Jump to content

koko_power

CCTH Member
  • Posts

    166
  • Joined

  • Last visited

Everything posted by koko_power

  1. มาลองทดสอบ จาน FD2.0 กัน <a href="http://www.mx7.com/view2/yGjGmXM237DnoquL"target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/t/d61/YiipQa.JPG" /></a>
  2. เอาผลการทดสอบ ผ้าเบรค Hisoft Premium V.2 + จานเบรค TRW มาให้ชมกันครับ หลังจาก ทดสอบ เป็นระยะเวลา 1 ปี 2 เดือน ระยะทางประมาณ 40,000 กม.(ตอนใส่ 240,000 ปัจจุบัน 270,000 กม.
  3. ผลทดสอบ สรุป เปลี่ยน คาลิปเปอร์ FD2.0 จานFD2.0 คอม้าเดิม จานรองอันเดิม + ผ้าเบรค Hisoft Premium V.2 การเบรค ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ มีแรงดูดมหาศาล เสียงจี๊ดๆ หายไป ตอนชะลอเบรค คุ้มค่ากับเงิน 4400.- ที่ลงทุนไปจริงๆ ครับ
  4. ทำสีเองครับ อาจจะดูไม่สวย เยิ้มๆ บ้าง
  5. N500 น่าจะเหมาะกับในสนามแข่ง เคยดูกราฟค่า มิว สปส ความเสียดทาน พวกนี้จะทำงานได้ดีที่อุณหภูมิสูง ช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า 200 ลงมา จะทำงานได้ไม่เต็มที่... อยากทราบของ Compact nano เกรดตัวแพง 1200+.-บาท เคยใช้ตัว 800.- บาท แล้ว ไม่ค่อยประทับใจ ลื่นมากกกก ใช้ เดือนเดียว เปลี่ยน.....ทันที
  6. รอท่านอื่นๆ มารีวิว ผ้าเบรค ตัวอื่นบ้างครับ....ตอนนี้อยากทราบว่าของ TRW เป็นยังไงบ้าง...
  7. ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ ในรถอีกคัน ผมก็ใช้ผ้าเบรค MU อยู่ระยะเบรคก็ยังถือว่าดีครับ ใช้มา 25.000 กม. แล้ว ยังใช้งานได้ดีอยู่... แต่ผ้าเบรคยุ่ย....หลังๆ น่าจะเกี่ยวกับล๊อตการผลิต ส่วนเรื่องเสียงดัง กึกๆ ของผมเป็นตอนล้างรถใหม่ๆ หรือผ้าเบรคเย็นครับ พอจานเบรคร้อน ผ้าเบรคร้อน ไม่มีเสียงแต่ประการใด ภาพรวม ดีกว่าของ 0 และค่ายดัง B อย่างแน่นอน...
  8. ฝากผ้าเบรค Hisoft Premium V.2 ไว้พิจารณาด้วยครับ โดยปกติผมเป็นคนขับรถเร็ว ประมาณ 140 km./hr ขับมุดมาทำงานเกือบทุกวัน เนื่องจากตื่นสาย อิอิ จากกิ่งแก้ว มางามวงวาน ระยะทาง 42 กม. โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ เลยสักครั้ง....เป็นระยะเวลา 3 ปี แล้ว ข้อดี -การขับจี้ตูดกันในเมืองมั่นใจดี -การเบรคที่ความเร็วกลาง และความเร็วสูงทำได้ดี -การเบรค เหมือนดูดรถลงไป หัวไม่ทิ่ม -การเบรคฉุกเฉิน ทำได้ดี ช่วยให้รอดต่นมาหลายครั้งแล้ว ข้อเสีย -ช่วงออกรถใหม่ๆ ผ้าเบรกเย้น จะยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ให้เลียเบรค สักหน่อย ช่วงออกตัว -อาจจะมีเสียงแหลมจี๊ดบ้าง ในขณะที่เลียเบรค จ่ายเงินค่าทางด่วน ไม่พอใจยินดีคืนเงินครับ สนใจ ลองโทรมาคุยกันได้ครับ 0830509599 LINE : Oapeapower2 ราคาไม่แพงครับ 1250.- แต่คุณภาพดีกว่าของ 0 และ ค่ายดัง แน่นอน อาจจะเป็นรอง แนว Racing 2-3 ค่าย ด้านบน แต่ผมมองว่า คุ้มค่าการใช้งานครับ...กับราคานี้....
  9. ตอบกลับคุณ Lhorn ดูแล้วมันเหมือนกินผ้าเบรคด้านเดียวนะครับ.........อยากดูรูปผ้าเบรค(ด้านล้อขวา)อีกด้าน ครับ ว่ามีอาการเหมือนกับด้านซ้าย หรือเปล่า ? ปกติจะเจอแต่ปัญหา เสียงแหลมจี๊ด ช่วงเลียเบรค เพื่อชะลอรถตอนจ่ายค่าทางด่วน ส่วนเรื่องผ้าเบรคไหม้ ยังไม่เคยเจอนะครับ.......เป็นกรณีศึกษา ที่ดีเลย ผ้าเบรคยุ่ย เคยเจอแต่ของค่ายอื่น...........แต่ถ้าเป้นผ้าเบรครุ่นนี้ ต้องไปดูที่ล๊อตการผลิตแล้วครับ ว่าคนอื่นมีปัญหาเหมือนกันหรือเปล่า
  10. ตอนนี้ไปสอบถามเชียงกง บางพลี ราคา อุ๊ดดิซี่ จาน 300 mm. ขึ้นเป็น 3500.- แล้ว อิอิ...
  11. ความรู้เรื่องผ้าเบรค เห็นว่ารถของหลายๆท่านถึงวาระที่จะต้องเปลี่ยนผ้าเบรคกันแล้ว และหลายท่านก็ลังเล ของศูนย์หรือเปลี่ยนข้างนอกดีกว่า ลองอ่านเอาไว้เป็นความรู้และช่วยตัดสินใจดูนะครับ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผ้าดิสก์เบรก ชนิดของผ้าดิสก์เบรก ผ้าดิสก์เบรกที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดขณะนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้ 1. กลุ่มผ้าดิสก์เบรกราคาถูกทั่วไปที่มีส่วนผสมของสาร Asbestos หรือที่เรียกกันว่า "ผ้าใบ" จะมีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ คุณสมบัติในการเบรก จะใช้ได้ในความเร็วต่ำๆ หรือระยะต้นๆ แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ประสิทธิภาพในการเบรกจะลดลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ อายุการใช้งานจะสั้น ผ้าดิสก์เบรกหมดเร็ว นอกจากนั้นแร่ใยหินมีผลต่อสุขภาพ ในปัจจุบันจึงมีการใช้น้อยลง 2. กลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของสาร Asbestor หรือกลุ่ม Non-organic แบ่งออกเป็น 2ชนิด คือ 2.1 ชนิดที่มีส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นโลหะ (Semi-metallic) จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจากยุโรป หรืออเมริกา เช่น Bendix Mintex 2.2 ชนิดที่มีส่วนผสมของสารอนินทรีย์อื่นๆ จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเช่น Akebono ทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นผ้าดิสก์เบรกที่เกรดใกล้เคียงกัน คุณสมบัติที่สำคัญของผ้าดิสก์เบรก สัมประสิทธิ์ของความฝืด ผ้าดิสก์เบรกที่มีสัมประสิทธิ์ของความฝืดสูง จะมีผลต่อการเบรกได้ดีกว่า เป็นผลให้สามารถสร้างกลไกเบรกให้เล็กลงได้ และต้องการแรงเหยียบเบรกน้อยลง อย่างไรก็ตาม เบรกที่มีสัมประสิทธิ์สูงทำให้ยากต่อการควบคุม ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาศูนย์ล้อให้ถูกต้องให้สอดคล้องกันด้วย ความทนทานต่อการสึกหรอ การสึกหรอของผ้าดิสก์เบรกเปลี่ยนแปลงไปตามความเร็วของรถยนต์ และอุณหภูมิเบรก อย่างไรก็ตาม ผ้าดิสก์เบรกที่ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี จะเป็นเหตุให้จานเบรกเกิดการสึกหรอ หรือเกิดรอยมากเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของรถไม่ต้องการ การเบรกไม่อยู่ และการชดเชย เมื่ออุณหภูมิของผ้าเบรกเพิ่มขึ้น เนื่องจากความฝืดซึ่งทำให้เกิดความร้อน สัมประสิทธิ์ทางความฝืดจะลดลง และผลในการเบรกลดลง เป็นเหตุให้การเบรกไม่มีความแน่นอน ปรากฎการณ์นี้เป็นที่ทราบกันคือการเบรกไม่อยู่ เมื่อเบรกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุให้สัมประสิทธิ์ลดลง ผ้าเบรกจะต้องสามารถเย็นลงไปสู่สัมประสิทธิ์เดิมได้ เรียกว่า การชดเชยผ้าเบรกที่มีการเปลี่ยนแปลงสัมประสิทธิ์ไปตามอุณหภูมิน้อย เป็นผ้าเบรกชนิดที่คุณภาพดี อย่างไรก็ตาม ตามความจริงผ้าเบรกที่มีพื้นที่น้อยจะมีความร้อนได้ง่ายกว่า ทำให้สัมประสิทธิ์ลดลง และมีผลต่อประสิทธิภาพในการเบรก การเบรกไม่อยู่ก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการที่ผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกไม่ถูกต้อง และการที่ผ้าเบรกจับไม่สม่ำเสมอก็จะเป็นสาเหตุให้เบรกดึงข้างไดข้างหนึ่ง ผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกข้างซ้ายและขวาไม่จับที่ตำแหน่งเดียวกัน หรือจับไม่เท่ากันก็จะเป็นเหตุให้อุณหภูมิของเบรกทั้ง2ข้างไม่เท่ากัน ทำให้เบรกดึงไปข้างใดข้างหนึ่ง การเปรียบเทียบคุณสมบัติของผ้าเบรกAsbestos กับ Metallic เปรียบเทียบความฝืด(Friction) กับอุณหภูมิ(Temperature) - ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่มีเกิดความร้อน ผ้าเบรก Asbestos จะมีความฝืดมากกว่าผ้าเบรก Metallic - แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง หรือผ้าเบรกเกิดความร้อน มีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว ผ้าเบรก Metallic จะมีความฝืดมากกว่า ผ้าเบรก Asbestos นั่นคือ ในช่วงแรกของการใช้งาน เมื่อรถเคลื่อนตัว ผ้าเบรก Asbestos จะเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรก Metallic แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ผ้าเบรก Metallic จะสามารถเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรก Asbestos เปรียบเทียบการสึก หรือการหมดของผ้าเบรก กับอุณหภูมิ - ณ ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่เกิดความร้อน การสึกของผ้าเบรก Metallic กับผ้าเบรก Asbestos จะพอๆกัน - เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ผ้าเบรก Asbestos จะมีการสึกหรอมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ผ้าเบรก Metallic การสึกหรอจะค่อยลดลง นั่นก็คือความทนทานต่อการสึกหรอ ของผ้าเบรก Metallic จะสูงกว่าผ้าเบรก Asbestos ควรเปลี่ยนผ้าเบรกเมื่อใด โดยทั่วไปเค้าจะกำหนดให้ตรวจสอบผ้าเบรกกันทุก 3 เดือนหรือประมาณ 5,000 กม.ซึ่งถ้าทำได้มันจะเป็นการดี ส่วนอายุ การใช้ งานของผ้าเบรกนั้น ตอบยากว่ามันจะอยู่กับตัวแปรหลายต่อหลายอย่าง เช่นชนิดหรือคุณภาพของผ้าเบรก น้ำหนักรถ หรือ การใช้งาน เพื่อความสะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถ พวกรถรุ่นใหม่ที่มีค่าตัวค่อนข้างสูง เค้ามักจะมีระบบไฟเตือนเบรก (Wear Indica- tor) อยู่บนแผงหน้าปัทม์ ถ้าไฟเตือนนี้ติดโชว์แสดงว่ามีปัญหากับระบบเบรก อาจเป็นที่น้ำมันเบรกมีน้อยกว่า ระดับที่ เหมาะสม หรือผ้าเบรกสึก เหลือบางกว่าที่ควร สำหรับรถบางประเภทอย่างเช่นพวกรถกระบะ จะนิยมใช้การเตือนด้วยเสียงแทน เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจาก ตัวเหล็กที่ยึดติดกับแผ่น ดิสค์เบรกขูดไปบนขอบของจานเบรค เป็นการเตือนว่าผ้าเบรกมีความหนาน้อยกว่า 3 มม. สมควรที่จะรีบ เปลี่ยนได้แล้ว ส่วนพวกรถรุ่นเก่าๆ บางรุ่นที่ไม่มีสัญญาณเตือนอะไรเลย ถ้าเกิดเสียงดังตอน เบรกขึ้นมา เมื่อไร ก็หมายความว่าผ้าเบรก สึกหมดจนถึงแผ่นเหล็กซะแล้ว และแน่นอนว่า มันย่อมสร้างความ เสียหาย ให้ กับจานดิสค์เบรกได้ บางทีถึงกับต้องเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เลยก็มี พวกรถประเภทนี้ เจ้าของจะต้อง ขยัน ถอดล้อออกมาตรวจความหนาของผ้าเบรกบ่อยๆ หรือใช้การคาดเดา จาก ระยะเวลาที่เคย ใช้กับผ้าเบรก ชุดก่อน คือต้องจำไว้ว่าผ้าเบรกหมด จนต้องเปลี่ยนใหม่ หลังจาก ใช้งานไปได้กี่กิโลเมตร ในบางครั้งเรา ก็สามารถตรวจ เช็คความหนาของเบรกได้จากความรู้สึก ในการเหยียบเบรก เช่น อาจจะรู้สึกว่าคันเหยียบเบรกต่ำกว่าปกติ หรือผ้าเบรกคลื่นต้องใช้แรง กดเท้ามากกว่าที่เคยในการหยุดรถ นอกจากนี้ เรายัง พอดูได้ จากระดับของน้ำมันในกระปุกน้ำมันเบรก ถ้าพบว่ามันลดต่ำมากกว่าปกติแต่ ไม่พบการรั่วไหลของน้ำมันในกระปุกน้ำมันเบรก อาจเป็นไปได้ว่าผ้าเบรกบางลงมาก ทำให้แม่ปั้มที่คาลิเปอร์เบรคต้องยืดตัวออกมา มากระดับของน้ำมันเบรก ในกระปุกเลย ยุบตัว ลงมาด้วย จากการใช้งานจะพบว่าผ้าเบรกด้านหน้าจะมีการสึกหรอมากกว่าด้านหลังโดย เฉพาะพวกที่ใช้ระบบเบรกแบบ หน้าดิสค์ หลังดรัม ส่วนใหญ่ผ้าเบรกดิสค์ด้านหน้าต้องเปลี่ยน 2 ครั้งจึงจะได้เวลาเปลี่ยนผ้าดรัมเบรก หลัง 1 ครั้ง เรื่องของผ้าเบรก สมัยก่อนในผ้าเบรกจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือสาร "แอสเบสตอส" (สมัยนี้ ก็ยังพอมีอยู่) เนื่องจากมันมีราคาถูกเวลาเบรกก็เสียงเงียบดี อีกด้วย นอกจากนี้ เวลาใช้แล้วกระทะล้อจะไม่ดูสกปรก เพราะฝุ่นของมันจะมีสีขาว ใกล้เคียงกับ สีของ กระทะล้อแม็ก แต่ข้อเสียของมันก็ มีเนื่องจากสาร แอสเบสตอสนี้ จะปลิว คละคลุ้งปะปนอยู่ในอากาศ เมื่อหายใจจะสูดเอาฝุ่นของสารนี้เข้าไปด้วย มันจะเข้า ไปฝังตัวในปอด ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในการผลิตผ้าเบรกยุคก่อนๆ สารที่ใช้เป็นตัวยึดเกาะผ้าเบรก ให้คงทนอยู่ในสภาพเป็นแผ่นนั้นมักจะมีคุณ ภาพต่ำ ทนความร้อนได้ไม่สูงนัก เวลาใช้เบรกกัน บ่อยๆ จะเกิดความร้อนทำให้เบรกมีอาการ Fade ประสิทธิภาพในการจับตัวลดลง เมื่ออยากจะหยุด รถจึงต้องออกแรง เหยียบเบรก กันมากกว่าปกติ เค้าจึงมีการแบ่งเกรดตามระดับการใช้งาน คือ เกรด S จะมีเนื้อนิ่ม จับ ตัวได้ดีตั้งแต่ช่วงความเร็วต่ำ แต่ถ้าใช้เบรก ในช่วงความเร็วสูงก็จะเกิดการ Fade ได้ง่าย และเกรด R ระดับรถแข่ง จะผสมโลหะ เข้าไปในเนื้อผ้าเบรกค่อนข้างเยอะ แม้จะ เบรก กันรุนแรงในช่วงความเร็วสูงอาการ Fade จะมีน้อยสามารถทนความร้อนได้ดีกว่า แต่ การจับตัวในช่วงที่เบรกเย็น จะมี ประสิทธิภาพต่ำ ชนิดของผ้าเบรกที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ความแตกต่างระหว่าง ผ้าเบรก NAO, Semi-Metallic, Metallic, Asbestos สำหรับปัจจุบันนี้ ผ้าดิสก์เบรก ที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไปมีด้วยกันอยู่ 5 กลุ่ม คือ 1. NAO (NON ASBESTOS ORGANIC) เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยสังเคราะห์ที่เป็นอโลหะ มีน้ำหนักเบา เพื่อทำหน้าที่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานและแสดงสมบัติของแรงเสียดทาน ในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่น ตรงที่ น้ำหนักเบา ง่ายต่อการควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นหรือเสียง และให้แรงเสียดทาน สูงพอสมควร แต่จะมีข้อจำกัดตรงที่ ส่วนมากจะต้องการส่วนผสมหลายชนิด การทนอุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากๆไม่ค่อยดี การดูดซับ และคายความร้อน ได้ยาก และที่สำคัญ ใยสังเคราะห์บางตัวที่ไม่ใช่ ASBESTOS อาจยังคงมี อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอยู่บ้าง 2. Semi-Metallic หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SemiMet เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยเหล็กเป็นองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานและแสดงสมบัติของแรงเสียดทานเพียงบางส่วน ในกลุ่มนี้มี ลักษณะเด่นตรงที่ มีความปลอดภัยสูงมากต่อระบบทางเดินหายใจ และมีความสามารถในการทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ดี มีการคายความร้อนได้เร็ว แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมไม่ให้เกิดเสียงดังและฝุ่นดำ 3. Fully Metallic หรือ Metallic เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ผงเหล็กละเอียดมาขึ้นรูปด้วยเทคนิคการซินเทอร์ริง (Sinter) ซึ่งเป็นการอัดขึ้นรูป ที่แรงดันสูง และ อุณหภูมิสูงปานกลาง ซึ่งผงเหล็กที่ใช้จะเป็นผงเหล็กพิเศษโดยจะมีคุณสมบัติของแรงเสียดทานอยู่ในตัว ในกลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษ ตรงที่สามารถทนต่ออุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากได้ 4. ASBESTOS เป็นผ้าเบรกยุคเก่าที่ใช้สารใยหินเป็นองค์ประกอบหลัก คุณสมบัติพิเศษก็คือ สารใยหินมีราคาถูก และให้แรงเสียดทานได้ดี ที่ อุณหภูมิต่ำๆ แต่มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก จึงมีอารยประเทศหลายๆ ประเทศได้กำหนดให้ ห้ามการ ผลิตผ้าเบรกชนิดนี้ 5. กลุ่ม Advance Material เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ในการสรรหาวัตถุดิบ ที่มีคุณ ลักษณะ พิเศษต่างๆ เพื่อให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า ผ้าเบรคที่ดีและควรใช้ ผ้าเบรกที่ดีสำหรับรถสมัยนี้ อย่างแรกคือ ควรเป็นผ้าเบรก ที่ไม่มี สาร แอสเบสตอสผสมอยู่ ผ้าเบรกที่ควรใช้จะให้มีประสิทธิภาพใน การหยุด ได้ดี และมีเสียงน้อย ทั้งในช่วงที่ผ้าเบรกยังเย็นอยู่ และขณะผ้าเบรก มี อุณหภูมิสูง ประเภทที่ช่วงผ้าเบรกเย็นจะเบรกไม่ค่อยอยู่ ต้องรอให้ ผ้าเบรก ร้อนชะก่อน หรือประเภทเบรกคดีเฉพาะตอนเย็น ตอนผ้าเบรก ร้อนแล้วไม่ได้เรื่องมีอาการ Fade เยอะสำหรับรถที่ ใช้งานระดับ ชาวบ้าน ในยุคนี้ต้องถือว่าเป็นผ้าเบรกที่จะไม่ค่อย น่าจะคบด้วย ซักเท่าไร เพราะสมัยนี้เค้าพัฒนากันไปเยอะแล้ว * * *หลังจากเปลี่ยนผ้าเบรกมาใหม่ๆ ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ้าเบรก เจียร์จานเบรก หรือเปลี่ยนจานเบรกใหม่ก็ตาม ช่วงระยะการใช้รถใน 200 กม.แรก ควรจะมีการ Bedding-in กันซะก่อน ไม่ควรลงเบรกกันอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้ผ้าเบรก และจานเบรกเป็นรอย จะทำให้ เวลาเบรกมีเสียงดังและประสิทธิภาพในการหยุดด้อยลงไป จึงควรขับและใช้เบรกกันอย่างนิ่มนวลไปก่อนจนกว่าจะพ้นระยะ 200 กม. แรกไปก่อน* * *
  12. สนใจเรื่องเบรค มาคุยกันได้ครับ https://www.facebook.com/HiSoftBreak
  13. บ้านผมอยู่ อ. นครไทย ภูหินร่่องกล้า พอดีครับ ถ้าลงทางทับเบิก จะชันมากๆ แต่ถ้าลงมาทางตัว อ. นครไทย ไม่ชันเท่าไร วิเคระห์แล้ว น่าจะเกิดจากความไม่ชินทางครับ อาจจะไม่ได้ Change Gear D3 หรือ 2 ลง แทนการเบรก ทำให้เกิดอาการความร้อนสะสม จนผ้าเบรคทนความร้อนไม่ได้เลย มีกลิ่นไหม้ จนควันลุก วิธีก่ารขับ ให้ลง D3 เป็นหลักครับ ไม่ต้องเหยียบคันเร่ง ปล่อยไหล D3 ไปเรื่อยๆ ควบคุมความเร็วไม่ไห้เกิน 60 พอถึงช่วงโค้ง ให้ทำการเบรค ก่อนถึงโค้ง จนได้ความเร็วประมาณ 20-40 ตามความาแรงของโค้ง ถ้าโค้งมากๆ พวกหักศอก แนะนำ Change เป็น เกียร์ 2 แล้วหักเข้าโค้ง ไม่แนะนำไห้เหยียบเบรค ขณะหักพวกมาลัยนะครับ... จากนั้น แนะนำ ให้ถอดผ้าเบรค มาขัดผิวหน้าสัมผัสออก เช็คจานเบรคมีรอยใหม้ หรือเปล่า ที่สำคัญ สลักเบรค กับ จารบี ให้ช่างถอดเช็คดูเลยครับ ถ้าเสื่อมสภาพ ก็จัดการเปลี่ยนใหม่ จารบีที่ใช้ ให้ใช้กับจารบีที่หล่อลื่นเลรคโดยเฉพาะ จารบี ทั่วไป ทนความร้อนสูงจากการเบรค ไม่ได้ครับ.... ขอบคุณครับ.........ผิดพลาดตรงไหน ชี้แนะ ด้วยครับ
  14. เช็คผ้าเบรค ด้วยสายตาเพียงด้านเดียวไม่ได้นะครับ ด้านในอาจจะหมดแล้วก็ได้ ผมเคยถอดของลูกค้ามาดู ด้านนอกเหลือ 4 มม. ด้านใน บางจนถึงแผ่นเหล็กแล้ว... เกิดจาก ระบบลูกยางและจารบี มีปัญหา ผ้าเบรกกินไม่เท่ากันครับ..
×
×
  • Create New...