Jump to content

7dozen

CCTH Member
  • Posts

    41
  • Joined

  • Last visited

Reputation Activity

  1. Like
    7dozen reacted to BaLL182 in ร้านทำเบรคดีๆที่ผมอยากให้โลกรู้   
    ่ 

    เอาน่า แบ่งๆกันไปครับ แต่ก่อนผมต้องไปติดชุดแต่ง โน้น มีนบุรี พอจะมาใส่ล้อก็ รามคำแหง ใส่ท่อ เกษตร-นวมินทร์



    แต่งรถก็แบบนี้แหละครับ ทัวร์ไปในตัว


     
     

    เห็นด้วยครับ เรื่องเบรคเนี๊ยะ ใครจะทำผมแนะนำให้ใจเย็นๆ เรื่องเวลานานแน่นอน ไม่ใช่เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง จะได้เสร็จในครึ่งชั่วโมง



    อย่างของผม ไม่ได้ทำร้านนี้น่ะ ไปตั้งแต่ 9 โมง เสร็จ 4 ทุ่ม



    การทำขา การแปลง มันงานละอียด ต้องเข้าใจ บางทีไปหลายวัน ต้องไปนั่งรอยันดึก บางทีติดงานต้องมาทิ้งรถ นั่ง Taxi ไปทำงาน



    แล้วนั่ง taxi กลับมา รอจนดึก ไม่เสร็จ ต้องมาอีกวัน อะไรแบบนี้ คิดซะว่าทำทีเดียว แต่จบดีกว่า


  2. Like
    7dozen got a reaction from baee in รบกวนช่วยเลือกยางรถหน่อยครับ ADVAN DB กับ pilot sport 3   
    เคยใช้ps3มา6หมื่นโล ตอนนี้เปลี่ยนมาใช้ advance db(v551) เทียบจากฟีลลิ่ง
     
    -ps3(ลม34) ร่อนน้ำหายห่วง หน้าคม เข้าโค้งนิ่ง เลนเชนจ์ สะบัดได้ มั่นใจ แต่ช่วง40หมื่นโลขึ้น แข็ง/ดังจนรับไม่ค่อยได้
    -v551(ลม 32) เงียบกริบ นุ่มดีใช้ได้ เข้าโค้งมีย้วย สะบัดมีดีด พวงมาลัยต้องนิ่งจริงๆ (เปลี่ยนโช้คซิ่ง น่าจะบรรเทาอาการได้)
     
    ปล. ทั้งคู่ ล้อเดิม(205/55R16) ช่วงล่างเดิม แต่เปลี่ยนกันโคลงหลังเป็น19มม. / ค้ำโช้คหน้า
  3. Like
    7dozen reacted to suphawat in มีร้านคุ้นเคยที่ซีวิคคลับไทย์แลนด์ไปใช้บริการ มาแนะนำกันครับ   
    บอกแล้วไวครับว่าพี่เขาไม่เกี่ยงเรื่องเวลาซ่อมจริงๆครับ นับถือเจงๆ
     

     
    แถม! รูปสุกท้ายเป็นลูกน้องช่างหมัยครับ ตอนแรกว่าจะขอมาต้มยำแล้ว!!! 555
     

  4. Like
    7dozen reacted to Tommie in เตือนเรื่องจับความเร็วครับ   
    รู้สึก แถวนนท์ชักจะเยอะเกินไปละคับ กระดิกกันไม่ได้ทีเดียว ป่วยเลย
     
    จริงๆต้องโทษไปถึงต้นตอ พวกเห็นถนนใหม่รถว่างชอบซิ่งและพวกรถเมล์หรือพวกรถเห็นแก่ตัวชอบเบียดเลน ขณะรถติดต่อคิวกันอยู่
     
    พอมีแบบนี้พวกก้อหายไปที่อื่น ปล่อยคนพื้นที่อย่างเรา ต้องใช้ชีวิตอยู่กับกล้องวงจรปิด   เจอมันทุกแยกเลย
  5. Like
    7dozen reacted to Natthachai in กฎจราจรที่คนไทยละเลย   
    พวกเปิดเลนใหม่ด้านซ้ายแล้วมาบีบแตรไล่เรา อยากจะให้มันกระแทกท้ายรถหลายทีแล้ว ถ้าไม่กลัวว่าเสียเวลาและไม่มีรถใช้งานระหว่างซ่อม
  6. Like
    7dozen reacted to Puthapong in กฎจราจรที่คนไทยละเลย   
    กฎจราจรที่คนไทยละเลย


    กฎจราจรมีไว้เพื่อให้ทุกคน สามารถใช้ถนนสาธารณะร่วมกันได้อย่างเป็นระเบียบและปลอดภัย
    ในแต่ละประเทศมีกฎจราจรพื้นฐานคล้ายกัน แต่ต่างกันที่รายละเอียดและความเข้มงวดในการ
    ปฏิบัติ บทความนี้รวบรวมกฎจราจรของไทยหรือ ลักษณะการขับรถยนต์ ที่คนไทยละเลย
    ไม่ปฏิบัติตาม จนกลายเป็นเรื่องปกติ หรือถ้าใครเคร่งครัด ก็อาจจะถูกด่าหรือชนได้
    ทั้งหมดเป็นเพียงการรวบรวมให้ทราบ แต่คงยากที่จะชักจูงให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
    ตราบใดที่ยังมีสินบน! หลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับ

    ขับช้าชิดซ้าย
    ไม่ได้พบแต่ตามถนนโล่งต่างจังหวัดเท่านั้น บนทางด่วนหรือทางลอยฟ้าในกรุงเทพฯ
    ก็พบได้บ่อยๆเพราะคำว่าช้า และมีกฎหมายจำกัดความเร็วสูงสุดไว้ จึงทำให้หลายคนคิดว่า
    เมื่อไรที่รู้สึกด้วยตัวเองว่าเร็วแล้ว หรือขับเกินความเร็วที่กฎหมายจำกัดไว้ ก็จะขับแช่อยู่ในเลน
    ขวาได้ เพราะในเมื่อไม่ได้คิดว่าขับช้า ก็ไม่ต้องชิดซ้าย

    วิธีที่ถูกต้อง คือ แซงแล้วต้องชิดซ้าย เลนขวามีไว้แซงเท่านั้น หรือราชการควรเปลี่ยนประโยค
    ใหม่เพิ่มคำว่า "กว่า"เข้าไปจากขับช้าชิดซ้าย เปลี่ยนประโยคเป็นขับช้ากว่าชิดซ้าย
    คือ ไม่ว่าจะขับด้วยความเร็วเท่าใดในเลนขวา ถ้ามีรถยนต์ ที่ตามมาขับเร็วกว่า ก็ต้องหลบซ้าย
    ให้ไม่ต้องทำตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไปตัดสินผู้อื่นว่า หากตนเองขับเร็วตามกฎหมายแล้วไม่ต้อง
    หลบให้ใคร แนะนำว่าไม่ต้องคิดเช่นนั้น เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเรา หากมีรถยนต์ที่เร็วกว่า
    ็ควรหลบเข้าเลนซ้ายให้ ถึงแม้เลนซ้ายในช่วงนั้นจะขรุขระบ้าง แต่ถ้าไม่ถึงกับแย่จนทนขับไม่ได้
    ก็ควรหลบเข้าเลนซ้ายชั่วคราว พอถูกแซงผ่านไปและว่างก็ค่อยกลับมาเลนขวา


    ขับเร็วเกินกำหนด
    กฎหมายไทยจำกัดความเร็วสูงสุดไว้ต่ำ คือ 90-120 กม./ชม.แล้วแต่ว่าจะเป็นถนนใด
    ถ้าเป็นถนนหลวงใช้ฟรี มักถูกจำกัดแค่ 90 กม./ชม.คนส่วนใหญ่มองว่ากฎหมายล้าหลัง
    ไม่ปรับปรุงตามสมรรถนะของรถยนต์ และบนถนนจริง ในการเดินทางไกล
    ก็แทบไม่มีใครทนขับช้าอย่างนั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเรียกจับก็โดนกันเกือบทุกคัน
    นับเป็นเรื่องที่หวานอมขมกลืน เพราะยังไม่มีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายนี้
    ซึ่งก็ดีในแง่หนึ่งที่จะได้ความปลอดภัย
    เพราะคนไทยหลายสิบเปอร์เซ็นต์ขับรถยนต์โดยมีพื้นฐานที่ไม่ดี
    ยิ่งเร็วก็ยิ่งอันตราย แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เท่ากับเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
    ใครจะไปทนขับเป็นเต่า 90 กม./ชม. แม้แต่ข้าราชการ นักการเมืองใหญ่ๆ
    ก็ยังไม่เห็นใช้ความเร็วในการเดินทางต่ำอย่างนี้


    ไม่เปิดไฟเลี้ยว
    บางคนหลงลืม บางคนไม่เปิดเป็นนิสัย บางคนตั้งใจไม่เปิด เพราะเคยพบกับคนอื่นที่นิสัยไร้น้ำใจ
    ซึ่งทำให้การเปิดไฟเลี้ยวที่น่าจะเป็น การเตือนให้ทราบหรือขอทาง
    แต่กลับเป็นการเตือนให้รู้ตัวและก็เร่งความเร็วมาปิดช่องว่าง หลายคนจึงไม่เปิดไฟเลี้ยว
    ด้วยเหตุผลสั้นๆ คือ ไม่อยากให้คนอื่นรู้ตัว ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นควรเปิด
    เพราะจะได้ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น และก็คงไม่พบกับคนไร้น้ำใจกันทั้งถนน




    ป้ายหยุด แต่ไม่หยุด
    ในไทยใช้คำว่า หยุด ส่วนในหลายประเทศเป็นป้าย STOPและต้องปฏิบัติตามป้ายอย่างเคร่งครัด
    เช่น สหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะอยู่บนถนนใหญ่หรือซอยเล็ก กลางวันหรือดึกไม่ว่าจะดูคึกคักหรือ
    เปลี่ยว หากมีป้ายนี้ ต้องเบรกรถยนต์ให้ล้อหยุดหมุน จะสักครึ่งหรือ 1 วินาทีก็ยังดี
    หากดูแล้วทางโล่งก็ค่อยขับต่อไป ไม่มีการปล่อยไหลช้าๆ ล้อต้องหยุดสนิทชั่วคราว
    ไม่งั้นถ้ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจซุ่มอยู่จะจับกุมได้ทันที แม้ถนนจะโล่ง ดึกและเปลี่ยว
    รวมถึงไม่มีรถยนต์อื่นในบริเวณแยกนั้นเลยก็ตาม นับเป็นความปลอดภัยที่ชัดเจน
    เพราะการหยุดพร้อมกับดูความโล่งของเส้นทางที่จะไปย่อมดีกว่าปล่อยรถยนต์ไหลๆพร้อมกับดู

    น่าแปลกที่คนไทยไม่เคยจอดรถยนต์ตามกำหนดของป้ายหยุดนี้เลย
    บางคนมองเห็นและทราบว่ามีแยกอยู่ข้างหน้า และต้องดูเส้นทางว่าว่างไหม
    แต่ไม่เคยคิดจะให้้ล้อหยุด หมุนสักครู่เลย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่เคยจับ
    บางคนแทบไม่เคยเห็น ไม่สนใจป้ายนี้ หรือเห็นแล้วไม่คิดว่าจะต้องเบรกจนล้อหยุดหมุนเลย
    รวมถึงหากขับรถยนต์ไหลๆ มาเป็นแถว ถ้าบริเวณแยกนั้นเส้นทางว่าง
    หากใครพบป้ายนี้แล้วเบรกจนหยุด ก็อาจโดนบีบแตรไล่หรือถูกชนท้ายได้
    ป้ายหยุดสำหรับคนไทยจึงกลายเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก หรือบางคนบอกว่าไร้สาระจะติดไปทำไม


    ฝ่าไฟเหลือง
    ในไทยเห็นไฟเหลืองแล้วต้องเร่งส่ง ขณะที่ในหลายประเทศคือไฟหยุด เห็นไฟเหลืองแล้ว
    ต้องหยุด ในไทยขืนไม่เร่งส่ง ก็อาจโดนก็อาจโดนบีบแตรไล่หรือถูกชนท้ายได้
    เรื่องนี้คงยากที่จะแก้ไข เพราะถ้าพิสดารทำอยู่คนเดียวก็อาจถูกชนท้ายได้


    เปิดเลนใหม่ซ้ายสุด
    หากการจราจรติดขัดมา และถนนมีไหล่ทางด้านซ้าย พอจะเปิดเลนใหม่ได้อีกสัก 1 เลน
    ก็จะไม่รีรอ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็อนุโลมให้ในหลายประเทศ ห้ามทำเช่นนี้เด็ดขาด
    และไม่ว่าการจราจรจะติดขัดเพียงไร ก็ไม่มีใครเปิดเลนใหม่ริมซ้ายสุด เพราะจะโดนจับ
    จะใช้สำหรับรถยนต์จอดเสีย และที่สำคัญ คือ สำหรับรถยนต์ฉุกเฉิน เช่น
    กำลังจะไปลากรถยนต์ที่จอดเสีย หรือที่สำคัญคือ รถพยาบาลที่ควรจะไปได้เร็วที่สุดในเลนโล่งๆ
    สำหรับคนไทยที่ทำเช่นนี้ จะสำนึกก็ต่อเมื่อต้องใช้บริการของรถพยาบาลแล้วทุกเลนเต็มหมด
    แม้แต่ริมซ้ายสุดก็ยังเต็ม


    จอดทับลายตารางเหลือง
    ผู้ขับรถยนต์ส่วนใหญ่ทราบว่าห้ามจอดทับ แต่ในกรณีที่การจราจรติดขัดแบบพอไหลๆ ได้
    หลายคนก็เผลอจอดทับ เพราะไม่ได้ประเมินรถยนต์บนการจราจรข้างหน้า
    คิดง่ายๆว่าเดี๋ยว คงไหลไปเรื่อยๆ ผ่านลายตารางไปได้ ในความเป็นจริง เมื่อถึงเขตตารางนี้
    ถ้าไม่แน่ใจก็ควรรอให้รถยนต์คันนำหน้าเลยปลายตารางออกไปจนมีที่ว่างสำหรับรถยนต์ของเรา
    แล้วค่อยขับตามไป ไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่ไม่ยอมทำกันให้ถูกต้อง


    เลี้ยวซ้าย (ไม่)ผ่านตลอด
    หลายคนไม่ทราบว่า จะสามารถเลี้ยวซ้าย ผ่านตลอดได้ ก็ต่อเมื่อมีป้ายบอกไว้ชัดเจนว่า
    เลี้ยวซ้ายผ่านตลอดหากไม่มีป้ายฯ รวมถึงไม่มีสัญญานไฟแยกออกมา
    ตามกฎหมายจะถือว่าตรงนั้น เลี้ยวซ้ายไม่ผ่านตลอด
    ต้องรอให้มีไฟเขียวทางตรงหรือไฟเขียวเลี้ยวซ้ายสว่างขึ้น ถึงจะเลี้ยวซ้ายได้


    จอดเลยเส้นตรงแยก
    นับเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อยๆ จนต้องมีกฎหมายตัดแต้มกัน น่าตำหนิ โดยเฉพาะเมื่อจอด
    ทับทางม้าลาย คนข้ามถนนต้องเดินเลี่ยงโดยไม่จำเป็น คนอยู่ในรถยนต์เย็นฉ่ำกลับจอดบังทาง
    ม้าลายให้คนเดินถนนที่ทั้งเจอความร้อนทั้งฝุ่นต้องลำบากมากขึ้น


    ไม่ต่อคิว จอดแปะขอเข้า
    น่าจะมีน้อยมากที่ปฏิบัติเพราะไม่คุ้นเส้นทาง ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะไม่อยากต่อคิวยาวเลยขับมา
    ต้นๆคิวแล้วจอดแปะริมคิวขอเข้า เกะกะออกไปอีกเลนหนึ่งแล้วก็คิดไปเองว่า ในเมื่อเปิดไฟเลี้ยว
    แล้วก็น่าจะมีน้ำใจให้เข้าหน่อย โดยไม่มองว่าตนเองตั้งใจไม่ต่อคิวแล้วมาขอแทรกนั้นไม่ถูกต้อง


    แซงเส้นทึบ
    ทั้งนอกและในเมืองพบได้เสมอ มีทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่เดาว่าเกินครึ่งขับอย่างตั้งใจ
    โดยเห็นเส้นทึบก่อนตัอสินใจฝ่าฝืนขับข้ามหรือแซง


    จอดในที่ห้ามจอดแล้วเปิดไฟฉุกเฉิน
    เสมือนว่าถ้าเปิดไฟฉุกเฉินแล้วจะจอดชั่วคราวได้ ถึงจะมีป้ายห้ามจอดอยู่ชัดเจนก็ตาม
    โดยไม่สนใจว่าจะเกะกะการจราจรเพียงไร


    ติดสินบน ต้นเหตุของการกระทำผิด
    การให้และรับสินบนเมื่อมีการกระทำผิดกฎจราจร นับเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย
    ใครไม่ยอมติดสินบนหรือตั้งใจรับใบสั่ง อาจจะกลายเป็นคนโง่ในสังคมของตนเอง
    คนที่ติดสินบน มักจะยอมรับว่าตนเองกระทำผิด แล้วยกสารพัดข้ออ้างขึ้นมาหาความถูกต้องว่า
    เสียค่าปรับแพง เสียเวลาทำมาหากินหรือโดนตัดแต้ม สู้ติดสินบนแล้วจบเลยตรงนั้นไม่ได้
    พอดีว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคน ก็เต็มใจและจับกุมเพื่อต้องการสินบนอยู่แล้ว
    การติดสินบนผิดทั้งผู้ให้และผู้รับ แต่คนที่ให้ กลับมาคิดหรือพูดภายหลังว่า โดนไถ
    หรือคนรับเลวฝ่ายเดียว ไม่ได้คิดเลยว่า ตนเองทำผิดกฎหมาย 2 ต่อ คือ ผิดกฎจราจร
    และติดสินบนเจ้าหน้าที่ เรื่องนี้คงแก้ไขกันยาก หากพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย
    และก็ไม่เคยมีคดีในศาลเรื่องการให้สินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจหลังกระทำผิดกฎจราจร
    การติดสินบนหลังกระทำผิด ทำกันจนเป็นวัฒนธรรมกลายๆของคนไทยไปแล้ว
    และก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการกระทำผิดกฎจราจร
    โดยไม่ระมัดระวังหรือถึงขั้นตั้งใจกระทำผิดกันมาก เพราะหลายคนคิดอย่างชะล่าใจว่า
    อย่างมากถ้าบังเอิญถูกจับก็ยัดเงินเจ้าหน้าที่ร้อยสองร้อยบาทก็จบ หลายคนเดาว่า
    หากกระทำผิดกฎ จราจรแล้วติดสินบน มีโอกาสสำเร็จไม่ต้องรับใบสั่งถึงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
    (ในความเป็นจริงจะมากกว่าหรือน้อยกว่า 80 ก็คงพอเดากันได้)

    หากการติดสินบนในเรื่องเล็กน้อยอย่างนี้ยังมีเป็นปกติ ก็ต้องถือว่าเป็นนิสัยพื้นฐานของคนไทย
    ที่ชอบซิกแซ็กหรือหาทางเลี่ยงเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
    ดังนั้นก็เลิกด่านักการเมืองโกงกินได้เลย เพราะถ้าคุณไปอยู่ในบทบาทนั้น
    ก็คงซิกแซ็กโดยมีข้ออ้างสารพัดเช่นเดียวกับการไม่อยากจ่ายค่าปรับหลังการกระทำผิดกฎจราจร

    บทความนี้ คงได้แค่กระตุ้นเตือน แต่คงคาดหวังให้ปฏิบัติตามคงยาก เพราะหลายเรื่องถูกฝังรากลึกลงไปแล้ว

    โดย วรพล สิงห์เขียวพงษ์ 
  7. Like
    7dozen reacted to bonut in บทความรู้จักกับไฟXenon   
    มารู้จักกับไฟ ซีนอล กันคับ ( Xenon )
    1. หลอด xenon คือ หลอดที่ทำงานเหมือนไฟแฟลชถ่ายรูป แสงสว่างเกิดจากการอาร์คของไฟฟ้าข้ามขั้ว (ขั้วห่างกัน 5 mm) ผ่านแกสแรงดันสูง (2 bar)
    เทอร์โบอัดหนักๆ อัดกันที่แรงดัน 1.2-1.5 bar
    พวกแข่งขันชิงสาว ชิงถ้วยรางวัลจะอัดกันที่ 2.4-2.5 bar ก่อนเครื่องกระจาย

    2. แก็สในหลอด xenon เป็นแก๊สเฉื่อยชื่อ xenon และมีแก๊สอื่นๆปนหลายอย่าง

    3. ไฟที่ใช้จุดหลอด xenon ให้ทำงาน มีแรงดัน 12,000-18,000 volts! เพราะแก๊สหรืออากาศปกติ ก็มีความต้านทานไฟฟ้าสูงมากๆ (เกือบอินฟินิตี้ .. ร้อยๆล้านโอห์มเลย) ยิ่งแก๊สในหลอด xenon ของเรา มีแรงดันสูง ยิ่งต้องใช้ไฟแรงสูงให้มันกระโดดข้ามได้ ที่เรียกๆ กัน (ผิดๆ) ว่ากล่องรีเลย์ หรือ (เรียกถูกต้องว่า) กล่องบัลลาสท์ มีหน้าที่นี้แหละ ... แปลงแรงดันจากไฟแบต 12 volts ให้สูงถึงเกือบสองหมื่นโวลท์
    แต่เมื่ออาร์คเกิดแล้ว กล่องจะต้องลดแรงดันเหลือ 100-200 volts เพราะลำอาร์ค มีความต้านทานต่ำ (100 โอห์ม)
    เมื่อลำอาร์คเสถียร ให้แสงสว่างเต็มที่ ความต้านทานจะลดลงอีก กล่องจะต้องลดแรงดันลงอีก ไม่อย่างนั้น ไหม้แน่นอน

    การทำงานทุกอย่างที่ว่ามา ต้องเสร็จภายใน 1-2 วินาที กล่องบัลลาสท์ดีๆ ถึงได้แพงระเบิด

    คำเตือน คำเตือน คำเตือน

    แรงดันไฟฟ้าในกล่องบัลลาสท์ เป็นไฟฟ้าแรงดันสูงมาก (20,000 volts) และมีพลังงานสูงมาก
    (200-300 joules) สามารถฆ่าคนถึงตายได้

    4. เมื่อหลอดสว่างเต็มที่ แรงดันในหลอดจะสูงขึ้น 30-40 bar อุณหภูมิในหลอด จะสูงประมาณ 1200 องศาซี ความร้อนนี้ ลดลงไม่ได้ เพราะถ้าลดลง ลำอาร์คซึ่งเป็นพลาสมา จะดับทันที .. ถึงทำให้หลอดมีขนาดใหญ่มากไม่ได้ หลอดแบบนี้ ถ้าเป็นหลอดใหญ่ๆ จะใช้เป็นไฟส่องสว่างถนน
    หลอดถึงต้องมีซีลสองชั้น .. กันระเบิด

    หลอดธรรมดาๆ มีอุณหภูมิภายในแถวๆ 700 องศาซี และอุณหภูมิที่ผิวหลอดแก้ว ร้อยกว่าองศาเท่านั้น

    5. ความสว่างของแสงที่ออก หน่วยวัดคือ L (ลูเมนส์ LUMENS) ไม่ใช่ K (Kelvin)
    K เป็นหน่วยวัดเปรียบเทียบ ว่าที่สว่างๆนั้น ให้สีเสมือนของที่กำลังร้อนที่กี่องศา K เสมือนร้อนกี่ K นะ
    ไม่ใช่ร้อนเท่านั้นๆ K จริง

    6. ถ้าไปดู website ของ บ.ที่ผลิตหลอด xenon ระดับยักษ์ใหญ่ จะพบความจริงที่น่าตกใจ ที่เหมือนกันหมด ทุกบริษัทพูดเหมือนกันหมด คือ
    หลอดซีนอนในรถยนต์ ยิ่งมีองศาสีสูง (K ยิ่งสูง) ความสว่าง (L) ยิ่งน้อย
    หลอด 10,000K สว่างไม่ถึง 1/2 ของหลอด 5,000K
    xenon ของ BMW/Benz มีค่าองศาสี แค่ 4300K เท่านั้น ... แต่ความสว่างแถวๆ 3,000-3,500L

    หลอดโรงงานยี่ห้อดังๆ มีองศาสีสูงสุด 6000K

    พวก 10,000-12,000K ... บ.ยักษ์ใหญ่ ไม่กล้าเอาผลิตใต้ชื่อตัวเอง ... กลัวโดนฟ้อง เพราะความสว่างแค่ 1,600-1,800L เท่านั้น

    7. หลอดไฟมีไส้ธรรมดาๆ จะมีความสว่าง 1,200-1,500L และให้อุณหภูมิสีอยู่ที่ 2,800-3,200K
    หลอด superbright จะสว่าง 1,500-1,800L และให้สีเสมือนมีอุณหภูมิ 3,300-3,500K

    หลอดไต้หวันราคาถูกๆ จะสว่าง 1,800-2,000L โดยการเพิ่มขนาดของไส้หลอด ความต้านทานไส้ลดลง กินกระแสไฟฟ้ามากขึ้นเป็น 100-110w แทนที่จะเป็น 50/55w เหมือนหลอดธรรมดาๆ ... ไฟรถมีแรงดัน 12v หมายถึงกระแสไฟฟ้าไหลเข้าหลอด 10A แทนที่จะเป็น 5A

    จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามากขึ้น (10A) จะทำให้ขั้วหลอดที่ไม่ดี
    (มีความต้านทาน) ร้อนจัดจนขั้วละลายได้
    จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที ... พลังงานไฟฟ้า ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแสงสว่างทั้งหมด แต่กลายเป็นพลังงานความร้อน(สูญเปล่า)
    ความร้อนที่มากขึ้น เกินปกตินี้ จะทำให้ปรอทที่ฉาบไว้บนโคม ไหม้ หรือระเหย (หมอง)
    ความร้อนไส้หลอดที่มากเกิน จะทำให้ไส้ขาดเร็ว

    8. หลอด xenon เก๊ (zenon, xenan ฯลฯ) เป็นหลอดมีไส้ธรรมดาๆ แต่ใช้สีเคลือบหลอด เพื่อให้แสงไฟที่ออก มีสีเสมือนกับว่า เป็นหลอด xenon แท้

    สีที่เคลือบ จะทำให้ความสว่างลดลง
    หลอด plasma blue ของ PIAA ราคาแพง เพราะผลิตโดยทำให้ตัวแก้วของหลอด มีสีน้ำเงินจางๆ (ผสม cobalt เข้าไปในเนื้อแก้ว) ความสว่างจึงลดลงน้อย ไม่เกิน 20%

    หลอดไต้หวัน หลอดจีนแดง หลอดโนเนม .. ใช้สีเคลือบราคาถูกๆ การที่ความสว่างจะลดลง 40-50% จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ดูเผินๆ เหมือนหลอดสว่างขึ้น เพราะเวลากลางคืน ตาคนเราไวต่อแสงสีน้ำเงินน้อย พอเห็นแสงสีน้ำเงินจ้าๆ จึงหลอกตัวเองว่า เห็นแสงสว่างมากๆ ถ้าไม่หลอกตัวเอง จะพบว่า ตอนกลางคืน ตาของคนเร็ว ไวต่อแสงสีแดง มากกว่าสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่า
    นอกจากจะไวกว่าแล้ว ยังพร่ามัวเพราะแสงสีแดง น้อยกว่าแสงสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่าเช่นกัน

    การใช้ของเก๊ ที่ให้แสงสว่างน้อยลง ให้แสงสว่างที่เห็นไม่ค่อยชัด ให้แสงสว่างที่ทำให้ตาพร่ามัวง่าย
    โดยคิดว่า มันสว่างกว่า ชัดเจนกว่า
    อันตรายไหมหละ?

    9. หลอดไฟมีไส้ ทำงานโดยการเผาไส้หลอด (ด้วยกระแสไฟฟ้า) ให้ร้อนแดง ... ไส้หลอดจะระเหยออกไปบ้างเล็กน้อย ระเหยไปเคลือบที่ผิวหลอดด้านใน ใช้ไปนานๆ ไส้หลอดบางลง หลอดขาดหรือ ไส้หลอดยังไม่ทันบาง ไอโลหะเคลือบผิวหลอด จนแสงส่องผ่านน้อยลง (เหมือนฟิล์มปรอท) หลอดจึงบรรจุธาตุพวก halogen และแก๊สเฉื่อย ไว้เล็กน้อย เพื่อให้เกิด Halide cycle ซึ่งทำให้กระบวนการที่ว่ามาข้างบน
    ไม่เกิดขึ้น

    แต่ถ้าไส้หลอดร้อนจัดเกินไป กระบวนการ halide cycle ทำงานไม่ทัน ... ไส้หลอดขาดพั้วะ!
    หลอด 100/110w ... สว่างจริง ขาดเร็วจริง เวลาเราเปลี่ยนหลอดไฟหน้า เราเปลี่ยนสองข้าง
    (ก็อยากแต่งซิ่งนี่นา หรือใครเปลี่ยนข้างนึง 50w อีกข้าง 100w?) เวลาขาด .. มันจะขาดไล่เลี่ยกันมาก
    เพราะอะไร?
    ถ้าใส่ relay แยก หลอดใครหลอดมัน ก็แล้วไป
    แต่ถ้าไม่ใส่ .. จะมีแรงดันตกคร่อมสูญหาย ในระบบสายไฟส่องสว่าง
    V = IR
    ตอนที่หลอด 2 หลอดทำงาน V ตกคร่อม = (I1 + I2) * R
    เนื่องจาก I1 = I2 ฉนั้นแรงดันตกคร่อมสูญหาย = 2*I*R
    แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - 2*I*R

    แต่เมื่อหลอดหนึ่งขาด ไฟตกคร่อมจะเหลือ I*R
    แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - I*R

    หลอดที่ปริ่มๆจะขาด โดนแรงดันเพิ่ม ถึงจะอีกนิดก็เหอะ ... ขาดไหมหละ?
    คำถามบ่อย & คำตอบไม่บ่อย
    1.ค่า K ของหลอดไฟมีผลต่อความสว่างและสีของแสงที่ออกมาไหม

    มีผล
    ค่า K คือ อุณหภูมิสี (ไม่ใช่อุณหภูมิของไส้หลอด)ของแสงที่ออกมา โดยเทียบกับสีของของที่เผาจนร้อน จนอุณหภูมิที่ระบุ (กี่ K ก็ว่าไป)
    หลอด 5000k คือ หลอดที่มีสีสันของแสงไฟ เหมือนของที่เผาจนร้อน 5500 องศา Kelvin

    เน้น ... เน้น .... เน้น ...
    สีสัน ไม่ใช่ความสว่าง และ ...
    K ยิ่งมาก ดูเหมือนสว่างมากขึ้น แต่จริงๆแล้ว สว่างน้อยลง
    ยิ่งหลอด xenon ยิ่งเห็นผลชัด หลอด 4100k ให้ความสว่างประมาณ 3500 lumens ในขณะที่หลอด 10,000-12,000 ให้ความสว่างไม่เกิน 2000 lumens

    บ.ผลิตหลอด xenon ยี่ห้อดีๆ จะไม่ผลิตหลอดที่สีไฟเกิน 5500k โดยใช้ชื่อของบริษัทเองครับ
    หลอดมีไส้ทั่วๆไป ให้ความสว่าง 1200-1800 lumens

    2. ค่า K มีผลต่อความร้อนภายในโคมไฟหน้าไหม

    ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด
    ความร้อน และความสว่าง ขึ้นกับจำนวนวัตต์ของหลอด

    3.ถ้า ค่า K มากๆจะทำให้โคมไฟหน้าขุ่นหรือละลายไหม (ถ้าเป็นโคมพลาสติก)
    แล้วสรุปว่าค่า K คืออารัย? ประโยชน์คืออะไร? ยิ่งมาก ยิ่งทำไมหรือ?

    ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด ฉะนั้น จะขุ่นหรือไม่ขุ่น ไม่ได้เกี่ยวกับค่า K
    K ยิ่งสูง ก็แค่สวย
    และที่เข้าใจผิดกันมากๆๆ คือ ค่า K ที่เหมาะสมที่สุดนั้นคือ 4100-5500 เท่านั้น (สีเหลือง หรือ เหลือง-ขาว)
    เพราะในเวลากลางคืน ตาคนเรา ไวต่อแสงที่มีโทนสีร้อน (เหลือง) มากกว่าโทนสีเย็นหลายเท่า
    ยิ่งแสงไฟ มีโทนสี K สูงเท่าไหร่ แสงที่สะท้อนกลับจากพื้นถนน หรือ วัตถุอื่นๆ จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ และเห็นไม่ชัดมากขึ้น

    ถ้าของที่มีโทนสีสูง (K สูง) ดีกว่า K ต่ำ .. เราคงเห็นเส้นถนน ที่ระบุถึงอันตราย เป็นสีขาวอมม่วง แทนที่จะเป็นสีเหลืองไปนานแล้วครับ

    4. หลอด xenon กินไฟน้อยกว่าหลอดธรรมดา แล้วทำไมฟิวส์เดี๋ยวขาดๆ หละ?

    ตัวหลอด ไม่กินไฟ แต่บัลลาสท์กิน และยัดจ่ายไฟให้หลอด ต้องรักษาพลังงานให้คงที่ (P=35 watts +/- 10%)

    ตอนเริ่มทำงาน วงจรภายในต้องดึงพลังงานมาสะสมในกล่อง .. เพื่อการจุดอาร์คด้วยพลังงานสูงมาก หลายๆครั้ง ได้พอเพียง

    ก็เหมือนกับเล่นซับ ในเครื่องเสียง
    แอมป์ 100 วัตต์ ขืนต่อฟิวส์ 100/12 .. 8 แอมป์เข้าไป ฟิวส์ขาดกระจาย! เพราะมันสามารถอัดได้ (สั้นๆ) ถึง 400 วัตต์

    แค่ไฟแฟลชถ่ายรูปดวงกระจิ๋ว วงจรภายในยังต้องสะสมพลังงานไว้ถึง 15-50 joules เลย ... มากพอที่จะทำให้คนแกะไฟแฟลชออกมาเล่นโดยไม่รู้เรื่อง ร่วงลงไปกองกับพื้น
    เสีย 2 หมื่นซื้อ Xenon ได้กลับมาแค่ฮาโลเจนคู่เดียว
    บทความโดยคุณ Achura

    ไม่รู้ว่าพาดหัวแรงไปหรือเปล่า แต่เรื่องของเรื่องคือ เพราะผมมีความปรารถนาอย่างแรงที่จะเปลี่ยนไฟหน้าของเจ้า SXV20 ตัวเก่งจากแบบฮาโลเจนไปเป็นแบบซีนอน (Xenon) หรือ HID (High Intensity Discharge) ด้วยคาดหวังว่ามันจะสว่างกว่าเดิมและโดยไม่ไปรบกวนสายตาคนที่ขับรถสวนมา
    ปัจจุบันมีชุดคิต HID วางจำหน่ายในท้องตลาดอยู่หลายยี่ห้อ จากหลายตัวแทนจำหน่าย และในหลายระดับราคา ไล่ตั้งแต่แถวๆ 1 หมื่นบาทไปจนถึง 2 หมื่นกว่าบาท คำถามคือ "แล้วจะเลือกอย่างไหนดีล่ะ อย่างถูกหรืออย่างแพง แล้วยี่ห้อไหนดี" สถานการณ์บังคับให้ผมต้องเข้าเน็ต สถานที่ที่หลายคนบอกว่าคือห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจ จนกระทั่งได้พบกับสัจธรรม "เดิมๆน่ะ ดีอยู่แล้ว"

    ทำไม??? ก็เพราะ

    1.ค่า K ที่เขาใช้โฆษณา เช่น 7000K หรือ 12000K นั้น ไม่ใช่ตัวที่บ่งบอกถึงความสว่าง แต่เป็นค่าที่ใช้บอกเฉดสีของแสง

    2.ความสว่างมีหน่วยเป็นลูเมนส์ (lm) แต่ค่า K หรือเคลวิน เป็นหน่วยของอุณหภูมิสี (Color Temperature)

    3.ค่า K ของ HID จะแปรผกผันกับความสว่าง

    4.HID ที่สว่างที่สุดคือ 4100K ซึ่งเป็น OEM ของรถทั่วโลก โดยมีค่าความสว่างอยู่ที่ 3200 ลูเมนส์

    5.HID 5800K จะสว่างแค่ 2400 ลูเมนส์

    6.HID 8000K จะสว่างเพียง 2000 ลูเมนส์ เทียบกับ 1700 ลูเมนส์ของหลอดฮาโลเจน 100 วัตต์

    7.HID 12000K จะมีค่าความสว่างต่ำกว่า 2000 ลูเมนส์ (ผมเดาเอาว่าอยู่แถวๆฮาโลเจน 100 วัตต์นั่นแหละ ซึ่งเป็นที่มาของหัวเรื่อง)

    8.HID 12000K-30000K จะเป็นแสงสีม่วง ที่เราคุ้นเคยกันในชื่อแสง "อุลตร้าไวโอเลต" (Ultra Violet) หรือ "แบล็คไลท์" (Black Light) (คิดดูสิว่ามันจะมองเห็นอะไรมั้ย)

    9.HID 12000K แม้จะมีความสว่างเท่ากับหลอดฮาโลเจน หรือใกล้เคียง แต่มีข้อเสียมากกว่าคือ แสงฟุ้งกว่า ซึ่งเป็นธรรมชาติของแสงสีน้ำเงิน/ม่วง ทำให้ยอนตาคนที่ขับรถสวนทางมา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้ นอกจากนี้แสงสีน้ำเงิน/ม่วงของ HID 12000K ยังทำให้เราต้องใช้สายตาเพ่งมองวัตถุ เช่น ถนน มากกว่าปกติด้วย ทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาได้ง่ายและเร็วกว่า

    10.โคมรถ SXV20 ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับไฟ HID ดังนั้นถ้าเอาชุด HID ใส่เข้าไป อาจทำให้แสงฟุ้งยอนตาคนที่ขับรถสวนทางมาได้ ปรับระดับโคมอย่างไรก็ไม่หาย เนื่องจากจุดกำเนิดแสงเปลี่ยนไป (บางยี่ห้อก็ไม่เพี้ยน) อันเป็นผลจากหลอด HID ที่มีดีไซน์ต่างไปจากหลอดฮาโลเจน (อันนี้วิศวกรน่าจะเข้าใจดี ส่วนคนอื่น ถ้าไม่เข้าใจ ก็ให้ถามวิศวกร)

    HID (High Intensity Discharge) คือเทคโนโลยีไฟส่องสว่างที่ต่างไปจากระบบฮาโลเจนปกติ แสงของหลอดฮาโลเจนจะเกิดจากการเปล่งแสงของขดลวดความต้านทาน ขณะที่แสงของ HID จะเกิดจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้วิ่งผ่านก๊าซซีนอน คล้ายกับการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ การสปาร์คครั้งแรกจะใช้แรงดันไฟสูงถึง 25,000 โวลต์ ก่อนจะลดระดับลงมาเป็นไฟเลี้ยงที่ 35 วัตต์ 12 โวลต์

    ข้อดีของ OEM HID 4100K คือ

    1.กินไฟต่ำกว่าฮาโลเจน 3 เท่า (HID = 35 วัตต์, halogen = 55-100 วัตต์)

    2.สว่างกว่าฮาโลเจน 4 เท่า (HID = 2400-3200 ลูเมนส์, halogen = 800-1700 ลูเมนส์)

    3.มีความเข้มของแสงสูงกว่าฮาโลเจน 10 เท่า (HID = 202,500 แรงเทียน, halogen = 21,000 แรงเทียน)

    4.อายุใช้งานนานกว่าฮาโลเจน 6 เท่า (HID = 2500 ชั่วโมง, halogen = 400 ชั่วโมง)

    5.มีอินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลตต่ำกว่าฮาโลเจน ทั้งนี้อินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลตคือต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการล้าทางสายตา ทั้งของผู้ขับขี่เองและผู้ร่วมทาง

    6.อุณหภูมิสีของ HID เป็นระดับที่ใกล้เคียงแสงธรรมชาติมากที่สุด และทำให้เห็นภาพวัตถุได้ชัดเจนที่สุด

    7.หลอดฮาโลเจนที่มีอุณหภูมิสีระหว่าง 2300K-4000K จะมีความสว่างน้อยกว่าหลอดฮาโลเจนธรรมดา เพราะใช้ฟิลเตอร์ในการเปลี่ยนสีของแสง

    8.แสงของ HID จะไปได้ไกลกว่า กว้างกว่า และมีแพ็ตเทิร์นของแสงที่ชัดเจนกว่า

    ฟิลิปส์ (Philips) และออสแรม (Osram) คือ 2 ซัพพลายเออร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผลิต HID ส่งให้กับผู้ผลิตรถยนต์ทั้งค่ายยุโรปและค่ายญี่ปุ่น โดย HID ของฟิลิปส์และออสแรมจะมีอายุการใช้งานอยู่ระหว่าง 2000-2500 ชั่วโมง และมีอุณหภูมิสีอยู่ระหว่าง 4100K-5800K ซึ่งจะให้แสงใกล้เคียงแสงธรรมชาติที่สุด ส่วนอุณหภูมิสีที่สูงกว่านี้จะออกโทนฟ้า น้ำเงิน และม่วง ตามลำดับ

    ทั้งฟิลิปส์และออสแรมไม่มีรายใดที่ผลิตหลอด HID ที่มีอุณหภูมิสีเกิน 6000K ดังนั้นหากพบชุดคิตที่มีอุณหภูมิสีสูงเกิน 6000K และบอกว่าเป็นฟิลิปส์หรือออสแรมทั้งชุดแล้ว สันนิษฐานไว้ก่อนว่าปลอม เพราะส่วนใหญ่ที่เห็นจะเข้าลักษณะว่า เฉพาะบัลลาสต์เท่านั้นที่เป็นของฟิลิปส์ แต่หลอดเป็นยี่ห้ออื่น

    คุณกำลังเข้าใจผิด

    ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายที่ผลิตชุดคิต HID 7000K, 8000K ไปจนถึง 12000K ออกจำหน่าย หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าหลอดซีนอน 7000K-12000K สว่างกว่า, คุ้มกว่า และประสิทธิภาพสูงกว่าหลอด OEM 4100K ความจริงคือ อุณหภูมิสี (เคลวิน; K) จะแปรผกผันกับความสว่าง (ลูเมนส์; lm) นัยหนึ่งคือถ้าค่า K สูงขึ้น ความสว่างจะน้อยลง

    ตัวอย่างเช่น หลอด Philips OEM D2S 4100K ที่ 12.8 โวลต์จะให้ความสว่างที่ 3200 ลูเมนส์ ส่วนหลอด Philips Ultinon D2S 5800K ที่ 12.8 โวลต์จะให้ความสว่างที่ 2400 ลูเมนส์ ขณะที่บริษัทวิชั่น (Vision) ประเทศเกาหลี ระบุว่า หลอด 8000K ของวิชั่นจะมีความสว่างที่ 2000 ลูเมนส์ เทียบกับ 1700 ลูเมนส์ของหลอดฮาโลเจน (เดาว่าน่าจะเป็น 100 วัตต์) และ 800 ลูเมนส์ (หลอดฮาโลเจน 55 วัตต์)

    ยิ่งกว่านั้น อุณหภูมิสีที่สูงยังฟุ้ง (Glare) เข้าตาผู้ร่วมทาง และทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาได้ง่ายกว่าด้วย ทั้งนี้การวิจัยของบริษัทในเยอรมนี, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริการะบุว่าอุณหภูมิสีที่ใกล้เคียงแสงธรรมชาติที่สุด มองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจนที่สุด และทำให้เกิดความเมื่อยล้าทางสายตาน้อยที่สุดคือ 4100K

    สำหรับรถยุโรป เช่น Benz, BMW และ Audi ถ้ามองผ่านๆจะเห็นว่าไฟหน้า HID ของรถทั้ง 3 ยี่ห้อเป็นสีม่วง ทั้งๆที่ความจริงแล้วทั้งหมดใช้หลอด 4100K นั่นเป็นผลจากส่วนประกอบของโคมไฟหน้า ไม่ว่าจะเป็นตัวโปรเจกเตอร์ เลนส์ โคมสะท้อนแสง หรือแผ่นชิลด์ ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นเดียวกับแก้วปริซึม

    เพราะแสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีพลังงานสูงสุดและไปได้ไกลที่สุดเทียบกับแสงสี อื่น ถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้วจะพบว่าแสงสีม่วงหรือน้ำเงินที่ออกมาจากโคมไฟหน้า ของรถ BMW นั้น จะออกมาเฉพาะตรงขอบด้านข้างหรือด้านบน/ล่างเท่านั้น พื้นที่ตรงกลางยังคงเป็นแสงสีขาวปกติ

    การใช้ HID สีน้ำเงินหรือม่วงไม่เพียงแค่ทำให้สมรรถนะของระบบไฟหน้าลดลงเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายกับผู้ร่วมทางด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถสวนมา เพราะแสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีการกระจายตัวสูง บุคลิกของมันจึงชอบแพร่กระจายออกไปทางด้านข้างมากกว่าจะพุ่งตรงไปข้างหน้า ผลก็คือเกิดการฟุ้งของแสงออกนอกแพ็ตเทิร์นที่ทางผู้ผลิตรถยนต์ได้ออกแบบไว้ และยอนเข้าตาของผู้ที่ขับรถสวนทางมา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุรุนแรงได้

    แสงสีน้ำเงินยังทำให้ทุกอย่างบนถนนเป็นสีน้ำเงินตามไปด้วย แถมความสว่างก็อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ต้องเพ่งและใช้สายตามากกว่าปกติ นัยหนึ่งคือสายตาจะล้าเร็วและง่ายกว่า เทียบกับแสงจากหลอดฮาโลเจน

    ด้วยเหตุนี้ ทหารจึงระบุให้ใช้แสงสีแดงในการส่องดูแผนที่หรือตารางต่างๆในตอนกลางคืน มากกว่าจะใช้แสงสีอื่น เพราะแสงสีแดงจะตรงกันข้ามกับแสงสีน้ำเงิน ไม่เบิร์นสายตา ทำให้ไม่ต้องปรับสายตามากนักเวลาที่อ่านแผนที่เสร็จแล้วกลับไปมองผ่านความ มืดอีกครั้ง ตรงกันข้ามกับแสงสีน้ำเงินที่จะทำให้ตาคุณบอดไปชั่วขณะหนึ่ง

    นอกจากนี้ แสงสีฟ้าหรือม่วงยังมีความเข้มของแสงต่ำกว่าแสงสีขาว เพราะแสงสีขาวเป็นแสงที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีแดง เขียว น้ำเงิน และเหลืองในสัดส่วนที่เท่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีความเข้มกว่าแสงสีใดสีหนึ่งอยู่แล้ว
    HID 8000K แสดงให้เห็นการฟุ้งของแสง ไม่สามารถควบคุมได้ สังเกตจากเส้นตัด (Cut Off) ที่ไม่ชัดเจนระหว่างส่วนสว่างกับส่วนมืด

    HID 4100K เส้นตัดจะชัดเจน แสงไม่ฟุ้ง

    ลองทำใจเย็นๆ ก่อนไปค้นหาคำว่า xenon, ซีนอน, ซีนอล ในเวบบอร์ดรถยนต์ต่างๆของไทย จะพบว่า ในบรรดาผู้ที่ติดตั้งไปก่อนแล้ว เจอปัญหาเพียบ

    นี่คือ ปัญหาที่ผมรวบรวมมาจากเกือบสิบเวบบอร์ด (อคติของผม) ที่เกิดจากไฟซีนอน (อันติดตั้งผิดๆ)
    มีไม่กี่ปัญหาหรอกครับ แต่ผลคือ .. ขายทิ้งกันเป็นทิวแถว! หลายๆคน ติดไปได้แค่ 2 อาทิตย์ก็ขายทิ้ง ...

    1. ไฟที่ค่า K สูงๆ (เกิน 10,000) สวยมาก แต่มองถนนมืดๆ ไม่เห็น โดยเฉพาะถนนแคบๆ ต่างจังหวัด ที่ข้างทางเป็นหญ้า แม้ในถนนหลวงสายเมน บางแห่ง แทบมองไม่เห็นเส้นขอบทางด้วยซ้ำไป

    2. หนักที่สุดคือ ไฟที่ค่า K เกิน 10,000 ในโคมแบบเก่า จะโดนฝนไม่ได้เลย

    หลายๆคน ในหลายๆกระทู้ เข้ามาบอกเพื่อนๆว่า ตอนฝนตก ต้องปิดไฟต่ำ (xenon) แล้วเปิด spot light เอาแทน

    หน้าหนาว .. ฝนไม่ตกแล้ว หมอกแถวๆกรุงเทพก็ไม่มี กว่าจะรู้อีกที ก็ต้องปีหน้า

    3. ไฟต่ำ สว่างกว่าไฟสูง เมื่อโดนรถสวนดิ๊ปไฟเตือน ไม่สามารถดิ๊ปไฟตอบได้ว่า ฉันกำลังใช้ไฟต่ำอยู่นะ
    เพราะดิ๊ปไป เขาก็ยังมองไม่เห็นอยู่ดี

    4. ปัญหาข้อสาม ยิ่งเป็นหนักกับรถที่ใช้หลอด H4 แบบที่แปลงเอาจากหลอด D2 เพื่อไปใส่โคมรุ่นเก่า เพราะตำแหน่งของไส้หลอด (จุดเกิดแสง) ของหลอด ไม่ตรงกัน การดัดแปลง จะทำโดยเอาหลอดไส้เดี่ยว (H1) มาวางข้างๆหลอดซีนอน โดยภาวนาว่า มันจะตรงตำแหน่ง ทั้งที่รู้ๆอยู่ว่า ตำแหน่งไส้ไฟสูงไฟต่ำในหลอด H4 มันมีตำแหน่งเป๊ะๆของมัน ผิดไปแค่มิลลิเมตรเดียวก็ก่อปัญหาแล้ว แต่ก็ยังจะทำ

    5. การดัดแปลงหลอด D2 ซึ่งเป็นหลอดที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ โคมไฟหลอดซีนอนโดยเฉพาะ เพื่อให้ใส่ลงไปแทนหลอด H1/H4 ได้ มันไม่เห็นผลตอนใช้ปกติ, ในเมืองหลวง, หรือตอนใช้ใหม่ๆ (กำลังเห่อ)
    แต่พอยามไม่ปกติ (ฝนตก, รถสวนเขวี้ยงก้อนหินใส่) .. จะทำอย่างไร?

    ต้องปรับองศาไฟ ให้ลงต่ำสุดเท่าที่จะต่ำได้

    พอปรับองศาไฟลงต่ำ ไฟสูงก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะโคมไฟที่ใช้หลอด H4 มันควบคุมลำแสงทั้งไฟสูงและไฟต่ำ

    6. ก้นหลอดมีไส้ (ฮาโลเจน) มันเล็กนิดเดียว (ราวๆ 25 มิล) ในขณะที่ฐานหลอด D2 มันไม่เล็กนา การยัดซีนอนลงไปในโคมฮาโลเจนให้ได้ มันฟิตเปรี๊ยะทีเดียว .. แต่ก็พอยัดไหว?? ดูรูปหลอด D2 ข้างบนให้ดีๆ จะเห็นว่า มันมีลวดตัวนำที่หุ้มด้วยเซรามิคอยู่ .. เห็นไหมครับ
    เซรามิคนั่น แสนจะบอบบาง .. แต่ต้องทนความร้อนสูงให้ได้ (สองร้อยกว่าองศา) และทนแรงดันสูงให้ได้ด้วย (สองหมื่นโวลท์) ถ้ามีรอยแตกนิดเดียว ถ้าเปลี่ยนหลอดไม่ทัน .. เตรียมเปลี่ยนบัลลาสท์ใหม่ได้เลย
    เพราะการจะถอดออกมาเอาเทปพัน .. ยังหาเทปที่ทนแรงดันสองหมื่นโวลท์ไม่ได้เลยอ่ะ

    7. ฐานหลอด D2 หนะ ร้อนร้อยกว่าองศานะจ๊าาาาาาาาา
    จะดัดแปลงให้ใส่แทนหลอด H อะไรก็เหอะ .. เอาอะไรยึดติดกับฐาน H หละ?
    อีพ็อกซี่ทั่วๆไป มันทนได้แค่ 80-100 องศาเท่านั้น บางยี่ห้ออาจทนได้ถึง 120 องศา

    ใครหาอีพ็อกซี่ ที่ทนได้ 250 องศามั่ง? จะได้เอามาดัดแปลงมั่ง ใช้ไป ใช้ไป ... อีพ็อกซี่ทนไม่ไหว ก็สะเทือนขยับไปตามเรื่อง และอีกไม่นาน .. ได้เปลี่ยนหลอด ของมันบอบบางจะตาย

    8. พวกแปลงๆหลอดมาใส่ รู้มั่งไหมเอ่ยว่า ทั้ง Phillips และ Osram (ผู้ผลิตหลอดรวมแล้วกว่า 80% ของทั้งหมด) ... พูดถึงเรื่องแนวการวางหลอดไว้ว่าอย่างไร?
    หลอดจะต้องอยู่ในแนวราบ เอียงได้ไม่เกิน +/- 10 องศา ภายในหลอด ตอนทำงานหนะ .. อุณหภูมิหลายพันองศา แรงกดดันสามสิบสี่สิบเท่าบรรยากาศ ทุกอย่างอยู่ได้ด้วยสมดุลย์ ถ้าวางเอียงเพี้ยนจากแนวระดับ แผ่นโลหะขั้วหลอด (pinch) จะได้รับความร้อนมากกว่าปกติ หรือไหม้ หรือระเหย ทำให้แสงเริ่มออกมาเป็นสีเหลืองๆ ก่อนจะเสียไปในเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมงหลังใช้งาน หรือ หลอดร้าวเสียไปเลย

    9. พูดถึงสองยักษ์ใหญ่นั่น ไม่มีเจ้าไหนที่ผลิตหลอด H ออกมาซักเจ้า ขืนผลิต .. โดนทั้งรัฐบาลอเมริกา และ EU ฟ้องล่มจมเด็ดๆ EU และ USA ห้ามติดตั้งหลอด xenon (หลอด D) ในโคมไฟที่ออกแบบมาให้ใช้กับหลอด H

    10. พูดถึงเรื่องแปลงหลอด ระวังให้ดีนะ .. การตัดยางหุ้มท้ายขั้วหลอด เป็นเรื่องต้องห้าม พอๆกับวางบัลลาสท์ให้โดนน้ำได้ ทั้งบัลลาสท์ และหลอด เป็นโรคกลัวน้ำอย่างรุนแรง ลำพังความชื้นจากฝน จากหมอก มันไม่เท่าไหร่หรอก แต่ถ้าโดนน้ำฉีดล้างห้องเครื่องเข้าไป ... ฮิฮิ ... บรึ้ม! สองหมื่นลงถังขยะ!!

    11. บริษัทยักษ์ กลัวโดนฟ้อง .. เสปกเลยต้องระบุชัดๆ หลอดซีนอน เปิดปิดบ่อยไม่ได้ แค่การเปิด-ปิด เกินสามครั้งต่อชั่วโมง จะทำให้อายุหลอดลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง วัยสะรุ่นบ้านเรา ไม่รู้ ... ต๊าดเครื่องบรึ้นไปหน้าปากซอย ดับเครื่อง แล้วบรึ้นใหม่ไปมหา'ลัย ก่อนไปรับสาว ฯลฯ ชั่วโมงนึงเปิดปิดเป็นสิบหน .. พังอะดิ
    ม่ายเป็นไร .. ร้านขายหลอด ยังไม่รู้เรื่องนี้... ร้านดีๆ ก็รับเคลม (พวกขายหลอดในเน็ต อย่าเอาปืนมายิงผมหละ)

    12. ข้อที่หนึ่งโหลพอดี คำเตือนอันตรายข้อสูดท้าย (ใครจะโดนก่อน) หลอดซีนอน เป็นของอันตรายมาก
    แรงดันไฟสูงมาก ความร้อนสูงมาก แรงดันภายในหลอดตอนทำงานก็สูงมากๆๆเช่นกัน

    การทดลองว่าหลอดใช้ได้หรือไม่ ต้องใช้เวลาในการเปิดหลอด ไม่น้อยกว่า 30 วินาที
    ถ้าหลอดมีข้อบกพร่อง เช่นเซรามิคที่หุ้มเส้นลวดข้างหลอดแตก ไฟสูงรั่ว
    ถ้าหลอดเปื้อนเหงื่อ หลอดจะรั่ว
    ถ้าวางหลอดไม่ได้ระดับ หลอดจะร้าว ขั้วจะไหม้ แรงดันในหลอดจะสูงเกิน ฯลฯ

    เมื่อรวมทั้งหมดนี้ หลอดซีนอนที่ทำงานอยู่ และแสงไฟติดเต็มที่ พร้อมที่จะระเบิดใส่คุณ

    โปรดใช้ความระมัดระวังในการทดสอบหลอด

    13. ข้อที่สิบสาม โชคร้าย จะทำอย่างไร ถ้าหลอด หรือบัลลาสท์ เกิดเสียไปข้างหนึ่ง?
    ใช้หลอดเดิม? .. สวย เท่ห์ตายหละ .. ซีนอนสีฟ้าข้าง หลอดมีไส้สีเหลืองซีดๆอีกข้าง
    เปลี่ยนหลอด xenon ใหม่? ฮิฮิฮิ .. ไม่รู้หละสิว่า ... ค่า K ของหลอดซีนอน เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน .. หลอดสองข้าง ข้างหละสี ... ขนาดหลอดยี่ห้อเดียวกัน ผลิตต่างวันเวลา สียังเพี้ยนเลย (ไปถามพวกใจกล้าๆ ใน racingweb ดูดิ .. เปลี่ยนหลอดที น้ำตาตก) -------------------------------------
    อย่าลืม อย่าลืม อย่าลืม
    ค่า K ยิ่งสูง ยิ่งสวย และยิ่งไม่เหมาะกับการใช้งาน โดยเฉพาะเจอฝนเจอหมอก


    ที่มา.. Racing web.net
  8. Like
    7dozen reacted to Nui Showcase in .............เ ย...?? เ ข้ 300+ u ba pow   
    แรงกว่า INW เหล่านี้อีกเหรอ?

    http://www.youtube.com/watch?v=Ph0SjLC_lqk
  9. Like
  10. Like
    7dozen reacted to JeamsBall in Honda Accord 2013 รุ่นใหม่ มาชมกันครับ ^^   
    โฉม ไฮบริด 2014 อิ อิ
     

  11. Like
    7dozen reacted to Natthachai in ช่วยผมตัดสินใจเลือกรถด้วยครับ คิดไม่ตก   
    ถ้าจะเปลี่ยนเป็นรถใหญ่ขึ้นก็คงต้องเป็น accord ครับ แต่ถ้าจะเปลี่ยนมาเป็น คันที่ 2 กับ 3 ซึ่งมันเป็นรถเซกเมนท์เดี๋ยวกับซีวิค 
     
    ผมว่าถ้าซิวิคไม่ได้มีปัญหาซ่อมจุกจิกอะไร ใช้ซีวิคต่อดีกว่า ที่สำคัญไม่ต้องเป็นหนี้
  12. Like
    7dozen reacted to oyabin in งานอนิเมชั่นแจ่มๆของเด็กไทย   
    ฝีมือของหลานผมและเพื่อนๆเค้าอ่ะครับ ติชมได้
     
    [media=]
    [/media]
  13. Like
  14. Like
    7dozen reacted to Endless in เปลี่ยนผ้าเบรกแล้วจะช่วยให้เบรกหนึบกว่าเดิมไหม   
    ผมมองว่ามันเป็นสเตปแรกของการอัพเกรดระบบเบรคครับ ถ้าใช้งานทั่วๆไปไม่ได้ขับเร็วมาก ไม่ได้จี้ มุด เป็นประจำ เปลี่ยนแค่ผ้าเบรคให้ดีขึ้นก็เพียงพอครับ
     
    คำถามต่อมาคือ ใช้แบรนด์ไหนดี อันนี้ต้องบอกว่าแล้วแต่เลือกเลยครับ เพราะแต่ละคนต้องการไม่เหมือนกัน
     
    อาจจะชอบหนึบ กดทีหัวทิ่ม ดังไม่สนใจ หรืออาจจจะชอบดูดนุ่ม ไม่กินจาน ประมาณนี้นะครับ
     
    แต่สิ่งที่อาจจะฝากไว้นิดนึงก็คือเปลี่ยนผ้าเบรคแล้วอย่าลืมดูความสามารถในการทนความร้อนของจานเบรคด้วยนะครับ
     
    เปลี่ยนไปใช้ผ้าเบรค racing grade ทนความร้อนสูง แต่จานยังเป็นจานที่ใช้ทนความร้อนได้ไม่ถึงกับระดับของผ้าเบรคก็อาจจะเกิดอาการ เฟด และจานคดได้ง่าย
     
    เพราะฉะนั้นถ้าจะเปลี่ยนดูความต้องการของเรา และเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะกับการใช้งานของเราดีที่สุดครับ (ประหยัดงบประมาณด้วย)
     
    ถ้าเปลี่ยนผ้าเบรคแล้วยังไม่พอใจ จะอัพเกรดเบรคโต ก็ค่อยๆดูไปละกันครับ ^^
     
    ปล.อย่าลืมดูยางด้วยนะครับ ต่อให้เบรคเทพแค่ไหนแต่ยางลื่น ก็เอาไม่อยู่เหมือนกันครับ
  15. Like
    7dozen reacted to I'm No. 4 in ซีวิคอีกแล้ว ซิ่งฝ่าสายฝน แหกโค้งพังงา ตกบ่อดับ3ศพ   
    เห็นด้วยครับ ผมเคยไปมาแล้ว ไม่รู้ทาง ไม่ชินทาง ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ที่ใหญ่คือเดินทางกลางคืน ผมคิดว่าแนะนำให้แฟนและเพื่อนๆ เดินทางกลางวันจะดีกว่าครับ ลางานวันศุกร์ออกเดินทางช่วงสายๆ ก็ได้ครับ
  16. Like
    7dozen reacted to werayutsa in ใครขับรถมุดเก่งๆมาดูคันนี้ครับ   
    คงโดนชาวบ้านอวยพรตลอดทางแน่ขับแบบนี้ 
  17. Like
    7dozen reacted to Endless in เปลี่ยนผ้าเบรคหลังสังเกต "ตุ่ม" เพื่อความปลอดภัยครับ   
    เนื่องด้วยก่อนหน้านี้ผมได้เปลี่ยนผ้าเบรคหน้า-หลัง ให้กับรถของ ผบ.ทบ.(ผู้บัญชาการ"ที่บ้าน") เพื่อให้เบรคได้ดีขึ้น และก็ใช้งานมาตากปกติไม่มีอะไร
     
    แต่เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ลูกปืนล้อหลังดันมาแตกอีก ก็เลยไปหาซื้อลูกปืนไปเปลี่ยนนอกศูนย์ (ถูกกว่าทั้งค่าของและค่าแรง)
     
    ระหว่างที่ถอดล้อ+ดุมล้อเพื่อเปลี่ยนลูกปืนก็ไปสังเกตเจอที่จานเบรคหลังด้านในเป็นดังภาพครับ (ถ้าไม่ถอดปั้มเบรคจะสังเกตได้ยากมากครับ)
     

     
    ซึ่งเป็นทั้ง 2 ข้าง ผิดปกติแน่นอน เพราะคันผมไม่เป็นแบบนี้ (ปกติจะถือโอกาสสำรวจช่วงล่างด้วยตัวเองระหว่างยกรถขึ้นฮ้อยส์อยู่เสมอ)
     
    หลังจากที่ตรวจสอบจึงพบว่าสาเหตุมาจากเจ้าสิ่งนี้ครับ
     

     
    เราจะสังเกตเห็นว่ามีรอบสนิมกลมๆอยู่บนลูกสูบเบรค มันคือ "รอยตุ่มบนผ้าเบรคหลัง"
     
    ซึ่งมันควรจะอยู่ในร่องของลูกสูบ เพื่อล็อกให้ผ้าเบรคอยู่กับที่เวลาที่เราเบรคนั่นเอง
    รูปตัวอย่างตุ่มผ้าเบรค(รูปแทนครับ)

     
    ซึ่งจากการติดตั้งที่ผิดพลาดก่อนหน้านี้จึงทำให้ผ้าเบรคจับไม่เต็มจานโดยส่วนที่อยู่ตรงกับตุ่มจะถูกกดมากกว่าปกติทำให้ผ้าเบรคมีสภาพแบบนี้ครับ
     

     
    ตอนนี้แก้ไขให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมแล้วทั้งจานเบรค และผ้าเบรคครับ
     
    สรุป
     
    อาการ - ผ้าเบรคจับไม่เต็ม
    (แต่ผมไม่รู้สึกครับ เพราะเป็นเบรคหลัง และคันผมใช้เบรคที่ใหญ่กว่าทำให้รู้สึกว่าเบรคคันผบ.ทบ.จะเบรคได้ไม่ดีเท่ากับคันผมเป็นปกติอยู่แล้ว)
     
    สาเหตุ - ปรับตั้งลูกสูบไม่ดี ทำให้ร่องไม่ตรงกับตุ่มผ้าเบรค
     
    การแก้ไข - หมุนลูกสูบเบรคให้ร่องตรงกับตุ่มบนผ้าเบรค
     
     
     
  18. Like
    7dozen reacted to bigheads in ขอถามอะไรโง่ๆหน่อยครับสำหรับFDเรา   
    1ดันเกียร์ไปที่ตัวP แล้วดึงกุญแจออกมาเสียบตัวช่องเล็กเหนือเกียร แล้วดันมาที่ตัวN    2รีเซ็ตก็กดแช่ไว้ทำได้ทั้ง tip a และ b     3นึกภาพไม่ออก  แต่ตรงช่องปรับอากาศมันจะมีรูปเหมือนไล่ฝ้า นะครับ  ลองดูนะครับ  นี่คือวิธีพื่นๆที่ผมทำอยุ่  ใครมีวิธีที่ดีกว่านี้หรือถูกต้องก็ลองอธิบายน้องเค้าดูนะครับ  ช่วยมือใหม่ได้แค่นี้  หรือไม่ลองไปอ่านคู่มือดูก็ได้นะครับ
  19. Like
  20. Like
  21. Like
    7dozen reacted to Tu@pted in AD08 vs RE11   
    ผมใช้ AD08 อยู่ปีนิดๆ แล้วเปลี่ยนเป็น RE11 ครับ
    ใช้ยาวๆ RE11 ยืนระยะดีกว่าเยอะครับ
    AD08 ใหม่ๆ เกาะกว่า RE11 จริง แต่ performance ดรอปลงกว่าเยอะในระยะเวลาประมาณ 1 ปีครับ RE11 มันใช้ได้ยาวคงเส้นคงวากว่าครับ
     
    เรื่องเสียงและน้ำ AD08 แย่กว่า RE11 ครับ
    ถ้าต้องการ performance ไม่สน ความทนทาน เสียงและรีดน้ำ AD08
    ส่วน RE11 มันเกาะคงเส้นคงวากว่า น้ำและเสียงดีกว่ามากครับ
  22. Like
    7dozen reacted to t0ey in ฝากถึง เจ้าของ FD คันนี้หน่อย "โครตแสบตา"   
    ปัจจุบัน ได้มีการออกกฏหมาย เรื่องไฟตัดหมอก หน้า-หลัง หากใช้ไม่ถูก สถานการณ์ อาจถูกปรับ 500 บาท ได้
     
    โดยปกติ ส่วนมาก จะมีคนบ่น เรื่อง New Vios เปิดไฟตัดหมอกหลัง ซึ่งสร้างความ ลำบากให้รถที่ขับตามมากๆ
     
     
     
    แต่พี่ FD คันนี้ ใส่ชุดแต่ง Mugen RR ซึ่งผมเข้าใจนะครับ ว่า มันจะต้องมีไฟตรงกลาง ซึ่งมันจะดูสวยงามทีเดียว .....
    และผม เห็น RR มาหลายคัน มันไม่แสบตาขนาดนี้ครับ ....
     
     
    ทั้งนี้ หากคุณเล่น web นี้ หรือใครที่รู้จักเจ้าของรถท่านนี้  ผมขอแนะนำคุณหน่อยครับว่า ไฟของคุณ มันแสบตาหนักหนา สาหัส กว่าพวก Vios มากๆครับ
     
    ขนาดตอนผมถ่ายยังไม่มืด นะครับ ถ้ามืดแล้ว มันจะขนาดไหน ....
     
     
    ผมเบลอ ทะเบียนให้ทั้งหมดเลยนะครับ เพราะผมไม่ได้ต้องการจะมาแฉ คุณหรืออย่างไร แต่อยากจะแนะนำว่า คนที่ขับตามหลังท่าน
    ในทุกๆเส้นทาง ต้องมีหลายๆท่านที่ ด่าทอ สาบแช่ง บ้างครับ เพราะมันปวดลูกตามาก ....
     
     
    ถ้าคุณแก้ไข ให้สว่าง น้อยลงได้ ผมว่า มันจะเป็นประโยชน์ กับคนอีกหลายๆคนครับ
     
    แต่ถ้าคุณ เห็นว่า กระทู้นี้มันรกสายตา คุณก็ไม่ต้องมาโต้ตอบครับ เพราะว่าผมไม่ได้ลง เลขทะเบียนไว้ คุณจะได้ไม่เดือดร้อนครับ.
     
     
    รูปตอนที่ยังไม่เบรค (ณ ตอนเย็นๆ ยังไม่มืด)
     

     
     
     
    รูปหลังจากเหยียบเบรค (ณ ตอนเย็นๆ ยังไม่มืด)
     

     
     
    ปล. ถ้ามืดเมื่อไหร่ ผมว่าคันหลัง มีตาพร่าอะครับ อันตรายมากๆนะครับ   (แต่รถคุณแต่งสวยดีครับ ผมชอบมาก ^^)
     
     
     
  23. Like
    7dozen reacted to gryffindor in เตือน เปิดไฟตัดหมอกมั่ว ถูกปรับ 500 บาท   
    เตือน เปิดไฟตัดหมอกมั่ว ถูกปรับ 500 บาท  
     
    พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น. ได้โพสต์ในเฟซบุ๊ค ถึงกรณีรถที่เปิดไฟตัดหมอก โดยระบุว่า
    อยากจะขอแจ้งให้ทราบ พอดีเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งการจับกุมรถที่เปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีเหตุอันควรผ่านมาทางระบบ LINE ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนร้องเรียนกันอย่างมาก
    สำหรับรถบางคันที่เปิดไฟตัดหมอกโดยพร่ำเพรื่อ อีกทั้งพวกที่ติดไฟสีต่างๆ ที่ไม่ใช่ไฟสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวตามกฏหมาย ซึ่งเป็นการก่อความเดือดร้อนให้กับผู้ร่วมทางคนอื่นๆ การเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีเหตุอันควรมีความผิดตามกฏหมายครับ
    โปรดอย่าเปิดโดยไม่มีเหตุที่ต้องเปิดตามกฏหมาย เพราะจะไปก่อความเดือดร้อนและอันตรายแก่คนใช้รถใช้ถนนท่านอื่นเลยครับ เคยมีบทความเขียนไว้ดังนี้ว่า
    ” เดี๋ยวนี้รถรุ่นใหม่แทบทุกรุ่นจะต้องมีไฟตัดหมอก แต่เห็นมีอยู่หลายคน ใช้ไฟตัดหมอกแบบผิดๆ อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรืออาจจะมองว่าเป็นความเท่ ทั้งที่ในความเป็นจริง การเปิดไฟตัดหมอกในเมือง หรือในสภาพการขับรถปกติ ก่อความเดือดร้อนให้เพื่อนร่วมทาง เพราะแสงจะเข้าตารถคันหน้าหรือรถที่แล่นสวนมา ไฟตัดหมอกไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใด มีมานานมากแล้ว โดยเฉพาะประเทศเมืองหนาว หรือประเทศที่มีภูเขาค่อนข้างมาก
    โดยเจ้าไฟตัดหมอกนี้จะเป็นดวงไฟชุดที่ 2 จะช่วยให้ความสว่างยามที่ทัศนวิสัยการขับขี่ไม่เอื้ออำนวยนัก ชุดไฟตัดหมอก โดยมากก็คือสปอตไลต์ย่อส่วน มาพร้อมกับดวงไฟขนาดไม่ใหญ่โตนักขนาด 55 วัตต์ แต่ก็ทะลุทะลวงเอาเรื่อง ด้วยหลอดไฟแบบเดียวกับสปอตไลต์ จะกระจายแสงในระนาบแนวกว้าง ทำให้สามารถเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ได้อีก แม้จะไม่มากมายแต่ก็สามารถให้มองเห็นทางได้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นที่สังเกตของรถที่สวนมา หรือรถที่ตามมาข้างหลัง การใช้ไฟตัดหมอกแม้มันจะขึ้นชื่อว่าไฟตัดหมอก แต่คุณก็สามารถใช้ได้ โดยเฉพาะในหน้าฝนที่ตกพรำๆ บ่อยเช่นนี้ แต่ถ้าจะให้ดีจริงๆ สถานการณ์ที่ควรจะต้องเปิดไฟตัดหมอก ได้แก่
    1.เมื่อฝนตก โดยเฉพาะช่วงฝนตกหนัก
    2.เมื่อเจอหมอก
    3.หลังฝนหยุดในเวลากลางคืน การเห็นเส้นทางที่จะทำได้ชัดเจนจริงๆ ไม่ว่าป้ายบอกทางและเส้นจราจรต่างๆ ช่วยให้คุณขับรถได้ง่ายขึ้น โดยปกติแล้วเมื่อฝนตกจนหยุดแล้ว ถนนจะยังเปียกชื้น แม้เราเปิดไฟใหญ่ไป แต่ก็จะพบว่ามันไม่ค่อยสว่างนัก ไฟตัดหมอกจะขจัดปัญหานี้ และช่วยลดการสะท้อนของน้ำที่ผิวถนนไปด้วยในตัว
    4.ขับผ่านกลุ่มควัน จงจำไว้ว่าไฟตัดหมอกไม่ใช่แฟชั่น ไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ เพราะนอกจากจะแสดงถึงมารยาทที่ไม่ดีแล้ว อาจเจอข้อหาเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีสาเหตุ มีโทษสูงสุดปรับ 500 บาท”
    ขับรถโปรดเคารพกฏจราจร เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและเพื่อนร่วมทางคนอื่นๆ อย่าเปิดไฟตัดหมอกพร่ำเพรื่อแล้วไปก่อความเดือดร้อนแยงตากับผู้ร่วมทางคนอื่นกันเลยครับ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายและต้องถูกจับกุมเมื่อพบเห็น เหมือนกับที่หลายท่านพูดกันว่า “ไม่มีหมอก จะเปิดไฟตัดหมอกหาอะไรกัน”
     
    ที่มาMThai News
  24. Like
    7dozen reacted to zensor in Killer Karaoke : ร้องเพลงแลกเงินรางวัล (ห้ามหยุดร้องไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น)   
    คำเตือน โปรดดูภาพตัวอย่างก่อนจะดูวีดีโอ ไม่เหมาะสำหรับคนที่กลัวงู
     
    ให้เป็นล้านก็ไม่เอาาาา    ร้องอะไรกัน ได้ยินแต่ Oh my Godddd
    http://www.youtube.com/watch?v=uKRlEJqI1mg&feature=share&list=SPZxWJ6CTr63ZiYz-Jj3Tk7l__Qtf6ylCo
    http://www.youtube.com/watch?v=VNaLO-SDVrU&feature=share&list=SPZxWJ6CTr63ZiYz-Jj3Tk7l__Qtf6ylCo
     
     
     
    อันนี้ทั้งขำทั้งสงสาร
    http://www.youtube.com/watch?v=Mao7lRVMgKc&feature=share&list=SPZxWJ6CTr63ZiYz-Jj3Tk7l__Qtf6ylCo
  25. Like
    7dozen reacted to next9422 in มาแข่งรถบนถนนกันไหม   
    http://www.youtube.com/watch?v=tyk-ZC1gSP4&feature=player_embedded
×
×
  • Create New...