Jump to content

ขับรถเองมาเยอะแล้ว พูดถึงรถไฟมั่งดีกว่า


Recommended Posts

พอดีเห็นข่าวนี้มา ในที่สุดก็มีแนวคิดจะทำซะทีกับการเชื่อมต่อทางรถไฟสายไทย - พม่า ที่สร้างไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ทางรถไฟสายมรณะ) ผมว่าถ้ารื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ น่าจะเป็นเส้นทางรถไฟสายที่สวยมากสายนึงเลยครับ เพราะช่วงท้ายก่อนถึงสถานีน้ำตกเป็นการวิ่งผ่านป่า ผ่านหุบเขา เลียบลำน้ำแควน้อย ถ้าข้ามไปฝั่งพม่าได้ก็คงช่วยเรื่องการท่องเที่ยวได้อย่างดีเลยครับ ใครจะไปรู้ครับ วันข้างหน้าถ้าพม่าพัฒนาประเทศได้มากแล้ว คนเมืองกาญจน์เบื่อทะเลเมืองไทย อยากเปลี่ยนบรรยากาศ อาจได้ข้ามฝั่งไปเล่นอ่าวเมาะตะมะในพม่าบ้างก็ได้ (จากสังขละบุรี หรือทองผาภูมิจะลงทะเลที่พม่าใกล้กว่ามาพัทยามากครับ ไม่รู้นะ เท่าที่เห็นผมว่าจากชายแดนด้านทองผาภูมิก็ไม่น่าเกิน 100 km อันนี้ถ้ามีถนนนะครับ ส่วนสังขละบุรีเต็มที่อ้อมเขาไปๆมาๆก็น่าจะไม่เกิน 200 km น่ะครับ)

 

credit ข่าวจาก http://www.thairath.co.th/content/oversea/262111 ครับ

 

สำหรับคนที่ยังไม่ทราบความเป็นมานะครับ ทางรถไฟสายนี้เริ่มจากสถานีธนบุรี (บางกอกน้อย ที่โกโบริโดนบอมบ์เดี้ยงไป) ไปทางสายใต้แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟสายนี้ต่อโดยเริ่มแยกจากสถานีหนองปลาดุก (ใน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี) ยาวไปทางกาญจนบุรีเพื่อเข้าไปที่พม่าตรงด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี (ซึ่งทุกวันนี้ยังเห็นแนวสายทางได้ทั้งในฝั่งไทยและพม่า โดยเฉพาะในฝั่งพม่าเห็นชัดมาก) โดยมีจุดหมายอยู่ที่อินเดีย จุดประสงค์หลักก็คือใช้เป็นเนทางสายยุทธศาสตร์ในการลำเลียงกำลังพลและอาวุธเพื่อเข้ายึดอินเดียต่อไป

 

ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายไทยได้ขอซื้อเส้นทางรถไฟนี้จากญี่ปุ่น (จำราคาไม่ได้) และอังกฤษก็ได้ขอ (บังคับ) ให้เรารื้อทางรถไฟสายดังกล่าวจากด่านเจดีย์สามองค์กลับมาจนถึงสถานีน้ำตกในปัจจุบันด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง ทางรถไฟสายนี้จึงสิ้นสุดลงที่สถานีน้ำตกในปัจจุบันครับ

 

โดยส่วนตัวแล้ว เคยนั่งเล่นไปคนเดียวช่วงชิลจัดๆตอนเรียนจบใหม่ๆ เพราะคิดมานานแล้วว่าอยากนั่งไปจนสุดสาย แต่วิธีนี้เหมาะกับคนว่างมากกกกกกกกกกกนะครับ เพราะนานกว่าขับรถไปเองแน่นอน

Link to comment
Share on other sites

พอดีเห็นข่าวนี้มา ในที่สุดก็มีแนวคิดจะทำซะทีกับการเชื่อมต่อทางรถไฟสายไทย - พม่า ที่สร้างไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ทางรถไฟสายมรณะ) ผมว่าถ้ารื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ น่าจะเป็นเส้นทางรถไฟสายที่สวยมากสายนึงเลยครับ เพราะช่วงท้ายก่อนถึงสถานีน้ำตกเป็นการวิ่งผ่านป่า ผ่านหุบเขา เลียบลำน้ำแควน้อย ถ้าข้ามไปฝั่งพม่าได้ก็คงช่วยเรื่องการท่องเที่ยวได้อย่างดีเลยครับ ใครจะไปรู้ครับ วันข้างหน้าถ้าพม่าพัฒนาประเทศได้มากแล้ว คนเมืองกาญจน์เบื่อทะเลเมืองไทย อยากเปลี่ยนบรรยากาศ อาจได้ข้ามฝั่งไปเล่นอ่าวเมาะตะมะในพม่าบ้างก็ได้ (จากสังขละบุรี หรือทองผาภูมิจะลงทะเลที่พม่าใกล้กว่ามาพัทยามากครับ ไม่รู้นะ เท่าที่เห็นผมว่าจากชายแดนด้านทองผาภูมิก็ไม่น่าเกิน 100 km อันนี้ถ้ามีถนนนะครับ ส่วนสังขละบุรีเต็มที่อ้อมเขาไปๆมาๆก็น่าจะไม่เกิน 200 km น่ะครับ)

 

credit ข่าวจาก http://www.thairath..../oversea/262111 ครับ

 

สำหรับคนที่ยังไม่ทราบความเป็นมานะครับ ทางรถไฟสายนี้เริ่มจากสถานีธนบุรี (บางกอกน้อย ที่โกโบริโดนบอมบ์เดี้ยงไป) ไปทางสายใต้แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟสายนี้ต่อโดยเริ่มแยกจากสถานีหนองปลาดุก (ใน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี) ยาวไปทางกาญจนบุรีเพื่อเข้าไปที่พม่าตรงด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี (ซึ่งทุกวันนี้ยังเห็นแนวสายทางได้ทั้งในฝั่งไทยและพม่า โดยเฉพาะในฝั่งพม่าเห็นชัดมาก) โดยมีจุดหมายอยู่ที่อินเดีย จุดประสงค์หลักก็คือใช้เป็นเนทางสายยุทธศาสตร์ในการลำเลียงกำลังพลและอาวุธเพื่อเข้ายึดอินเดียต่อไป

 

ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายไทยได้ขอซื้อเส้นทางรถไฟนี้จากญี่ปุ่น (จำราคาไม่ได้) และอังกฤษก็ได้ขอ (บังคับ) ให้เรารื้อทางรถไฟสายดังกล่าวจากด่านเจดีย์สามองค์กลับมาจนถึงสถานีน้ำตกในปัจจุบันด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง ทางรถไฟสายนี้จึงสิ้นสุดลงที่สถานีน้ำตกในปัจจุบันครับ

 

โดยส่วนตัวแล้ว เคยนั่งเล่นไปคนเดียวช่วงชิลจัดๆตอนเรียนจบใหม่ๆ เพราะคิดมานานแล้วว่าอยากนั่งไปจนสุดสาย แต่วิธีนี้เหมาะกับคนว่างมากกกกกกกกกกกนะครับ เพราะนานกว่าขับรถไปเองแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลที่นำมาให้อ่านครับ...ดีเลยจะได้ไปเที่ยวพม่าบ้างไปดูบ้านเมืองเขา

Link to comment
Share on other sites

ทางรถไฟสายนี้ ผมเคยติดตามอยู่ครับ

 

รางบางส่วนตอนนี้จมอยู่ในเขื่อนวชิราลงกรณ์ ถ้าหน้าแล้งน้ำลง จะเห็นบางส่วนของราง

แต่ถ้าหน้าฝน น้ำเต็มเขื่อน ก็ไม่เห็น

 

บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ก็ยังมีบางส่วนของรางหันหน้ามุ่งหน้าเข้าพม่าอยู่เลยครับ

 

จากการศึกษาของผม พอสงครามจบ เราได้ทำการซื้อรางรถไฟแล้ว พบว่าจากสถานีน้ำตกยาวไปถึงด่านเจดีย์สามองค์ ทรุดโทรม อันตราย

และไม่คุ้มแก่การบูรณะ เพราะไม่ใช่เส้นทางค้าขายหรือเดินทางหลัก ตลอดจนสภาพภูมิประเทศเป็นเขา ถ้าจะพัฒนารางเพื่อการขนส่งหรือเดินทางจริงๆ ต้องลงทุนเยอะมาก จึงตัดสินใจยกเลิก และรื้อมาจนสุดแค่สถานีน้ำตกครับ

 

จากเหมืองปิล็อค ถ้าใครเคยขึ้นไปตอนฟ้าเปิด จะมองเห็นอ่าวเมาะตะมะ จากสุดแผ่นดินไทยผ่านพม่าไปราวๆ 60 โลได้ครับ (ถ้าตัดถนนตรงๆ)

Link to comment
Share on other sites

 

ทางรถไฟสายนี้ ผมเคยติดตามอยู่ครับ

 

รางบางส่วนตอนนี้จมอยู่ในเขื่อนวชิราลงกรณ์ ถ้าหน้าแล้งน้ำลง จะเห็นบางส่วนของราง

แต่ถ้าหน้าฝน น้ำเต็มเขื่อน ก็ไม่เห็น

 

บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ก็ยังมีบางส่วนของรางหันหน้ามุ่งหน้าเข้าพม่าอยู่เลยครับ

 

จากการศึกษาของผม พอสงครามจบ เราได้ทำการซื้อรางรถไฟแล้ว พบว่าจากสถานีน้ำตกยาวไปถึงด่านเจดีย์สามองค์ ทรุดโทรม อันตราย

และไม่คุ้มแก่การบูรณะ เพราะไม่ใช่เส้นทางค้าขายหรือเดินทางหลัก ตลอดจนสภาพภูมิประเทศเป็นเขา ถ้าจะพัฒนารางเพื่อการขนส่งหรือเดินทางจริงๆ ต้องลงทุนเยอะมาก จึงตัดสินใจยกเลิก และรื้อมาจนสุดแค่สถานีน้ำตกครับ

 

จากเหมืองปิล็อค ถ้าใครเคยขึ้นไปตอนฟ้าเปิด จะมองเห็นอ่าวเมาะตะมะ จากสุดแผ่นดินไทยผ่านพม่าไปราวๆ 60 โลได้ครับ (ถ้าตัดถนนตรงๆ)

 

เจ๋งเลยครับ เป็นทางออกทะเลที่น่าสนใจมากทีเดียว

Link to comment
Share on other sites

เข้ามาบอกแค่ว่า อีต่อง. ทองผาภูมิ อาหารทะเลสดมากๆ ค่ะ :)

 

นั่นแหละครับ มันมาไม่ไกลจากทะเลเท่าไหร่ :D

Link to comment
Share on other sites

  • 2 weeks later...

น่าไปครับ เป็นสัญญาณที่ดีจากเพื่อนบ้าน

การบูรณะให้กลับมาใช้ได้ใหม่ เป็นเรื่องที่ดี สำหรับการท่องเที่ยว ให้พึงระลึกถึงความสูญเสียของการแย่งชิงอำนาจในสมัยก่อน

Link to comment
Share on other sites

น่าไปครับ เป็นสัญญาณที่ดีจากเพื่อนบ้าน

การบูรณะให้กลับมาใช้ได้ใหม่ เป็นเรื่องที่ดี สำหรับการท่องเที่ยว ให้พึงระลึกถึงความสูญเสียของการแย่งชิงอำนาจในสมัยก่อน

 

มาบ้านนี้แล้วหรอพี่ อิอิ

Link to comment
Share on other sites

  • 2 months later...

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
×
×
  • Create New...