Jump to content

มาแชร์ข้อดีข้อเสีย ของผ้าเบรกที่ใช้งานจริงกันแต่ละรุ่นกันครับ


Recommended Posts

ขาย mu-spec ทิ้งเลยหรอครับ ^^"

 

800 ถูกมากครับ

 

5555....mu spec มีจุดด้อยตรงที่ความเร็วเกิน 140 km. เอาไม่ค่อยอยู่ครับ

 

แต่สำหรับท่านที่ขับไม่เร็ว และใช้ขับในเมือง ที่ต้องเบรกจี้แบบกระทันหัน ผมแนะนำครับ

 

ตอนนี้ ว่าจะลอง Hisoft V2 ที่คุณ Lhorn ใช้อยู่ กะจานเบรก TRW ครับ น่าจะตอบโจท์ด้านความเร็วสูง และเสียงได้ดี

 

ใครสนใจ โ?รมาได้เลยนะครับ ผ้าเบรก ....mu spec...ใช้งานแค่ 1 เดือนเองครับ สภาพใหม่กริ๊บ......ราคา 800 ถ้วน จาก 1650

 

..เหตุผลที่เปลี่ยน มีคนมาให้ทดสอบผ้าเบรก Hi Soft แล้วติดใจในคุณภาพ ครับ.....

Link to comment
Share on other sites

  • Replies 212
  • Created
  • Last Reply

Top Posters In This Topic

Top Posters In This Topic

ส่วนตัวจากการใช้ผ้าเบรค MU Spec เปลี่ยนไปก่อนปีใหม่ วิ่งยังไม่ถึง 2 พันโล รู้สึกว่า

 

ช่วงความเร็วต่ำ ขับในกรุงเทพฯ รู้สึกว่าเบรคไม่ค่อยอยู่ครับ (แต่ดูดเท้า ดูดจริงครับ) รู้สึกระยะเบรคยังยาวอยู่(หวังไว้ว่าน่าจะดีกว่านี้)

 

ความเร็วปานกลาง มอเตอร์เวย์-ทางด่วง ถือว่าใช้ได้ครับ รับได้ ถือว่าไม่ด้อยกว่าหวังไว้ แต่ก็ไม่ได้เด่นจนน่าดีใจ

 

ความเร็วสูงก็ยังพอใจ เพราะเกือบไปกระแทกตูดคันหน้ามา 2 ครั้งตอนกลับจากปีใหม่  แต่เบรคแล้วรู้สึกว่ากดเบรคหนักๆ ABS ทำงานไวขึ้นครับ

 

หรือว่ายังอยู่ช่วง รันอิน หรือป่าวก็ไม่รู้เหมือนกัน

Link to comment
Share on other sites

ส่วนตัวจากการใช้ผ้าเบรค MU Spec เปลี่ยนไปก่อนปีใหม่ วิ่งยังไม่ถึง 2 พันโล รู้สึกว่า

 

ช่วงความเร็วต่ำ ขับในกรุงเทพฯ รู้สึกว่าเบรคไม่ค่อยอยู่ครับ (แต่ดูดเท้า ดูดจริงครับ) รู้สึกระยะเบรคยังยาวอยู่(หวังไว้ว่าน่าจะดีกว่านี้)

 

ความเร็วปานกลาง มอเตอร์เวย์-ทางด่วง ถือว่าใช้ได้ครับ รับได้ ถือว่าไม่ด้อยกว่าหวังไว้ แต่ก็ไม่ได้เด่นจนน่าดีใจ

 

ความเร็วสูงก็ยังพอใจ เพราะเกือบไปกระแทกตูดคันหน้ามา 2 ครั้งตอนกลับจากปีใหม่  แต่เบรคแล้วรู้สึกว่ากดเบรคหนักๆ ABS ทำงานไวขึ้นครับ

 

หรือว่ายังอยู่ช่วง รันอิน หรือป่าวก็ไม่รู้เหมือนกัน

 

ตามที่คุณ dikiboyz ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับผ้าเบรก Mu spec ผมขอสอบถามเพิ่มเติม ดังนี้ นะครับ.........

1. ผ้าเบรก Mu Spec ที่ใช้งาน ซื้อมาจากไหน  ซื้อมาจากตัวแทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่  มีสัญลักษณ์ธงชาติญี่ปุ่นหรือไม่

 

          เพราะ เมื่อปีที่แล้ว มีผ้าเบรก Mu Spec ปลอมเยอะมาก ขายกันเกลื่อนมาก เนื่องจากชื่อเสียงของมันด้านการเบรกแบบจี้ สำหรับการขับในเมือง

 

         แนะนำให้ซื้อจากตัวแทนจำหน่ายโดยตรง พวกที่ขายส่ง TRW เป็นต้น.....

 

2. ก่อนหน้านี้ ท่านใช้ผ้าเบรกรุ่นใดมาก่อน..........

 

        เพราะบางรุ่นที่ท่านใช้ เบรกจับแบบยุโรป คือกดปุ๊บแระมาเลย.....แต่ความเร็วสูงแล้วไหล.....เลยทำไห้  Mu Spec  เบรกไม่ดีด้านความเร็วต่ำ แต่ดีด้านความเร็วสูง 

 

       หรือถ้าเคยใช้ผ้าเบรกติดรถ มิวสเปกจะดีกว่าด้านความเร็วสูง..............

 

       ลองดูตัวอย่างโพสแรกๆ ที่ผมได้โพสไว้ ว่าผ้าเบรก แต่ละรุ่นมีเอกลักษณ์แบบไหน ให้คะแนนแล้วแบบไหน เหมาะกับการขับแบบใด

 

3.   เรื่องจานเบรก จานเบรกลาย เป็ฯร่อง มีรอย หรือไม่ มีผมต่อการจับตัวของผ้าเบรก และการหยุดรถแบบฉุกเฉินด้วย.......

 

4.  คุณสมบัติของ Mu spec เป็ฯผ้าเบรกที่เนื้อค่อนข้างอ่อน ต้องออกแรงกดมากกว่าปกติ....ถ้าเพิ่งเปลี่ยนใหม่ๆ อาจจะยังไม่ชินในการเหยียบเบรก

 

     เพราะต้องออกกดเบรกมากกว่าเดิม.......ทำให้เบรกระยะสั้นยังไม่ค่อยดี  แต่พอขับเร็วๆ กดเบรกยาวๆ นานๆ เลยทำไห้เบรกอยู่ดี..........

 

    เลยแนะนำไห้ลองเล่นหลายๆ ตัวครับ.....จะได้รู้ และเข้าใจว่าสไตล์การขับของเราเหมาะกับผ้าเบรกแบบไหน.......

 

สำหรับผม ตอนนี้ ติดใจใน Hi Soft ไปแระครับ............ใช้มาตอนแรกว่าจะกลับไปใช้ Mu spec แต่ยิ่งนานยิ่งติดใจในการเบรกทุกช่วงความเร็วครับ

 

ติด้านเรื่องเสียงนิดหน่อย.......คิดว่าคงเป็ฯสูตรที่เบรกดีด้านความเร็วสูงครับ พลังงานเลยถูกปล่อยทางด้านเสียงเยอะหน่อย

 

แต่ตอนนี้มี Version V.2 ออกมาแล้ว ตอบโจทย์ด้านเสียงและการขับได้อย่าสงดี จากการทดสอบของคุณ Lhorn นะครับ

 

เร็วๆ นี้ จะลองเปลี่ยนมาใช้ V.2 บ้าง..........กะจาน TRW หลังเปลี่ยนแล้ว ท่านใดสนใจจะลอง Hi soft V1 ไปทดสอบก็ได้นะครับ...........

 

ใช้ไป 30,000 km ผ้าเบรกยังเหลือเยอะมากๆ...(ของเดิมทำมาค่อนข้างหนา คงใช้ไปแสนกว่าโล แน่นอน)

Link to comment
Share on other sites

  • 1 month later...

ผมเปลี่ยนจากผ้าเบรคศูนย์ตอนประมาณ 62,XXX กิโลเมตร  มาเป็น  Hi Soft V.2  โดยไม่ได้เจียรจาน (แต่จานมีรอยไม่มาก)

 

ความรู้สึกแรกที่ทดลองเบรค  น้ำหนักในการกดรู้สึกนุ่มเท้า และหน่วงรถตั้งแต่เริ่มกดเบรค  ไม่ไหลเหมือนผ้าเดิมๆของศูนย์

ช่วงเช้าตอนจานและผ้าเบรคเย็น เเหมือนจะลื่นอยู่นิดๆ แต่ออกแรงกดเพิ่มก็ยังสามารถหยุดได้ปกติ  และเมื่อเบรคไปแล้วสัก 2 ครั้ง อาการลื่นก็หายไป

 

จากการใช้งานมาประมาณ 1 เดือน  ยังไม่เจอเสียงตอนเลียเบรค  แต่ฝุ่นเยอะมากกว่าผ้าเบรคศูนย์ครับ

ช่วงความเร็ว 120+  ยังไม่ได้ทดสอบเท่าไรเพราะช่วงนี้เน้นขับให้ประหยัดน้ำมันครับ   โดยรวมพอใจกับคุณภาพและราคาครับ   :) 

Link to comment
Share on other sites

ฝุ่นจากผ้าเบรค Hi Soft V.2 หลังจากใช้งานประมาณ 2 สัปดาห์ครับ  เยอะกว่าผ้าของศูนย์มากๆ

 

S__3301379_zpsdcc8ef60.jpg

ช่วงเปลี่ยนแรกๆฝุ่นอาจจะเยอะหน่อย อีกสักพักหลังจากผ้าเบรคกับจานเบรคปรับเข้ากันดีแล้วฝุ่นจะลดน้อยลงมากครับ

Link to comment
Share on other sites

  • 3 months later...

ผมใช้ N-ap ชมพู 800C อยู่ครับ ราคาถูกมาก คู่หน้าไม่เกิน1800บาท  เบรคโคตรดี แต่ฝุ่นโคตรรรเยอะะะ ล้อดำมากกกกก
ยังไม่พอใครที่ล้างรถเอง พื้นบ้านดำไปด้วยอีก -*-
E230E390E1B0E200E320E1E02_zps1faa5177.jp

Link to comment
Share on other sites

  • 3 months later...

ผมขอโพส ผลการทดสอบผ้าเบรกของประเทศ KOREA ยี่ห้อ KYISOI รุ่น Hi Soft ที่ผู้นำเข้าเสนอให้ผมมาทำการทดสอบครับ กับรถ FD รุ่น 1.8E ปี 2008

- ระยะทางที่เริ่มเปลี่ยน วันที่ 24/03/56 เลขไมล์ 176,393 km.

- ระยะทางปัจจุบัน วันที่ 06/10/57 เลขไมล์ 241,451 km.

 

รวมใช้งานเป็นระยะทางทั้งสิ้น 65,058 km. ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน  ยังใช้งานได้อยู่ครับ

 

เดี๋ญวเร็วๆ นี้ จะทำการทดสอบ Hi Soft V.2 .ให้ชมกันครับ.....

Link to comment
Share on other sites

ว่าจะมารีวิว แต่ลืมวิธีอัพรูป อิอิ หายไปนาน ทำไม่เป็น 5555

 

เพื่อนๆ ในคลับ ลองไปชมภาพ ที่ผมรีวิว การใช้งาน ผ้าเบรก Hisoft Premium V.2 ได้ตามลิ้งนี้ครับ

 

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.540594156070988.1073741835.538859449577792&type=1

Link to comment
Share on other sites

     เพิ่งไปเปลี่ยนจานเบรก TRW + ผ้าเบรค Hisoft Premium V.2 ที่ร้านใกล้แยก กิ่งแก้ว โฮมโปร บางพลี ครับ

 

ราคา TRW  น่าคบหามาก จานธรรมดา ราคาไม่ถึงพัน จานเซาะร่อง ราคาไม่ถึง 2 พัน

 

 

        ลองเปลี่ยนมาแล้ว ความรู้สึกว่า จานเบรก TRW + ผ้าเบรค Hisoft Premium V.2  ทำงานได้อย่างสัมพันธ์กันมาก ครับ

 

เรื่องเสี่ยง หายไปเลยจาก V.1  อารมณ์การเบรก ความเร็วต่ำดูดลงมากกว่าเดิม จนรู้สึกได้

 

เรื่องเบรกแล้วหัวทิ่ม   ไม่มีอาการนั้น    การเบรกฉุกเฉินเวลาเร่งแซง ไม่มีอาการ FADE ให้เห็ฯ ว่าลื่นไถล

 

การขับจี้แล้วเร่งแซง ทำได้ดีครับ ทำให้สามารถควบคุมรถได้อย่างคล่องตัว และมั่นใจขึ้น

 

ส่วนความเร็วสูง ขอเป็ฯพรุ่งนี้นะครับ รอรันอิน ให้ครบ 200 กม. ก่อน อิอิ กลัวพลาด

 

จะลองเบรกที่ความเร็วสัก 160-180 km/hr ให้ชมกันเป็นคลิป VDO(เร็วกว่านั้น 185-205 km/hr สงสารรถ วิ่งมา 240,000 km แล้ว)

 

 

ข้อเสีย....อาจจะเป็ฯเพราะยังไม่ชิน กับการกดเบรกแบบชะลอดูคันหน้า

 

ปกติ V.1 ไม่ต้องกดมาก ก้อมีการชะลอรถให้ค่อนข้างมาก(แต่หัวไม่ทิ่มนะ)

 

แต่ V.2 ต้องออกแรงกด เยอะกว่าเดิม  ทำให้ดูเหมือนจะเบรกไม่ค่อยชะลอ  แต่พอเพิ่มน้ำหนักที่เท้ากดลงไป รถมันเหมือนถูกดูดลงไป ตามแรงเท้าที่กด

 

         ตอนขับออกจากบ้าน ช่วงเช้า ตอนผ้าเบรกเย็น ต้องมีการเบรก ย้ำๆ วอมจานกะผ้าเบรกให้อุ่นก่อน(ดูจากผลการทดสอบ ที่ให้มา ทำงานได้ดี ช่วงตั้งแต่ อุณหภูมิ 150 C)

 

 

ข้อดี  เสี่ยงเบรกแหลมๆ ไม่มีให้ได้ยินเลย

         

         ระยะการ Bedding In มาเร็วดี วิ่งประมาณ 60 กม. ก็เริ่มเข้าที่แล้ว อาจเป็ฯเพราะจานเบรกใหม่ด้วย อิอิ............

 

        สร้างความมั่นใจ เวลากดเร่งแซงแล้วมีรถปาดหน้า  เบรกไม่ FADE เลย  ล้อก็ไม่ล็อก ยางไม่ไถล ไม่มีเสียงยางเอี๊ยดอ๊าด เหมือน V.1

 

        ขับลุยน้ำ  ยังเบรกได้ดี ไม่มีอาการลื่น

 

 

 ส่วนรูปถ่ายเดี๋ญว หาวิธีก่อนนะครับ ไม่ได้ลงรูปนาน ลืมเลย 5555+++++  ต้องไปอ่านวิธีการอัพรูปกับเวปก่อน....

Link to comment
Share on other sites

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผ้าดิสก์เบรก

ชนิดของผ้าดิสก์เบรก
ผ้าดิสก์เบรกที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดขณะนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1. กลุ่มผ้าดิสก์เบรกราคาถูกทั่วไปที่มีส่วนผสมของสาร Asbestos หรือที่เรียกกันว่า "ผ้าใบ" จะมีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ คุณสมบัติในการเบรก จะใช้ได้ในความเร็วต่ำๆ หรือระยะต้นๆ แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ประสิทธิภาพในการเบรกจะลดลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ อายุการใช้งานจะสั้น ผ้าดิสก์เบรกหมดเร็ว นอกจากนั้นแร่ใยหินมีผลต่อสุขภาพ ในปัจจุบันจึงมีการใช้น้อยลง

2. กลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของสาร Asbestor หรือกลุ่ม Non-organic แบ่งออกเป็น 2ชนิด คือ
2.1 ชนิดที่มีส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นโลหะ (Semi-metallic) จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจากยุโรป หรืออเมริกา เช่น Bendix Mintex
2.2 ชนิดที่มีส่วนผสมของสารอนินทรีย์อื่นๆ จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเช่น Akebono
ทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นผ้าดิสก์เบรกที่เกรดใกล้เคียงกัน

คุณสมบัติที่สำคัญของผ้าดิสก์เบรก

สัมประสิทธิ์ของความฝืด
ผ้าดิสก์เบรกที่มีสัมประสิทธิ์ของความฝืดสูง จะมีผลต่อการเบรกได้ดีกว่า เป็นผลให้สามารถสร้างกลไกเบรกให้เล็กลงได้ และต้องการแรงเหยียบเบรกน้อยลง อย่างไรก็ตาม เบรกที่มีสัมประสิทธิ์สูงทำให้ยากต่อการควบคุม ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาศูนย์ล้อให้ถูกต้องให้สอดคล้องกันด้วย

ความทนทานต่อการสึกหรอ
การสึกหรอของผ้าดิสก์เบรกเปลี่ยนแปลงไปตามความเร็วของรถยนต์ และอุณหภูมิเบรก อย่างไรก็ตาม ผ้าดิสก์เบรกที่ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี จะเป็นเหตุให้จานเบรกเกิดการสึกหรอ หรือเกิดรอยมากเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของรถไม่ต้องการ

การเบรกไม่อยู่ และการชดเชย
เมื่ออุณหภูมิของผ้าเบรกเพิ่มขึ้น เนื่องจากความฝืดซึ่งทำให้เกิดความร้อน สัมประสิทธิ์ทางความฝืดจะลดลง และผลในการเบรกลดลง เป็นเหตุให้การเบรกไม่มีความแน่นอน ปรากฎการณ์นี้เป็นที่ทราบกันคือการเบรกไม่อยู่เมื่อเบรกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุให้สัมประสิทธิ์ลดลง ผ้าเบรกจะต้องสามารถเย็นลงไปสู่สัมประสิทธิ์เดิมได้ เรียกว่า การชดเชยผ้าเบรกที่มีการเปลี่ยนแปลงสัมประสิทธิ์ไปตามอุณหภูมิน้อย เป็นผ้าเบรกชนิดที่คุณภาพดี

อย่างไรก็ตาม ตามความจริงผ้าเบรกที่มีพื้นที่น้อยจะมีความร้อนได้ง่ายกว่า ทำให้สัมประสิทธิ์ลดลง และมีผลต่อประสิทธิภาพในการเบรกการเบรกไม่อยู่ก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการที่ผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกไม่ถูกต้อง และการที่ผ้าเบรกจับไม่สม่ำเสมอก็จะเป็นสาเหตุให้เบรกดึงข้างไดข้างหนึ่งผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกข้างซ้ายและขวาไม่จับที่ตำแหน่งเดียวกัน หรือจับไม่เท่ากันก็จะเป็นเหตุให้อุณหภูมิของเบรกทั้ง2ข้างไม่เท่ากัน ทำให้เบรกดึงไปข้างใดข้างหนึ่ง

การเปรียบเทียบคุณสมบัติของผ้าเบรกAsbestos กับ Metallic
เปรียบเทียบความฝืด(Friction) กับอุณหภูมิ(Temperature)
- ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่มีเกิดความร้อน ผ้าเบรก Asbestos จะมีความฝืดมากกว่าผ้าเบรก Metallic
- แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง หรือผ้าเบรกเกิดความร้อน มีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว ผ้าเบรก Metallic จะมีความฝืดมากกว่า ผ้าเบรก Asbestos
นั่นคือ ในช่วงแรกของการใช้งาน เมื่อรถเคลื่อนตัว ผ้าเบรก Asbestos จะเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรก Metallic แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ผ้าเบรก Metallic จะสามารถเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรก Asbestos
เปรียบเทียบการสึก หรือการหมดของผ้าเบรก กับอุณหภูมิ
- ณ ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่เกิดความร้อน การสึกของผ้าเบรก Metallic กับผ้าเบรก Asbestos จะพอๆกัน
- เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ผ้าเบรก Asbestos จะมีการสึกหรอมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ผ้าเบรก Metallic การสึกหรอจะค่อยลดลง นั่นก็คือความทนทานต่อการสึกหรอ ของผ้าเบรก Metallic จะสูงกว่าผ้าเบรก Asbestos

ควรเปลี่ยนผ้าเบรกเมื่อใด

โดยทั่วไปเค้าจะกำหนดให้ตรวจสอบผ้าเบรกกันทุก 3 เดือนหรือประมาณ 5,000 กม.ซึ่งถ้าทำได้มันจะเป็นการดี ส่วนอายุ การใช้ งานของผ้าเบรกนั้น ตอบยากว่ามันจะอยู่กับตัวแปรหลายต่อหลายอย่าง เช่นชนิดหรือคุณภาพของผ้าเบรก น้ำหนักรถ หรือ การใช้งาน เพื่อความสะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถ พวกรถรุ่นใหม่ที่มีค่าตัวค่อนข้างสูง เค้ามักจะมีระบบไฟเตือนเบรก (Wear Indica- tor) อยู่บนแผงหน้าปัทม์ ถ้าไฟเตือนนี้ติดโชว์แสดงว่ามีปัญหากับระบบเบรก อาจเป็นที่น้ำมันเบรกมีน้อยกว่า ระดับที่ เหมาะสม หรือผ้าเบรกสึก เหลือบางกว่าที่ควร

สำหรับรถบางประเภทอย่างเช่นพวกรถกระบะ จะนิยมใช้การเตือนด้วยเสียงแทน เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจาก ตัวเหล็กที่ยึดติดกับแผ่น ดิสค์เบรกขูดไปบนขอบของจานเบรค เป็นการเตือนว่าผ้าเบรกมีความหนาน้อยกว่า 3 มม. สมควรที่จะรีบ เปลี่ยนได้แล้วส่วนพวกรถรุ่นเก่าๆ บางรุ่นที่ไม่มีสัญญาณเตือนอะไรเลย ถ้าเกิดเสียงดังตอน เบรกขึ้นมา เมื่อไร ก็หมายความว่าผ้าเบรก สึกหมดจนถึงแผ่นเหล็กซะแล้ว และแน่นอนว่า มันย่อมสร้างความ เสียหาย ให้ กับจานดิสค์เบรกได้ บางทีถึงกับต้องเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เลยก็มี

พวกรถประเภทนี้ เจ้าของจะต้อง ขยัน ถอดล้อออกมาตรวจความหนาของผ้าเบรกบ่อยๆ หรือใช้การคาดเดา จาก ระยะเวลาที่เคย ใช้กับผ้าเบรก ชุดก่อน คือต้องจำไว้ว่าผ้าเบรกหมด จนต้องเปลี่ยนใหม่ หลังจาก ใช้งานไปได้กี่กิโลเมตร ในบางครั้งเรา ก็สามารถตรวจ เช็คความหนาของเบรกได้จากความรู้สึก ในการเหยียบเบรก เช่น อาจจะรู้สึกว่าคันเหยียบเบรกต่ำกว่าปกติ หรือผ้าเบรกคลื่นต้องใช้แรง กดเท้ามากกว่าที่เคยในการหยุดรถ นอกจากนี้ เรายัง พอดูได้ จากระดับของน้ำมันในกระปุกน้ำมันเบรก

ถ้าพบว่ามันลดต่ำมากกว่าปกติแต่ ไม่พบการรั่วไหลของน้ำมันในกระปุกน้ำมันเบรก อาจเป็นไปได้ว่าผ้าเบรกบางลงมาก ทำให้แม่ปั้มที่คาลิเปอร์เบรคต้องยืดตัวออกมา มากระดับของน้ำมันเบรก ในกระปุกเลย ยุบตัว ลงมาด้วย จากการใช้งานจะพบว่าผ้าเบรกด้านหน้าจะมีการสึกหรอมากกว่าด้านหลังโดย เฉพาะพวกที่ใช้ระบบเบรกแบบ หน้าดิสค์ หลังดรัม ส่วนใหญ่ผ้าเบรกดิสค์ด้านหน้าต้องเปลี่ยน 2 ครั้งจึงจะได้เวลาเปลี่ยนผ้าดรัมเบรก หลัง 1 ครั้ง

เรื่องของผ้าเบรก

สมัยก่อนในผ้าเบรกจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือสาร "แอสเบสตอส" (สมัยนี้ ก็ยังพอมีอยู่) เนื่องจากมันมีราคาถูกเวลาเบรกก็เสียงเงียบดี อีกด้วย นอกจากนี้ เวลาใช้แล้วกระทะล้อจะไม่ดูสกปรก เพราะฝุ่นของมันจะมีสีขาว ใกล้เคียงกับ สีของ กระทะล้อแม็ก แต่ข้อเสียของมันก็ มีเนื่องจากสาร แอสเบสตอสนี้ จะปลิว คละคลุ้งปะปนอยู่ในอากาศ เมื่อหายใจจะสูดเอาฝุ่นของสารนี้เข้าไปด้วย มันจะเข้า ไปฝังตัวในปอด ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในการผลิตผ้าเบรกยุคก่อนๆ

สารที่ใช้เป็นตัวยึดเกาะผ้าเบรก ให้คงทนอยู่ในสภาพเป็นแผ่นนั้นมักจะมีคุณ ภาพต่ำ ทนความร้อนได้ไม่สูงนัก เวลาใช้เบรกกัน บ่อยๆ จะเกิดความร้อนทำให้เบรกมีอาการ Fade ประสิทธิภาพในการจับตัวลดลง เมื่ออยากจะหยุด รถจึงต้องออกแรง เหยียบเบรก กันมากกว่าปกติ เค้าจึงมีการแบ่งเกรดตามระดับการใช้งาน คือ เกรด S จะมีเนื้อนิ่ม จับ ตัวได้ดีตั้งแต่ช่วงความเร็วต่ำ แต่ถ้าใช้เบรก ในช่วงความเร็วสูงก็จะเกิดการ Fade ได้ง่าย และเกรด R ระดับรถแข่ง จะผสมโลหะ เข้าไปในเนื้อผ้าเบรกค่อนข้างเยอะ แม้จะ เบรก กันรุนแรงในช่วงความเร็วสูงอาการ Fade จะมีน้อยสามารถทนความร้อนได้ดีกว่า แต่ การจับตัวในช่วงที่เบรกเย็น จะมี ประสิทธิภาพต่ำ

ชนิดของผ้าเบรกที่ใช้กันอยู่ทั่วไป

ความแตกต่างระหว่าง ผ้าเบรก NAO, Semi-Metallic, Metallic, Asbestos
สำหรับปัจจุบันนี้ ผ้าดิสก์เบรก ที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไปมีด้วยกันอยู่ 5 กลุ่ม คือ

1. NAO (NON ASBESTOS ORGANIC)
เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยสังเคราะห์ที่เป็นอโลหะ มีน้ำหนักเบา เพื่อทำหน้าที่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานและแสดงสมบัติของแรงเสียดทาน ในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่น ตรงที่ น้ำหนักเบา ง่ายต่อการควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นหรือเสียง และให้แรงเสียดทาน สูงพอสมควร แต่จะมีข้อจำกัดตรงที่ ส่วนมากจะต้องการส่วนผสมหลายชนิด การทนอุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากๆไม่ค่อยดี การดูดซับ และคายความร้อน ได้ยาก และที่สำคัญ ใยสังเคราะห์บางตัวที่ไม่ใช่ ASBESTOS อาจยังคงมี อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอยู่บ้าง

2. Semi-Metallic หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SemiMet
เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยเหล็กเป็นองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานและแสดงสมบัติของแรงเสียดทานเพียงบางส่วน ในกลุ่มนี้มี ลักษณะเด่นตรงที่ มีความปลอดภัยสูงมากต่อระบบทางเดินหายใจ และมีความสามารถในการทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ดี มีการคายความร้อนได้เร็ว แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมไม่ให้เกิดเสียงดังและฝุ่นดำ

3. Fully Metallic หรือ Metallic
เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ผงเหล็กละเอียดมาขึ้นรูปด้วยเทคนิคการซินเทอร์ริง (Sinter) ซึ่งเป็นการอัดขึ้นรูป ที่แรงดันสูง และ อุณหภูมิสูงปานกลาง ซึ่งผงเหล็กที่ใช้จะเป็นผงเหล็กพิเศษโดยจะมีคุณสมบัติของแรงเสียดทานอยู่ในตัว ในกลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษ ตรงที่สามารถทนต่ออุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากได้

4. ASBESTOS
เป็นผ้าเบรกยุคเก่าที่ใช้สารใยหินเป็นองค์ประกอบหลัก คุณสมบัติพิเศษก็คือ สารใยหินมีราคาถูก และให้แรงเสียดทานได้ดี ที่ อุณหภูมิต่ำๆ แต่มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก จึงมีอารยประเทศหลายๆ ประเทศได้กำหนดให้ ห้ามการ ผลิตผ้าเบรกชนิดนี้

5. กลุ่ม Advance Material
เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ในการสรรหาวัตถุดิบ ที่มีคุณ ลักษณะ พิเศษต่างๆ เพื่อให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า

ผ้าเบรคที่ดีและควรใช้
ผ้าเบรกที่ดีสำหรับรถสมัยนี้ อย่างแรกคือ ควรเป็นผ้าเบรก ที่ไม่มี สาร แอสเบสตอสผสมอยู่ ผ้าเบรกที่ควรใช้จะให้มีประสิทธิภาพใน การหยุด ได้ดี และมีเสียงน้อย ทั้งในช่วงที่ผ้าเบรกยังเย็นอยู่ และขณะผ้าเบรก มี อุณหภูมิสูง ประเภทที่ช่วงผ้าเบรกเย็นจะเบรกไม่ค่อยอยู่ ต้องรอให้ ผ้าเบรก ร้อนชะก่อน หรือประเภทเบรกคดีเฉพาะตอนเย็น ตอนผ้าเบรก ร้อนแล้วไม่ได้เรื่องมีอาการ Fade เยอะสำหรับรถที่ ใช้งานระดับ ชาวบ้าน ในยุคนี้ต้องถือว่าเป็นผ้าเบรกที่จะไม่ค่อย น่าจะคบด้วย ซักเท่าไร เพราะสมัยนี้เค้าพัฒนากันไปเยอะแล้ว

* * *หลังจากเปลี่ยนผ้าเบรกมาใหม่ๆ ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ้าเบรก เจียร์จานเบรก หรือเปลี่ยนจานเบรกใหม่ก็ตาม ช่วงระยะการใช้รถใน 200 กม.แรก ควรจะมีการ Bedding-in กันซะก่อน ไม่ควรลงเบรกกันอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้ผ้าเบรก และจานเบรกเป็นรอย จะทำให้ เวลาเบรกมีเสียงดังและประสิทธิภาพในการหยุดด้อยลงไป จึงควรขับและใช้เบรกกันอย่างนิ่มนวลไปก่อนจนกว่าจะพ้นระยะ 200 กม. แรกไปก่อน* * *

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...

×
×
  • Create New...