Jump to content

รู้มั๊ย? รถ 1 คัน ที่ซื้อ...เราจ่ายภาษีกันเท่าไร ?


Recommended Posts

เก็บมาฝากครับ เป็นข้อมูลที่น่าสนใจดีครับ

:)

 

ผมนำข้อมูลว่ารถ 1 คันที่ซื้อ...เราจ่ายภาษีกันเท่าไร ? มาฝากโดยกรมสรรพสามิตเขาชี้แจ้งให้เห็นอย่าละเอียด ทั้งรถนำเข้าและรถที่ผลิตในประเทศ

 

โครงสร้างการคิดภาษีรถยนต์ในประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

 

 

กรณีที่ 1 รถนำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ

 

การ คิดภาษีสำหรับรถนำเข้านั้น จะคิดจากราคา CIF (Cost+Insurance+Freight) ซึ่งก็คือ ราคาขายของรถบวกด้วยค่าอากร ค่าประกันภัย และค่าขนส่งจากต่างประเทศ มาถึงที่ท่าเรือที่ประเทศไทย ราคา CIF นี้จะถูกระบุไว้ในเอกสารการนำเข้า ในที่นี้สมมติให้ราคา CIF เท่ากับ 100 บาท ภาษีที่ต้องจ่ายจะประกอบไปด้วย

 

1.อากรขาเข้า ภาษีแรกที่ผู้นำเข้าต้องจ่าย ณ ท่าเรือก่อนนำรถออกจากท่าเรือเข้ามาในประเทศ ในอัตรา 80% ของราคา CIF ซึ่งเท่ากับ 80 บาท

 

2.ภาษี สรรพสามิต ซึ่งกรมศุลกากรจะเก็บภาษีนี้พร้อมกับอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตนี้จะถูกเก็บในอัตราต่างกันตั้งแต่ 30-50% ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ หรือขนาดเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี ที่ถูกจัดเก็บในอัตรา 30% ของราคา CIF รวมกับภาษีอากรขาเข้า โดยใช้สูตรการคำนวณการจัดเก็บ ที่เรียกว่า "ฝังใน"

 

คือ = {(100+80)x30%} 1-(1.1x30%)

 

3.ภาษี มหาดไทย ชื่อภาษีมีที่มาจากภาษีที่เก็บได้นี้ถูกนำไปบริหารประเทศโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งภาษีมหาดไทยจะคิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย

 

4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% ของราคา CIF+อากรขาเข้า+ภาษีสรรพสามิต+ภาษีมหาดไทย

 

 

ซึ่ง เมื่อรวมภาษีทั้ง 4 ชนิดเข้าด้วยกันแล้ว จากราคารถสมมติที่ 100 บาท จะกลายเป็น 287.5-428.0 บาท (ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ) ซึ่งมูลค่าดังกล่าวนี้ยังไม่รวมอัตรากำไร และค่าดำเนินการอื่น ๆ ของบริษัทผู้จำหน่าย ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเห็นรถราคา 1 ล้านในเมืองนอกมาขายที่บ้านเราในราคา 3-4 ล้านบาท เพราะภาระภาษีมันสูงเช่นนี้นี่เอง

 

 

 

กรณีที่ 2 รถที่ผลิตในประเทศไทย

 

ผู้ผลิตจะนำชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาจากต่างประเทศเป็นบางรายการ

 

1.อากรขาเข้า จะถูกจัดเก็บตามอัตราที่กรมศุลกากรกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดหรือพิกัดของชิ้นส่วนนั้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 30% ของราคา CIF ถ้าใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศทั้งหมดก็จะไม่เสียภาษีในส่วนนี้

 

2.ภาษี สรรพสามิต (อันนี้นี่แหละที่เขาจะคืนให้สำหรับรถคันแรก) จะถูกจัดเก็บอัตราเดียวกับการนำเข้ารถทั้งคันจากต่างประเทศ โดยคำนวณจากราคาหน้าโรงงาน และกรมสรรพสามิตจะพิจารณารับราคาหน้าโรงงานนี้ไม่ต่ำกว่า 76% ของราคาขายปลีกที่ขายให้กับผู้บริโภค คือ ถ้าราคาขายปลีกอยู่ที่ 100 บาท (รถยนต์ไม่เกิน 2,000 ซีซี) ก็จะใช้ราคาหน้าโรงงานที่ 76 บาทมาคำนวณตามสูตร "ฝังใน" เพื่อให้ได้ภาษีสรรพสามิต

 

3.ภาษีมหาดไทย คิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย

 

4.ภาษี มูลค่าเพิ่ม 7% กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ เหมือนกรณีที่ 1 สมมติให้รถขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี ราคารถหน้าโรงงานอยู่ที่ 100 บาท ภาษีสรรพสามิตก็จะอยู่ที่ 80.60 บาท บวกด้วยภาษีมหาดไทย 8.1 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 13.2 บาท ก็จะได้ราคาขายปลีกเท่ากับ 201.9 บาท หรือถ้าคิดในมุมกลับภาษีรวมของรถที่ผลิตในประเทศจะมีมูลค่าประมาณ 40-70% ของราคาขายปลีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ ยิ่งปริมาตรกระบอกสูบมาก มูลค่าภาษีก็จะสูงตาม

 

 

 

ตัวอย่างเช่น ถ้าซื้อรถที่ผลิตในประเทศ เครื่องยนต์ 1,800 ซีซี ในราคา 7 แสนบาท หมายความว่า เราได้จ่ายภาษีให้รัฐประมาณ 2.8-3 แสนบาท

 

 

ในขณะที่ภาษีรวมของรถนำเข้าจะคิดจากราคาขายปลีกไม่ได้ เพราะยังไม่ได้รวมกำไรและค่าดำเนินการของผู้นำเข้า ฉะนั้นต้องคิดจากราคาทุน ซึ่งจะมีมูลค่าภาษีอยู่ที่ประมาณ 200-300% ของราคาต้นทุน

 

 

 

 

ที่มาบทความจาก : prachachat.net

Link to comment
Share on other sites

เป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่สนใจรถนำเข้า แม้จะใช้แล้วดูดี ดูมีสง่าราศรี ดูมีตังส์

เพราะหลายรุ่น ราคาที่ขายแพงๆ น่ะ มันไม่ได้แพงเพราะคุณภาพของรถที่แท้จริง

หลายยี่ห้อ หลายรุ่น ขับแล้วเท่ไฮโซ มันแพงเพราะภาษีแค่นั้น การใช้งานงั้นๆ อะไหล่และบริการแพงเวอร์อีกต่างหาก

ถ้าไม่ใช่รถซุปเปอร์คาร์ รถที่เอามาขายในไทย ราคาที่ต่างประเทศก็ไม่ต่างกับรถทั่วไปยี่ห้ออื่นๆ

Link to comment
Share on other sites

สรุปแล้วรถแพงเพราะภาษี น้ำมันแพงเพราะภาษี บุหรี่แพงเพราะภาษี แล้วเงินภาษีมันไปอยู่ไหน

Link to comment
Share on other sites

สรุปแล้วรถแพงเพราะภาษี น้ำมันแพงเพราะภาษี บุหรี่แพงเพราะภาษี แล้วเงินภาษีมันไปอยู่ไหน

 

ภาษีก็คงจะอยู่ในรูปแบบอื่นๆนะครับ แต่ส่วนมากจะไปอยู่ที่.... นะครับ

Link to comment
Share on other sites

ทุกอย่างที่แย่ๆในประเทศนี้เกิดจากนักการเมืองชั่วทั้งนั้น ภาษีเยอะแยะ เอาไปไหนหมด ประเทศที่จ่ายภาษีขนาดนี้น่าจะเจริญได้แล้ว พูดแล้วมันเจ็บใจ

Link to comment
Share on other sites

ภาษีส่วนหนึ่งก็แบ่งให้เค้าไปเที่ยวกันไง

 

นี่แค่คณะเดียวนะ ถ้ารวมทั้งหมดก็ราวๆ 40-50 คณะต่อปี

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000115610

 

ท่านๆ จะได้รับการจัดสรรเพื่อการนี้ คนละมากกว่า 200,000 บาท ต่อปี เพื่อภารกิจอยากไปไหนก็ไป ลองคูณดู :0041:

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...