐานไว้ก่อนว่าปลอม เพราะส่วนใหญ่ที่เห็นจะเข้าลักษณะว่า เฉพาะบัลลาสต์เท่านั้นที่เป็นของฟิลิปส์ แต่หลอดเป็นยี่ห้ออื่น

คุณกำลังเข้าใจผิด

ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายที่ผลิตชุดคิต HID 7000K, 8000K ไปจนถึง 12000K ออกจำหน่าย หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าหลอดซีนอน 7000K-12000K สว่างกว่า, คุ้มกว่า และประสิทธิภาพสูงกว่าหลอด OEM 4100K ความจริงคือ อุณหภูมิสี (เคลวิน; K) จะแปรผกผันกับความสว่าง (ลูเมนส์; lm) นัยหนึ่งคือถ้าค่า K สูงขึ้น ความสว่างจะน้อยลง

ตัวอย่างเช่น หลอด Philips OEM D2S 4100K ที่ 12.8 โวลต์จะให้ความสว่างที่ 3200 ลูเมนส์ ส่วนหลอด Philips Ultinon D2S 5800K ที่ 12.8 โวลต์จะให้ความสว่างที่ 2400 ลูเมนส์ ขณะที่บริษัทวิชั่น (Vision) ประเทศเกาหลี ระบุว่า หลอด 8000K ของวิชั่นจะมีความสว่างที่ 2000 ลูเมนส์ เทียบกับ 1700 ลูเมนส์ของหลอดฮาโลเจน (เดาว่าน่าจะเป็น 100 วัตต์) และ 800 ลูเมนส์ (หลอดฮาโลเจน 55 วัตต์)

ยิ่งกว่านั้น อุณหภูมิสีที่สูงยังฟุ้ง (Glare) เข้าตาผู้ร่วมทาง และทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาได้ง่ายกว่าด้วย ทั้งนี้การวิจัยของบริษัทในเยอรมนี, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริการะบุว่าอุณหภูมิสีที่ใกล้เคียงแสงธรรมชาติที่สุด มองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจนที่สุด และทำให้เกิดความเมื่อยล้าทางสายตาน้อยที่สุดคือ 4100K

สำหรับรถยุโรป เช่น Benz, BMW และ Audi ถ้ามองผ่านๆจะเห็นว่าไฟหน้า HID ของรถทั้ง 3 ยี่ห้อเป็นสีม่วง ทั้งๆที่ความจริงแล้วทั้งหมดใช้หลอด 4100K นั่นเป็นผลจากส่วนประกอบของโคมไฟหน้า ไม่ว่าจะเป็นตัวโปรเจกเตอร์ เลนส์ โคมสะท้อนแสง หรือแผ่นชิลด์ ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นเดียวกับแก้วปริซึม

เพราะแสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีพลังงานสูงสุดและไปได้ไกลที่สุดเทียบกับแสงสี อื่น ถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้วจะพบว่าแสงสีม่วงหรือน้ำเงินที่ออกมาจากโคมไฟหน้า ของรถ BMW นั้น จะออกมาเฉพาะตรงขอบด้านข้างหรือด้านบน/ล่างเท่านั้น พื้นที่ตรงกลางยังคงเป็นแสงสีขาวปกติ

การใช้ HID สีน้ำเงินหรือม่วงไม่เพียงแค่ทำให้สมรรถนะของระบบไฟหน้าลดลงเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายกับผู้ร่วมทางด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถสวนมา เพราะแสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีการกระจายตัวสูง บุคลิกของมันจึงชอบแพร่กระจายออกไปทางด้านข้างมากกว่าจะพุ่งตรงไปข้างหน้า ผลก็คือเกิดการฟุ้งของแสงออกนอกแพ็ตเทิร์นที่ทางผู้ผลิตรถยนต์ได้ออกแบบไว้ และยอนเข้าตาของผู้ที่ขับรถสวนทางมา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุรุนแรงได้

แสงสีน้ำเงินยังทำให้ทุกอย่างบนถนนเป็นสีน้ำเงินตามไปด้วย แถมความสว่างก็อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ต้องเพ่งและใช้สายตามากกว่าปกติ นัยหนึ่งคือสายตาจะล้าเร็วและง่ายกว่า เทียบกับแสงจากหลอดฮาโลเจน

ด้วยเหตุนี้ ทหารจึงระบุให้ใช้แสงสีแดงในการส่องดูแผนที่หรือตารางต่างๆในตอนกลางคืน มากกว่าจะใช้แสงสีอื่น เพราะแสงสีแดงจะตรงกันข้ามกับแสงสีน้ำเงิน ไม่เบิร์นสายตา ทำให้ไม่ต้องปรับสายตามากนักเวลาที่อ่านแผนที่เสร็จแล้วกลับไปมองผ่านความ มืดอีกครั้ง ตรงกันข้ามกับแสงสีน้ำเงินที่จะทำให้ตาคุณบอดไปชั่วขณะหนึ่ง

นอกจากนี้ แสงสีฟ้าหรือม่วงยังมีความเข้มของแสงต่ำกว่าแสงสีขาว เพราะแสงสีขาวเป็นแสงที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีแดง เขียว น้ำเงิน และเหลืองในสัดส่วนที่เท่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีความเข้มกว่าแสงสีใดสีหนึ่งอยู่แล้ว
HID 8000K แสดงให้เห็นการฟุ้งของแสง ไม่สามารถควบคุมได้ สังเกตจากเส้นตัด (Cut Off) ที่ไม่ชัดเจนระหว่างส่วนสว่างกับส่วนมืด

HID 4100K เส้นตัดจะชัดเจน แสงไม่ฟุ้ง

ลองทำใจเย็นๆ ก่อนไปค้นหาคำว่า xenon, ซีนอน, ซีนอล ในเวบบอร์ดรถยนต์ต่างๆของไทย จะพบว่า ในบรรดาผู้ที่ติดตั้งไปก่อนแล้ว เจอปัญหาเพียบ

นี่คือ ปัญหาที่ผมรวบรวมมาจากเกือบสิบเวบบอร์ด (อคติของผม) ที่เกิดจากไฟซีนอน (อันติดตั้งผิดๆ)
มีไม่กี่ปัญหาหรอกครับ แต่ผลคือ .. ขายทิ้งกันเป็นทิวแถว! หลายๆคน ติดไปได้แค่ 2 อาทิตย์ก็ขายทิ้ง ...

1. ไฟที่ค่า K สูงๆ (เกิน 10,000) สวยมาก แต่มองถนนมืดๆ ไม่เห็น โดยเฉพาะถนนแคบๆ ต่างจังหวัด ที่ข้างทางเป็นหญ้า แม้ในถนนหลวงสายเมน บางแห่ง แทบมองไม่เห็นเส้นขอบทางด้วยซ้ำไป

2. หนักที่สุดคือ ไฟที่ค่า K เกิน 10,000 ในโคมแบบเก่า จะโดนฝนไม่ได้เลย

หลายๆคน ในหลายๆกระทู้ เข้ามาบอกเพื่อนๆว่า ตอนฝนตก ต้องปิดไฟต่ำ (xenon) แล้วเปิด spot light เอาแทน

หน้าหนาว .. ฝนไม่ตกแล้ว หมอกแถวๆกรุงเทพก็ไม่มี กว่าจะรู้อีกที ก็ต้องปีหน้า

3. ไฟต่ำ สว่างกว่าไฟสูง เมื่อโดนรถสวนดิ๊ปไฟเตือน ไม่สามารถดิ๊ปไฟตอบได้ว่า ฉันกำลังใช้ไฟต่ำอยู่นะ
เพราะดิ๊ปไป เขาก็ยังมองไม่เห็นอยู่ดี

4. ปัญหาข้อสาม ยิ่งเป็นหนักกับรถที่ใช้หลอด H4 แบบที่แปลงเอาจากหลอด D2 เพื่อไปใส่โคมรุ่นเก่า เพราะตำแหน่งของไส้หลอด (จุดเกิดแสง) ของหลอด ไม่ตรงกัน การดัดแปลง จะทำโดยเอาหลอดไส้เดี่ยว (H1) มาวางข้างๆหลอดซีนอน โดยภาวนาว่า มันจะตรงตำแหน่ง ทั้งที่รู้ๆอยู่ว่า ตำแหน่งไส้ไฟสูงไฟต่ำในหลอด H4 มันมีตำแหน่งเป๊ะๆของมัน ผิดไปแค่มิลลิเมตรเดียวก็ก่อปัญหาแล้ว แต่ก็ยังจะทำ

5. การดัดแปลงหลอด D2 ซึ่งเป็นหลอดที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ โคมไฟหลอดซีนอนโดยเฉพาะ เพื่อให้ใส่ลงไปแทนหลอด H1/H4 ได้ มันไม่เห็นผลตอนใช้ปกติ, ในเมืองหลวง, หรือตอนใช้ใหม่ๆ (กำลังเห่อ)
แต่พอยามไม่ปกติ (ฝนตก, รถสวนเขวี้ยงก้อนหินใส่) .. จะทำอย่างไร?

ต้องปรับองศาไฟ ให้ลงต่ำสุดเท่าที่จะต่ำได้

พอปรับองศาไฟลงต่ำ ไฟสูงก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะโคมไฟที่ใช้หลอด H4 มันควบคุมลำแสงทั้งไฟสูงและไฟต่ำ

6. ก้นหลอดมีไส้ (ฮาโลเจน) มันเล็กนิดเดียว (ราวๆ 25 มิล) ในขณะที่ฐานหลอด D2 มันไม่เล็กนา การยัดซีนอนลงไปในโคมฮาโลเจนให้ได้ มันฟิตเปรี๊ยะทีเดียว .. แต่ก็พอยัดไหว?? ดูรูปหลอด D2 ข้างบนให้ดีๆ จะเห็นว่า มันมีลวดตัวนำที่หุ้มด้วยเซรามิคอยู่ .. เห็นไหมครับ
เซรามิคนั่น แสนจะบอบบาง .. แต่ต้องทนความร้อนสูงให้ได้ (สองร้อยกว่าองศา) และทนแรงดันสูงให้ได้ด้วย (สองหมื่นโวลท์) ถ้ามีรอยแตกนิดเดียว ถ้าเปลี่ยนหลอดไม่ทัน .. เตรียมเปลี่ยนบัลลาสท์ใหม่ได้เลย
เพราะการจะถอดออกมาเอาเทปพัน .. ยังหาเทปที่ทนแรงดันสองหมื่นโวลท์ไม่ได้เลยอ่ะ

7. ฐานหลอด D2 หนะ ร้อนร้อยกว่าองศานะจ๊าาาาาาาาา
จะดัดแปลงให้ใส่แทนหลอด H อะไรก็เหอะ .. เอาอะไรยึดติดกับฐาน H หละ?
อีพ็อกซี่ทั่วๆไป มันทนได้แค่ 80-100 องศาเท่านั้น บางยี่ห้ออาจทนได้ถึง 120 องศา

ใครหาอีพ็อกซี่ ที่ทนได้ 250 องศามั่ง? จะได้เอามาดัดแปลงมั่ง ใช้ไป ใช้ไป ... อีพ็อกซี่ทนไม่ไหว ก็สะเทือนขยับไปตามเรื่อง และอีกไม่นาน .. ได้เปลี่ยนหลอด ของมันบอบบางจะตาย

8. พวกแปลงๆหลอดมาใส่ รู้มั่งไหมเอ่ยว่า ทั้ง Phillips และ Osram (ผู้ผลิตหลอดรวมแล้วกว่า 80% ของทั้งหมด) ... พูดถึงเรื่องแนวการวางหลอดไว้ว่าอย่างไร?
หลอดจะต้องอยู่ในแนวราบ เอียงได้ไม่เกิน +/- 10 องศา ภายในหลอด ตอนทำงานหนะ .. อุณหภูมิหลายพันองศา แรงกดดันสามสิบสี่สิบเท่าบรรยากาศ ทุกอย่างอยู่ได้ด้วยสมดุลย์ ถ้าวางเอียงเพี้ยนจากแนวระดับ แผ่นโลหะขั้วหลอด (pinch) จะได้รับความร้อนมากกว่าปกติ หรือไหม้ หรือระเหย ทำให้แสงเริ่มออกมาเป็นสีเหลืองๆ ก่อนจะเสียไปในเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมงหลังใช้งาน หรือ หลอดร้าวเสียไปเลย

9. พูดถึงสองยักษ์ใหญ่นั่น ไม่มีเจ้าไหนที่ผลิตหลอด H ออกมาซักเจ้า ขืนผลิต .. โดนทั้งรัฐบาลอเมริกา และ EU ฟ้องล่มจมเด็ดๆ EU และ USA ห้ามติดตั้งหลอด xenon (หลอด D) ในโคมไฟที่ออกแบบมาให้ใช้กับหลอด H

10. พูดถึงเรื่องแปลงหลอด ระวังให้ดีนะ .. การตัดยางหุ้มท้ายขั้วหลอด เป็นเรื่องต้องห้าม พอๆกับวางบัลลาสท์ให้โดนน้ำได้ ทั้งบัลลาสท์ และหลอด เป็นโรคกลัวน้ำอย่างรุนแรง ลำพังความชื้นจากฝน จากหมอก มันไม่เท่าไหร่หรอก แต่ถ้าโดนน้ำฉีดล้างห้องเครื่องเข้าไป ... ฮิฮิ ... บรึ้ม! สองหมื่นลงถังขยะ!!

11. บริษัทยักษ์ กลัวโดนฟ้อง .. เสปกเลยต้องระบุชัดๆ หลอดซีนอน เปิดปิดบ่อยไม่ได้ แค่การเปิด-ปิด เกินสามครั้งต่อชั่วโมง จะทำให้อายุหลอดลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง วัยสะรุ่นบ้านเรา ไม่รู้ ... ต๊าดเครื่องบรึ้นไปหน้าปากซอย ดับเครื่อง แล้วบรึ้นใหม่ไปมหา'ลัย ก่อนไปรับสาว ฯลฯ ชั่วโมงนึงเปิดปิดเป็นสิบหน .. พังอะดิ
ม่ายเป็นไร .. ร้านขายหลอด ยังไม่รู้เรื่องนี้... ร้านดีๆ ก็รับเคลม (พวกขายหลอดในเน็ต อย่าเอาปืนมายิงผมหละ)

12. ข้อที่หนึ่งโหลพอดี คำเตือนอันตรายข้อสูดท้าย (ใครจะโดนก่อน) หลอดซีนอน เป็นของอันตรายมาก
แรงดันไฟสูงมาก ความร้อนสูงมาก แรงดันภายในหลอดตอนทำงานก็สูงมากๆๆเช่นกัน

การทดลองว่าหลอดใช้ได้หรือไม่ ต้องใช้เวลาในการเปิดหลอด ไม่น้อยกว่า 30 วินาที
ถ้าหลอดมีข้อบกพร่อง เช่นเซรามิคที่หุ้มเส้นลวดข้างหลอดแตก ไฟสูงรั่ว
ถ้าหลอดเปื้อนเหงื่อ หลอดจะรั่ว
ถ้าวางหลอดไม่ได้ระดับ หลอดจะร้าว ขั้วจะไหม้ แรงดันในหลอดจะสูงเกิน ฯลฯ

เมื่อรวมทั้งหมดนี้ หลอดซีนอนที่ทำงานอยู่ และแสงไฟติดเต็มที่ พร้อมที่จะระเบิดใส่คุณ

โปรดใช้ความระมัดระวังในการทดสอบหลอด

13. ข้อที่สิบสาม โชคร้าย จะทำอย่างไร ถ้าหลอด หรือบัลลาสท์ เกิดเสียไปข้างหนึ่ง?
ใช้หลอดเดิม? .. สวย เท่ห์ตายหละ .. ซีนอนสีฟ้าข้าง หลอดมีไส้สีเหลืองซีดๆอีกข้าง
เปลี่ยนหลอด xenon ใหม่? ฮิฮิฮิ .. ไม่รู้หละสิว่า ... ค่า K ของหลอดซีนอน เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน .. หลอดสองข้าง ข้างหละสี ... ขนาดหลอดยี่ห้อเดียวกัน ผลิตต่างวันเวลา สียังเพี้ยนเลย (ไปถามพวกใจกล้าๆ ใน racingweb ดูดิ .. เปลี่ยนหลอดที น้ำตาตก) -------------------------------------
อย่าลืม อย่าลืม อย่าลืม
ค่า K ยิ่งสูง ยิ่งสวย และยิ่งไม่เหมาะกับการใช้งาน โดยเฉพาะเจอฝนเจอหมอก


ที่มา.. Racing web.net

Link to comment
Share on other sites

เสริมนิดนึงข้อง 13 ครับ เรื่องค่า K ของหลอดซีนอน เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน

 

หลอด philips 85122 + (D2S) แหละหลอด philips 85126 + (D2R)

 

หลอด philips ที่มีเครื่องหมาย + ตามหลังรุ่นเขารับประกันค่าสีจะไม่เปลี่ยนตลอดอายุการใช้งานครับ แต่ปัจจะบันทาง philips ได้เลิกผลิตไปแล้ว 

 

http://www.theretrofitsource.com/product_info.php?products_id=148

 

http://www.philips.com/search/search?type=search&searchtext=xenon&n=&q=85122+%2B&language=en&country=global&sid=header

 

 

133818202_original-philips-xenon-brenner$(KGrHqN,!pkE7BcvhJ+hBO3R5lvgYQ~~60_35.J

Link to comment
Share on other sites

เคยใช้ของ Boss ใช้มาเกือบครึ่งปีหลอดขาด

 

เปลี่ยนมาใช้ของ HID ใช้มาจะสองปีแล้วไม่มีปัญหาเลย หลอดเขาสเถียรจริง

Link to comment
Share on other sites

  • 10 months later...

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...